ต้องยอมรับว่าสมัยนี้เทคโนโลยีพัฒนาเร็วมาก ทุกปีเราเห็นฟีเจอร์โทรศัพที่ไฮเทคมากขึ้น เราเห็นคนหันมาลงทุนในสกุลเงินคริปโต เราเห็นคนเริ่มเปลี่ยนมาใช่รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึง ความสนใจใน Metaverse โลกเสมือนที่อนุญาตให้เราสร้าง เป็นเจ้าของ และแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลโดยใช้สกุลเงินคริปโต หรือ NFT Metaverse จะทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจมากมาย เช่น แกลอรี่ออนไลน์ การทดลองสินค้าในโลกเสมือน ไปจนถึง การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์บนพื้นที่ออนไลน์ ธุรกิจที่เข้าสู่วงการนี้ได้เร็วจึงอาจได้รับประโยชน์จากมันมาก UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำวิธีการเข้าสู่โลก Metaverse สำหรับธุรกิจที่มองเห็นถึงความสำคัญของโลกเสมือน เลือกกลุ่มเป้าหมาย ลองค้นหาดูว่ากลุ่มเป้าหมายของเราเป็นใคร หรือ ใช้เวลาบน Metaverse นานแค่ไหน และหากลยุทธ์ทางธุรกิจที่จะช่วยดึงดูดให้พวกเขาสนใจสินค้าและบริการของเรา ยกตัวอย่างเช่น ถ้ากลุ่มเป้าหมายของเราเป็นคนหนุ่มสาว พวกเขาคงรีบเข้าไปในโลก Metaverse และใช้เวลากับมันนานพอสมควร เป็นต้น ถ้าเราได้ข้อมูลตรงนี้แล้ว เราจะรู้ว่าเวลาไหนที่ธุรกิจของเราควรเข้าไปในโลก Metaverse สังเกตคู่แข่งทางธุรกิจ สำรวจดูว่าคู่แข่งของคุณทำอะไรกับ Metaverse บ้าง เช่น จัดประชุมออนไลน์ จัดงานโชว์เคสผลงาน หรืิอ เปิดร้านค้าออนไลน์บนโลกเสมือน เป็นต้น การสำรวจคู่แข่งจะทำให้เรารู้ว่าคนอื่นทำอะไรอยู่ และรู้ว่าถึงเวลาที่ธุรกิจของเราควรเข้าสู่โลก Metaverse
เคยใช้เวลาว่างพักผ่อนอย่างเต็มที่แล้ว แต่เรายังรู้สึกเหนื่อยล้าและหายใจยังไม่ทั่วท้องหรือไม่ บางทีมันอาจเกิดขึ้นเพราะเราพักผ่อนไม่ครบทุกด้าน Dr. Saundra Dalton-Smith นักพูด Tedx และนักเขียนหนังสือชื่อ Sacred Rest: Recover Your Life, Renew Your Energy, Restore Your Sanity ได้แบ่งการพักผ่อนของมนุษย์ ออกเป็นทั้งหมด 7 ประเภท ได้แก่ การพักผ่อนกายภาพ (physical rest) หรือ การพักผ่อนร่างกายปกติ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นทั้งแบบ active หรือ passive โดย passive จะประกอบไปด้วย การนอนและการงีบ ส่วน active จะเป็นการทำกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น โยคะ หรือ การนวด ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาระบบไหลเวียนเลือดและความยืดหยุ่นของเรา ต่อมา คือ การพักผ่อนจิตใจ (mental rest) หรือ การทำให้จิตใจแจ่มใส ถ้าเราทำงานหนักแบบไม่หยุดพัก เราจะเกิดความเครียดสะสม จนเกิดความรู้สึกเหนื่อยล้าทางจิตใจได้
ยิ่งเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้นเท่าไหร่ ความสะดวกสบายยิ่งมีมากขึ้น และตอนนี้ทาง LG ได้นำเสนอคอนเซ็ปท์อุปกรณ์ใหม่ที่ช่วยให้การรับชมภาพเคลื่อนไหวมีความบันเทิงเริงรมย์มากขึ้น LG DISPLAY เปิดตัว “Media Chair” คอนเซ็ปท์เก้าอี้อัจฉริยะที่ถูกออกแบบมาเพื่อการผ่อนคลายอย่างสมบูรณ์แบบ โดยเก้าอี้ตัวนี้จะมาในดีไซน์แบบครึ่งวงกลม (semi-circular) และประกอบไปด้วย หน้าจอ OLED ขนาด 55 นิ้วที่มีรัศมีความโค้งแบบ 1,500 R และภายในเทคโนโลยี Cinematic Sound ที่พัฒนาโดยบริษัทเอง ซึ่งทำให้หน้าจอสามารถสั่นไหวและส่งเสียงได้ โดยไม่ต้องมีลำโพงตัวนอกมาเสริม นอกจากนี้ หน้าจอของเก้าอี้ยังมาพร้อมกับ ฟังก์ชันจุดหมุน (pivot function) ที่สามารถเปิดใช้งานได้ผ่านปุ่มที่อยู่บริเวณที่พักแขนด้านขวา ซึ่งมีหน้าที่ในการหมุนหน้าจอทั้งในมุมแนวตั้งและแนวนอน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถปรับมุมมองหน้าจอให้เหมาะกับสิ่งที่เราต้องการจะชมได้ นอกจากนีัตัวหน้าจอยังมาพร้อมกับเทคโนโลยี self-emitting pixels จำนวนหลายล้าน และ backlight แยกที่ทำงานร่วมกันและทำให้เกิดภาพที่มีคุณภาพสูง ทาง LG จะจัดแสดงเทคโนโลยีนี้ในงาน CES 2022 ที่จัดขึ้นในเดือนมกราคมนี้ ที่เมืองลาสเวกัส รวมกับอุปกรณ์อื่น เช่น Virtual Ride สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ CES
ใครที่เคยดูภาพยนตร์เรื่อง “Sex and the City” คงคุ้นเคยกับตัวละครที่ชื่อว่า “Carrie Bradshaw” นักเขียวสาวสวยผู้เป็นตัวละครหลักในเรื่อง นิสัยของเธอมีความน่าสนใจมาก คือ เธอคิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง ปัญหาของเธอต้องมาก่อนปัญหาของคนอื่นเสมอ และเพื่อนมีหน้าที่คอยให้กำลังใจเธอเท่านั้น นิสัยที่ชอบทำตัวเหมือนเป็นตัวเอกในเรื่องราวชีวิตของตัวเอง ในทางจิตวิทยา เรียกว่าเป็น Main Character Syndrome หรือ อาการของตัวละครหลัก ซึ่งคนที่มีอาการนี้มักมองว่าตัวเองเป็นตัวเอกในเรื่องราวชีวิตของตัวเอง และคนอื่นเป็นเพียงตัวละครสมทบเท่านั้น พวกเขาจึงไม่ค่อยสนใจชีวิตของคนอื่นมากนัก และมองว่าชีวิตของตัวเองสำคัญที่สุด หากไม่ได้รับการเปลี่ยนนิสัย อาจส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตได้ อาการนี้มักพบในคนรุ่น GenZ ที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี ซึ่งมีความผูกพันกับการใช้เทคโนโลยี พวกเขามักพยายามหนีจากโลกความเป็นจริง โดยใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือในการสร้างตัวตนใหม่ เช่น แต่งภาพให้ดูดีขึ้น หรือ แต่งเรื่องราวของตัวเองให้ดูน่าสนใจ แม้การมองตัวเองเป็นตัวละครหลัก จะช่วยให้เรามีความมั่นใจในการใช้ชีวิตและมองเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงมันก็สะท้อนถึงปัญหาเรื่องความมั่นใจในตัวเองเหมือนกัน เพราะคนกลุ่มนี้มักอ่อนแอต่อคำวิจารณ์มาก และเป็นพวกนิยมความสมบูรณ์แบบ จึงพยายามใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือที่แสดงให้คนอื่นเห็นว่าตัวเองสุดยอดแค่ไหน เช่น การแต่งรูปให้ดูดี หรือ การแต่งเรื่องราวของตนเองให้คนสนใจ ปัญหาของ Main Character Syndrome คือ
แม้จะเป็นสัปดาห์แห่งวันหยุดแล้ว แต่หลายคนอาจกำลังอยู่หน้าจอคอมหรือมือถือตรวจสอบ Inbox จากอีเมล์ที่ทำงานอยู่ บางคนอาจกังวลว่าจะมีงานด่วนเข้ามารึเปล่า หรือ กลัวว่าจะพลาดการตอบอีเมล์สำคัญไป ส่งผลให้พวกเขาต้องหมั่นเช็คอีเมล์อยู่ตลอดเวลา อาการนี้มีชื่อเล่นว่า Email Anxiety และเป็นอาการที่ทำร้ายเราได้มากกว่าที่คิด มันจะทำให้เราเครียดแม้ในวันหยุด และขัดขวางการพักผ่อนของเรา UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำวิธีรับมือกับอาการนี้ให้อยู่หมัด Email Anxiety เกิดขึ้นได้อย่างไร ในช่วงที่เราต้องทำงานอยู่บ้าน เราอาจซัฟเฟอร์กับ Email Anxiety ได้ง่ายขึ้น เพราะการเปลี่ยนวิธีทำงาน มาทำงานที่บ้าน อาจทำให้หลายบริษัทเริ่มจู้จี้กับพนักงานมากขึ้น จนหลายคนเริ่มมีเวลาทำงานที่ไม่แน่นอน และสูญเสียความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต (work-life balance) ไป สุดท้ายสภาพจิตใจของพวกเขาก็ตกอยู่ในอันตราย เมื่อเราไม่รู้ว่าเวลาไหนควรหยุดดูอีเมล์จากที่ทำงาน เราจะไม่สามารถคลายความเครียดและความกังวลเรื่องงานไปได้ เพราะเราจะรู้สึกเหมือนถูกบังคับให้สนใจเรื่องงานตลอดเวลา จนใกล้จะถึงเวลานอนแล้ว เราอาจกำลังดูอีเมล์อยู่ก็เป็นได้ นอกจากนี้ Email Anxiety สามารถเกิดขึ้นได้จากการทำงานของสมอง เช่น ความต้องการอยากทำงานให้สำเร็จ พอเราตรวจสอบอีเมล์จากที่ทำงานเสร็จ สมองจะหลั่งฮอร์โมนโดปามีนซึ่งทำให้เราเกิดความรู้สึกดี เราจึงอยากดูอีเมล์ตลอดเวลา แต่ในความเป็นจริง อีเมล์อาจไม่ได้เข้ามาในเวลางานเสมอไป หรือ บางวันอีเมล์งานอาจเยอะมากเกินเราจะเช็คหมดในวันเดียว เพราะฉะนั้น การไล่ตามอีเมล์ตลอดเวลา จึงมีแต่ทำให้เรารู้สึกเครียดกังวล
หลายคนคงอยากใช้เวลาคริสตมาสร่วมกับคนพิเศษ แต่ไม่รู้จะพาคนที่เรารักไปไหนดี UNLOCKMEN เลยรวบรวมสุดยอดรูฟท็อปบาร์ที่มีดีทั้งบรรยากาศ เมนูอาหาร และเครื่องดื่ม เพื่อให้ทุกคนใช้ชีวิตร่วมกับคนรักอย่างมีความสุข Mahanakhon Bangkok SkyBar มาเริ่มกันที่ Mahanakhon บาร์และร้านอาหารชื่อดังบนชั้น 76 ของ King Power Mahanakhon ที่นี่ขึ้นว่าเป็นรูฟท็อปบาร์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย และมีบรรยากาศภายในที่หรูหราซึ่งเป็นฝีมือการออกแบบของ Tristan Auer ดีไซน์เนอร์ระดับโลก ซึ่งสามารถผสมผสานความสวยงามหรูหราแบบไทยและฝรั่งเศสออกมาได้อย่างลงตัว นอกจากเรื่องโลเคชั่นแล้ว อาหารและเครื่องดื่มก็ดีงามไม่แพ้กัน เพราะทุกอย่างได้รับการดูแลโดยเชฟและบาร์เทนเดอร์มืออาชีพ ทุกคนสามารถประทับใจกับมื้ออาหารควบคู่ไปกับการชมวิวของเมืองจากมุมสูงได้อย่างฟิน ๆ Location: ชั้น 76 King Power Mahanakhon 114 ถนนนราธิวาส แขวงสีลม เขตบางรัก 10500 Facebook: @MahanakhonBangkokSkyBar IG: mahanakhonbangkokskybar Tel: 02-677-8722 Red Sky Bar ต่อมา คือ Red Sky Bar รูฟท็อปบาร์สไตล์ลักชัวรี่ บนชั้น
