DESIGN

Rukkit สตรีทอาร์ตติสชั้นแนวหน้าของประเทศ กับ Passion การทำงานในแบบฉบับของตนเอง

By: Thada March 31, 2017

สตรีทอาร์ท (Street Arts) หรือแปลตรงตัวว่าศิลปะที่เกิดขึ้นและสามารถพบเห็นได้ตามที่สาธารณะ ที่คนส่วนใหญ่จะจำสลับสับสนกับกราฟิตี้  หรือการพ่นผนังด้วยสเปรย์ แต่ Street Arts นั้นยังรวมถึงงานประติมากรรม (Sculpture) การพ่นผนังด้วยสีสเปรย์ โดยมีบล็อกกั้นสี (Stencil Graffiti) การติดสติ๊กเกอร์ (Sticker Art) การแปะโปสเตอร์โดยใช้กาวทา (Wheat Pasting) และศิลปะการจัดวาง (Street Installation) เป็นต้น

ซึ่งตามหลักความเป็นจริงแล้ว การขีดเขียนศิลปะในที่สาธารณะนั้น เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับเผ่าพันธ์มนุษย์มาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคโบราณ ที่มนุษย์หินจะขีดทำสัญลักษณ์บนกำแพง หรือจะเป็นชาวโรมันที่มีการสร้างตัวอักษร แต่เนื่องจากบ้านเมืองที่กฎและกรอบระเบียบทำให้การทำศิลปะในที่สาธารณะถือว่าขัดต่อกฎหมาย

170323-epson-1

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลังจากวัฒนธรรมสตรีทได้นำพาทั้งสไตล์การแต่งตัว ลักษณะการดำเนินชีวิต หรือแม้แต่ศิลปะให้ขึ้นมาเป็น Mainstream Culture ทำให้เราเห็นวัฒนธรรมความหลากหลายที่แตกต่างมากขึ้นในสังคม และถ้าพูดถึง Street Arts ในบ้านเรา หลายท่านอาจจะนึกถึง ตั้ม-พฤษ์พล มุกดาสนิท ผู้ใช้นามแฝง MMFK (Mamafaka) ศิลปินยิ่งใหญ่ผู้ล่วงลับ หรือจะเป็น P7 – พีระพงศ์ ลิ้มธรรมรงค์ ที่ผลงานได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ

แต่ในชั่วโมงนี้ ถ้าพูดถึงศิลปินที่กำลังได้รับความสนใจอย่างแรง จะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจาก  คุณรักกิจ ควรหาเวช ศิลปินแนวสตรีทอาร์ต ผู้มีผลงานแนวกราฟิตี้ ใช้สีสันลายเส้นเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นที่หลายคนกำลังพูดถึงในขณะนี้  ถือเป็นโชคดีของ UNLOCKMEN อย่างมากที่มีโอกาสได้ไปสัมภาษณ์แบบพิเศษตัวต่อตัว ซึ่งต้องบอกว่าช่วงนี้ คุณ Rukkit คิวงานแน่นสุด ๆ จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้มาพูดคุยถึงแนวคิด แรงบันดาลใจ และถอดรหัสความคิดไอเดียการสร้างสรรค์ผลงานในสไตล์  “Rukkit” กัน

rk-1

จุดเริ่มต้นที่ทำให้คุณ Rukkit มารู้จักกับงานสตรีทอาร์ต?

ผมจบจาก ครุศิลป์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ตอนเริ่มต้นก็ทำงานกราฟิกดีไซน์ ทำมาเป็น 10 กว่าปี จนพี่ P7 (เจนวิทย์ ลิ้มธรรมรงค์) ชวนทำงานกำแพง อันนี้หละเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้มารู้จักกับงานสตรีทอาร์ท

แล้วสตรีทอาร์ตต่างจากอาร์ตปกติอย่างไร?

เอาแบบเข้าใจง่าย ๆ เลย งานสตรีทอาร์ตคือการทำงานศิลปะบนพื้นที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็น งานปั้น งาน Media งานเพ้นท์ติ้ง หรือ พ่นสี ทุกอย่างคือสตรีทอาร์ตหมดถ้าเรารู้จักเล่นกับพื้นที่ที่เรามี

คุณ Rukkit ทำงานในสายสตรีทอาร์ตมาแล้วกี่ปี?

5 ปีแล้วครับ

RK-15

อะไรเป็น Passion ที่ทำให้หลงใหลและเลือกที่จะทำงานสตรีทอาร์ตเรื่อยมา?

