ตอนนี้การลงทุนในทรัพย์สินดิจิทัล เช่น สกุลเงินคริปโต (Cryptocurrency) กำลังเป็นเทรนด์ยอดฮิตที่หลายคนให้ความสนใจ บางคนอาจซื้อเหรียญคริปโต เช่น Bitcoin หรือ Ethereum เก็บไว้รอเกร็งกำไรในอนาคต หรือ บางคนอาจลงทุนใน GameFi และใช้มันในการทำรายได้ให้ตัวเอง แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนดิจิทัลแบบไหนก็ควรระวังสิ่งที่เรียกว่า ‘เสพติดการลงทุนในสกุลเงินคริปโต’ (Cryptocurrency Addiction) ซึ่งเป็นอาการที่ทำให้ชีวิตของเราย่ำแย่ลงได้เหมือนกัน Cryptocurrency Addiction เกิดขึ้นได้อย่างไร เนื่องตลาดซื้อขายคริปโตไม่มีตัวกลาง (เช่น ธนาคาร) ที่ทำหน้าที่ดูแลการทำธุรกรรมของคนในตลาด การซื้อขายเงินสกุลนี้สามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ราคาของสกุลเงินคริปโตจึงผันผวนได้ง่ายกว่าการลงทุนประเภทอื่น กล่าวคือ ในเวลาเพียงแค่เสี้ยววินาที เราอาจได้รับเงินจำนวนมหาศาล และสูญเสียเงินจำนวนมหาศาลได้ นอกจากนี้เป็นตลาดที่เปลี่ยนแปลงง่ายแล้ว มันยังเป็นตลาดที่เปิดแบบไม่มีวันหยุด และเปิดตลอด 24 ชั่วโมงอีกด้วย นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้หลายคนเสพติดการลงทุนในคริปโตไม่ต่างจากการเสพติดการพนัน หากใครสงสัยว่าตัวเองเสพติด ลองเช็คดูว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่ ได้แก่ เสียเวลาไปกับการเทรดคริปโตมากเกินไป เช็คและกังวลเรืองราคาของหรียญตลอดเวลา จนลืมเรื่องงาน หรือ การทำกิจกรรมอื่นไป มีหนี้สิ้นสะสม หรือ เจอกับปัญหาด้านการเงิน เนื่องจากการเทรดคริปโต โกหกคนรอบตัวเรื่องพฤติกรรมการเทรดคริปโต อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย (mood swing)
ตอนที่เพิ่งตื่นขึ้นมา หลายคนอาจเคนรู้สึกงัวเงีย หรือ สับสน แต่ยังสามารถขยับร่างกายได้ตามปกติ คล้ายกับคนเมาสุรา เราเรียกอาการนี้ว่าเป็น Sleep Drunkness ซึ่งผลของมันสามารถอยู่ได้นานหลายนาที หรือ หลายชั่วโมง และขัดขวางการทำงานและการใช้ชีวิตของเราไม่น้อยเหมือนกัน UNLOCKMEN อยากพาทุกคนไปรู้จักกับอาการนี้มากขึ้น และเรียนรู้วิธีการป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นกัน Sleep Drunkenness คือ อะไร Sleep Drunkness คือ อาการสับสนมึนงงที่เกิดขึ้นในช่วงที่เราตื่นนอน โดยอาการนี้มักเกิดขึ้นเมื่อสมองของเราไม่สามารถเปลี่ยนผ่านจากโหมดนอนหลับไปยังโหมดตื่นได้แบบ 100% จนร่างกายอยู่ในสภาพคล้ายสลึมสลือเหมือนคนเมา แต่ก็ยังเคลื่อนไหวร่างกาย เดิน และพูดได้ตามปกติ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้อาการนี้เกิดขึ้นมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น พักผ่อนไม่เพียงพอ ความผิดปกติเรื่องการนอนหลับ (เช่น restless legs syndrome, sleep apnea, หรือ Insomnia) เสพติดการดื่มสุรา ใช้ยาต้านซึมเศร้าบางชนิด ไปจนถึง การนอนไม่เป็นเวลาเนื่องจากมีเวลาทำงานที่ไม่แน่นอน อ้างอิงจากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่สัมภาษณ์คนอายุกว่า 18 ปีขึ้นไป จำนวนกว่า 19,000 คน เกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรมการนอน การเจอกับ ภาวะสับสนระหว่างการตื่นนอน
