Zound Industries บริษัทสัญชาติสวีเดนผู้ผลิตหูฟังและลำโพงภายใต้ลิขสิทธิ์ของ Marshall Amplification ประกาศเปิดตัวลำโพงบลูทูธขนาดพกพารุ่นใหม่ล่าสุด ‘Marshall Uxbridge Voice’ ที่ผนวกระบบเสียงในตำนานของ Marshall เข้ากับซอฟต์แวร์ควบคุมด้วยเสียงสุดอัจฉริยะอย่าง Amazon Alexa Marshall Uxbridge Voice เป็นลำโพงพกพาขนาด 128 x 168 x 123 มิลลิเมตร ที่ควบคุมการทำงานด้วยเสียงของ Amazon Alexa ใช้ชุดไมโครโฟนระยะไกล สามารถจดจำเสียงระยะไกลได้ และมีระบบตัดเสียงรบกวนในตัว ทำให้ผู้ใช้สั่งงานและควบคุมลำโพงจากพื้นที่ต่าง ๆ ภายในบ้านแบบแฮนด์ฟรีได้อย่างสะดวกสบาย จะสั่งให้ลำโพงเร่งเสียงเพลงเมื่อถึงเพลย์ลิสต์โปรดหรือหยุดเพลงที่เล่นแบบกะทันหันก็ได้ ลำโพงเครื่องนี้ใช้ 30-W Class D Amplifier ที่ขับเคลื่อนด้วยไดร์เวอร์เสียงสองตัว ทั้ง Woofer และ Tweeter ให้เสียงดังสูงสุดอยู่ที่ 96 เดซิเบล และมีกำลังขับเสียงอยู่ที่ 30 วัตต์ นอกจากจะปรับแต่งลำโพงผ่านแอปพลิเคชัน Marshall Voice บนสมาร์ตโฟนได้แล้ว ด้านบนของลำโพงยังดีไซน์ปุ่มควบคุมเท่
สำหรับหนุ่มคนไหนที่ดูซีรีส์จนตาแฉะและฟังเพลงจนหมดเพลย์ลิสต์แล้ว ก็ยังไม่หายเบื่อที่ต้องอยู่บ้านนาน ๆ แบบนี้ UNLOCKMEN ขอเสนออีกวิธีแก้เบื่ออย่างการเล่นเกมที่จะช่วยคลายเหงา คลายเครียด และทำให้คุณแฮปปี้ที่ได้อยู่บ้านมากขึ้น คอลัมน์ Game Highlights เดือนนี้เลยจะพาหนุ่ม ๆ ไปเล่นเกมติงต๊อง เบาสมอง เล่นสบาย แต่สนุกจนทำเอาใครหลายคนติดงอมแงมและแทบวางมือไม่ลงเลย จะมีเกมเด็ดเกมไหนน่าเล่นบ้าง ไปดูกัน! Animal Crossing: New Horizons วิดีโอเกมแนว Life Simulation ที่ซ่อนกลิ่นอายเกม RPG จากค่าย Nintendo เกมนี้จะส่งตัวผู้เล่นไปยังเกาะร้างและจำลองชีวิตบนเกาะให้คุณหาหนทางเอาตัวรอดในเกาะนี้ให้ได้ นี่ถือเป็นเกมชุดที่ห้าจากตระกูล Animal Crossing ที่เหล่าเกมเมอร์หลายคนตั้งตารอ แถมรอบนี้ยังอัปเกรดกราฟิกมาให้ดูคมชัด น่ารัก และสดใสมากกว่าเดิมด้วย ระบบเกมเพลย์ก็แสนง่ายเหมือนเกมติดเกาะทั่วไปที่คุณต้องดีไซน์รูปลักษณ์ตัวละครเอง กู้ยืมเงินเพื่อสร้างถิ่นฐาน ค้นหาทรัพยากร ทำมาหากิน และเป็นเพื่อนบ้านที่ดีของคนอื่น ๆ ‘Animal Crossing: New Horizons’ ไม่ใช่เกมปลูกผักทำไร่ไถนา คุณจึงใช้ชีวิตสโลว์ไลฟ์ ยืดหยุ่น และไม่ต้องรีบเร่งเก็บผักตามเวลาหรือรีบร้อนนอนเพื่อเก็บค่าพลังชีวิต ถ้าเล่นต่อไปเรื่อย ๆ คุณยังสามารถปรับแต่งภูมิประเทศหรือชวนเพื่อนมาเยี่ยมเกาะแบบออนไลน์เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันได้อีกด้วย
