เคยเป็นมั้ย เวลาคุยกับคนใหม่ๆ คนแปลกหน้า เราจะรู้สึกไม่มั่นใจ เพราะคิดว่าเขาคงคุยกับเราแล้วรู้สึกไม่สนุกเท่าไหร่ ขอบอกเลยว่าคุณไม่ได้เดียวดายในเรื่องนี้ เพราะ ‘Liking Gap’ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกคน แต่ไอ้สิ่งที่เรียกว่า Liking Gap มันคืออะไร? แล้วมันเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความสัมพันธ์ตรงไหน? UNLOCKMEN จะอธิบายให้ทุกคนฟัง พร้อมแนะนำ 3 เคล็ดลับทลายกำแพงการพูดคุยกับคนแปลกหน้าเอาไว้ฝึกฝนสกิลการเข้าสังคม และต้องเริ่มต้นบทสนทนากับพบผู้คนหน้าใหม่ ๆ Liking Gap คือ คำเรียกสภาวะที่เรารับรู้ความชื่นชอบจากคนอื่นไม่ตรงตามความเป็นจริง โดยเรื่องนี้ได้รับการยืนยันโดยงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่พิสูจน์ให้เห็นว่า เรามักประเมินความชอบที่ได้รับจากคนอื่นต่ำกว่าความเป็นจริง งานวิจัยชิ้นนี้ทำโดยทีมวิจัยของ ‘Erica Boothby’ นักจิตวิทยาจาก ‘Cornell University’ ในปี 2018 ซึ่งได้ศึกษาสถานการณ์ที่คนแปลกหน้าพูดคุยกัน (ทั้งในห้องทดลอง และสถานการณ์จริงของผู้เข้าร่วมเวิร์คช็อป) โดยทีมวิจัยได้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างใน 2 เรื่อง ได้แก่ แต่ละคนชอบคู่สนทนาของตัวเองมากแค่ไหน? และแต่ละคนคิดว่าคู่สนทนาของตัวเอง รู้สึกชอบเรามากน้อยแค่ไหน ? นักวิจัยได้ทำการศึกษา 5 ครั้ง (มีการเปลี่ยนสถานการณ์ และกลุ่มตัวอย่างระหว่างการทดลอง) ในกลุ่มตัวอย่างที่มีจำนวนรวมกันกว่า 700 คน
เสื้อผ้าไม่ได้มีไว้ใส่เพื่อเสริมความเท่ หรือปกคลุมร่างกายของเราเวลาออกจากบ้านเท่านั้น แต่มันยังส่งผลต่อจิตใจของเราได้ด้วย ซึ่ง UNLOCKMEN อยากให้ทุกคนเข้าใจเรื่องนี้ โดยการอธิบายผ่านทฤษฎีทางจิตวิทยาที่ชื่อว่า ‘Enclothed Cognition’ มันคืออะไร รู้ไปแล้วได้อะไร วันนี้เราจะเล่าให้ฟัง ‘Enclothed Cognition’ เป็นแนวคิดที่พยายามอธิบายว่า เสื้อผ้าที่เราสวมใส่มีผลต่อเราในทางจิตวิทยาอย่างไร คิดค้นโดย 2 นักจิตวิทยา ได้แก่ Hajo Adam และ Adam d.Galinsky ซึ่งทั้งคู่ร่วมกันทำงานวิจัยชื่อว่า Enclothed Cognition ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Journal of Experimental Social Psychology (2012) Your Clothing Impacts Your Thinking งานวิจัยชิ้นนี้มีการทดลอง 3 ครั้ง ทั้งหมดเพื่อดูว่าเสื้อกาวน์ (lab coat) มีผลทางจิตวิทยากับคนอย่างไร แต่ก่อนเริ่มการทดลอง นักวิจัยได้มีการทำ pretest และพบว่า เสื้อกาวน์มักเกี่ยวข้องกับ ความเอาใจใส่ (attentiveness) และความระมัดระวัง
