เวลาเกิดปัญหาขึ้นมาสักอย่างเนี่ย นอกจากการแก้ปัญหากันหัวหมุนแล้ว อีกสิ่งที่เรามักจะทำอย่างแข็งขันคือการหาต้นเหตุของเรื่องนั้น แล้วหยุดยั้งเจ้าต้นเหตุเพื่อไม่ให้เกิดเรื่องชวนหัวแบบนี้ขึ้นอีก แต่ทว่าการขุดคุ้ยหาต้นตอนั้น เราต้องทำอย่างระมัดระวังเพื่อที่จะได้เจอสิ่งที่เป็นสาเหตุของมันจริง ๆ ไม่เช่นนั้นการคว้าสิ่งไหนขึ้นมามั่วซั่วอาจนำมาสู่ตรรกะวิบัติที่เรียกว่า ‘SLIPPERY SLOPE’ ทางลาดชันที่จะพาเราไปสู่เหตุการณ์คนละเรื่องกับเรื่องราวในตอนแรก ฟังดูไร้เหตุผลสิ้นดี แต่เชื่อไหมว่าคนเรามักจะมีข้ออ้างแบบนี้กันอยู่บ่อย ๆ มาทำความรู้จักกับตรรกะวิบัติชนิดนี้ พร้อมกับทางหนีทีไล่เมื่อเจอคนที่ใช้ตรรกะขาด ๆ แหว่ง ๆ แบบนี้ ‘SLIPPERY SLOPE’ ทางลาดชันสู่เหตุการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้อง มาดูกันเต็ม ๆ ว่า เจ้า ‘SLIPPERY SLOPE’ เนี่ย มันคือความไร้เหตุผลยังไงกัน พูดให้เห็นต้นสายปลายเหตุง่าย ๆ คือ “A ทำให้เกิด B ที่จะทำให้เกิด C และ D และ E ไปเรื่อย ๆ จนถึง Z เพราะฉะนั้น A ทำให้เกิด Z นั่นเอง” ป้าบเข้าให้ แค่นี้ก็งงแล้วว่า A มันจะไปยัน Z ได้จริงหรอ
“กฎข้อแรกของไฟต์คลับ คือห้ามพูดถึงไฟต์คลับ” เชื่อว่าคอหนังหลายคนอาจคุ้นเคยกับประโยคสุดฮิตนี้จากภาพยนตร์เรื่อง Fight Club ที่กลายเป็นหนังยอดฮิตเมื่อใครสักคนถามถึงหนังเจ๋ง ๆ สักเรื่อง หากใครที่ดูเรื่องนี้แบบละเมียดหน่อย จะสังเกตได้ถึงรายละเอียดของคาแร็กเตอร์ โทนสีที่เป็นเอกลักษณ์ การเล่าเรื่องแบบมีชั้นเชิง หากคุณหลงรัก Fight Club คุณจะต้องรักผู้สร้างสรรค์ผลงานชิ้นเยี่ยมนี้อย่าง “David Fincher” อย่างแน่นอน UNLOCKMEN ชวนหนุ่ม ๆ มาเพิ่มเติมหนังในลิสต์ด้วย 5 ผลงานขึ้นหิ้งของ “David Fincher” เจ้าพ่อฟิล์มนัวร์ ตัวละครหลากมิติ บนการเล่าเรื่องที่มีเอกลักษณ์แบบชัดเจน เหมือนทุกครั้งที่เราอยากบอกเสมอว่า นี่ไม่ใช่การจัดอันดับหนังดี เราไม่ได้แนะนำด้วยคะแนนวิจารณ์ หรือตัดสินด้วยอะไรทั้งนั้น นี่เป็นเพียงลิสต์หนังที่เราอยากบอกต่อเหมือนเพื่อนแชร์หนังหรือชวนกันดู อย่าได้หัวเสียถ้าหากไม่มีหนังที่ตรงใจคุณในลิสต์นี้ Se7en (1995) สำหรับหนังสืบสวน Thiller แล้ว ผู้กำกับเบอร์แรก ๆ ในใจของใครหลายคน คงไม่พ้น David Fincher โดยเฉพาะเรื่องนี้ ที่เป็นเรื่องราวการตามหาฆาตกรที่โคตรตื่นเต้น ให้เราได้ลุ้นกันจนวินาทีสุดท้าย ยิ่งเวลาเดินไปนานเท่าไหร่ หนังยิ่งทวีความเข้มข้นขึ้น เนื้อเรื่องคร่าว ๆ คือ ตำรวจวัยเก๋าอย่าง วิลเลี่ยม รับบทโดย มอร์แกน ฟรีแมน
