ถ้าพูดถึงนาฬิกาที่แข็งแรงทนทานและมีประวัติศาสตร์ยาวนานหลายสิบปี คงจะลืมชื่อ ‘G-SHOCK’ ของ Casio ไปไม่ได้เลย นอกจาก G-SHOCK จะเป็นแบรนด์นาฬิกาจากแดนอาทิตย์อุทัยที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกแล้ว รูปลักษณ์ มาตรฐานการผลิต ตลอดจนงานดีไซน์เฉพาะตัวของแต่ละเรือนยังถูกใจหนุ่ม ๆ สายสตรีตอย่างเราเป็นที่สุด เมื่อปี 1995 แบรนด์นี้เคยเปิดตัวนาฬิการุ่น ‘DW-6900’ ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วและถือเป็นหนึ่งในนาฬิการุ่นไอคอนิกของแบรนด์ไปโดยปริยาย เรือนนี้ได้รับฉายาว่า “triple graph dial” หรือที่เรียกติดปากกันในประเทศไทยว่า “ไอ้สามตา” บ่งบอกถึงประสิทธิภาพและรูปแบบจอแสดงผลทรงกลมสามชุดบนหน้าปัดที่เป็นเอกลักษณ์ของเรือน แถมรุ่น DW-6900 ยังถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานการสร้างสรรค์นาฬิกาเรือนอื่น ๆ ร่วมกับแบรนด์แฟชั่นอีกมากมาย ในปี 2020 นี้ บริษัท เซ็นทรัล มาร์เก็ตติ้ง กรุ๊ป จำกัด (CMG) เพิ่งเปิดตัวซีรีส์เรือนเวลา “Metal Face GM6900” จากตระกูลนาฬิกาต้านแรงกระทบกระเทือน (G-SHOCK) เพื่อฉลองครบรอบ 25 ปีของนาฬิการุ่น DW-6900 โดยนำโมเดลรุ่นเก๋ามาปรับโฉมใหม่ ดีไซน์วงกรอบตัวเรือนด้วยสเตนเลสสตีลขัดเงา ใช้หน้าปัดกระจกสุดแกร่ง และถอดแบบหน้าปัดทรงกลมสามชุดของรุ่น ‘DW-6900’ ในตำนานออกมาได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน นาฬิกาในซีรีส์นี้ถือเป็นสามรุ่นแรกที่ G-SHOCK นำวงกรอบตัวเรือนสเตนเลสสตีลมาประดับตกแต่ง
บอกเลยว่าการเว้นระยะห่างจากสังคม (Social Distancing) นั้นดูเด็กไปเลยถ้าเทียบกับการห้ามเดินทางเข้า-ออกและปิดเมือง (Lockdown) แม้มาตรการนี้จะสร้างขึ้นเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ช่วยชีวิตผู้ป่วยมหาศาล และลดจำนวนผู้ติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อีกด้านหนึ่งมาตรการดังกล่าวก็ทำให้หนุ่ม ๆ หลายคนต้องจมปลักอยู่ที่บ้าน ไม่ได้พบปะสังสรรค์กับผู้คน และขาดการปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพอย่างชัดเจน ซ้ำร้ายเมื่อผู้นำประเทศประกาศปิดเมืองอย่างจริงจัง ยิ่งทำให้มวลความเหงาแทรกซึมไปทั่วทุกพื้นที่แบบไร้อาณาเขต จนผู้ชายบางคนถูกความเหงากัดกินและรันโรมโจมตีจิตใจเข้าอย่างจัง ความเหงาเป็นเหมือนช่องว่างตรงกลางระหว่างสิ่งที่เราต้องการจากคนอื่นกับสิ่งที่เราได้รับจากคนอื่น เมื่อเราต้องการบางสิ่งบางอย่างจากเพื่อน ครอบครัว หรือคนรัก แต่กลับไม่ได้รับสิ่งนั้นมักจะทำให้เรารู้สึกเหงาขึ้นมาดื้อ ๆ แต่ระหว่าง ‘ความเหงา’ กับ ‘สภาวะโดดเดี่ยวทางสังคม’ มีเส้นบาง