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น สำนวนไทยที่เราได้ยินบ่อย แต่อาจใช้ไม่ได้กับทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องความสัมพันธ์ เพราะเรื่องความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคนหลายคน มันจึงพัฒนาไม่ได้หากมีใครที่พยายามอยู่ฝ่ายเดียว และในการสร้างความสัมพันธ์ที่ประสบความสำเร็จ เราอาจต้องคิดถึงเรื่องความเข้ากันได้ระหว่างเราและฝ่ายตรงข้ามด้วย เพราะหลายครั้งที่เราเห็นการพยายามปรับเข้าหากัน แต่ผลลัพธ์ที่ได้นั้นกลับไม่ได้ดีขึ้นเลย วันนี้ UNLOCKMEN จะมาอธิบายให้ทุกคนเข้าใจถึงเรื่องนี้ด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ว่าทำไม ความคล้ายกัน ถึงทำให้ความสัมพันธ์ไปได้ไกลกว่า ก่อนอื่นเราอยากให้ทุกคนเข้าใจก่อนว่า ความคล้ายคลึงกันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะที่ไม่เหมือนกัน ได้แก่ คล้ายคลึงกันจริง (Actual similarity) และ เชื่อว่าคล้ายคลึงกัน (Perceived similarity) พูดง่ายๆ คือ คนๆ หนึ่งอาจคล้ายกับอีกคนหนึ่งจริง หรือ เชื่อว่าตัวเองคล้ายกับอีกคนหนึ่ง เช่น เราเชื่อว่าเราชอบสีดำเหมือนที่แฟนเราชอบ ทั้งที่จริง ๆ แล้วเราอาจจะไม่ได้ชอบมากขนาดนั้น แต่อย่างน้อยในเวลานั้น เราก็มีความรู้สึกชื่นชอบสีดำเกิดขึ้นแล้วนั่นเอง ซึ่งในท้ายที่สุดท้ายก็อาจพบว่าตัวเองคิดผิดก็เป็นได้ แต่อย่างน้อยก็มีความคล้ายคลึงกันเกิดขึ้นอยู่ในความรู้สึกแล้วนั่งเอง (ต่างกับความรู้สึกว่า เราไม่มีอะไรคล้ายกันหรือเข้ากันได้เลย และพยายามทดลองปรับตัวเข้าหากันนะครับ) ความคล้ายคลึง 2 ประเภทนี้จะมีบทบาทต่อการสร้างความสัมพันธ์ในบริบทที่แตกต่างกัน actual similarity จะมีบทบาทสำคัญมากในตอนที่ความสัมพันธ์ยังไม่เริ่ม โดย ยิ่งเรามีข้อมูลเกี่ยวกับคนนั้นน้อยเท่าไหร่
หลายคนคงเคยเจอสถานการณ์ประมาณว่า “งานจะต้องส่งพรุ่งนี้แล้ว แต่วันนี้ยังทำไม่เสร็จ และรู้สึกขี้เกียจเป็นอย่างมาก” อันเกิดจากการไม่ยอมทำงานให้เสร็จตั้งแต่เนิน ๆ แต่ได้ขยับ timeline ไปเรื่อย ๆ จนถึงหนึ่งวันก่อนส่งงาน บางคนอาจเริ่มโทษความขี้เกียจของตัวเอง ว่ามีมากเกินไปจนไม่ยอมทำงานให้เสร็จและรู้สึกกระวนกระวายกลัวจะทำงานเสร็จไม่ทัน ความขี้เกียจเป็นปัญหาหรือไม่? แล้วเราจะทำให้ตัวเอง productive ขึ้นมาได้อย่างไร? UNLOCKMEN จะไขข้อข้องใจเหล่านี้เพื่อให้ทุกคนได้ปลดล็อกศักยภาพให้เอง ความขี้เกียจเกิดจากอะไร? ว่ากันว่ามนุษย์ขี้เกียจกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ เพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ดั้งเดิมจำเป็นต้องเก็บสะสมพลังงานเพื่อความอยู่รอด หลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่า ร่างกายของมนุษย์ใช้พลังงานในการทำงานเยอะมาก (อย่างสมองมีน้ำหนักราว 2% ของร่างกาย แต่กินพลังงานที่ร่างกายได้รับต่อวันทั้งหมดถึง 20%) ความขี้เกียจจึงอาจเข้ามาช่วยให้มนุษย์ไม่ใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองเกินไปนั่นเอง แต่ต้นเหตุของความขี้เกียจก็ไม่ได้เกิดจากสัญชาตญาณเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ความขี้เกียจเข้าครอบงำ ได้แก่ ความกลัว (fear) ความขี้เกียจและความกลัวดูจะมีความสัมพันธ์กัน ความขี้เกียจเปรียบเหมือนพื้นที่ปลอดภัย (comfort zone) สำหรับหนีความกลัวที่เราควบคุมไม่ได้ เช่น กลัวว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ กลัวว่าจะล้มเหลว กลัวว่าจะตอบสนองความคาดหวังของคนอื่นไม่ได้ ความกลัวในลักษณะนี้หนักหน่วง และเป็นภาระต่อร่างกาย ทำให้เกิดความเครียด เราจึงต้องขี้เกียจ และผัดวันประกันพรุ่ง (procrastination) เพื่อปัองกันการเผชิญหน้ากับความกลัวทั้งๆ ที่เรายังไม่พร้อม ซึ่งบางคนกว่าจะรู้สึกพร้อมก็ใช้เวลานานพอสมควร ภาวะซึมเศร้า
คราวที่แล้วเราได้แนะนำเรื่อง 5 CHECKLISTS ระบุสัญญาณว่าที่ทำงานของคุณเต็มไปด้วย TOXIC WORKPLACE ไปแล้ว และอย่างที่สัญญาว่าเราจะมานำเสนอวิธีเอาตัวรอด ถ้าเช็คแล้วพบว่าที่ทำงานของคุณมันช่างเต็มไปด้วยความ Toxic Workplace ซึ่งในสถานการณ์ที่งานเป็นสิ่งหายาก จะลาออกเพื่อหนีปัญหาก็ไม่น่าจะเป็นทางออกที่ดีนัก เลยอยากจะแนะนำเคล็ดลับที่จะทำให้ทุกคนสามารถทำงานได้อย่างมีความสุขได้ แม้จะอยู่ใน toxic workplace ก็ตาม ซึ่งมีหลักง่ายๆ ดังต่อไปนี้ หลีกเลี่ยงดราม่า (avoid drama) ไม่นินทา หรือ ตัดสินคนอื่นจากคำนินทาเพียงอย่างเดียว ควรตัดสินจากข้อมูลอย่างรอบด้าน ทั้งจากประสบการณ์ของเราเอง และ ประสบการณ์ของคนอื่น หากเป็นไปได้ มีอะไรก็ควรพูดคุยกันตรง ๆ ไม่ว่าจะกับเพื่อนร่วมงาน หรือ เจ้านายที่มีปัญหา เพื่อให้ปัญหานั้นได้รับการแก้ไข ไม่ถูกซุกอยู่ใต้พรม ซึ่งยิ่งมีปัญหาคาใจซุกไว้มาก ยิ่งจะทำให้บรรยากาศในการทำงานมาคุเสียเปล่า ๆ ตัวบริษัทเองก็ควรสร้างช่องทางการสื่อสารที่ทำให้เกิดการพูดถึงปัญหาด้วย เช่น อาจจะทำเป็นช่องทางการสื่อสารแบบลับๆ ที่จะทำให้ผู้รายงานปัญหาไม่รู้สึกว่า จะถูกคุกคามในอนาคตเมื่อพูดถึงเรื่องนี้ สร้างขอบเขตในการทำงานที่ชัดเจน (establish boundaries) ในบางกรณีที่อยู่ใน toxic workplace ก็ยากที่จะปฏิเสธการทำงานเกินเวลา หรือทำงานในวันที่ควรจะได้พัก จึงต้องมีการกำหนดขอบเขตในการทำงานและการใช้ชีวิตที่ชัดเจน
ตอนนี้คุณกำลังมีความสุขในการทำงานอยู่รึเปล่า ? ถ้าคุณตอบได้อย่างมั่นใจว่ามี คุณก็ข้ามบทความนี้ไปเลยก็ได้ แต่ถ้าคุณไม่มั่นใจว่ากำลังมีความสุขกับงานที่ทำอยู่ เพราะเจอกับเรื่องชวนปวดหัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เพื่อนร่วมงานที่ช่วยอะไรไม่ค่อยได้ หรือ รู้งานหนักเกินจนแทบไมได้พัก เป็นต้น คุณอาจจะอยู่ใน toxic workplace อยู่ก็เป็นได้ เราขอแนะนำให้คุณลองอ่านบทความนี้ เพราะเราจะพาคุณไปทำความเข้าใจ และแนะนำวิธีการแก้ไข ปัญหาที่ทำงานเป็นพิษ หรือ toxic workplace เพื่อช่วยให้คุณสามารถทำงานได้อย่างสบายใจโดยไม่จำเป็นต้องคิดเรื่องลาออก ก่อนอื่นเราอยากให้ทุกคนเข้าใจถึงองค์ประกอบที่ทำให้เกิด toxic workplace