ดูเหมือนว่าในปีนี้ Adam Sandler ดาราฮอลลีวู้ดจะได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการแต่งตัวแบบสบาย ๆ ของเขา Google ได้เปิดเผยลิสต์ Year in Search 2021 ซึ่งมีชื่อของ Sandler ติดในอันดับบุคคลที่ถูกค้นหามากที่สุดในหมวด ‘celebrity outfits’ โดยคนที่ถูกค้นหามากรองลงมา คือ Britney Spears (อันดับ 2) และ Harry Styles (อันดับ 6) สไตล์การแต่งตัวของ Adam Sandler มักมีความเป็น Casual สูง ไม่ว่าจะเป็น เสื้อยืดตัวโคร่ง และ กางเกงขาสั้นแบบ baggy short ซึ่งเป็นสไตล์ที่มีเสน่ห์มากจนชาวเน็ตยกย่องให้การแต่งตัวของเขาเป็น peak ‘American fashion’ แถมยังมีดาราบางคนที่ได้รับแรงบันดาลใจในการแต่งตัวจากเขาอีกด้วย เช่น Pete Davidson เราเลยอยากพาทุกคนไปสำรวจลุคที่น่าสนใจของ Adam Sandler กัน
เวลาทำงานผิดพลาด หรือ ตัดสินใจทำอะไรแล้ว ผลลัพธ์ที่ออกมาไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง สิ่งที่หลายคนมักทำกันหลังจากนั้น คือ โทษตัวเอง (Self-Blame) ด้วยถ้อยคำต่าง ๆ เช่น “มันเป็นความผิดของฉันเอง” หรือ “เราพลาดเอง” เป็นต้น แม้พฤติกรรมนี้จะทำให้เรารู้สึกว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นเริ่องใหญ่ และเกิดแรงกระตุ้นในการหาวิธีป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก แต่ถ้ามองในอีกมุมหนึ่งมันก็ทำให้เรารู้สึกแย่กับตัวเอง จนอาจสูญเสียความมั่นใจในการใช้ชีวิตไปได้เหมือนกัน Self-Blame เกิดขึ้นได้อย่างไร โทษตัวเอง (Self-Blame) คือ การมองว่าสถานการณ์ตึงเครียด หรือ ปัญหาที่เกิดขึ้น นั่นมีที่มาจากตัวเราเอง โดยไม่คำนึงถึงปัจจัยอื่นที่ทำให้ปัญหานี้เกิดขึ้นมาได้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้พฤติกรรมนี้เกิดขึ้นก็มีหลากหลายเหมือนกัน เช่น ความเชื่อที่ว่าต้องทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบอยู่เสมอ ก็ทำให้เราคาดหวังสูงในทุกเรื่อง และเลือกที่จะโทษตัวเองก่อนในเวลาเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมาได้เหมือนกัน หรือ เราอาจเคยถูกคนอื่นทารุณหรือโดนคุกคามมาก่อน ซึ่งประสบการณ์นั้นทำให้เราพัฒนานิสัยชอบโทษตัวเองขึ้นมา นอกจากนี้ Self Blame ยังเกี่ยวข้องกับอาการซึมเศร้า เพราะคนที่มีอาการนี้มักจะรู้สึกว่าตัวเองบกพร่อง หรือ รู้สึกผิดกับอะไรบางอย่างอยู่เสมอ หลายคนที่เป็นซึมเศร้าจึงชอบโทษตัวเองเมื่อความล้มเหลวเกิดขึ้น จนรู้สึกว่าตัวเองสิ้นหวังและไร้ทางเยียวยา และไม่สามารถหลุดออกจากความซึมเศร้าไปได้ ลักษณะของ Self-Blame พฤติกรรมเหล่านี้มักถูกเรียกว่าเป็น Self-Blame โทษตัวเองเมื่อต้องเลิกลากับคนอื่นหรือหย่าร้าง รู้สึกต้องรับผิดชอบปัญหาด้านการเงินของคู่ครองหรือผู้ปกครอง วิจารณ์การตัดสินใจของตัวเองในอดีต