ๆ กั้นอยู่ ขณะที่ความเหงานิยามถึงความรู้สึกฟุ้งซ่านอันเนื่องมาจากการอยู่คนเดียวและไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้อื่น สภาวะโดดเดี่ยวทางสังคมกลับเกิดขึ้นต่อเมื่อเราขาดการติดต่อจากผู้อื่นเป็นระยะเวลานาน ซึ่งนั่นไม่ได้แปลว่าเราต้องรู้สึกเหงาเสมอไป แต่น่าแปลกที่มาตรการเว้นระยะห่างจากสังคม (Social Distancing) รวมทั้งมาตรการปิดเมือง (Lockdown) เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19 กลับทำให้ใครหลายคนรู้สึกเหงาได้เหมือนกัน เพราะ ‘ความเหงา’ ไม่ใช่เรื่องเล็ก เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอยู่รวมกัน เมื่อต้องแยกห่างจากกันเป็นระยะเวลานานแล้วทำให้รู้สึกเหงาก็คงไม่แปลกอะไร แต่มวลความเหงาที่ก่อตัวขึ้นในช่วงนี้นั้นไม่ใช่เรื่องเล็ก ถึงขั้นที่รัฐบาลอังกฤษต้องแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความเหงา (Minister for Loneliness) อย่างเป็นทางการ เพื่อจัดทำกลยุทธ์บรรเทาความเหงาของประชาชนและสนับสนุนโครงการที่สร้างการเชื่อมต่อระหว่างประชาชนในช่วงที่ไวรัส COVID-19
ในยุคที่เชื้อไวรัส COVID-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก ประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาเริ่มรับช่วงต่อจากจีนแผ่นดินใหญ่และกลายมาเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสชนิดนี้แทน นำมาซึ่งการปิดบางเมืองในกลุ่มเสี่ยง งดประชาชนออกนอกเคหสถาน และเพิ่มมาตรการตรวจสอบข้อมูลรายคนแบบละเอียดยิบ ขณะเดียวกันรัฐบาลก็เริ่มหยิบยืมความช่วยเหลือจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมล้ำสมัย เข้ามาช่วยต่อสู้ฟาดฟันกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 มากขึ้น โดยพวกเขาเชื่อว่าเทคโนโลยีอาจเป็นความหวังเดียวที่จะแก้ปัญหาวิกฤตครั้งนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากนโยบายเว้นระยะห่างจากสังคมและการประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อจำกัดการออกนอกบ้านของประชาชน อาจยังไม่เพียงพอที่จะทำลายห่วงโซ่ของการแพร่กระจายไวรัสได้ รัฐบาลของหลายประเทศจึงใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการตรวจสอบการเคลื่อนไหว ประเมินความเสี่ยงของผู้ติดเชื้อ รวมถึงยับยั้งการแพร่กระจายเชื้อไวรัสที่ติดต่อจากคนสู่คน ทำให้ปัญหาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ถูกนำมาใช้งานอย่างหลากหลาย ตั้งแต่การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ไปจนถึงระบุตัวตนผู้ที่ไม่สวมใส่หน้ากากอนามัย หรือแม้แต่อากาศยานไร้คนขับอย่างโดรนที่เรารู้จักกันดี