Business

“อารมณ์ กับ การตัดสินใจ” – สงครามระหว่างสมองสองด้าน

By: Lady P. April 9, 2017

มีผู้กล่าวว่าสมองของมนุษย์ใช้ความสามารถเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แล้วอีก 90 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือล่ะ หากเราสามารถกระตุ้นให้สมองทำงานได้มากขึ้นจะทำให้เราฉลาดขึ้น? ตัดสินใจได้ดีขึ้น? เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้น?
นักวิทยาศาสตร์ใช้เวลาหลายทศวรรษเพื่อตอบข้อสงสัยเหล่านี้ แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่สามารถยืนยันได้อย่างเต็มปากนัก มีเพียงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ชัดเจนแล้วว่าสมองแต่ละส่วนมีบทบาทและทำหน้าที่เฉพาะแตกต่างกันไป และมนุษย์ก็ใช้สมองหลากหลายส่วนพร้อมกันเพื่อการดำรงชีวิตในแต่ละวัน

151214-life-calm-down-take-it-easy-3

สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการรวมถึงการตัดสินใจนั้นได้แก่สมองส่วนหน้า (frontal lobe หรือ neocortex) ที่ได้ชื่อว่า Neocortex ก็เพราะสมองส่วนนี้จะค่อย ๆ พัฒนาจนทำงานได้เต็มที่เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น นั่นก็เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเด็กน้อยจึงยังไม่สามารถฟอร์มความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลในเชิงตรรกะได้มากนัก

สมองส่วนที่ควบคุมเรื่องอารมณ์ทำงานเป็นเครือข่ายเรียกว่าระบบลิมบิก (limbic system) โดยมีกองบัญชาการหลักคือ อะมิกดาลา (Amygdala) ชื่อเดียวกับเจ้าหญิงอะมิกดาล่าในหนังเรื่องสตาร์วอร์ และ ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งกองบัญชาการทั้งสองนี้ตั้งอยู่ติดกันบนตำแหน่งใกล้แนวกึ่งกลางสมอง ทุกครั้งที่เราเผชิญกับข้อมูลที่ต้องตัดสินใจหรือปัญหาที่ต้องแก้ไข สมองทั้งส่วนความคิดและอารมณ์จะถูกกระตุ้นอย่างหนักและทำงานเชื่อมโยงกันเสมอ

ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันจากการถ่ายภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ของคนที่กำลังใช้ความคิดเพื่อตัดสินใจ จะเห็นว่าบริเวณสมองส่วนหน้าบริเวณ frontopolar cortex (หรือที่รู้จักกันดีในนามของ executive area ในสมอง) และตำแหน่งบริเวณกลางสมองที่ควบคุมด้านอารมณ์จะมีการใช้พลังงานมากกว่าสมองส่วนอื่นๆ (ภาพประกอบจากวารสารวิชาการ ‘Nature’)

อารมณ์เป็นสิ่งจำเป็นในการตัดสินใจ

bigstock-Businessmen-fighting-in-the-of-87642674-800x538

สมองด้านอารมณ์ทำงานโต้ตอบกับสิ่งเร้าได้รวดเร็วกว่าสมองด้านความคิด เพราะมันทำงานโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยความคิดไตร่ตรอง และนี่คือเหตุผลว่าทำไมบางครั้งถึงไม่ค่อยเท่าทันอารมณ์ความรู้สึกของเราแต่กลับมานึกได้ทีหลังว่ารู้สึกโกรธ คุณเคยมีประสบการณ์ที่ชอบหรือไม่ชอบหน้าใครบางคนตั้งแต่แรกเห็นโดยที่ยังไม่ทันรู้จักบ้างมั้ย นั่นหล่ะคือ “สมองเจ้าอารมณ์” ของคุณทำงานไปเรียบร้อยแล้ว บางคนจะเรียกความรู้สึกอย่างนี้ว่า “ญาณหยั่งรู้ส่วนตัว หรือ ลางสังหรณ์ส่วนตัว” หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า  “gut feeling”