ในชีวิตของหลายคนคงเคยพานพบกับคนที่มีความคิดหรือความชอบคล้ายกับตัวเอง และรู้สึกว่าพวกเขามีเสน่ห์และน่าดึงดูดอย่างน่าประหลาด มีคนพยายามอธิบายเรื่องนี้ด้วยความเชื่อเรื่อง กฎแห่งแรงดึงดูด (Law of Attraction) ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาความสุขในชีวิตได้หลายด้าน UNLOCKMEN อยากพาทุกคนไปเข้าใจกฎที่ว่านี้มากขึ้น กฎแห่งแรงดึงดูด คือ อะไร กฎแห่งแรงดึงดูด (Law of Attraction) เป็นหลักปรัชญาที่ได้รับการพูดถึงตั้งแต่ปี 1887 โดยมันสอนว่า ความคิดในแง่ดีจะดึงดูดผลลัพธ์ในเชิงบวก ส่วนความคิดในแง่ลบจะดึงดูดผลลัพธ์ในเชิงลบเช่นเดียวกัน ความเชื่อดังกล่าวมีฐานคิดมาจากความเชื่อที่ว่า ความคิดเป็นเหมือนพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สามารถดึงดูดสิ่งที่เหมือนกันได้ โดยพลังงานเชิงบวก (การคิดบวก) จะสามารถดึงดูดความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ของชีวิตได้ เช่น ด้านสุขภาพ ด้านการเงิน และด้านความสัมพันธ์ Law of Attraction ได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะหนังสือแนว Self-help ชื่อ ‘The Secret’ (2016) ที่เขียนโดย Rhonda Byrne และมีเนื้อหาอ้างอิงถึงเรื่องกฎแห่งแรงดึงดูด ซึ่งได้รับความนิยมมากจนมียอดขาย 30 ล้านเล่มทั่วโลก และถูกแปลเป็นภาษาอื่นมากกว่า 50 ภาษา สำหรับ Law
ประสบการณ์ที่เลวร้ายมักทำให้หลายคนเกิดอาการคิดมากจนเกินไปอยู่เสมอ เช่น บางคนไม่กล้าเปลี่ยนงานใหม่ เพราะกลัวว่าตัวเองจะหางานไม่ได้ หรือ ไม่เจองานที่ดีกว่า หรือ บางคนอาจเครียดเรื่องการเรียน เพราะกลัวว่าผลการศึกษาที่ไม่ดีจะทำให้ตัวเองกลายเป็นแรงงานที่ไร้คุณค่า เป็นต้น เรามักเรียกความกังวลที่เกิดขึ้นว่าเป็น Catastrophizing และถ้าเราไม่รู้จักวิธีการป้องกัน อาจทำให้เราเสียสุขภาพจิตได้ ความหมายของ Catastrophizing Catastrophizing คือ การจินตนาการถึงเหตุการณ์ที่เลวร้าย และเชื่อว่ามันจะเกิดขึ้นกับตัวเองอย่างแน่นอน โดยคนที่มีอาการนี้มักมองโลกในแง่ลบ และมองเห็นปัญหาที่ตัวเองกำลังเผชิญอยู่นั่นหนักหนาสาหัสเกินความเป็นจริง จนพวกเขารู้สึกสิ้นหวังและตกอยู่ในความเครียดตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น ถ้าพวกเขากังวลกับการสอบตก พวกเขาจะคิดว่า การสอบตกทำให้ตัวเองกลายเป็นนักศึกษาที่ไม่ดี เรียนไม่จบ หรือ ไม่ได้รับใบปริญญา และไม่มีใครรับเข้าทำงาน สุดท้ายพวกเขาจึงด่วนสรุปไปเองว่า การสอบตกจะทำให้พวกเขาไม่มีความมั่นคงในชีวิต ซึ่งในเป็นความจริง คนที่ประสบความสำเร็จจำนวนมากก็เรียนหนังสือไม่จบ หรือ เคยสอบตกมาก่อน แต่คนที่ Catastrophizing มักไม่คิดถึงเรื่องนี้ และหมกหมุ่นกับความคิดอันเลวร้ายของตัวเองเป็นตุเป็นตะ จนได้รับความเสียหายทางจิตใจอย่างแสนสาหัส ยังไม่มีใครตอบได้ว่า Catastrophizing เกิดขึ้นได้อะไร แต่หลายคนคาดว่ามันเกิดขึ้นได้หลากสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ได้รับข้อความที่มีความหมายกำกวมจนเราเกิดอาการคิดไปไกล เราให้ความสำคัญกับอะไรมากเกินไปจนคิดมาก หรือ เรากลัวอะไรบางอย่างมาเกินไป จนเรายิ่งคิดถึงผลลัพธ์แย่ ๆ ที่จะได้รับจากมัน
คงไม่มีใครอยากพัฒนาคนที่ทำกำไรให้กับธุรกิจของตัวเอง เพราะนอกจากจะทำให้เสียทุนเปล่าแล้ว มันทำให้บริษัทไม่พัฒนาไปข้างหน้าอีกด้วย ผู้บริหารย่อมอยากพัฒนาคนที่สามารถทำกำไรให้บริษัทได้มากขึ้น และอยู่กับบริษัทไปนาน ซึ่งเครื่องมือนึงที่จะช่วยให้ผู้บริหารเลือกพัฒนาคนได้ถูกจุด คือ กฎ 10-80-10 ที่มาของ 10-80-10 rule กฎ 10-80-10 คือ กฎที่พัฒนามาจาก Pareto principle ของ Vifredo Pareto นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาลี ซึ่งอธิบายว่า ผลงานหรือความร่ำรวย 80% เกิดขึ้นจากประชากรเพียง 20% เท่านั้น ต่อมาในช่วงปี 1940 Joseph M. Juran วิศวกรชาวอเมริกัน ได้นำกฎนี้มาประยุกต์ให้เข้ากับพฤติกรรมของคนมากขึ้น โดยมีใจความว่า 80% ของความสำเร็จในโปรเจ็กต์ใดโปรเจ็กต์หนึ่ง เกิดขึ้นจากการลงแรงของทีมเพียง 20% จนถึงปัจจุบันมีกลุ่มนักวิจัยรุ่นใหม่ เช่น John Leach นำ Pareto principle มาพัฒนาให้เข้ากับพฤติกรรมของคนมากขึ้น จนเกิดเป็นกฎใหม่ชื่อว่า 10-80-10 ซึ่งแบ่งความสำคัญของสิ่งต่าง ๆ ออกเป็น 3 กลุ่ม
ถือเป็นข่าวดีสำหรับสาวกมินิชาวไทย เมื่อทาง มินิ ประเทศไทย ได้ขนรถยนต์หลายรุ่นมาอวดโฉมในงาน Motor Expo 2021 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-12 ธันวาคม 2564 นี้ ณ ชาเลนเจอร์ฮอลล์ อิมแพค เมืองทองธานี และต้องบอกเลยว่าแต่ละคันที่มาโชว์ตัวในงานนั้นไม่ธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นรถเซฟตี้คาร์ไฟฟ้ารุ่นแรก the MINI Electric Pacesetter inspired by JCW มินิ คูเปอร์ เอส คลับแมน Jermyn Edition ไปจนถึง the New MINI JCW Hatch launched by Carnival ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือกับ Carnival แบรนด์แฟชั่นสตรีทที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งในวันนี้เราขอนำรายละเอียดรถแต่ละคันมาให้ชาว UNLOCKMEN ได้เรียกน้ำย่อยก่อนไปพบกับไฮไลต์มากมายพร้อมกับโปรโมชันสุดพิเศษแห่งปีจากมินิภายในงาน ว่าแล้วก็เชิญไปอ่านพร้อมกันได้เลย MINI Electric Pacesetter inspired by JCW รถเซฟตี้คาร์ไฟฟ้ารุ่นแรกจากมินิ
หลายคน พอยิ่งโต อาจยิ่งควบคุมอารมณ์ได้เก่งขึ้น แต่ก็มีบางคนเหมือนกันที่ถูกมองว่าเป็นเด็กอยู่ตลอดเวลา เพราะพวกเขาชอบทำอะไรตามใจ และไม่ค่อยคิดถึงผลของการกระทำของตัวเอง สุดท้ายพวกเขาก็ตัดสินใจได้แย่อยู่เสมอ จนเกิดผลเสียต่อตัวเองและคนรอบข้าง เราเรียกพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นว่า ’Impulsivity’ ซึ่ง UNLOCKMEN ได้นำวิธีป้องกันพฤติกรรมดังกล่าวมาฝากทุกคนด้วย อะไร คือ Impulsivity นักจิตวิทยาใช้คำว่า ‘Impulsivity’ ในการอธิบายพฤติกรรมลงมือทำอะไรบางอย่างโดยไม่คิดถึงผลลัพธ์ที่ตามมา เช่น การเสียเงินให้กับสิ่งล่อตาล่อใจได้ง่าย หริอ เดินข้ามถนนโดยไม่มองซ้ายมองขวา เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้มักส่งผลเสียต่อเราและคนรอบข้าง เพราะการทำอะไรแบบไม่ยั้งคิด อาจนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ไม่คาดฝันได้ เช่น การสูญเสียคนรัก การสูญเสียเงินโดยใช้เหตุ หรือ การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นต้น Impulsivity เกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยเฉพาะกับเด็กที่ยังไม่ค่อยมีวุฒิภาวะมากนัก และสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ความผิดปกติของสมองส่วน Prefrontal Cortex ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลในการตัดสินใจ การสืบทอดความผิดปกติทางกรรมพันธ์ุ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิด Impulsivity ไปจนถึงความผิดปกติทางจิตประเภทต่าง ๆ เช่น ภาวะอารมณ์สองขั่ว โรคสมาธิสั้น (ADHD) ภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (BPD) รวมไปถึง ความผิดปกติในการควบคุมตัวเอง
ร้านอาหารจีนถือเป็นหมุดหมายที่ทำให้หลายครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน เพราะหลายบ้านมีพื้นเพเป็นคนจีนที่ออกจากบ้านเกิด เข้ามาตั้งรกรากในเมืองไทย เราจึงรู้สึกผูกพันกับอาหารจีนกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในกรุงเทพฯ ก็มีร้านอาหารจีนหลายแห่งที่น่าสนใจ และทุกคนควรลองไปกันสักครั้ง ซึ่ง UNLOCKMEN ได้รวบรวมห้องอาหารจีนที่มีดีทั้งอาหารและบรรยากาศมาเสิร์ฟให้ทุกคนถึงที่แล้ว Fei Ya ใครที่ชอบร้านอาหารจีนสไตล์โมเดิร์น ไม่ควรพลาด Fei Ya ที่อยู่บนชั้น 3 ของโรงแรม Renaissance Bangkok Ratchaprasong Hotel โดยร้านนี้จะมีความโดดเด่นทั้งในเรื่องของบรรยากาศที่เหมือนอยู่ใน lounge ตะวันออกผสมตะวันตก และความมีระดับของอาหาร ซึ่งได้รับการปรุงโดยเชฟมากฝีมือ พร้อมส่งรสชาติอาหารสไตล์จีนแท้สู่จานอาหารแต่ละจาน นอกจากเรื่องอาหารและบรรยากาศแล้ว คุณภาพของร้านยังได้รับการการันตีด้วยรางวัล Thailand’s Best Restaurant 5 สมัยซ้อน (2011 – 2015) เรียกได้ว่า เป็นหนึ่งในร้านอาหารจีนคุณภาพดีที่เราควรไปกันสักครั้งในชีวิต ภายในร้านจะมีทั้งมุมทานอาหารปกติ และห้องส่วนตัวที่บรรจุคนได้ 8 – 10 ท่าน และมีเมนูหลากหลายให้เราเลือกทาน ไม่ว่าจะเป็น ติมซำ เมนูอาหารทะเลจีน เมนูข้าวผัด เมนูซุป ไปจนถึงเมนูซิกเนเจอร์อย่าง
รอบตัวเราอาจจะมีใครสักคนหนึ่งที่ชอบอวดเบ่งและทำเป็นเก่งอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเวลาที่เราอยู่กับคนนั้น เราอาจเกิดความงุนงงและไม่สบายใจสักเท่าไหร่ว่าทำไมเขาถึงไม่ฟังใครเลยและชอบเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ทางจิตวิทยามีคำว่า ‘Superiority Complex’ เพื่อใช้อธิบายพฤติกรรมของคนที่ชอบอวดเก่ง ซึ่ง UNLOCKMEN อยากจะมาแนะนำวิธีรับมือกับคนประเภทดังกล่าวด้วย ความหมายของ Superiority Complex ในช่วงปี ค.