ต้องยอมรับว่าจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นปัจเจกบุคคลอาจยังไม่พอทุเลาสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 การกระตุ้นและรณรงค์ผ่านสื่อออนไลน์จึงเป็นอีกเครื่องมือช่วยเปลี่ยนปรับพฤติกรรมที่ใช้ได้ผล ทว่าบางครั้งข้อมูลที่ประชาชนได้รับเป็นทางการมากเกินไป ใช้ศัพท์วิชาการที่เข้าใจได้เฉพาะกลุ่ม หรืออัดแน่นเบียดเสียดไปด้วยตัวอักษรที่มักจะทำให้ใครหลายคนไม่อยากคลิกเข้าไปอ่าน งานดีไซน์เจ๋ง ๆ ที่ทำให้คนเข้าใจไวรัสง่ายกว่าเดิม ต่อให้ใช้ข้อมูลเดียวกันและส่งไปยังกลุ่มผู้อ่านที่ต่างกัน ก็ไม่อาจรับประกันว่าผู้รับสารที่เป็นทั้งเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน และผู้สูงอายุจะเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดในทิศทางเดียวกันได้ เหล่าศิลปินและนักออกแบบจึงผลิตผลงานสุดสร้างสรรค์เพื่อรณรงค์และแนะนำวิธีการใช้ชีวิตอย่างถูกต้องในช่วงที่ไวรัสแพร่ระบาด พวกเขานำความคิดสร้างสรรค์ผนวกเข้ากับสัญลักษณ์ รูปภาพ ตัวอักษร และการจัดองค์ประกอบเพื่อสื่อความหมายเชิงทัศนศิลป์ และช่วยให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหาสาระทั้งหมดที่ต้องการสื่อได้ง่าย ๆ เพียงตาเห็น ภาพเคลื่อนไหวจำลองพลังของเชื้อไวรัส Harry Stevens จากหนังสือพิมพ์ The Washington Post จำลองภาพโมชั่นกราฟิกให้เห็นถึงพลังของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งประชาชนอยู่ใกล้ชิดกันในพื้นที่สาธารณะมากเท่าไร ยิ่งทำให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายง่ายขึ้นมากเท่านั้น ซึ่งนั่นทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นตามมาได้ นี่เป็นอีกหนึ่งผลงานดีไซน์ที่ตอกย้ำว่า Social Distancing หรือการเว้นระยะห่างจากสังคม ยังเป็นเรื่องสำคัญเสมอตราบเท่าที่เราไม่อาจมองเห็นเชื้อไวรัสด้วยตาเปล่า หรือยังไม่มีวัคซีนจำนวนมากพอจะยับยั้งไวรัสได้อย่างขาดรอย ภาพประกอบสุดกวนที่เล่าอาการของผู้ติดเชื้อ ผู้สื่อข่าวสายข้อมูลชาวอังกฤษ Mona Chalabi โพสต์ภาพวาดประกอบของเธอลงใน Instagram ส่วนตัวเพื่ออธิบายอาการของผู้ติดเชื้อ COVID-19 แบบเข้าใจง่าย เธอใช้ภาพวาดสุดกวนที่ดูตลกและสร้างสรรค์ในเวลาเดียวกันสื่อความหมายว่าอาการผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ต่างจากผู้ป่วยโรคไข้หวัดอย่างไร แถมสีสัน สายเส้น และฟอนต์ตัวอักษรที่เธอเลือกใช้ก็ไม่ได้ดูหดหู่หรือเคร่งเครียดเกินไปด้วย ไม้ขีดไฟที่ไม่ถูกเผาไหม้