เรื่องของสเกลครับ พอเราได้จับงานสเกลใหญ่แล้วเราสามารถจบงานได้ มันรู้สึก impact กับตัวผลงานได้มากกว่าสมัยที่ทำกราฟิกดีไซน์ ซึ่งพอมันจบก็ผ่านไป ทำเสร็จก็มานั่งรอหนังสือ หรือปกซีดีที่เราทำออกมา แค่ไปซื้อเก็บกลับบ้าน แต่สตรีทอาร์ตที่เราไปสร้างกำแพง พอทำเสร็จปุ๊ปเราต้องทิ้งมันไว้เลย ไม่สามารถนำกลับมาไว้ที่บ้านได้ มันมีความสุขในอีกแบบหนึ่ง เหมือนทำอะไรเพิ่มสีสันให้กับสาธารณะไปเลย

อยากทราบถึงไอดอลของคุณ Rukkit?

พี่ P7 (เจนวิทย์ ลิ้มธรรมรงค์) ที่กระตุ้นให้ผมรู้จักกับงานศิลป์และเรียนรู้เกี่ยวกับมัน ตอนแรกก็ไม่รู้หรอกว่าสตรีทอาร์ตมันคืออะไร ไปจำสลับกับกราฟิตี้ด้วยซ้ำ ไม่เคยคิดด้วยว่าชีวิตนี้ต้องมาใช้สีสเปรย์พ่น แต่พอได้มาลองทำปุ๊ป มันรู้สึกว่าเราพบด้านใหม่ของการทำงาน และมันก็มีความสุขมาก ๆ

 ช่วยเล่าที่มาของเทคนิค Block Stencil ที่เป็นเหมือนลายเซ็นของคุณ Rukkit  หน่อยครับ?

ก่อนหน้านี้ผมทำงานบนคอมพิวเตอร์มาตลอด ทำให้เกิดปัญหาฟรีแฮนด์ไม่เป็น เลยต้องมานั่งหาเทคนิค จนมาพบ Block Stencil ในแบบฉบับเฉพาะตัว ต่อยอดมาจากการทำงานทดลองเกี่ยวกับ Block Stencil ที่ใช้พ่นตัวอักษร และสามารถสร้างตัวอักษรได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หรือพ่นเป็นภาพอื่นได้ เหมือนต่อเลโก้ ที่โครงสร้างไม่ได้ซับซ้อนอะไรอย่างเช่น เส้นตรง เส้นโค้ง เส้นเฉียงบ้าง ซึ่งเปิดโอกาสให้เราต่ออย่างฟรีสไตล์เป็นรูปแบบอะไรก็ได้เท่าที่จินตนาการ พองานทดลองนี้ตอบโจทย์ที่ตัวเองตั้งไว้ จึงพัฒนาการใช้งานต่อยอดจากการสร้างตัวอักษรมาสร้างเป็นภาพจนเป็นสไตล์งานในปัจจุบัน

rukkitYEN_1700-12

การทำงานในสไตล์ของคุณ Rukkit เริ่มจากตัวตนหรือคอนเซ็ปต์ก่อน?

ช่วงแรกเราจะหาเทคนิคมาเพื่อทำงานที่คิด เพราะในช่วงแรกเหมือนเป็นการเรียนรู้ ลองผิดลองถูก ซึ่งการพ่นสเปรย์มันไม่เหมือนกับการทำงานบนคอมพิวเตอร์ ที่เราจะสามารถแก้กี่รอบก็ได้ แต่พออยู่หน้างานบนกำแพง มันต้องคิดเผื่อวิธีการที่เราสามารถทำได้ จากการคิดแบบนี้ทำให้ตัวงานในช่วงแรกยังไม่ค่อยมีอะไร แต่พอเราทำไปเรื่อยๆ เราก็พยายามหาแพทเทิร์นให้งานมีเรื่องราวมากขึ้น เราก็หยิบฉวยเอาแรงบันดาลใจจากคนใกล้ตัว หรือลูกค้ามาเป็นข้อมูลในการมาลงมือทำงาน

ความรู้สึกต่อวงการศิลปะไทยและต่างประเทศ?

ค่อนข้างต่างกัน เพราะในบ้านเรามันยังมีแก๊งค์ กลุ่มก้อนอยู่เยอะ ที่บลัฟกันเองว่าใครตัวจริง ใครตัวปลอม มาก่อน มาหลัง ซึ่งถ้าในต่างประเทศเขาจะโฟกัสในตัวผลงาน หรือเทคนิควิธีการอะไรก็ได้ เขาไม่มานั่งสนใจในจุดนี้ เพราะถ้างานเรามีลายเซ็น เราจะอยู่ตรงไหนของโลกก็ได้

แล้วมีปัญหาในการสื่อสารให้กับคนไทยเข้าใจในผลงานของเราไหม?