ยังถูกใช้ถ่ายภาพความร้อนเพื่อค้นหาผู้ที่ติดเชื้อไวรัส ตลอดจนพ่นยาฆ่าเชื้อในพื้นที่ที่ปนเปื้อนได้อย่างปลอดภัย สิงคโปร์กับแอปพลิเคชัน TraceTogether รัฐบาลสิงคโปร์เปิดตัวแอปพลิเคชัน ‘TraceTogether’ เพื่อติดตามการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสและตรวจสอบว่าผู้ใช้ปฏิสัมพันธ์หรือใกล้ชิดกับใครบ้าง เมื่อผู้ใช้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันนี้และเจ้าของสมาร์ตโฟน 2 เครื่องอยู่ใกล้กันภายในระยะ 6 ฟุต TraceTogether จะแลกเปลี่ยน temporary ID ระหว่างเครื่องโดยอัตโนมัติ ผู้ใช้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลการติดต่อของกันและกันได้ มีเพียงเซิร์ฟเวอร์เท่านั้นที่รู้ว่าเจ้าของสมาร์ตโฟนเครื่องนั้น ๆ เป็นใคร แล้วเมื่อใดที่ตรวจพบเชื้อ COVID-19 เจ้าหน้าที่จะขอเข้าถึงข้อมูลว่าผู้ใช้คนดังกล่าวได้แลกเปลี่ยน temporary ID กับใครไปแล้วบ้าง เพื่อประเมินความเสี่ยงและติดตามการแพร่กระจายของเชื้อต่อไป ฟีเจอร์เจ๋งและความเข้มงวดของรัฐบาลจีน นอกจากประเทศจีนจะใช้ DingTalk,
เชื่อไหมครับว่าภาพยนตร์หลายพันเรื่องที่เคยผ่านตาเรา ล้วนสอดแทรกโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจเอาไว้ และถ้าคุณหลงใหลงานดีไซน์มากพอก็คงจะรับรู้ได้ เนื่องจากสถาปัตยกรรมเป็นสิ่งปลูกสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อมนุษย์ แถมยังครอบคลุมตั้งแต่การพักอาศัยไปจนถึงการใช้ชีวิต การออกแบบสถาปัตยกรรมจึงนับว่ามีบทบาทไม่น้อยต่อภาพยนตร์ นอกจากจะเป็นฉากหลังประกอบเนื้อเรื่องที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสายตาผู้ชมแล้ว สถาปัตยกรรมในแต่ละฉากตอนยังสะท้อนถึงสภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงยุคสมัยที่ปรากฏในภาพยนตร์แต่ละเรื่องได้อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นรายละเอียดเล็ก ๆ ของงานสถาปัตยกรรมยังช่วยเสริมแนวคิดตลอดจนเนื้อเรื่องของภาพยนตร์ให้เด่นชัดขึ้นในเวลาเดียวกัน แล้วนี่คือภาพยนตร์ 5 เรื่อง 5 รสชาติที่ซ่อนความพิเศษทางสถาปัตยกรรมบางอย่างที่เราอยากให้คุณได้รับชม! Parasite, 2019 ภาพยนตร์สัญชาติเกาหลีของผู้กำกับ Bong Joon-ho ที่นอกจากจะคว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและอีกหลายรางวัลใหญ่บนเวทีออสการ์ ยังซ่อนผลงานสถาปัตยกรรมสุดน่าทึ่งเอาไว้ด้วย เนื้อเรื่องของ Parasite เล่าถึงครอบครัวต่างฐานะของเกาหลีใต้ที่ฝั่งหนึ่งใช้ชีวิตสุขสบายในคฤหาสน์หรู แต่อีกฝั่งต้องกัดฟันสู้ชีวิตท่ามกลางสภาพสังคมที่เหลื่อมล้ำ ภาพยนตร์เรื่องนี้โดดเด่นด้วยการเสียดสีสังคมและเผยให้เห็นช่องโหว่ของคนรวยกับจนอย่างโจ๋งครึ่ม ซึ่งหนึ่งในองค์ประกอบหลักที่ช่วยให้ผู้ชมซึมซับความต่างระหว่างชนชั้นคือผลงานสถาปัตยกรรมในเรื่องนี้ ผนังหน้าบ้านของครอบครัวคนรวยดีไซน์ด้วยกำแพงสูงทึบตัน ที่ช่วยแบ่งกั้นระหว่างภายในกับภายนอกอย่างชัดเจน ทางเดินเข้าบ้านยกระดับให้สูงขึ้นสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้พักอาศัย และเหมือนบอกโดยนัยว่าไม่ต้องการให้ใครเข้าถึงง่าย ภายในยังสร้างบันไดไว้บริเวณจุดศูนย์กลางบ้านช่วยแบ่งพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนมากขึ้น แม้จะใช้กระจกบานกว้างเพื่อเปิดรับแสงธรรมชาติและบ่งบอกถึงรสนิยมหรูหรา แต่กลับเลือกเฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้นที่ดูเรียบง่ายมาตกแต่ง บวกกับโทนสีในบ้านและเปลือกนอกอาคารที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ราวกับบอกว่าบ้านหลังนี้ซ่อนความลับบางอย่างเอาไว้ Black Panther, 2018 แม้แต่ Black Panther ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ลำดับที่ 8 ในจักรวาลมาเวล ยังเต็มไปด้วยรายละเอียดยิบย่อยของสถาปัตยกรรมผังเมืองฝีมือ Zaha Hadid สถาปนิกหญิงชื่อก้องโลกผู้คร่ำหวอดในแวดวงสถาปัตยกรรม เนื้อเรื่องของ Black
ในช่วงที่คนค่อนประเทศต้อง Work from Home กันแบบไม่มีกำหนด อันเนื่องมาจากวิกฤต COVID-19 ที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ฝั่ง HR ของบริษัทเองก็รีบเร่งหาคนมายัดตำแหน่งที่ว่างอย่างเหน็ดเหนื่อยไม่แพ้กัน แม้บางบริษัทจะปิดตัวลงหรือเลิกจ้างพนักงานบางส่วนเพื่อถ่วงดุลรายรับรายจ่ายในช่วงวิกฤต แต่ยังมีหลายบริษัทที่อาศัยจังหวะเดียวกันนี้เปิดรับสมัครพนักงานเพิ่ม เตรียมรอพลิกวิกฤตเป็นโอกาสและวางแผนการทำงานในอนาคตอย่างเต็มรูปแบบ บริษัทจำนวนมากจึงหันมาใช้การสัมภาษณ์งานออนไลน์แทนการสัมภาษณ์งานแบบปกติ บอกเลยว่าการสัมภาษณ์งานออนไลน์เป็นอีกวิธีคัดกรองคนที่ง่ายและมีประสิทธิภาพที่สุด เพราะผู้สมัครสามารถสัมภาษณ์งานได้จากที่บ้าน ประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลาเดินทาง แถมยังสอดคล้องกับการเว้นระยะห่างจากสังคม หรือ Social Distancing ที่ชาวโลกกำลังให้ความสำคัญอยู่ตอนนี้ ดูเผิน ๆ แล้วการสัมภาษณ์งานออนไลน์จะแทบไม่ต่างอะไรจากการสัมภาษณ์ปกติ แต่ผู้สมัครจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ที่ต่างออกไป และอาจซ่อนรายละเอียดยิบย่อยที่หนุ่มมนุษย์เงินเดือนหลายคนไม่รู้ก็ได้ วันนี้ UNLOCKMEN เลยจะมาถามจากปาก HR ให้เคลียร์ ว่าการสัมภาษณ์งานออนไลน์ที่ดีควรเป็นแบบไหนและผู้สมัครคนใดที่จะถูกใจบริษัท? ในช่วงวิกฤตแบบนี้คิดอย่างไรกับการที่บางบริษัทเลิกจ้างคน ขณะที่บางบริษัทเร่งหาคนเพิ่ม? HR Manager, Marketing Agency: ถ้าบริษัทที่ได้รับผลกระทบไม่มากก็คงไม่ได้อยากเลิกจ้างและอาจขอความร่วมมือให้ปรับลดเงินเดือนแทน แต่ถ้าบริษัทนั้น ๆ ถึงขั้นต้องเลิกจ้างพนักงานก็คงได้รับผลกระทบมาหนักจริง ๆ ส่วนตัวคิดว่าบริษัทที่กำลังรับคนเพิ่มในตอนนี้เป็นเพราะมีโปรเจกต์พิเศษ รับสมัครพนักงานแบบลูกจ้างชั่วคราว ไม่ก็การสื่อสารในองค์กรเกี่ยวกับนโยบายการทำงานในช่วง COVID-19 ยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ จนทำให้พนักงานแห่กันลาออกยกทีม HR, Digital
แม้ในยุคนี้กระแสนิยมจะเทไปทางแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิงอย่าง Netflix, HBO หรือ Amazon Prime Video แต่เชื่อว่ายังมีผู้ชายอีกหลายคนที่ไม่ได้สนกระแสและย้อนนึกถึงภาพยนตร์เก่า ๆ ในห้วงอดีตอยู่เสมอ เพราะภาพยนตร์แต่ละยุคล้วนมีพื้นหลังทางประวัติศาสตร์ กลวิธีถ่ายทำ และเส้นเรื่องที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วยกันทั้งนั้น ทว่ายุคที่โดดเด่นด้านการสร้างสรรค์อะไรใหม่ ๆ ยุคที่เป็นจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์หลากหลายแนว และยุคที่ได้ชื่อว่าแยกออกจากฮอลลีวูดยุคเก่าอย่างเต็มตัว คงต้องยกให้กับ ‘ภาพยนตร์แห่งยุค 70s’ ทำไมต้องเป็นภาพยนตร์ยุค 70s ? จริงอยู่ที่ในยุค 60s วงการจอเงินได้รับอิทธิพลจาก French New Wave หรือกลุ่มผู้สร้างภาพยนตร์ฝรั่งเศส ที่เริ่มถ่ายหนังในสถานที่จริงแทนสตูดิโอ เน้นหนักเรื่องความเป็นธรรมชาติ และใช้เทคนิคการตัดต่อสุดล้ำอย่าง jump cut, insert รวมทั้งการถ่ายแบบ long take แต่ภาพยนตร์ยุค 70s กลับต่างออกไป เพราะในช่วงคริสต์ศตวรรษ 1970 เป็นช่วงที่อเมริกาเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ มีสงครามและความไม่สงบกระจายตัวอยู่หลายแห่ง ในทางกลับกันดนตรี ศิลปะ หรือแม้แต่อุตสาหกรรมภาพยนตร์นั้นเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก บท เส้นเรื่อง รวมทั้งเนื้อหาของภาพยนตร์ในยุคนี้จึงเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมโดยรอบ เหล่าผู้สร้างภาพยนตร์ของยุค 70s ต่างสรรหาประเด็นหนัก