เป็นปกติที่ชีวิตมีทั้งวันที่ไฟลุกโชน พาให้เราลุกขึ้นไปทำอะไรหลายอย่าง แบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย และวันที่ไฟนั้นมันมอดลง เราเหนื่อย เราท้อ เรามองไปข้างหน้าเหมือนกับมันไม่มีความหวัง สถานการณ์รอบข้างทำให้เราอยากยอมแพ้ต่อชีวิต หากกำลังมีวันแบบนั้น UNLOCKMEN อยากชวนมาเติมไฟให้ลุกโชนอีกครั้งกับ 5 หนัง Feel Good ที่จะช่วยให้ก้าวผ่านวันแย่ ๆ ไปกับหนังที่เราคัดมาให้ ลิสต์นี้ไม่ได้เป็นการจัดอันดับหนังดีใจดวงใจ ไม่ต้องน้อยใจว่าทำไมถึงไม่มีเรื่องโปรดของคุณ เพราะนี่คือการแลกเปลี่ยนหนังกันดู เหมือนเพื่อนคุยกันเท่านั้นเอง อย่าได้โวยวายกันไปว่าหนังแนวนี้ต้องอันนี้เท่านั้น ย้ำอีกที ว่านี่ไม่ใช่การจัดอันดับ Almost Famous (2000) Director : Cameron Crowe หนัง Coming of age ที่ไม่ได้ราบรื่นสวยงามเท่าไหร่นัก เรื่องราวของเด็กหนุ่มวัย 15 ปี ที่หลงเข้ามาในวังวนของเพลงร็อกแอนด์โรล จนคันไม้คันมืออยากจะเขียนข่าวดนตรี จับพลัดจับผลูได้เขียนให้กับนิตยสาร Rolling Stone g เรื่องการตามติดชีวิตนักดนตรีกลุ่มหนึ่ง ซึ่งการติดต่องานนี้ทั้งหมดนั้นผ่านทางโทรศัพท์ สกู๊ปข่าวนี้จึงอยู่ในมือของเด็กหนุ่ม 15 ปีเท่านั้น จากเพลงร็อกแอนด์โรลที่เขาหลงใหล พอได้มาใช้ชีวิตกับพวกเขาในการทำสกู๊ปจริง ๆ ทำให้เราได้เห็นนักดนตรีในดวงใจของพวกเขาในหลายด้าน ด้านการเป็นนักดนตรีบนเวที
ความผิดหวังที่เป็นเหมือนหมอกหนาปกคลุมความรู้สึก ทำให้เรามองไม่เห็นทางที่จะก้าวไปข้างหน้า จนเรายังคงยืนอยู่ตรงนั้น ตรงที่หมอกร้ายนั้นยังปกคลุมหนาแน่น ไม่มีท่าทีจะจางหายไป เพราะเราไม่อาจจมอยู่กับความผิดหวังนั้นไปได้ตลอด ลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างเพื่อปัดเป่าความผิดหวังนั้นออกไป หากยังไม่มีแรงลองเลือกสักเรื่องจาก 5 หนังที่เราอยากแนะนำ ในวันที่อยากเริ่มต้นใหม่ หันหลังให้กับทุกความผิดหวังที่ผ่านมา Begin Again (2013) Director : John Carney เพลง Lost Star ที่ฮิตทั่วบ้านทั่วเมืองในตอนนั้น มาจากเรื่องราวแสนปวดร้าวของ Gretta (Keira Knightley) กับแฟนหนุ่มที่เป็นศิลปินชื่อดังอย่าง Dave (Adam Levine) ที่ต้องเลิกรากันไปด้วยเรื่องมือที่สาม การพบกันในบาร์ของ Gretta และ Dan (Mark Ruffalo) ผู้บริหารค่ายเพลงที่อยากดึงตัวเธอมาร่วมงานและหวังให้เธอเป็นศิลปินที่จะมาช่วยกู้วิกฤตในอาชีพของเขา