Business

9 พฤติกรรมผู้นำใช้เพิ่มความฉลาดทางอารมณ์ โดย DR. TRAVIS BRADBERRY, HARVARD BUSINESS

By: Lady P. June 16, 2020

กลุ่ม  “TalentSmart”  ได้ทำการทดสอบประชากรมากกว่าล้านคน และพบว่าร้อยละ 90 ของผู้บริหารที่มีตำแหน่งระดับสูงมักเป็นผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์  (Emotional Intelligence) สูงกว่าพนักงานหรือผู้บริหารในตำแหน่งอื่น อีกทั้งมีข้อมูลที่น่าสนใจว่าคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์จะระมัดระวังที่จะไม่ทำพฤติกรรมบางอย่างเพื่อให้ตัวเองมีสติ และไม่ตกหลุมพรางที่คนอื่นวางไว้ และนี่คือ 9 พฤติกรรม ที่ผู้นำใช้เพื่อเพิ่มความฉลาดทางอารมณ์และประสิทธิภาพการทำงาน

 

1. มั่นคงทางอารมณ์ ไม่ตัดพ้อ ไม่เปรียบเทียบ

หากความสุขและความพึงพอใจของคุณเกิดจากการเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น คุณก็จะไม่มีความสุขที่แท้จริง คนที่มีความฉลาดทางอารมณ์เมื่อพวกเขาเกิดความรู้สึกที่ดีในสิ่งที่ทำ พวกเขาจะไม่ปล่อยให้ความคิดเห็นหรือความสำเร็จของคนอื่นมาทำให้ตัวเองหมดความสุข แน่นอนที่สุดมันมันเป็นเรื่องยากที่จะไม่ตอบโต้กับสิ่งที่ใครต่อใครพูดถึงคุณ อย่าไปสนใจคำพูด/ความเห็นของคนอื่น และอย่าเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับใคร เพราะว่ามันไม่สำคัญว่าคนอื่นคิดอย่างไรกับคุณ ยังไงคุณก็ไม่เคยดีหรือแย่อย่างที่คนอื่นบอกอยู่แล้ว

 

2. ให้อภัย ปล่อยวาง และจดจำ

คนที่มีความฉลาดทางอารมณ์จะให้อภัยคนอื่นได้อย่างรวดเร็ว แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาลืม การให้อภัยคือการรู้จักปล่อยวางในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วเดินหน้าต่อไป และมันก็ไม่ได้หมายความว่าคุณให้โอกาสคนที่ทำพลาด แต่คนที่ฉลาดทางอารมณ์ไม่อยากจะจมอยู่กับความพลาดของคนอื่นโดยไม่จำเป็น ดังนั้นเขาจึงปล่อยวางอย่างรวดเร็วและมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าด้วยความระมัดระวัง

 

3. ต้องรอดในสนามรบ

คนที่มีความฉลาดทางอารมณ์รู้ดีว่ามันสำคัญเพียงใดที่จะต้องมีชีวิตอยู่เพื่อต่อสู้ในวันต่อไป ในความขัดแย้ง เมื่อเราควบคุมอารมณ์ไม่ได้ก็ยิ่งทำให้เกิดการสู้รบที่อาจทำให้เราบาดเจ็บแสนสาหัส ดังนั้นเมื่อคุณอ่านและตามทันอารมณ์จนสามารถควบคุมมันได้ คุณก็สามารถเลือกการต่อสู้ได้อย่างชาญฉลาดและยืนหยัดได้อย่างสง่าผ่าเผย

 

4. ไม่เรียกร้อง ‘ความสมบูรณ์แบบ’

คนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ไม่ได้มองหาความสมบูรณ์แบบ เพราะพวกเขารู้ว่า ‘ความสมบูรณ์แบบ’ ไม่มีอยู่จริง โดยธรรมชาติของมนุษย์ย่อมเกิดความผิดพลาดได้ หากตั้งเป้าหมายคือความสมบูรณ์แบบ คุณก็จะได้รับแต่ความล้มเหลวอยู่ร่ำไป สุดท้ายคุณก็จะรู้สึกเสียดายเวลา และคร่ำครวญถึงสิ่งที่ว่าควรทำให้แตกต่างไปจากเดิมเพื่อจะได้ยินดีกับความสำเร็จ