ศ.1990 นักจิตวิทยารายบุคคลชื่อดัง Alfred Adler ได้พูดถึงคำว่า Superiority Complex หรือ กลไกการป้องกันตัวเองแบบหนึ่งที่ทำให้คนมองเห็นคุณค่าในตัวเองสูง เพื่อปิดบังความรู้สึกต่ำต้อยและความภูมิใจในตัวเองต่ำ โดยคนที่เป็น Superiority Complex มักเชื่อว่าตัวเองเก่งกาจหรือมีความสามารถสูงกว่าคนรอบตัว พวกเขาจึงชอบแสดงพฤติกรรมอวดเบ่งหรือก้าวร้าวใส่คนอื่น Superiority Complex จะเป็นอาการที่ตรงข้ามกับ Inferiority Complex ซึ่งเป็นกลไกการป้องกันตัวอีกแบบหนึ่งที่ทำให้คนรู้สึกไม่มีค่าหรือต่ำต้อยกว่าคนอื่น เพื่อซ่อนความต้องการบางอย่างของตัวเองเอาไว้ คนกลุ่มนี้อาจรู้สึกไม่มั่นใจในความสามารถของตัวเอง และมีความกล้า ๆ กลัวในการทำเรื่องต่าง ๆ ด้วยตัวเอง อาการของ Superiority Complex มักมีดังนี้ มองเห็นคุณค่าในตัวเองสูง ชอบโอ้อวดแบบไม่มีเหตุผลหรือความเป็นจริงมาสนับสนุน ใส่ใจกับรูปลักษณ์ภายนอก หรือ เหย่อหยิ่ง เชื่อว่าตัวเองมีอำนาจสูงส่ง ไม่ยอมฟังคนอื่น อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย
แต่ละคนมีเป้าหมายในการลดน้ำหนักที่แตกต่างกันไป บางคนอยากลดน้ำหนักเพื่อให้มีรูปร่างที่ดีขึ้น หรือ บางคนอยากลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพ แต่ไม่ว่าคุณจะลดน้ำหนักด้วยเหตุผลแบบไหน การควบคุมอาหารก็เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเราไม่สามารถควบคุมการกินได้ดี ต่อให้เราลดน้ำหนักสำเร็จแล้ว เราอาจไม่สามารถรักษาน้ำหนักนั้นได้นาน เพราะร่างกายของเรามีกลไกการรักษาสมดุลของน้ำหนักที่เรียกว่า Yoyo-effect ซึ่งสามารถส่งผลเสียทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจของเรา Yoyo-effect คือ อะไร Yoyo-effect เป็นคำที่ Kelly D. Brownell นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยเยล ใช้อธิบาย วงจรน้ำหนัก (Weight Cycling) ที่เกิดขึ้นจากการควบคุมอาหารหรือปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายได้รับอย่างเคร่งครัดมากเกินไป โดยเวลาที่น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ร่างกายของเราจะมีอัตราเผาผลาญพื้นฐาน หรือ Basal Metabolic Rate (BMC) ที่ต่ำลง ส่งผลให้ หลังจากที่เราเลิกควบคุมอาหาร และกลับมาทานอาหารปกติ น้ำหนักตัวของเราจะเพิ่มขึ้น วงจรน้ำหนักนี้คล้ายกับการเคลื่อนที่ขึ้นลงของโยโย่ มันจึงถูกเรียกว่าเป็น Yoyo-effect นอกจากอัตราการเผาผลาญที่ต่ำลงแล้ว อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เราไม่สามารถรักษาน้ำหนักไว้ได้ คือ ความเหนื่อยล้าและภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นหลังการควบคุมอาหาร กระตุ้นให้เราทานอาหารมากกว่าปกติ สุดท้ายการลดน้ำหนักแบบผิดวิธีก็ทำให้เรากลับมามีน้ำหนักเท่าเดิม หรือ มากกว่าเดิม วิธีป้องกัน Yoyo-effect ว่ากันว่า วงจรน้ำหนักเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