เปลี่ยนชีวิตของทั้งคู่ที่ต่างมีเรื่องราวเจ็บปวดที่ต้องการเยียวยา ทั้งคู่ต่างใช้บทเพลงเพื่อให้ตัวเองได้สมหวังกับเรื่องราวในชีวิต แต่ละตัวละครต่างมีปมที่ขมวดแน่น เฝ้ารอการเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เพื่อปลดปล่อยตัวเองจากปมเหล่านั้นที่รั้งเอาไว้มาตลอด ถือว่าดูง่ายกว่าเรื่อง Once เยอะอยู่เหมือนกัน เป็น Story และการถ่ายทอดที่เข้าถึงง่าย มีเพลงเพราะ ๆ ไม่แพ้กันได้ฟังตลอดทั้งเรื่อง แม้ฟังดูดราม่าจะเข้มข้น แต่พอได้ดูจริง ๆ มันจะ Flow ของมันไปเรื่อย ๆ แบบที่ไม่ชวนให้อึดอัดเลยแม้แต่น้อย (แถม
กฎข้อแรกของแฟนหนังไฟต์คลับ คือ ต้องจำหนุ่มออฟฟิศหน้าตาซื่อบื้อได้ ชีวิตเฮงซวยกับหน้าตาเบื่อโลก ทำให้บทของเขาในเรื่องนี้เป็นที่จดจำ หรือจะเป็นพี่ชายตัวแสบหัวรุนแรงใน American History X กับคาแรกเตอร์ Neo-Nazi ที่แสนจะติดตา และอีกหลายเรื่องที่การแสดงของเขาโดดเด่นจนทำให้เราเชื่อว่าเขาเป็นตัวละครนั้นจริง ๆ แค่สองเรื่องที่พูดถึงมา คงไม่มีใครกังขาในความสามารถของเขา เราจะพามาสำรวจชีวิตเบื้องหลังจอเงิน อะไรที่ผลักดันให้เขาสวมบทบาทได้เหมือนสวมวิญญาณเข้าไปขนาดนี้ THE GREAT NORTON ปฐมบทของการแสดง เริ่มต้นจากภาพยนตร์เรื่อง Primal Fear (1996) ฝีมือการกำกับของ Gregory Hoblit ช่วงเริ่มโปรเจ็กต์ เขามองหานักแสดงวัยละอ่อนที่จะมาประกบคู่กับ Richard Gere ในตอนแรกบทนี้ถูกเสนอให้กับ Leonardo DiCaprio แต่เป็นอันล้มเลิกไป เลยเป็นอันต้องพักกอง รอจนกว่าจะเจอดวงดาวที่ใช่ จนกระทั่งมาพบกับ Edward ในรอบออดิชั่นที่เอาชนะคู่แข่งอีกนับพันคนไปได้แบบลอยตัว และความเจิดจรัสของเขาไม่หยุดอยู่แค่รอบออดิชั่น ฝีมือการแสดงส่งผลให้เขาได้เข้าชิงออสการ์สาขา Best Supporting Actor กันตั้งแต่ผลงานเรื่องแรก เพียงสองปีต่อมา Edward ได้แจ้งเกิดแบบพลุแตกกับบทบาท Neo-Nazi ตัวจี๊ดแห่ง American History
เวลาอยู่คนเดียวนาน ๆ เรามักจะทำอะไรตามใจตัวเองมากเสียจนลืมใส่ใจกับเรื่องยิบย่อยไปบ้าง ยิ่งหนุ่มโสดที่ไม่มีใครมาคอยชักชวนให้ลุกขึ้นมาทำนู่นนี่ ก็คงเคยชินกับชีวิตที่ Depend On ความพอใจของตัวเองเป็นหลัก เราไม่ได้จะมาชวนให้หาคนรู้ใจมาละลายพฤติกรรมหนุ่มโสดแต่อย่างใด แต่เรามาชวนหนุ่ม ๆ หันมาตระหนักกับกระแสที่มาแรงแซงทางโค้งในปีนี้ อย่างเรื่องปัญหาขยะพลาสติก ที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจและขับเคลื่อนแคมเปญหลายอย่างเพื่อลดจำนวนขยะพลาสติกลง