ปฏิเสธได้ยากว่าความมั่นใจเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่หัวหน้าทุกคนควรมี เพราะมันช่วยในการตัดสินใจเรื่องสำคัญ แต่ความมั่นใจมากเกินก็ส่งผลเสียต่อการทำงานของหัวหน้าเหมือนกัน และคนจำนวนไม่น้อยก็ประเมินตัวเองสูงเกินกว่าความเป็นจริงอีกด้วย เราเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า ความเหนือกว่าเทียม หรือ Illusory Superiority และระดับผู้นำทุกคนควรรู้วิธีรับมือกับมัน What is Illusory Superiority ? ความเหนือกว่าเทียม (Illusory Superiority) คือ cognitive bias ประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคนประเมินคุณสมบัติและความสามารถของตัวเองสูงเกินไป จนคิดว่าตัวเองเหนือกว่าคนอื่น ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว ก็ไม่ได้ต่างอะไรจากคนอื่นมากนัก ปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นได้เมื่อการเข้าใจตัวเองในบางเรื่องทำได้ยาก โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นนามธรรมอย่าง ความเฉียวฉลาด (Intelligence) บางคนอาจประเมินเรื่องนี้แบบเข้าข้างตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น คนที่เทพคำนวณ อาจนิยามว่า ความฉลาดคือทักษะคณิตศาสตร์ หรือ บางทีเราก็ไม่ได้รับ feedback ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาตัวเอง เราจึงกลายเป็นคนที่มั่นใจในตัวเองมากเกินไป นอกจากนี้ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมก็ส่งผลต่อการเกิด Illusory Superiority เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น คนเอเชียตะวันออกมักประเมินความสามารถของตัวเองต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อการพัฒนาตัวเอง และการอยู่ร่วมกับคนในสังคม ในขณะที่ชาวตะวันตกชอบแสดงความเหนือกว่าให้คนอื่นเห็นมากกว่า How to avoid Illusory Superiority
กรุงเทพฯ เป็นแหล่งรวมร้านอาหารหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็น จีน ญี่ปุ่น ไปจนถึง ฝรั่งเศส แต่หลายคนมักไม่รู้จัก UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำร้านอาหารฝรั่งเศสที่สามารถพาคนรู้ใจไปสร้างความประทับใจผ่านมื้ออาหารด้วยกันได้ La Vie Bistronomy La Vie ห้องอาหารฝรั่งเศสที่อยู่บนชั้น 11 ของโรงแรม VIE Hotel Bangkok ที่เสิร์ฟอาหารสไตล์ Bistronomy หรือ French Casual Fine Dining ที่ทานง่ายและทำจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพ โดยแต่ละเมนูถูกรังสรรค์ในครัวเปิดที่คนทั่วไปสามารถรับชมเชฟปรุงอาหารได้ แถมยังมีไวน์ให้เลือกหลายชนิดอีกด้วย เราสามารถดื่มเคล้ากับอาหารฝรั่งเศสรสชาติดีในบรรยากาศหรูหราสไตล์โมเดิร์นของห้องอาหารได้อย่างลงตัว Google Maps Facebook Website Water Libary (Chamchuri Square) ห้องอาหาร Fine Dining ระดับมิชลินไกด์ที่มีจุดขาย คือ รวบรวมน้ำแร่จากหลายประเทศทั่วโลก เช่น ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ อิตาลี นอร์เวย์ หรือ ญี่ปุ่น จนเหมือนเป็นห้องสมุดน้ำ