ผมว่าตอนนี้คนมีความเข้าใจเยอะมากขึ้น ถ้าสังเกตกันดีๆ จะเห็นว่าในบ้านเราตอนนี้มีศิลปะแฝงอยู่ทุกที่ นับเป็นความโชคดีที่ยุคของเรานี่มี Street Culture ทำให้คนรู้จักศิลปะในวงกว้างมากขึ้น คือสมมุติถ้าผมเป็นศิลปินแสดงงานในแกลลอรี่ ก็จะเป็นเฉพาะกลุ่มก้อน ถ้าคนไม่รู้จักแกลลอรี่ก็จะไม่ได้มานั่งสนใจ แต่พอมันเป็น Street  เราไปสร้างงานในที่สาธารณะ ดังนั้นแม้แต่คนที่ไม่ได้สนใจงานศิลปะก็สามารถเสพงานศิลป์ได้ง่ายขึ้นในสมัยนี้

RK-16

คุณ Rukkit ทำงานมาเยอะ ๆ เคยมีตันบ้างไหม?

มีบ้าง แต่เราคิดว่าทุกครั้งที่เริ่มงานใหม่เราจะไม่กินของเก่า คืองานเมื่อจบไปแล้วคือจบ พอได้รับโจทย์ใหม่เราก็ต้องมานั่งคิดใหม่ เดี๋ยวไอเดียใหม่ ๆ มันก็จะมาเอง การพูดคุยกับคนอื่นเป็นการหาไอเดียที่ดีมาก ๆ เหมือนเป็นการเพิ่มประสบการณ์ให้เรา ยิ่งเราอยากรู้อะไรต้องยิ่งถาม เพื่อให้ได้ข้อมูลดิบที่จะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาความคิดต่อไปได้

RK-22

ช่วยเล่าที่มา รวมถึงประสบการณ์การทำงานกับทาง Epson เป็นยังไงบ้าง?

ผมได้ร่วมงานกับ   Epson  ในฐานะ Endorser คนหนึ่งของแคมเปญ  #TrustInYou  ซึ่งแคมเปญนี้ คือการเล่าเรื่องราวของความสำเร็จของบุคคล 3 คน ที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน อยู่ในคนละวงการ และมีเส้นทางการเดินทางที่ไม่เหมือนกัน แต่มีเป้าหมายแห่งความสำเร็จเดียวกัน นั่นคือการสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาจนได้รับการยอมรับและไว้วางใจของทุกคน นอกจากผมแล้วยังมี คุณหมู (ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์) เจ้าของ Ookbee และเป็นแกนนำของวงการ  Startup ไทย  และ คุณเบียร์ (พันธวิศ ลวเรืองโชค ) จาก APOS ที่มีชื่อเสียงในการจัดและสร้างสรรค์  Event แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร

RK-18

ส่วนผมเป็นตัวแทนที่จะสื่อสารถึงคนที่มี  Passion ในการทำงาน  ซึ่ง  Epson มองว่าผมและผลงานศิลปะที่ผมทำ สามารถสื่อสารและสะท้อนคุณค่าในด้าน  Trust In Your Passion ได้อย่างชัดเจน ซึ่งก็ค่อนข้างตรงกับตัวผม ที่เวลาทำอะไร  จะทุ่มเทกับการทำงานด้วยความหลงใหลในงาน พัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ ไม่หยุด ทำจนกว่าจะสำเร็จ

ทราบว่า คุณ Rukkit  กำลังจะมีผลงานศิลปะร่วมกับ Epson?

ใช่ครับ  ผมต่อยอดผลงานจากแคมเปญ  Trust In You ซึ่งผมไปนำความทรงจำในอดีตมาใช้ ผมชอบเล่าเรื่องผ่านภาพสัตว์ ครั้งนี้ก็เช่นกัน ผมตีความจากโจทย์ Trust In You เรามองว่าความไว้ใจ ความซื่อสัตย์ซึ่งกันและกัน คือความซื่อสัตย์ที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่ตอนเรียนวิชาลูกเสือ ที่เด็กถูกสอนให้ไว้ใจในตัวเพื่อน และในตัวตนของลูกเสือจะมีสิงห์สาราสัตว์แฝงอยู่ เป็นสิ่งที่มีความหมายเชิงสัญญา นั่นเป็นความทรงจำแรก ๆ ในชีวิตที่ถูกสอนเรื่องของความเชื่อใจซึ่งกันและกัน  เราถึงสื่อสารออกมาเป็นผลงานรูปเสือ  “Tiger”