 

5. อยู่กับปัจจุบัน ไม่ยึดติดกับอดีต

ความล้มเหลวนอกจากจะกัดเซาะความมั่นใจในตัวเองของคุณแล้ว มันยังขัดขวางภาพความสำเร็จในอนาคตของคุณอีกด้วย ส่วนใหญ่ความล้มเหลวเกิดจากการรับความเสี่ยงและพยายามที่จะเอาชนะสิ่งที่ไม่ง่ายนัก

คนที่มีความฉลาดทางอารมณ์รู้ดีว่าความสำเร็จต้องอาศัยความสามารถของตนเองที่เก่งขึ้นหลังจากการเผชิญหน้ากับความล้มเหลวมาแล้ว พวกเขาจะเก่งขึ้นไม่ได้หากยังยึดติดกับอดีต ความสำเร็จที่คุ้มค่าก็คือต้องกล้าที่จะรับความเสี่ยงบางอย่าง และจะไม่มีสิ่งใดมาหยุดยั้งความเก่งกาจของเราได้ หากคุณยังยึดติดอยู่กับอดีต แน่นอนว่าอดีตของคุณก็จะกลายเป็นปัจจุบันที่คอยฉุดรั้งไม่ให้คุณก้าวหน้าต่อไปได้

 

6. ไม่หมกหมุ่นกับปัญหา แต่จงมุ่งหน้าหาทางออก

การที่เราจดจ่อกับสิ่งใด สิ่งนั้นจะเป็นตัวกำหนดอารมณ์ของเรา เมื่อคุณจดจ่ออยู่กับปัญหา คุณก็กำลังสร้างอารมณ์เชิงลบและความเครียดให้กับตัวเองจนทำให้เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของคุณ แต่ถ้าคุณมุ่งเน้นไปที่การกระทำที่นำไปสู่เป้าหมาย คุณก็จะรู้สึกถึงศักยภาพภายในตัวคุณและเกิดความคิดเชิงบวกและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน คนที่มีความฉลาดทางอารมณ์รู้ดีว่าพวกเขาจะดึงศักยภาพตัวเองออกมาได้มากสุดเมื่อพวกเขามุ่งเน้นไปที่วิธีแก้ปัญหา ไม่ใช่การคิดหมกหมุ่นอยู่กับปัญหา

 

7. อยู่ให้ห่างเหล่ามนุษย์คิดลบ (Negative people)

พวกขี้บ่น ถือว่าเป็นเรื่องเลวร้าย เพราะพวกเขามัวแต่หลงระเริงอยู่กับปัญหาแทนที่จะมุ่งเน้นการแก้ปัญหา คนเหล่านี้ต้องการให้คนมาเห็นใจ รับรู้และมีส่วนร่วมกับปัญหาของตน เพื่อจะได้รู้สึกดีขึ้นบ้างว่ามีคนพอที่จะเข้าอกเข้าใจบ้าง คนทั่วไปมักจะรู้สึกอึดอัดกดดันเมื่อต้องมารับฟังคนอื่นบ่น เพราะพวกเขาไม่ต้องการถูกมองว่าใจดำหรือไม่สุภาพ แต่มันก็มีเส้นแบ่งบางๆ ระหว่างการยืมหูคนอื่นรับฟังเรื่องของตัวเอง กับการดึงคนนั้นเข้าไปอยู่ในวังวนอารมณ์เชิงลบ

คุณสามารถหลีกเลี่ยงเรื่องพวกนี้ได้เพียงแค่กำหนดเกณฑ์ขึ้นมาและขอปลีกตัวเองออกมาเมื่อจำเป็น ลองเปรียบเทียบสถานการณ์ง่ายๆ อย่างนี้ ~ ถ้าเห็นคนกำลังยืนสูบบุหรี่ คุณจะไปยืนข้างๆ เพื่อดมควันบุหรี่มั้ย ? คุณก็คงเอาตัวห่างออกมาหรือไม่เข้าใกล้ ฉันใดฉันนั้น คุณก็ควรเอาตัวเองห่างออกจากพวกขี้บ่นและเหล่ามนุษย์คิดลบ อีกทางหนึ่งที่ช่วยได้คือการตั้งคำถามให้คนที่กำลังบ่นว่า “แล้วคุณตั้งใจจะแก้ปัญหานี้อย่างไร” วิธีนี้จะช่วยให้คนนั้นได้เห็นมุมมองใหม่ไม่วนอยู่กับปัญหา และอาจเริ่มการสนทนาในทิศทางที่มุ่งแก้ปัญหามากขึ้น