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ ทำให้ใครหลายคนวิตกจริตและใช้ชีวิตอย่างไม่เป็นสุขไปตาม ๆ กัน ไหนจะต้องหมั่นขัดถูมือจนแทบถลอก ใส่หน้ากากอนามัยจนปวดใบหู หรือกักเก็บตัวอยู่ในบ้านหลายสิบวันอย่างหดหู่โดยที่ไม่ได้ออกไปไหน ความรู้สึกที่ต้องหมกตัวอุดอู้อยู่ในพื้นที่แคบ ๆ ทุกวี่วันไม่ได้ทำให้คุ้นชินแต่อย่างใด หากทำให้ผู้คนเริ่มโหยหาการออกไปข้างนอก การเดินทางไกล และอยากหนีห่างจากบ้านที่ผูกพันธนาการพวกเขาเอาไว้ในช่วงที่ไวรัสระบาดหนักเช่นนี้ แม้แต่ประเทศเยอรมนีที่ดูจะจัดการวิกฤติโคโรนาไวรัสครั้งนี้ได้ดีกว่าบ้านเราและนานาประเทศ ก็ไม่อาจละความรู้สึกโหยหาที่จะออกเดินทางไปไหนไกล ๆ ได้ แถมชาวเยอรมันยังรู้สึกว่าตนติดอยู่ในบ้านนานและอาจนานเกินไป ยิ่งมาตรการกักตัวเข้มข้นรุนแรงมากเท่าไร ยิ่งทำให้ความปรารถนาที่จะออกไปไหนไกล ๆ ทวีขึ้นมากเท่านั้น พลังแห่งความโหยหาของชาวเยอรมันจึงเริ่มแทรกซึมไปในแทบทุกแคว้นของประเทศ จนคำศัพท์ “Fernweh” ซึ่งนิยามถึงความโหยหาที่จะเดินทางไกลถูกนำกลับมาพูดใหม่ในยุคนี้อีกครั้ง ความโหยหาที่จะเดินทางไปให้ไกลสุดลูกหูลูกตา Fernweh (แฟรน-เวฮ์) เป็นคำนามภาษาเยอรมันที่เคยปรากฏในหนังสือภาษาอังกฤษ ‘The Basis of Social Relation’ ของ Daniel Garrison Brinton ผู้เขียนอธิบายคำนี้ว่าเป็นความปรารถนาสุดลึกซึ้งหรือความรู้สึกเจ็บปวดรวดร้าวอันเนื่องมาจากระยะทางไกล ในภาษาอังกฤษจึงถอดความหมายออกมาเป็น “Distance Sickening” หรือ “Far Woe” ทว่า Christiane Alsop อธิบายถึง Fernweh ในบทความวิชาการเรื่อง Home
นอกจากศิลปะรูปธรรมที่ลอกเลียนรูปทรงของธรรมชาติ เน้นความสมจริง และทำให้เราเข้าใจความหมายตั้งแต่ครั้งแรกที่เห็น อีกด้านยังมีศิลปะนามธรรมที่ยากจะเข้าใจ เต็มไปด้วยความคลุมเครือ และอาจหาคำจำกัดความให้กับสิ่งที่เห็นไม่ได้ บนโลกนี้มีศิลปินหลายต่อหลายคนที่ใช้ศิลปะแบบนามธรรม (Abstract Art) สื่อความหมายผ่านรูปทรง สีสัน และลายเส้นที่ไร้รูปแบบตายตัว ซึ่งศิลปะแนวนี้ไม่ได้เน้นความสมจริงหรือรูปทรงที่แน่ชัดแบบรูปธรรม ทว่าเน้นอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อผลงานชิ้นนั้น ๆ กระทบต่อสายตาผู้ชม ยุคที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมถูกพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด วิธีการสร้างงานศิลปะเองก็เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ศิลปินยุคใหม่บางคนไม่ได้ยึดติดกับการใช้ฝีแปรงละเลงลงบนผืนผ้าใบอีกต่อไป แต่ใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชันล้ำสมัยและแพลตฟอร์มออนไลน์สร้างงานศิลปะแนวใหม่พร้อมจัดแสดงในเวลาเดียวกัน Michael Strevens ศิลปินดิจิทัลในลอนดอนผู้นี้ ใช้สมาร์ตโฟนและแอปพลิเคชันแต่งภาพสร้างคอลเลกชันศิลปะของตัวเองใน