เสียก่อน ซึ่งมันเกิดได้ทั้งจาก พฤติกรรมของเพื่อนร่วมงานที่ไม่ดี เช่น ไม่ตั้งใจทำงาน หรือ บรรยากาศในการทำงานที่ไม่ดี เช่น มีการกลั่นแกล้ง หรือ นินทากัน รวมไปถึง ตัวงาน เช่น งานหนักเกินไปจนไม่ได้พัก ซึ่งหากมีปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง หรือ มากกว่าปัจจัยหนึ่งรวมกันแล้ว ทำให้คุณใช้ชีวิตได้ลำบาก อาจเป็นสัญญาณว่า คุณกำลังอยู่ใน toxic workplace อยู่ ซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมาจากการอยู่ใน toxic workpace มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น
สำหรับทุกบริษัท การนำเสนอไอเดียใหม่ ๆ เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจของพวกเขาก้าวไปข้างหน้าได้ แต่ปัญหาที่หลายบริษัทต้องเจอคือการที่คนในบริษัทไม่ยอมเสนอไอเดีย ไม่แสดงความคิดเห็น ร้ายที่สุด คือ พวกเขาไม่ยอมรายงานปัญหา Conflict ที่พบเจอในที่ทำงานให้ผู้ใหญ่ได้รับทราบ ปล่อยให้มันลุกลามจนเรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องที่ยากจะแก้ไข ปัญหานี้ UNLOCKMEN มองว่าเป็นเรื่องใหญ่ เลยอยากจะพาทุกคนไปดูว่ามีสาเหตุใดบ้างที่ทำให้ลูกน้องไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในที่ทำงาน และจะแก้ไขอย่างไรดี ขาดความมั่นใจที่จะแบ่งปันไอเดีย มันจะมีกรณีที่บางคนรู้สึกไม่มั่นใจเวลาที่จะแบ่งปันไอเดีย ถ้าในที่ประชุมมีการแบ่งหน้าที่กันชัดเจนเกินไป หรือมักจะกับคนนอกหน้าที่ที่พยายามเสนอไอเดียว่ามันไม่ใช่เรื่องของพวกเขา หรือให้สนใจแต่หน้าที่ของตัวเอง ฯลฯ พอได้ยินคำพูดแบบใส่บ่อยๆ พวกเขาก็รู้สึกว่า การแสดงความคิดเห็นในที่ทำงานจะทำให้พวกเขาถูกตำหนิ ปิดปากเงียบไว้ดีกว่า ท้ายที่สุดพวกเขาก็เลยไม่เสนอไอเดียใหม่ ๆ อีกเลย Solution: ก่อนอื่นเลย คนที่เป็นหัวหน้าต้องเข้าใจก่อนว่า มันมีอะไรบ้างที่จะทำลายความมั่นใจของลูกน้องได้ (เช่น การห้าม การตำหนิ ฯลฯ) บอกกับทีมให้เปิดใจรับฟังไอเดียจากคนทุกแผนกดูบ้าง เพราะเค้าอาจจะมีไอเดียอะไรในมุมมองที่เราคาดไม่ถึง และพยายามไม่ตำหนิหรือ Kill idea ในที่ประชุม แล้วลูกน้องจะกล้าแสดงความคิดเห็นในที่ทำงานมากขึ้นเอง ไม่คิดว่าเป็นปัญหาใหญ่ในเวลานั้น บางบริษัทไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าเรื่องไหนที่นับว่าเป็นปัญหา หรือ ปัญหาแบบไหนบ้างที่ควรรายงาน บางคนเลยไม่รู้ว่าสิ่งที่เจอเป็นปัญหาที่ควรรายงานหรือเปล่า อีกทั้งบางบริษัทเองก็ไม่ได้สนับสนุนวัฒนธรรมการรายงานในทุก ๆ