ในบรรดาค่ายรถผู้ผลิตยนตรกรรมระดับโลก คงต้องยอมรับว่า BMW (บีเอ็มดับเบิลยู) เป็นหนึ่งในค่ายที่ให้ความสำคัญกับการขับขี่รถยนต์หรูหราล้ำสมัยไปพร้อมกับการขับเคลื่อนผลงานศิลปะที่เปี่ยมด้วยแรงบันดาลใจจากศิลปินผู้รังสรรค์ ตั้งแต่ปี 1975 ที่ Hervé Poulain นักแข่งรถและนักประมูลรถชาวฝรั่งเศสได้ริเริ่มโปรเจกต์ ‘BMW Art Cars’ เอาไว้ นับแต่นั้นบริบทของศิลปะก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ผลงานศิลปะไม่ได้จำกัดอยู่แค่บนผืนผ้าใบหรือในพิพิธภัณฑ์ชื่อก้องโลกอีกต่อไป หากสอดแทรกอยู่แทบทุกที่รอบตัว แม้แต่บนหลังคา ปีก หรือฝากระโปรงของรถยนต์ BMW ก็ตาม Hervé Poulain ชวนศิลปินหลากหลายแขนงทั่วโลกมาร่วมสร้างผลงานศิลปะเฉพาะตัว เนรมิตยานพาหนะเพื่อการขับขี่ให้กลายเป็นผ้าใบผืนใหญ่ และเปิดโอกาสให้เหล่าศิลปินใช้พื้นที่ว่างรังสรรค์ศิลปะที่สะท้อนเอกลักษณ์และตัวตนของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็น Alexander Calder, Frank Stella, Roy Lichtenstein หรือแม้แต่ Andy Warhol ล้วนเคยสร้างผลงาน BMW Art Cars ในแบบฉบับของตัวเองมาแล้วทั้งนั้น พวกเขาระเบิดความคิดสร้างสรรค์และถ่ายทอดทักษะความสามารถลงบนโมเดลรถยนต์ค่ายใบพัดฟ้าจนเป็นตำนาน ซึ่งปัจจุบันมี BMW Art Cars รวมทั้งสิ้น 19 คันทั่วโลก ‘BMW Unbound World of
ต่อให้ไทยเป็นประเทศอู่ข้าวอู่น้ำที่อุดมสมบูรณ์และมีวัตถุดิบมากมายให้เลือกสรรมาทำอาหารหลากเมนู แต่ต้องยอมรับว่าบางทีเราเองก็ดันรู้สึกเบื่ออาหารไปเสียดื้อ ๆ ข้าวผัด ผัดไทย หรือผัดกะเพรา ไม่ว่าจะกินอะไรก็ไม่อร่อยทั้งนั้น แถมเมื่อต้องนั่งกินข้าวคนเดียวอย่างตอนนี้ ก็ยิ่งทำให้เหงาและเบื่ออาหารหนักไปกว่าเดิมอีก UNLOCKMEN เลยอยากพาหนุ่ม ๆ มารู้จัก ASMR Eating สไตล์เกาหลี หรือ Mukbang (ม็อกบัง) คลิปวิดีโอกินอาหารโชว์อย่างเอร็ดอร่อยบนโลกออนไลน์ที่อาจช่วยเรียกน้ำย่อย คลายเหงา หรือทำให้หนุ่มบางคนรู้สึกอยากอาหารมากขึ้นก็ได้ ‘ASMR’ เสียงธรรมดาที่สร้างความรู้สึกพิเศษ ‘ASMR’ ย่อมาจาก Autonomous Sensory Meridian Response นิยามถึงการตอบสนองทางความรู้สึกอันเนื่องมาจากที่เราได้มอง ได้ฟัง หรือได้สัมผัสอะไรบางอย่าง เสียง ASMR ที่ว่านี้ทำให้ใครหลายคนรู้สึกผ่อนคลาย หลับง่ายขึ้น และมีสมาธิจดจ่ออยู่กับอะไรได้นานเป็นพิเศษ แม้กระนั้นก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะอินกับเสียง ASMR และปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงของบางคนก็ต่างกัน บ้างรู้สึกขนลุกซู่ราวกับมีใครมากระซิบข้างหู หรือคนที่ฟังเสียงนี้แล้วผล็อยหลับไปก็มีเหมือนกัน ส่วน ASMR Eating สไตล์เกาหลี หรือ Mukbang (ม็อกบัง) เป็นเพียงหนึ่งในสับเซตของ ASMR ที่ผสมผสานระหว่างคำว่า ‘กิน’ (muk-da)