ฟังดูอาจจะเป็นเรื่องไกลตัว เพราะหนุ่มโสดอาจรู้สึกว่า ลำพังการใช้ชีวิตของตัวเองคนเดียวคงไม่ได้เพิ่มขยะพลาสติกอะไรนักหนา แต่อย่าลืมว่าคนละนิดคนละหน่อยสะสมมาก ๆ เข้า มันก็แทบจะหาที่ระบายไม่ทันอยู่แล้ว UNLOCKMEN อยากชวนหนุ่ม ๆ มาทำความเข้าใจเรื่องขยะที่ไม่ใช่แค่พลาสติก เพื่อเริ่มต้นแยกขยะเสียตั้งแต่วันนี้ รวมทั้งวิธีลดจำนวนขยะลง เพื่อให้โลกใบนี้ไม่ถูกปกคลุมไปด้วยถุงพลาสติกเสียก่อน ทำความรู้จัก 4 ประเภทง่าย ๆ ของขยะ อยากจะเริ่มต้นแยกขยะ ก็ต้องรู้ก่อนว่าควรจะแยกกี่ประเภท เอาอะไรไว้ด้วยกันได้บ้าง จริง ๆ ประเภทของขยะ แบ่งได้ตั้งแต่ง่าย ๆ ไปจนถึงละเอียดยิบ แต่สำหรับมือใหม่ เราขอแนะนำกันแบบเบสิกไปก่อน นั่นก็คือแยกตามสีของถังขยะที่เราเห็นกันได้ทั่วไป 4 สี มาดูกันว่าแต่ละสีนั้นเอาไว้ทิ้งขยะประเภทไหนบ้าง เวลาเราแยกแล้วเอาออกไปทิ้ง จะได้ไม่ยืนงงกันอยู่หน้าถังขยะ สีน้ำเงิน – ขยะทั่วไป เหมือนจะเป็นตัวเลือกอันดับแรกเวลาไม่รู้จะยัดขยะลงประเภทไหน ทั่วไปนี่ทั่วไปแค่ไหนกันนะ
หากเราเป็นศิลปิน เราจะทำยังไงให้คนจดจำเราได้ ? เราจะใช้โลโก้สุดเท่ เราจะเป็นแฟชั่นไอคอน ขายคาแรกเตอร์สุดจี๊ดจ๊าด หรือเราจะระเบิดความมันส์ อาศัยลีลาการร้องเล่นจากฝีมือ ทั้งหมดนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นภาพลักษณ์โดยรวมของวง ที่สมาชิกต่างยอมรับและให้มันเป็นภาพแทนของพวกเขา มันจึงต้องคิดมาอย่างดีแล้ว เพราะมันเป็นเหมือน First Impression นั่นแหละ แต่ละวงต่างก็มีภาพลักษณ์ที่แตกต่างกันไป คล้ายบ้าง ซ้ำบ้าง แต่สุดท้ายมันก็คือคนละตัวตนกันอยู่ดี เรื่องของเรื่องคือเราอยากแนะนำวงอินดี้ร็อกอย่าง The Neighbourhood ที่มีจุดเด่นอันชัดเจนคือ ภาพขาวดำ ทั้งปกอัลบั้มและ MV มาล้วงลึกถึงเบื้องหลังสีสันอันหม่นหมองและบทเพลงที่มอดไหม้ ของพวกเขาไปพร้อมกัน ทำความรู้จัก The Neighbourhood สำหรับคอเพลงอินดี้ร็อก คงจะคุ้นหูกันดีกับเพลงของ The Neighbourhood ที่ดูเผิน ๆ เหมือนคำนี้มันจะสะกดไม่ถูก แต่ชื่อวงดนตรีเนี่ย มันไม่ใช่เรื่องที่จะพลาดกันได้ง่าย ๆ แน่นอนว่ามันคือความตั้งใจของทางวงที่จะสะกดแบบนี้ ไม่ใช่ตั้งใจสะกดผิด แต่มันเป็นการสะกดแบบ British เพื่อไม่ให้ชื่อไปซ้ำกับวงสัญชาติอเมริกันที่มีอยู่แล้วนั่นเอง ห้าหนุ่มจาก California ที่เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่ไหนแต่ไร พวกเขาใช้ชีวิตแบบแสบพอตัว บางคนไม่พบไฮสกูลด้วยซ้ำ แต่ประสบการณ์แสบสันเหล่านั้น ทำให้พวกเขาเหนียวแน่นกันมาจนถึงตอนนี้ รวมตัวกันเมื่อปี 2011 ใช้เวลาหนึ่งปีถ้วนในการขับเคี่ยวเอาผลงานแรกออกมาสู่วงการ เป็น
หากเราเปิดภาพยนตร์สักเรื่องดู แบบที่ไม่รู้มาก่อนว่านี่คือเรื่องอะไร สิ่งที่ทำให้เราเดาได้ว่านี่คือหนังของผู้กำกับคนไหน คงจะเป็น Signature ของภาพที่เราได้เห็นและเทคนิคการเล่าเรื่อง เหมือนกับเวลาเราคุ้นตากับลายเส้นอันเป็นเอกลักษณ์ของนักวาดการ์ตูน คุ้นกับสำนวนสละสลวยของนักเขียน ผู้กำกับหลายคนก็มักจะมีเอกลักษณ์ของตัวเองจนเรารู้ได้ในทันทีว่านี่คือผลงานของเขา อย่างภาพยนตร์หม่นหมองของ Tim Burton สีฟ้าอมเขียวและภาพสโลวโมชั่นแบบไร้ที่มาของ Zack Snyder และทุกอย่างที่ดูสมมาตรไปหมดในมุมมองของ Wes Anderson หากใครได้ดูภาพยนตร์ของ Anderson มาบ้าง คงพอจะนึกภาพ Mood and tone ของเรื่องออก ว่าเรากำลังจะพูดถึงอะไร ไม่ว่าจะเป็นการจับคู่สีที่ชาญฉลาด ตัวละครเพี้ยน ๆ รวมทั้งมุมมองที่แสนจะสมมาตรมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จนสิ่งเหล่านี้กลายเป็นเอกลักษณ์ของเขา ชนิดที่ว่าดูเรื่องไหนก็เจอมันเรื่องนั้นนั่นแหละ แฟน ๆ หลายคนเองก็ชื่นชอบภาพยนตร์ของเขาเพราะฟินกับความสมมาตรที่ได้ชม เคยสงสัยกันบ้างไหม ว่าทำไมรูปร่าง ภาพ มุมมองที่สมมาตร มันถึงทำให้เราฟินจนรู้สึกว่ามันคือสัดส่วนที่ใช่ของมวลมนุษยชาติ เราจะมาหาคำตอบนี้ไปพร้อมกัน สัดส่วนสุดพึงใจ ความลงตัวของสัดส่วนธรรมชาติ ความสมมาตรคือสัดส่วนที่เราคุ้นเคยกันดี เพราะมันคือสัดส่วนที่ธรรมชาติรังสรรค์ ไม่ต้องมองหาที่ไหนไกลเลย ลองมองที่ตัวเราเองนี่แหละ ตอนที่เราแบ่งเซลล์แล้วประกอบร่างมาเป็นตัวเราอย่างในทุกวันนี้ มันคือการประกบเข้าหากันแบบสมมาตร ลองสังเกตดูว่าร่างกายของเรา มันจะมีเส้นตรงกลางลำตัว ชัดเจนที่สุดคงเป็นเส้นตรงหน้าท้อง หากผ่าร่างกายเราในแนวแกน Y มันจะแบ่งครึ่งได้แบบสมมาตรพอดิบพอดี
เรื่องราวเร้นลับชวนขนหัวลุกสุดคลาสสิกจากทั้งวงการวรรณกรรมและภาพยนตร์ อย่าง Dracula ถูกนำมาสร้างในเวอร์ชั่นจอแก้วและจอเงินหลายต่อหลายครั้ง รวมทั้งหนังสือเองที่ได้รับการตีพิมพ์แบบนับไม่ถ้วน ด้วยเนื้อเรื่องสุดคลาสสิกที่ใคร ๆ ต่างรู้จักตำนานผีดูดเลือดแห่ง Transylvania จึงทำให้ทุกเวอร์ชั่นเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างง่ายดาย แต่สำหรับวงการภาพยนตร์ เรื่องราวผีดูดเลือดของท่าน