ตอนนี้หลายคนอาจนิยามตัวเองว่าเป็น คนเปิดเผย (Extrovert) หรือเป็น คนเก็บตัว (Introvert) หรือ อยู่ระหว่าง 2 ฝั่งนี้ (Ambivert) ซึ่งในการทำงาน introvert หลายคนอาจจะเจอปัญหาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการเข้าสังคม หรือสมาธิในการทำงาน ดังนั้น UNLOCKMEN เลยอยากแบ่งปันเคล็ดลับการเอาตัวรอดในที่ทำงานสำหรับชาว Introvert ก่อนอื่นอยากให้เข้าใจนิยามก่อนว่า Introvert คือกลุ่มคนที่มีบุคลิกภาพเก็บตัว คนกลุ่มนี้จะมีโลกส่วนตัวสูง มักใช้เวลาอยู่กับความคิดของตัวเองมากกว่าจะไปสุงสิงกับคนอื่น ส่วน Extrovert จะตรงกันข้าม คือ รักการเข้าสังคม ชอบแสดงออกมากกว่าคิดอยู่กับตัวเอง และชอบเป็นจุดสนใจด้วย ความแตกต่างระหว่าง Introvert และ Extrovert ไม่ได้อยู่ที่นิสัยอย่างเดียว (ซึ่งเวลาพูดว่า introvert และ extrovert ต่างกันที่นิสัย หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องที่ปรับกันได้) แต่ทั้ง 2 กลุ่มนี้แตกต่างกันในทางชีววิทยาอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น – การตอบสนองต่อ Dopamine (สารสื่อประสาทที่ทำให้เรารู้สึกดีเวลามองหารางวัลจากปัจจัยภายนอก) แม้ว่าการหลั่งของ dopamine ในสมอง
ก่อนหน้านี้เราเคยนำเสนอผลวิจัยว่า คนมองโลกตามความเป็นจริง มีความสุขมากกว่ามองโลกแง่บวก เกี่ยวกับผลเสียที่จะเกิดจากการเป็นคนที่มองโลกในแง่บวกมากเกินไป (overly optimistic) และมีการพูดถึงสอบถามเข้ามาค่อนข้างเยอะ เราจึงอยากนำเสนอเพิ่มเติม ซึ่งการมองโลกในแง่บวกมากเกินไป ถูกพูดถึงมาตั้งแต่ก่อนหน้านี้แล้ว โดย Amy Morin นักจิตบำบัดและนักเขียนชิ่อดังในฟลอริดา ในปี 2017 ในบทความของเธอบนเว็บไซต์ Bussiness Insider ที่ชื่อว่า ‘3 times optimism does you more harm than good’ ในบทความนี้ เธอได้อธิบายถึงผลเสียของการมองโลกแบบ overly optimistic ว่า แม้มันจะทำให้เรารู้สึกดีก็จริง (เพราะความคิดลบถูกกลบ) แต่มันก็ทำให้เราต่อต้านการรับฟังเหตุผลในอีกแง่มุม เพราะเหตุการณ์จริงอาจจะไม่ได้ง่าย หรือโรยด้วยกลีบกุหลาบแบบที่เราคิดเอาไว้ได้เหมือนกัน – คิดบวกเกินจริง (exaggerating the positive.) มองว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีแต่เรื่องดีๆ ไปหมด เช่น คิดว่าทุกคนชอบในสิ่งที่ตัวเองทำ หรือคนที่เราชอบเป็นคนที่แสนดีมากๆ เป็นต้น ซึ่งคนประเภทนี้อาจเจอกับปัญหาที่ทำให้เกิดความเสียหายได้ เช่น ไม่ยอมรับข้อผิดพลาด ไม่พัฒนาปรับปรุงตัวเอง หรือตกเป็นเหยื่อถูกคนอื่นหลอกได้ง่าย
ในภาพยนตร์บางเรื่อง รถยนต์ประกอบฉากก็มีความโดดเด่นไม่แพ้นักแสดงนำเลย ไม่ว่าจะเป็น 1963 VOLKSWAGEN BEETLE ที่ถูกดีไซน์ใหม่ในภาพยนตร์เรื่อง The Love Bug (1968) หรือ 1961 FERRARI 250 GT CALIFORNIA SPYDER SWB ที่ปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่อง Ferris Bueller’s Day Off (1986) UNLOCKMEN เลยอยากแชร์กับทุกคนว่า มีรถยนต์คลาสสิกรุ่นไหนบ้างที่โดดเด่นและเป็นที่จดจำจากภาพยนตร์เรื่องต่างๆ 1961 FERRARI 250 GT CALIFORNIA SPYDER SWB จาก Ferris Bueller’s Day Off หลายคนคงจดจำรถที่ Cameron Frye (นำแสดง โดย Alan Ruck) จากภาพยนตร์ เรื่อง Ferris Bueller’s Day Off (1986)