สมองเจ้าอารมณ์ของพวกเราจะทำงานรวดเร็วกว่าสมองเจ้าความคิดประมาณเสี้ยววินาที  การฝึกทำความเข้าใจว่าอะไรเกิดขึ้นให้ได้ในช่วงเศษเสี้ยววินาทีนั้นเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยปรับปรุงความสามารถในการตัดสินใจของพวกเราไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัว เราอาจเรียกความสามารถนี้ว่า  “ความสามารถในการครองสติและรู้เท่าทันสติ” เพราะอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นหลังจากที่เราได้ตัดสินใจไปแล้วล้วนส่งผลต่ออนาคตของเราทั้งสิ้น

อารมณ์ทำงานเร็วกว่าความคิดyes-man-1920

อารมณ์หรือความรู้สึกที่หลากหลายเป็นตัวจุดประกายเริ่มแรกสำหรับทุกการตัดสินใจเสมอ เหมือนกับเป็นทางลัดของจิตที่เร่งให้เราตัดสินใจเร็วขึ้น อารมณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นนั้นสำคัญอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าต้องตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลจำนวนมาก มันจะช่วยให้เราเลือกการตัดสินใจที่คิดว่ามีความเป็นไปได้ดีที่สุดที่เหมาะกับตัวเรา ทำให้เราข้ามขั้นตอนความคิดไปได้อย่างรวดเร็ว สมองเหนื่อยน้อยลง ..ถามว่าดีมั้ย ? งั้นเราลองมาแตกประเด็นรายละเอียดเรื่องนี้กัน …

สมองของเราสามารถคิดเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างน้อย 4 ถึง 7 เรื่องพร้อมกัน สิ่งนี้ช่วยให้เราสามารถเปรียบเทียบความคิดต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีเหตุมีผล แต่อะไรจะเกิดขึ้นหากสมองของเราคิดตัวเลือกไว้มากเกินไปจนยากที่จะจดจำหรือเปรียบเทียบ สิ่งที่จะรี่เข้ามาช่วยเลือกคำตอบให้คือสมองด้านอารมณ์ซึ่งปกติก็ทำงานได้รวดเร็วกว่าสมองด้านความคิดอยู่แล้ว

บ่อยครั้งที่เราได้รับข้อเท็จจริงมากมายท่วมท้น ข้อมูลมหาศาลเหล่านี้จะถูกอัดแน่นเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของญาณหยั่งรู้ หรือ gut feeling สิ่งนี้เกิดขึ้นทุกวันเช่นเวลาที่คุณต้องเลือกเมนูมื้อกลางวัน เลือกเพื่อนร่วมชีวิต หรือการตัดสินใจเรื่องสำคัญในที่ทำงาน อารมณ์ที่อธิบายไม่ได้ หรือ ความรู้สึกล่วงหน้า (hunch) ถือว่าเป็นผู้นำสารที่สำคัญมาให้คุณ ดังนั้นการตรวจสอบว่าลางสังหรณ์ของคุณถูกต้องแม่นยำเพียงใดก็เป็นความคิดที่เข้าท่าเหมือนกัน

อารมณ์ เป็นตัวจุดประกายเริ่มต้นของทุกการตัดสินใจ

Man-Headache-Tie-Stress-Sick-Hot-Unhappy

เราลองมาคิดเรื่องนี้ดูว่าเป็นอย่างไร?

