Life

ส่งต่อแนวความคิดของพ่อ “ฝนหลวง” ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งที่ “จอร์แดน”

By: myfifthday October 20, 2016

ถ้าพูดถึงพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หรือ ในหลวงของเรา ที่ไกลก้องไปทั่วโลก เชื่อว่าหลายๆ คน ต้องนึกถึงเรื่องของ “โครงการฝนหลวง” ที่ท่านทรงมีกระแสพระราชดำรัส ให้พัฒนาเทคโนโลยีฝนเทียมขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 เพื่อกระตุ้น หรือ เพิ่มปริมาณน้ำฝนทั่วประเทศ สำหรับบรรเทาปัญหาภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรของประเทศไทย

การทำฝนเทียมหรือฝนหลวงเป็นกรรมวิธีการเหนี่ยวนำน้ำจากฟ้า ใช้เครื่องบินบรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้า โดยดูจากความชื้นของเมฆและสภาพทิศทางลมประกอบกัน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝนคือ ความร้อนชื้นปะทะความเย็น และมีแกนกลั่นตัวที่มีประสิทธิภาพในปริมาณที่เหมาะสม

161020-technology-make-it-rain-over-jordan-2

หลายๆ คน อาจเข้าใจว่าต้นกำเนิดของเทคโนโลยีฝนเทียมอาจไม่ได้เกิดที่ท่าน แต่ว่าพระองค์ทรงคิดวิธี “แปลงสภาพอากาศ” (Weather modification) ด้วยเทคนิคการโจมตีก้อนเมฆแบบแซนด์วิช (​super sandwich seeding technique) ที่ทรงจดสิทธิบัตรเอาไว้ ซึ่งเป็นการทำฝนเทียมที่ได้รับการยอมรับและมีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือของพระองค์

161020-technology-make-it-rain-over-jordan-4

โดยเฉพาะประเทศแถบร้อนที่ความชื้นน้อย จนทำให้ประเทศไทย นับเป็นศูนย์กลางฝนเทียมเขตร้อนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนยกให้มีวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498

แนวความคิดของพระองค์ไม่ได้หยุดแค่เพียงเท่านี้ ยังส่งต่อไปอีกเรื่อยๆ ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้สิทธิบัตรฝนหลวงถ่ายทอดวิทยาการทำฝนหลวงให้ 3 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย, แทนซาเนีย, และโอมาน

161020-technology-make-it-rain-over-jordan-3

ล่าสุดรัฐบาลจอร์แดนส่งนักวิชาการ จำนวน 8 คน มารับการฝึกอบรบการทำฝนหลวง และฝึกปฏิบัติการฝนหลวง ที่ประเทศไทยก่อนจะนำเทคนิคนี้ไปใช้ที่ประเทศจอร์แดน และมีการลงนามความเข้าใจระหว่างไทยและจอร์แดนอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 23 มี.ค. 2559 ที่ผ่านมา จอร์แดนเป็นอีกประเทศในโลกที่มีปัญหาเกี่ยวกับปริมาณน้ำฝน และทรัพยากรน้ำไม่เพียงพอต่อประชาชนในประเทศ

โมฮัมหมัด ซามาวี อธิบดีกระทรวงเกษตรของจอร์แดน กล่าวว่า จอร์แดนถูกจัดเป็นประเทศที่ขาดแคลนน้ำเป็นลำดับต้น ๆ ของโลก และปัญหาตรงนี้ เป็นปัญหาหลักที่ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ปัญหาด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ของชีวิตคนในประเทศ และด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก ทำให้จอร์แดนยิ่งมีอุณหภูมิสูงขึ้น และฝนไม่ตกตามฤดูกาล ซึ่งเป็นปัญหาอย่างหนัก

161020-technology-make-it-rain-over-jordan-1
ในปัจจุบันมีแหล่งน้ำให้ใช้ในจอร์แดนแค่เพียง 800 – 900 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งเพียงพอต่อคน 3 ล้านคนเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีประชากรมากกว่า 10 ล้านคน ทำให้น้ำไม่เพียงพอต่อการใช้ ซึ่งก่อนหน้านี้ ทางจอร์แดนก็ได้จะพยายามพัฒนาโครงการฝนเทียมขึ้นมาเองในช่วงปี 2532 -2538 แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ทางรัฐบาลของจอร์แดนจึงเล็งเห็นความสำคัญ ได้ขอพระราชทานอนุญาตนำ เทคโนโลยีฝนเทียม ของไทยไปใช้ ซึ่งพระองค์ก็ยินดีให้นำไปใช้เพื่อให้นำความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการทำฝนเทียมไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับเอเชียตะวันออก ซึ่งโครงการฝนเทียมในจอร์แดนได้รับการสนับสนุนโดย Royal Jordanian Air Force, the Ministry of Water และ Ministry of Agriculture ของจอร์แดน

ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก ที่โครงการพระราชดำริของพระองค์ ได้ส่งต่อผ่าน เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ และถึงแม้ว่าท่านจะไม่ได้อยู่แล้ว พระองค์ยังทรงจัดตั้งหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวงต่อไปและเพื่อให้การทำฝนหลวงมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ซึ่งประเทศไทยก็ยังคงต้องพัฒนาองค์ความรู้และปรับปรุงเทคโนโลยีในการทำฝนหลวงอยู่เสมอ เพื่อยังคงปณิธานของพระองค์ให้สืบต่อไป

Source

Source

myfifthday
WRITER: myfifthday
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line