Instagram จนเกิดเป็นกระแสไวรัลทั่วโลกศิลปะออนไลน์ แรงบันดาลใจของ Michael Strevens เริ่มขึ้นในปี 2012 ที่เขาซื้อ iPhone มาใช้ครั้งแรกและเพิ่งรู้จักกับแอปพลิเคชัน Instagram เขาเข้าไปสำรวจภาพถ่าย ผลงานสถาปัตยกรรม รวมทั้งภูมิทัศน์ของเมืองทั่วยุโรปในแอปพลิเคชันนี้ ขณะเสพผลงานไปเรื่อย ๆ เขาค้นพบว่าตัวเองหลงใหลการถ่ายภาพและอยากสร้างผลงานศิลปะเจ๋ง ๆ ด้วยสมาร์ตโฟน จึงผันตัวมาเป็นศิลปินดิจิทัลเต็มตัวตั้งแต่ปี 2012 และอัปโหลดผลงานลงใน Instagram เพื่อจัดแสดงผลงานจนถึงทุกวันนี้ ผลงานของเขามีทั้งภาพสีและภาพขาวดำ เส้นตรงและเส้นโค้ง แถมยังโดดเด่นด้วยการเล่นกับเส้น ความละเอียดคมชัด มุมมองสายตาผู้ชม และรูปแบบเดิม ๆ
ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 และจำนวนผู้ติดเชื้อที่ทะยานสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่แปลกถ้าผู้ชายบางคนจะรู้สึกวิตกกังวล ไม่เป็นอันกินอันนอน และตื่นกลัวทุกสิ่งอย่าง ไหนจะข่าวสารที่น่าหดหู่ ผู้คนบางตารอบตัว หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนที่เปลี่ยนไป คล้ายกับอุปาทานหมู่ที่ทำให้เราวิตกตามไปด้วย แต่ในช่วงเวลาที่ยากลำบากอย่างตอนนี้ กลับเป็นช่วงที่เราต้องมีสติและเข้มแข็งมากที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะถ้าคุณปล่อยให้อารมณ์วิ่งพล่านและอาละวาดโดยปราศจากการควบคุม อาจทำให้สถานการณ์ที่แย่อยู่แล้วย่ำแย่ลงไปอีก วันนี้ UNLOCKMEN เลยจะมาบอกวิธีควบคุมและจัดการกับอารมณ์ของตัวเองไม่ให้กระเจิดกระเจิงไปไหนไกล เพื่อให้คุณยังมีสติ เข้มแข็ง และยืดหยัดอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายเช่นนี้ต่อไปได้ รู้จักอารมณ์ที่กำลังเกิดขึ้น วิธีพื้นฐานในการควบคุมจัดการกับอารมณ์ตัวเอง เริ่มจากคุณต้องรู้ก่อนว่าตอนนี้อารมณ์แบบไหนกำลังเกิดขึ้นกับคุณอยู่ หากสามารถจำแนกและบอกได้ว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร แปลว่าคุณมีสติและควบคุมอารมณ์ได้ในระดับหนึ่งแล้ว นอกจากนั้นการรู้จักอารมณ์ยังช่วยจัดการกับอารมณ์เชิงลบและลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตัวคุณได้ เช่น ถ้าคุณรู้สึกวิตกกังวลกับการแพร่ระบาดของไวรัส ความกังวลของคุณจะอยู่บนพื้นฐานของความคิดและเหตุผล คุณจะไม่กระวนกระวายเหมือนคนอื่น ๆ หากมีสติและพร้อมแก้ไขปัญหาอย่างชาญฉลาด ช่วยเหลือคนรอบตัว แม้คุณสามารถจำแนกและควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ แต่เชื่อว่ายังมีคนในครอบครัวหรือคนรอบตัวอีกมาก ที่ไม่อาจจัดการกับอารมณ์ต่าง ๆ นานาได้อย่างคุณ คุณจึงต้องช่วยนำทางพวกเขาหรือแบ่งปันอารมณ์ร่วมกัน ว่าตอนนี้รู้สึกอย่างไรบ้างและพอมีวิธีไหนจะทำให้พวกเขารู้สึกดีขึ้นได้บ้าง ถ้าความวิตกกังวลเรื่องไวรัส COVID-19 เป็นอุปาทานหมู่ที่ทำให้คนอื่น ๆ รู้สึกแย่ตามไปด้วย การมีสติ เข้มแข็ง และควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ ก็สามารถกลายเป็นอุปาทานหมู่ที่ส่งต่อไปยังคนอื่นได้เช่นกัน ไม่ต่างจากเรื่องไวรัส จดจ่อสิ่งที่ทำได้ คุณอาจไม่สามารถไปยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสในวงกว้างได้ แต่เราอยากให้คุณมุ่งเน้นในเรื่องที่คุณทำได้และทำมันให้ดีที่สุด เช่น
คงไม่แปลกถ้าการใช้ชีวิตท่ามกลางยุคที่ไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดเฉกเช่นตอนนี้ ทำให้ผู้ชายหลายคนรู้สึกหดหู่และสิ้นหวังอย่างบอกไม่ถูก หันไปมองถนนหนทางก็เงียบสงัด ร้านค้าร้านอาหารไร้ผู้คน แถมยังมีบรรยากาศรอบตัวเงียบเหงาพาให้ใจหวาดหวั่นยิ่งกว่าเดิม หนุ่มบางคนใช้ซีรีส์เรื่องโปรดในเน็ตฟลิกซ์เป็นตัวช่วยทุเลาความเครียด บ้างอุดสองรูหูด้วยเสียงดนตรีหวังผ่อนคลายจิตใจ แต่ถ้าลองทำสองวิธีนี้แล้วยังไม่ได้ผล แถมอยู่บ้านเฉย ๆ นับวันก็ยิ่งเบื่อ หมดหวัง และไม่รู้จะทำอะไรดี UNLOCKMEN ขอชวนคุณมาจัดทริป Virtual Tours เดินชมผลงานศิลปะเจ๋ง ๆ ในแกลเลอรีและพิพิธภัณฑ์ระดับโลก พร้อมเรียนศิลปะฟรีผ่านโลกออนไลน์ได้ที่บ้าน โดยไม่ต้องก้าวเท้าออกไปไหน ทั้งยังจรรโลงจิตใจในสถานการณ์เลวร้ายแบบนี้ได้เป็นอย่างดี “เพราะศิลปะจรรโลงใจมนุษย์ได้เสมอ” ศิลปะเป็นศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดอีกแขนงหนึ่งของโลกที่แตกแขนงแยกย่อยได้หลากสาขา และการใช้ศิลปะช่วยประคับประคองจิตใจมนุษย์ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร ถ้าย้อนไปในอดีตจะรู้ว่าศิลปะกำเนิดขึ้นเนิ่นนานแล้ว นับเป็นผลผลิตของศิลปินที่สะท้อนความรู้สึกนึกคิด ตัวตน และแรงบันดาลใจในการรังสรรค์ผลงานของพวกเขา ศิลปะเคยเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่บนหิ้งและสงวนไว้แด่ชนชั้นสูง เคยเป็นเครื่องมือระบายระบอบอยุติธรรม ตีแผ่ความแออัดยัดเยียด และเสียดสีตบหน้าความร้ายกาจคนในของสังคม แต่อีกด้านหนึ่งศิลปะคือสีสันที่ช่วยจรรโลงจิตใจมนุษย์และยังคงเป็นเช่นนั้นจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่ากี่ยุคกี่สมัยที่มนุษย์ปราศจากความหวัง พ่ายแพ้หมดรูป และหมดสิ้นกำลังจะเดินต่อ ศิลปะเข้ามาช่วยค้ำจุนและพยุงมวลมนุษย์ให้อยู่ในร่องในรอยได้เสมอ อาจเป็นภาพถ่ายที่ทำให้ฉุกคิด จิตรกรรมฝาผนังแฝงนัยต่างยุค โคลงกวีที่ซ่อนวลีกินใจ หรือแม้แต่ภาพวาดศิลปะทั่วไปที่เรารู้จักดี เมื่อโลกหมุนรอบตัวเองและเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคที่ทันสมัยขึ้น เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากลายเป็นเครื่องมือเปิดโอกาสให้คนได้เสพงานศิลปะ ท่องโลกอินเทอร์เน็ตไปชมผลงานเจ๋ง ๆ ทั่วมุมโลก รวมทั้งเรียนศิลปะผ่านออนไลน์ได้ง่าย ๆ แม้ไม่ต้องออกไปไหน เดินชมงานศิลปะเสมือนจริงด้วย Google Arts
แม้ Social Distance จะมีข้อดีมากกว่าข้อเสียและช่วยทุเลาปัญหาเรื้อรังที่เกิดขึ้นได้ แต่วิธีนี้อาจทำให้สถานการณ์ที่ตึงเครียดอยู่แล้วย่ำแย่ลงไปอีก เพราะคนส่วนใหญ่ต้องกักเก็บตัวอยู่ที่บ้านและไม่ได้ออกไปสังสรรค์คลายเครียดที่ไหนเลย ช่วงเวลาเก็บตัวอยู่บ้านอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่ใช่แค่คุณที่รู้สึกเหงาหงอย เปล่าเปลี่ยว และโดดเดี่ยว แต่สาว ๆ ชาวญี่ปุ่นก็รู้สึกเช่นกัน และพวกเธอเริ่มเบื่อหน่ายกับการอยู่ในบ้านมาตลอดสามอาทิตย์ติด พวกเธอจึงนัดรวมตัวกันผ่านแอปพลิเคชัน Zoom และเปิดห้องเป็นสาธารณะให้คนอื่น ๆ ได้เข้ามาสนุกร่วมกัน ทั้งพูดคุยปรับทุกข์เพื่อคลายความเบื่อหน่าย หรือนั่งจิบเบียร์และไวน์คลายเครียดระหว่างสนทนา ซึ่งพฤติกรรมของสาว ๆ กลุ่มนี้เป็นจุดเริ่มต้นของคำศัพท์ใหม่ ‘On-nomi’ ข่าวในหนังสือพิมพ์อาซาฮี ชิมบุน (Asahi Shimbun) รายงานว่า กลุ่มสาว ๆ ชาวญี่ปุ่นที่นัดรวมตัวกันบนโลกออนไลน์เริ่มใช้คำศัพท์ オン飲み หรือ On-nomi (อน-โนมิ) นิยามถึงพฤติกรรมของพวกเธอที่นัดเจอกันผ่านแอปพลิเคชัน Zoom ตั้งแต่สิบคนขึ้นไป คำนี้จึงกลายเป็นศัพท์ใหม่ที่หมายถึงการดื่มสังสรรค์ทางออนไลน์ หรือ Online Drinking ในภาษาอังกฤษ จะนัดเจอเพื่อนผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือจอสมาร์ตโฟนก็ได้ พูดคุยคลายเครียดแก้เบื่อ หรือหาเบียร์และไวน์สักแก้วมานั่งดื่มหน้ากล้องก็ยังได้ แทบไม่ต่างอะไรจากการประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ที่มนุษย์เงินเดือนอย่างเราทำกันอยู่เลย การรวมกลุ่มกันในวิดีโอแชตของคนญี่ปุ่นไม่ได้จำกัดว่าจะต้องคุยผ่านแอปพลิเคชันไหนเป็นพิเศษ อาจเป็น Facetime, Zoom, Google Hangout,
ในช่วงวิกฤติโควิด-19 ที่หลากบริษัทเริ่มใช้นโยบาย Work From Home ให้พนักงานสามารถทำงานได้จากที่บ้าน เชื่อว่าคงมีหนุ่มสาวชาวออฟฟิศไม่น้อยหมกตัวอยู่ในบ้าน และปัดนิ้วสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์กันอย่างบ้าคลั่ง ทำให้เผลอคิดว่าคนหิวโหยอย่างเราควรสั่งเมนูไหนดี ที่จะไม่ต้องต่อแถวรอนานหรือสู้รบฟาดฟันกับหลากออเดอร์ของมนุษย์ทำงานคนอื่น ซึ่งเมนูที่อร่อย