ผมต้องการสร้างผลงานสตรีทอาร์ท ที่ผสมระหว่างงานสเปรย์ กับงานพรินท์ที่ได้จากทางเอปสัน โดยใช้มีเดียในการพรินท์ที่หลากหลาย ( Mix Media) เพื่อตอบสนองแนวคิดที่สมบูรณ์ของตัวงาน รูปที่นำมาสร้างผลงานจะเป็นรูปธรรมชาติ รูปวิว ดอกไม้ โดยใช้งานสเปรย์สร้างเป็นฟอร์มรูปเสือขึ้นมาด้วยเทคนิคสเตนซิลที่เป็นเทคนิคเฉพาะตัวของผมเอง

rukkitScreen Shot 2017-03-24 at 2.02.21 PM-09

ถึงตอนนี้มีอะไรที่คุณ Rukkit รู้สึกว่ายังไม่ได้ทำและอยากทำอีกไหม แล้วคิดว่าตัวเองประสบความสำเร็จหรือยัง?

ถ้าอยากทำยังไม่รู้  แต่รู้แค่ว่าโชคดีมากที่แต่ละงานที่เข้ามา มันทำให้เราต้องหาทางออกและคิดอะไรใหม่ ๆ อยู่เสมอ แล้วไอ้ตัวชี้วัดความสำเร็จก็อยู่ที่ตัวเราเอง อย่างผมรู้สึกว่าตัวเองประสบความสำเร็จเป็นช่วง ๆ

เวลาทำงานเสร็จเราก็รู้สึกสำเร็จ แฮปปี้กับมันแล้ว เสร็จแล้วก็อย่าไปอินอะไรกับมันมาก ลบภาพนั้นทิ้งไป ถ้าเรามัวแต่คิดถึงแต่ผลงานที่ผ่านมาแล้ว มันไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น แถมความสนุกในการทำงานก็จะลดลงด้วย ผมจะมองไปที่งานต่อ ๆ ไปมากกว่า

rukkitScreen Shot 2017-03-24 at 2.00.21 PM-11

ฝากถึงคนที่อยากจะมาเป็นศิลปินหรือทำงานสตรีทอาร์ตเหมือนกับคุณ Rukkit หน่อยครับ?

ผมอยากให้ทุกคนสร้างตัวเองขึ้นมา การมีคนอื่นเป็นแรงบันดาลใจสามารถทำได้ แต่สุดท้ายเราก็ต้องเป็นตัวของตัวเอง การเล่าเรื่องด้วยลายมือตัวเองมันจะง่ายกว่า แต่กว่าจะเป็นตัวเองได้ มีลายมือที่ชัดเจน ก็ต้องฝึกฝนพยายามอย่างหนัก มีความหลงใหลหรือ Passion ในงานที่ทำ แล้วคุณจะมีความสุขกับผลงานที่ออกมาอย่างภาคภูมิใจ

ทั้งหมดนี้ก็เป็นแรงบันดาลใจ รวมถึงหลักการทำงานที่คุณ รักกิจ ควรหาเวช ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานจนเกิดเป็นสีสัน  ลายเส้นที่เฉพาะ ชนิดหาใครลอกเลียนแบบได้ยาก สำหรับคนที่สนใจอยากจะไปชมผลงานล่าสุด  “Tiger” ภายใต้แคมเปญ  #TrustInYou ของ Epson  ที่เป็นครั้งแรกของคุณ Rukkit ที่จะสร้างสรรค์ผลงานสตรีทอาร์ตในแนวศิลปะสื่อผสม  (Mix Media Art)  ด้วยการพ่นสีสเปรย์เทคนิคเฉพาะตัวของคุณ Rukkit  ผสมผสานสื่อประเภทต่างๆ จากการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ระดับมืออาชีพของเอปสัน ถึง 44 ชิ้นด้วยกัน  เช่น  หนังเทียม PU, Glossy Cotton Cloth, Sunlite Glossy PET Backlit  เป็นต้น

คนรักงานศิลปะและแฟน ๆ  ผลงานคุณรักกิจ ควรหาเวช สามารถมาสัมผัสกับผลงานแนว Mix Media Art ชิ้นแรกสุดของคุณ Rukkit ได้ที่ ชั้น 1  ของคอมมูนิตีมอลล์ ท่ามหาราช บริเวณผนังด้านข้างของร้าน  Peppina  สำหรับใครที่มาชมงานสามารถถ่ายรูปไปร่วมสนุกลุ้นรับของรางวัลพิเศษจาก Epson ที่เป็น Limited Edition ผลิตขึ้นเป็นพิเศษจากผลงานออกแบบของ Rukkit ติดตามรายละเอียดได้ที่   www.facebook.com/EpsonThailand

170323-epson-12

 

Thada
WRITER: Thada
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line