ความเชื่อ: “ถ้าต้องตัดสินใจเรื่องง่ายๆ ทั่วไป ก็ไม่ค่อยมีผลกับอารมณ์ของฉันสักเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นเรื่องสำคัญคอขาดบาดตายฉันก็จะไม่ปล่อยให้อารมณ์เข้ามามีผลต่อการตัดสินใจ ดังนั้นหากฉันสามารถเรียนรู้วิธีสกัดกั้นอารมณ์ของฉันได้ ฉันก็สามารถตัดสินใจได้อย่างยอดเยี่ยม”

ความจริง: ความเชื่อดังกล่าวไม่มีทางเป็นไปได้ ซ้ำร้ายเราไม่สามารถจะตัดสินใจอะไรได้เลยถ้าไม่มีสมองด้านอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าสมองส่วนนี้ถูกทำลายหรือบาดเจ็บ การตัดสินใจแม้กระทั่งเรื่องง่ายๆ ก็จะยากขึ้นทันที เช่นจะใช้ปากกาหมึกดำหรือหมึกน้ำเงิน และเมื่อเราตัดสินใจเลือกได้แล้ว เราก็จะไม่มั่นใจในสิ่งที่เลือก วนเวียนเป็นวัฏจักรแห่งความลังเลเรื่อยไป

เราไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้เลย หากไม่มีสมองด้านอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง

20150414150344-hire-right-die-trying-business-advice-my-younger-self-man-looking-mirror-reflection-washing-face

แล้วเราจะควบคุมอารมณ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของเราได้อย่างไร?

1. ทำความเข้าใจว่าปฏิกิริยาตอบโต้ทางอารมณ์ทุกครั้งขึ้นอยู่กับความฉลาดทางอารมณ์ (emotional intelligence) ของแต่ละคน เมื่อเกิดปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่รุนแรง ตัวเราจะรู้สึกร้อน กว่าปกติ หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกที่ฝ่ามือ ปฏิกิริยาเคมีเหล่านี้ส่งผลชัดเจนต่อการตัดสินใจของเรา

2. กลุ่มอารมณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ช่วยให้เราระแวดระวังเรื่องการสูญเสีย และช่วยให้เรารู้สึกเหมือนมีพลังฮึกเหิม เช่นถ้าคุณขับรถแล้วเกิดเหตุไม่คาดฝัน คุณจะใช้เวลาเพียงเศษเสี้ยววินาทีในการตัดสินใจที่จะไม่ทำให้ตัวเองเกิดอุบัติเหตุ หรือสามารถควบคุมรถไม่ให้พุ่งไปชนคันอื่น สำหรับการตัดสินใจบางเรื่องที่ไม่ฉุกเฉิน กลุ่มอารมณ์ประเภทนี้ก็เกิดขึ้นเช่นกัน แต่คุณมีเวลาในการตัดสินใจนานกว่า

3. เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการตัดสินใจที่สำคัญ ลองใช้ลางสังหรณ์ของคุณ ลองถามตัวเองว่าเราพยายามจะหลีกเลี่ยงอะไรหรือเราได้ประโยชน์อะไร เรามักใช้ 2 คำถามนี้ถามตัวเองอยู่เสมอในทุกๆการตัดสินใจ และจงซื่อสัตย์กับตนเอง รวมถึงหมั่นตรวจสอบผลกระทบของอารมณ์ความรู้สึกนี้ในการตัดสินใจของคุณ

4. ท้ายสุด ลองถามตัวเองว่าการตัดสินใจของคุณจะแตกต่างไปจากเดิมหรือไม่หากคุณตัดเรื่องอารมณ์ออกไป

“บางครั้งคุณต้องลองเชื่อ ลางสังหรณ์ส่วนตัวของคุณในการตัดสินใจ”

เรียบเรียงโดย  นพ.มนตรี แสงภัทราชัย

Facebook Fanpage :  Smart Coach Intelligence

160203smartcoach

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
1. Tremaine Du Preez. Book: Think Smart, Work Smarter: A Practical Guide to Solving Problems Faster (Success Skills Series) – July 15, 2011
2. John Pearson, Michael L Platt. Dynamic decision making in the brain. Nature Neuroscience 2012:15; 341-2.
3. NIMH – Perception decision making hub pinpointed in human brain.(Accessed on April 30th, 2015)
4. www.brainsurgeryinc.com/emotion-reason-decision (Accessed on May 1st, 2015)

Lady P.
WRITER: Lady P.
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line