 

8. ไม่เจ้าคิดเจ้าแค้น

อารมณ์เชิงลบที่มาพร้อมกับการถือโทษโกรธแค้นเป็นการตอบสนองต่อความเครียดแบบหนึ่ง ความคิดภายในหัวจะมีแต่เรื่องที่ทำให้ร่างกายของเราเข้าสู่โหมดสู้หรือถอย เมื่อเราตกอยู่ในภาวะคับขัน อารมณ์เชิงลบนี้ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นต่อการอยู่รอดของคุณ แต่เมื่อภัยคุกคามนั้นเรื้อรังก็จะกลายเป็นความเครียดที่บั่นทอนร่ายกายจนส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพในที่สุด

ในความเป็นจริงนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเอมอรี (Emory University) ได้แสดงให้เห็นว่าความเครียดก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ เมื่อคุณไม่ปล่อยวางความแค้นก็หมายความว่าคุณไม่ปล่อยวางความเครียด ซึ่งสำหรับคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์รู้วิธีที่จะหลีกเลี่ยงเรื่องเหล่านี้ การรู้จักปล่อยวางความแค้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ค่าใช้จ่ายทั้งหมด เรียนรู้ที่จะปล่อยวางความโกรธแค้น ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น ยังช่วยให้สุขภาพกายและจิตดีขึ้นด้วย

 

9. อย่ารับปากถ้าไม่อยากทำ

งานวิจัยที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (University of California) ระบุว่า ยิ่งคุณรู้สึกยากที่จะบอกปฏิเสธมากเท่าใดก็ตาม ยิ่งทำให้คุณเผชิญกับความเครียด ความเหนื่อยหน่าย และภาวะซึมเศร้ามากขึ้นเท่านั้น การบอกปฏิเสธ (saying no) ถือว่าเป็นเรื่องท้าทายของหลายๆ คน คำว่า “ไม่” เป็นคำที่ทรงพลังที่คนส่วนใหญ่กลัวที่จะพูด

เมื่อถึงเวลาที่จะบอกว่า “ไม่” คนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ก็จะบอกตรงๆ อย่างสุภาพ และพยายามเลี่ยงคำว่า “ฉันคิดว่าฉันทำไม่ได้” หรือ “ฉันไม่แน่ใจ” เพราะคำเลี่ยงเหล่านี้มักจะทำให้สุดท้ายเราก็ปฏิเสธไม่ได้อยู่ดี ดังนั้นการฝึกพูดปฏิเสธถือว่าเป็นการให้เกียรติตัวเองและทำให้คุณมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในสิ่งที่คุณต้องการทำจริงๆ

 

 

เรียบเรียงโดย  นพ.มนตรี แสงภัทราชัย

Facebook Fanpage :  Smart Coach Intelligence

161227-business-2

 

Reference :

Dr. Travis Bradberry เป็นที่ได้รับรางวัลผู้เขียนร่วมของหนังสือความฉลาดทางอารมณ์ 2.0 (Emotional Intelligence 2.0) และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งTalentSmart -ผู้ให้บริการชั้นนำของโลกเรื่องการทดสอบความฉลาดทางอารมณ์, การฝึกอบรมความฉลาดทางอารมณ์และการรับรองความฉลาดทางอารมณ์ หนังสือที่ขายดีที่สุดของเขาได้รับการแปลเป็น 25 ภาษา และได้รับการกล่าวอ้างใน Newsweek, BusinessWeek, Fortune, Forbes, Fast Company, Inc., USA Today, The Wall Street Journal, The Washington Post และ The Harvard Business Review

Lady P.
WRITER: Lady P.
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line