Business

เช็คพฤติกรรมที่คนทำงานทำกันจนชิน แต่ที่จริงทำร้ายสุขภาพอย่างรุนแรง

By: Chaipohn May 24, 2016


เช็คพฤติกรรมที่คนทำงานทำกันจนชิน แต่ที่จริงทำร้ายสุขภาพอย่างรุนแรง เราดูแลสุขภาพตัวเองครั้งล่าสุดกันเมื่อไหร่? คำว่าดูแลสุขภาพในที่นี้ ไม่จำเป็นต้องหมายถึงการตรวจสุขภาพครั้ง ใหญ่ แต่รวมถึงการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานที่พวกเรารู้กันดีอยู่แล้ว โดยไม่ต้องให้หมอบอก เช่น นอนหลับให้เพียงพอ ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพถูกหลักโภชนาการ แบ่งเวลาทำงาน ออกกำลังกาย และพักผ่อนอย่างมีประสิทธิภาพ

แน่นอนว่ามันเป็นเรื่องที่ดูเหมือนทำได้ง่าย แต่ในชีวิตจริง น้อยคนเหลือเกินที่จะสามารถทำได้ เนื่องจากหน้าที่การงาน และความรับผิดชอบที่พวกเรามี การทำงานในยุคเศรษฐกิจปัจจุบัน การแข่งขันเร่งรีบที่เริ่มตั้งแต่ก้าวเท้าออกจาก บ้าน รายได้ที่ต้องหามากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อนำมาจ่ายปัจจัยในการใช้ชีวิตของตัวเอง รวมถึงการดูแลคนในครอบครัว ทั้งหมดทำให้พวกเราละเลยการดูแลสุขภาพง่ายๆ กลับกลายเป็นการทำพฤติกรรมที่ทำร้ายสุขภาพในแต่ละวันจน กลายเป็นความเคยชิน เราจึงอยากให้ทุกคนลองเช็คดูว่า กำลังทำพฤติกรรมเสี่ยงที่มีผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว กันอยู่หรือเปล่า พร้อมวิธีป้องกันที่สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่วันนี้

160509-blackmore-1

นั่งมากกว่ายืน ไม่ค่อยขยับร่างกาย

ทุกวันนี้เรานั่งมากกว่าเดินหรือไม่? มีผลวิจัยหลายชิ้นระบุว่าการนั่งติดโต๊ะทำงานเป็นเวลานานติดต่อกันโดยไม่ขยับ ตัวไปไหน เป็นบ่อเกิดของสารพัดอาการป่วย ยิ่งช่วงอากาศร้อนระอุแบบนี้ ยิ่งไม่อยากเดินออกนอกตึก รวมถึง เทคโนโลยีที่ทำให้เราขยับตัวน้อยลง จากปกติต้องเดินไปหาเพื่อนร่วมงาน ก็ใช้ Line คุยกัน จากต้องเดินออกไปเรียก รถ ก็เรียกทาง Application แล้วนั่งรอ พฤติกรรมนั่งติดเก้าอี้เป็นเวลานานทำให้เลือดไหวเวียนได้ไม่สะดวก ส่งผลให้ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดอุดตัน และโรคหัวใจเพิ่มเป็น 2 เท่า แถมยังเป็นสาเหตุทำให้ระบบการเผา ผลาญในร่างกายแย่ลงอีกด้วย ทางที่ดีคือเราควรจะลุกขึ้นยืน ขยับร่างกาย เปลี่ยนท่าทาง ทุก 1 ชั่วโมง รวมถึงการ เดินขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟท์ ก็ช่วยได้มากเช่นกัน

 