ทำง่าย ทำไว และจัดเป็นอาหารจานโปรดในใจใครหลายคน ต้องยกให้กับ ‘ข้าวมันไก่’ เมนูนี้ เวลาที่คิดไม่ออกว่าจะกินอะไร ‘ข้าวมันไก่’ เป็นเมนูแสนธรรมดาจานแรก ๆ ที่ผุดขึ้นในหัว นอกจากจะหากินง่าย ยังเป็นเมนูที่กินได้ทุกเวลา ทั้งมื้อเช้า มื้อกลางวัน หรือแม้แต่มื้อดึก แถมในย่านของกินที่มีร้านอาหารอร่อยเรียงรายเต็มตลอดสองข้างทาง ต้องมีร้านข้าวมันไก่สักร้านอยู่ในนั้นอย่างแน่นอน ข้าวมันไก่ไม่ใช่แค่เมนูข้างทางธรรมดาที่คนไทยกินไม่รู้จักเบื่อ แต่จริง ๆ แล้วถือเป็นหนึ่งในสามจานเด็ดของอาหารจีนไหหลำ ที่แพร่ขยายไปทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนดัดแปลงสูตรและเลือกสรรวัตถุดิบให้ถูกปากกับคนในพื้นที่นั้น ๆ ต่อให้คุณจะคุ้นชินกับข้าวมันไก่ต้ม ข้าวมันไก่ตอน หรือข้าวมันไก่ทอด แต่ประเภทหลัก ๆ ของข้าวมันไก่แบ่งได้เป็นสามแบบคือ ข้าวมันไก่ไหหลำ ข้าวมันไก่สิงคโปร์ และข้าวมันไก่เบตง ซึ่งแต่ละแบบล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งนั้น ข้าวมันไก่ไหหลำจะใช้ข้าวมัน ไก่เนื้อนุ่ม และน้ำจิ้มเต้าเจี้ยว ข้าวมันไก่สิงคโปร์เสิร์ฟข้าวแยกกับเนื้อไก่ มีน้ำราดบนไก่เนื้อนุ่ม ๆ พร้อมน้ำจิ้มสีแดงสด ส่วนข้าวมันไก่เบตงจะใช้ข้าวที่แห้งหน่อย ไก่บ้านเนื้อแห้ง
‘Bloody Mary’ ค็อกเทลสีแดงสดจากวอดก้าและน้ำมะเขือเทศแก้วนี้ คงไม่ใช่เครื่องดื่มที่ถูกจริตกับผู้ชายอย่างเรามากเท่าผู้หญิง ยิ่งถ้าเทียบกับคลาสสิกค็อกเทลหัวรุนแรงแก้วอื่น ๆ บอกเลยว่า Bloody Mary ไม่ใช่คู่ต่อสู้ที่สมศักดิ์ศรีเท่าไรนัก แต่เราเชื่อว่าค็อกเทลแต่ละแก้วล้วนมีเรื่องราว รสชาติ และความพิเศษเฉพาะตัว ซึ่ง Bloody Mary ก็เป็นหนึ่งในค็อกเทลที่น่าสนใจไม่แพ้แก้วไหน วันนี้ UNLOCKMEN เลยขอเสิร์ฟเรื่องราวของค็อกเทลสีแดงสดรสจัดจ้านแก้วนี้ ไม่แน่ว่าอึกแรกที่ยกดื่มอาจเปลี่ยนนัยน์ตาหรี่ปรือของคุณให้เบิกโพลงได้ทันควัน ส่วนผสมหลักของ Bloody Mary คือน้ำมะเขือเทศ น้ำแข็ง และวอดก้า สุรากลั่นไร้สีจากรัสเซียที่ถูกใช้เป็นเบสของค็อกเทลหลากชนิด ตั้งแต่ Screwdriver, White Russian ไปจนถึง Vodka Martini ว่ากันว่าค็อกเทลแก้วนี้ได้สามารถรักษาอาการเมาค้างได้ดี เมื่อดื่มจะรู้สึกถึงรสชาติเผ็ดร้อน สดชื่น และร้อนรุ่มไปทั่วร่างกาย แต่สูตรและกรรมวิธีการทำค็อกเทลชนิดนี้วิวัฒนาการและดัดแปลงไปตามยุคสมัย เพื่อให้ถูกปากกับนักดื่มแต่ละคน จึงมีทั้งบาร์เหล้าที่เสิร์ฟ Bloody Mary แบบดั้งเดิม และบาร์ที่เติมเกลือ พริกไทยดำ หรือพริกชี้ฟ้าบ่นเพิ่มเข้าไป ราชินีอังกฤษผู้กระหายเลือด บ้างว่าชื่อค็อกเทล Bloody Mary ตั้งตามราชินีในศตวรรษที่ 16 นามว่า