แม้คนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้คุ้นชินกับการออกแบบเชิงตอบโต้ หรือ Interactive Design มากเท่าไรนัก แต่งานประเภทที่ผสานความคิดสร้างสรรค์เข้ากับประสิทธิภาพทางเทคโนโลยี เพื่อรังสรรค์ประสบการณ์ตื่นเต้นตระการตาให้กับผู้ชมเช่นนี้ อาจไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร แถมงานสไตล์นี้ยังแทรกตัวอยู่ทั่วทุกมุมโลกด้วยซ้ำ แต่ในช่วงไม่กี่ปีให้หลังชื่อเสียงด้านงาน Interactive Design ของคนไทยก็เริ่มกลายเป็นที่โจษขานมากยิ่งขึ้น งานดีไซน์ที่ว่านี้ไม่ได้มีดีแค่ขับเน้นความงามให้กระทบต่อสายตาผู้ชม หากมอบความบันเทิง ขับเคลื่อนบริบทแวดล้อม และช่วยสร้างแรงบันดาลให้กับคนในเวลาเดียวกัน แล้ว “อะตอม-ติณห์นวัช จันทร์คล้อย” Creative Director ของบริษัท Eyedropper Fill คือหนึ่งในผู้ที่อยู่เบื้องหลังงานออกแบบเชิงตอบโต้สุดสร้างสรรค์ที่เราหมายถึง งานออกแบบประสบการณ์ของอะตอม Eyedropper Fill “ถ้าจะให้อธิบายถึงสิ่งที่เราทำคร่าว ๆ น่าจะอยู่ในสามประโยคคือ เราสร้างพื้นที่ เราชวนคนมาเจอกัน และเราสร้างประสบการณ์ที่น่าจดให้กับพวกเขา Eyedropper Fill เริ่มต้นจากงานที่เป็นภาพเคลื่อนไหวซะส่วนใหญ่ แล้วค่อย ๆ เปลี่ยนจากภาพเคลื่อนไหวไปสู่งานบนพื้นที่จริง” ปัจจุบัน Eyedropper Fill เป็นสตูดิโอผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างภาพเคลื่อนไหว ศิลปะติดตั้ง และการออกแบบเชิงตอบโต้ พวกเขานิยามตัวเองว่าเป็น ‘สตูดิโอนักออกแบบประสบการณ์’ ขยันครีเอตผลงานดีไซน์เจ๋ง ๆ ที่สอดรับกับความต้องการพวกเขา คล้องกับความต้องการของลูกค้า ตลอดจนขับเคลื่อนและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนที่มาชมงาน “การเล่นสนุกคือน้ำเสียงในแบบคนไทยที่เราใช้สื่อสาร”
Zound Industries บริษัทสัญชาติสวีเดนผู้ผลิตหูฟังและลำโพงภายใต้ลิขสิทธิ์ของ Marshall Amplification ประกาศเปิดตัวลำโพงบลูทูธขนาดพกพารุ่นใหม่ล่าสุด ‘Marshall Uxbridge Voice’ ที่ผนวกระบบเสียงในตำนานของ Marshall เข้ากับซอฟต์แวร์ควบคุมด้วยเสียงสุดอัจฉริยะอย่าง Amazon Alexa Marshall Uxbridge Voice เป็นลำโพงพกพาขนาด 128 x 168 x 123 มิลลิเมตร ที่ควบคุมการทำงานด้วยเสียงของ Amazon Alexa ใช้ชุดไมโครโฟนระยะไกล สามารถจดจำเสียงระยะไกลได้ และมีระบบตัดเสียงรบกวนในตัว ทำให้ผู้ใช้สั่งงานและควบคุมลำโพงจากพื้นที่ต่าง ๆ ภายในบ้านแบบแฮนด์ฟรีได้อย่างสะดวกสบาย จะสั่งให้ลำโพงเร่งเสียงเพลงเมื่อถึงเพลย์ลิสต์โปรดหรือหยุดเพลงที่เล่นแบบกะทันหันก็ได้ ลำโพงเครื่องนี้ใช้ 30-W Class D Amplifier ที่ขับเคลื่อนด้วยไดร์เวอร์เสียงสองตัว ทั้ง Woofer และ Tweeter ให้เสียงดังสูงสุดอยู่ที่ 96 เดซิเบล และมีกำลังขับเสียงอยู่ที่ 30 วัตต์ นอกจากจะปรับแต่งลำโพงผ่านแอปพลิเคชัน Marshall Voice บนสมาร์ตโฟนได้แล้ว ด้านบนของลำโพงยังดีไซน์ปุ่มควบคุมเท่