160509-blackmore-2

ไม่ Work / Life Balance แบกความเครียดจากที่ทำงานกลับบ้าน

งานเป็นสิ่งที่ทำเท่าไหร่ก็ไม่มีวันหมด ยกเว้นเราจะตัดสินใจปิดคอมเท่านั้น การแบ่งเวลาให้มีประสิทธิภาพเป็นกุญแจ สำคัญในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงในระยะยาว หลายคนมักจะเลือกปั่นงานอดหลับอดนอนในช่วงใกล้วัน Deadline แทนที่จะแบ่งเวลาทำงานทีละส่วนตามเวลาที่มี หรือกลุ่มคนที่เป็น Workaholic และชาว Freelancer รับหลายจ็อบที่ มักจะทำงานตลอดเวลาทั้งที่ออฟฟิศและที่บ้าน ผลคือความเครียดที่มีมากกว่าคนอื่น และเครียดตลอดเวลา ความน่า กลัวคือเจ้าความเครียดจะส่งสัญญาณไปที่สมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งเป็นเหมือนห้องควบคุม ความดันโลหิตของร่างกาย ส่งผลให้สารซีโรโทนินในสมองพร่อง ยิ่งเครียดก็จะยิ่งมีผลกับการบีบและคลายตัวของ เส้นเลือด ทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น เสี่ยงต่อการเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด และโรคหัวใจ รวมถึงโรคยอดฮิตของคนทำงานอย่างไมเกรน (Migraine) เบาหวาน อีกด้วย

 

160509-blackmore-3

นอนน้อย นอนไม่พอ นอนหลับไม่สนิท

คนทำงานส่วนใหญ่มักจะทุ่มเทแรงกายแรงใจกันเต็มที่ ทำงานหนักไม่หยุดหย่อน ทำให้หลายคนไม่มีเวลานอนพักผ่อน อย่างเพียงพอ และหลายครั้งก็ทำงานเครียดทำให้นอนไม่หลับทั้งคืน แต่ยังคงต้องตื่นเช้าเพื่อไปทำงานให้ทันเวลา ซึ่ง พวกเรารู้กันอยู่แล้วว่า ร่างกายต้องการเวลานอนเฉลี่ยประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน แม้ความเคยชินอาจจะทำให้บางคน ไม่รู้สึกง่วงหรือเพลีย แต่ในด้านสุขภาพถือว่ามีความเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บอย่างใหญ่หลวง โดยมีตัวเลขจากงานวิจัย ว่า 90% ของคนนอนน้อย มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซีเรียสอย่าง โรคหัวใจ หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นไม่เป็น จังหวะ หลอดเลือดในสมองตีบ เบาหวาน ในด้านการใช้ชีวิตประจำวันก็เสี่ยงต่ออุบัติเหตุจากการเผลอหลับในขณะ ขับขี่ยานพาหนะ และยังทำให้ผิวเสียบาลานซ์ เป็นต้นตอของปัญหาสิวอีกด้วย

 

160509-blackmore-4

กินอาหารเน้นง่าย เร็ว ไม่ถูกหลักโภชนาการ แถมยังกินเหล้า สูบบุหรี่

เรารู้กันดีอยู่แล้วว่าควรทานอาหารวันละ 3 มื้อ ควรทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้ความสำคัญกับมื้อเช้ามากที่สุด อะไรที่ ควรและไม่ควรกิน แต่ด้วยความรีบเร่งในแต่ละวัน ทำให้มีเวลาใส่ใจในการเลือกอาหารน้อยลง เราคุ้นตากับภาพผู้คน ยืนต่อแถวซื้อของทอดน้ำมันเยิ้มอุดมไขมัน สารพัดของปิ้งและอาหารแป้งกันจนชินตา ยิ่งในคนที่สูบบุหรี่และกินเหล้า ด้วยแล้ว ยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว ทั้งหมดล้วนเป็นต้นตอของคำว่า “ไขมันในเลือดสูง” ซึ่งไขมันที่ว่า สามารถเป็นได้ทั้งโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ และที่น่ากลัวคือ โรคนี้ไม่มีอาการแสดงชัดเจน บางครั้งกว่าจะรู้ก็ อาจจะป้องกันไม่ทันเสียแล้ว