Count Dracula จะให้นับว่าเวอร์ชั่นไหนที่เป็นตำนานที่สุด ทุกเสียงคงชี้ไปในทิศทางเดียวกันที่ Bram Stoker’s Dracula (1992) ฝีมือการกำกับของ Francis Ford Coppola ที่ได้รับกระแสตอบรับในแง่บวกอย่างล้นหลาม ไม่ใช่แค่ยุคนั้น แต่ยังคงขึ้นชื่อมาจนถึงทุกวันนี้ มาแกะรอยความคลาสสิกของที่ทำให้เรื่องนี้กลายเป็นตำนานของฝั่ง Horror ในวงการจอเงิน รวมทั้งอิทธิพลของเรื่องนี้ที่ส่งต่อมาถึงภาพยนตร์สยองขวัญรุ่นหลัง Dracula จากปลายปากกาของ Bram Stoker ชื่อของ Bram Stoker ที่ปรากฎอยู่บนชื่อภาพยนตร์อย่างเป็นทางการเนี่ย เป็นชื่อของนักเขียนชาวไอริช เจ้าของผลงานนวนิยายเรื่อง Dracula เรื่องราวของแวมไพร์ในปราสาทที่เรารู้จักในชื่อ Count Dracula ตัวละครเรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจจาก Vlad Țepeș ผู้ปกครองเมือง Transylvania ที่เป็นฉากหลังในเรื่องนั่นเอง ซึ่งเนื้อเรื่องก็เป็นอย่างในภาพยนตร์ที่เราได้ดูกันนั่นแหละ สรุปง่าย ๆ ก็คือ Francis Ford Coppola ทำภาพยนตร์สยองขวัญโดยการหยิบเอาเรื่องของท่าน Count Dracula จากต้นเนื้อเรื่องฉบับเวอร์ชั่นนิยายของ Bram Stoker มาถ่ายทอดสู่จอเงิน เนื่องจากใช้เนื้อเรื่องเดียวกันแทบทั้งหมด
ตะวันลับฟ้า ดวงอาทิตย์รำไรอยู่ที่เส้นขอบฟ้า หากจะมองหาสถานที่ดื่มแต่ละครั้ง เรามักจะเลือกบรรยากาศที่ตรงใจก่อนเสมอ และอะไรจะดีไปกว่า Rooftop Bar ที่มักจะเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ของช่วงเวลาแบบนี้ ดื่มสังสรรค์กับเพื่อนก็ได้ ดื่มกับคนรู้ใจใต้ท้องฟ้าและดวงดาวก็ดี แล้วเคยสงสัยไหม ว่าทำไมเราถึงหลงใหลบรรยากาศมองฟ้า มองดาว กระดกเหล้า สังสรรค์กันบนดาดฟ้า UNLOCKMEN จะพาหนุ่ม ๆ มาดูเหตุผลดี ๆ ที่ทำให้เรารักบรรยากาศเหล่านี้ รวมไปถึงเรื่องราวของร้าน Rooftop แบบดั้งเดิม เรื่องราวแรกเริ่มของการดื่มด่ำบนดาดฟ้า สถานที่ที่ขึ้นชื่อเรื่อง Rooftop คงไม่พ้นมหานครนิวยอร์ก ที่ใครไปเยือน เป็นอันต้องได้ไปเมามายกันบน NEW YORK ROOFTOP BARS อันเลื่องชื่อ เดิมทีในปี 1893 ที่นิวยอร์ก Rooftop Bar แห่งแรกเริ่มต้นจาก Casino Theater โรงละครบนถนน Broadway and 39th ที่พลิกโฉม Dinner ของอเมริกันชนด้วยการเปิดพื้นที่ดาดฟ้าให้ได้กิน ดื่ม และเต้นรำ ด้วยบรรยากาศที่ไม่คุ้นเคย มองลงไปข้างล่างเห็นมหานครอันรุ่งเรือง มองขึ้นไปเจอแผ่นฟ้ากว้างไร้ขอบเขต จึงไม่น่าแปลกใจที่หลังจากนั้นมันก็เริ่มแพร่หลายไปเรื่อย