อาการโคเลสเตอรอลในเลือดที่มากเกินไป ผลคือไขมันจะไปสะสมอยู่ตามหลอดเลือดแดงจนหนาและมีขนาดแคบ ทำให้ เลือดเดินทางได้ลำบากจนถึงขั้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจและสมองไม่พอ ในขณะที่อาการไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง จะทำให้ เลือดข้นเหนียวเป็นลิ่ม ทำให้เสี่ยงต่อการอุดตันหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองและหัวใจ

160509-blackmore-6

เพื่อการดูแลสุขภาพที่ดี ในช่วงแรกอาจต้องตั้งใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองกันหนักหน่อย แบ่งเวลาการ ทำงาน พักผ่อนให้เพียงพอ โดยควรจะทำให้ได้อย่างน้อย 21 วันต่อเนื่อง ตามทฤษฎี 21 Days ของ Dr. Maxwell Maltz ที่ว่า พฤติกรรมของคนเรานั้นจะสามารถปรับเปลี่ยนได้ เมื่อทำติดต่อกันเกิน 21 วันขึ้นไป

นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางด้านร่างกายแล้ว การควบคุมโภชนาการก็เป็นอีกทางเลือกที่สามารถป้องกัน ความเสี่ยงด้านสุขภาพ โดยเฉพาะหลอดเลือด โรคหัวใจและสมอง โดยการกินน้ำมันปลา (Fish Oil) ซึ่งมีประโยชน์จาก ไขมันจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้อย่าง Omega-3 สามารถหาได้จาก 2 ทาง เช่น ทานปลาทะเลน้ำลึก จำพวก ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาแอนโชวี่ ในปริมาณที่มากพอ แต่อาจจะทำได้ยากในวันที่ต้องเร่งรีบ หรือทาง เลือกที่น่าจะเหมาะกับคนเมือง คนทำงานมากกว่า ก็คือการกินน้ำมันปลาชนิดแคปซูล ที่มีกรดไขมัน Omega-3 จาก ธรรมชาติเข้มข้นกว่า

ภายใน Omega-3 ประกอบด้วยกรดที่สำคัญต่อร่างกาย 2 ชนิด ได้แก่ EPA (Eicosapentaenoic acid) และ DHA (Docosahesaenoic acid)

EPA มีประโยชน์ช่วยลดระดับไขมันในเส้นเลือดได้ทั้งคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ช่วยเสริมความแข็งแรงของ ระบบหลอดเลือดหัวใจ ลดภาวะหลอดเลือดหดตีบ ลดการจับตัวของเกล็ดเลือด แถมช่วยป้องกันความเสี่ยงต่างๆ เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจด้วย

DHA เป็นองค์ประกอบของกรดไขมันในสมอง จึงมีความสำคัญในการบำรุงและพัฒนาการทำงานของระบบประสาท ช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยพบความสัมพันธ์เกี่ยวกับระดับ DHA กับความจำด้วย นอกจากนั้น DHA ยังมีส่วนอย่างมากในการบำรุงสายตาสำหรับทุกเพศทุกวัยตั้งแต่เด็กไปจนถึงคนทำงานที่ใช้สมองจนเหนื่อยล้า

160509-blackmore-7

อย่างไรก็ตาม การเลือกน้ำมันปลาชนิดแคปซูลนั้น ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่สกัดน้ำมันจากปลาตัวเล็ก โดยเฉพาะปลาแอ นโชวี่ที่อาศัยอยู่ในกระแสน้ำเย็น เพราะปลาตัวเล็กจะมีอัตราการปนเปื้อนสารตะกั่วน้อยกว่าปลาใหญ่และปลานักล่า จึง มีความปลอดภัยมากกว่า ที่สำคัญ ในปัจจุบันนี้ Fish Oil มีการแบ่งหลายสูตร ต่างคุณสมบัติเช่นสูตรมาตรฐาน หรือสูตรที่เน้น Omega-3, EPA หรือ DHA เพื่อให้ครอบคลุมความต้องการที่แตกต่างกันของแต่ละคนอีกด้วย

Chaipohn
WRITER: Chaipohn
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line