เท่าที่พอจำความได้มีวงดนตรีเพียงไม่กี่วงที่ถูกบรรจุในความทรงจำวัยเด็กของเรา และยังแน่วแน่ทำเพลงใหม่อย่างไม่เคยหมดมุขหรือเหน็ดเหนื่อยจนถึงปัจจุบัน แล้วคงพูดได้เต็มปากว่า ‘Scrubb’ (สครับ) เป็นหนึ่งในไม่กี่วงนั้น Scrubb คือวงดนตรีป๊อปร็อกอายุ 20 ปี ของ บอล – ต่อพงศ์ จันทบุบผา และ เมื่อย – ธวัชพนธ์ วงศ์บุญศิริ คู่หูต่างชั้นปีจากรั้วมหาวิทยาลัยเดียวกัน พวกเขาสร้างสรรค์ดนตรีหลากสไตล์ กลั่นกรองคำร้องและท่วงทำนองที่บางครั้งก็อบอุ่นฟังสบาย แต่บางทีก็ลึกซึ้งราวกับพาเราดำดิ่งไปสัมผัสอารมณ์โคตรเศร้าที่เป็นหนึ่งส่วนของความสัมพันธ์ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่โตมากับเพลงเธอหมุนรอบฉัน ฉันหมุนรอบเธอ ฟังเพลงกลัวและผ่านไปแล้วตอนเศร้าหม่น เปิดเพลงใกล้และรอยยิ้มฟังเพลิน ๆ ตอนแอบชอบใครสักคน หรือเคยใช้เพลงคู่กัน คนนี้ และเข้ากันดีมอบให้แฟนคนใดคนหนึ่ง เราอยากให้คุณรู้จักและหลงรัก Scrubb อีกครั้ง ผ่านบทสนทนาของสองหนุ่มต่างสไตล์ที่โลดแล่นบนเส้นทางดนตรีมา 20 ปี ซึ่งสิ่งที่เหมือนกันและยังทำมาจนถึงทุกวันนี้คือ ‘การทำเพลง’ หลายคน ‘ยังอยากรู้’ ว่าจุดเริ่มต้นของ Scrubb เกิดขึ้นตอนไหน? เมื่อย: เราเจอกันในมหาวิทยาลัยศิลปากร อยู่ในชมรมดนตรีเหมือนกัน จนวันนึงอยากมีเพลงเป็นของตัวเอง เลยพยายามไปเสนอค่าย แต่ก็ไม่มีใครเอา (หัวเราะ) ก็เลยลองทำเพลงใต้ดินกันเอง มีเครื่องอัดสี่แทร็ก
สุดยอดการแข่งขันแห่งวงการมอเตอร์สปอร์ตอย่าง Formula 1 กำลังจะเริ่มต้นสนามแรกของปี 2020 ใน Australian Grand Prix วันที่ 15 มีนาคมนี้และค่ายนาฬิกาสาย Racing อย่าง TAG Heuer ซึ่งเป็นพาร์ตเนอร์กับทีม Aston Martin Red bull Racing ก็เตรียมปล่อยนาฬิการุ่น Formula 1 ประจำปีตามออกมาเช่นกัน เข้าสู่การเป็นพันธมิตรปีที่ 4 สำหรับแบรนด์ TAG Heuer กับทีมแข่งรถสูตร 1 Aston Martin Red bull Racing ซึ่งปีนี้มีนักแข่งสัญชาติไทย-อังกฤษอย่างอเล็ก อัลบอน อังศุสิงห์ มาเป็นนักขับตัวหลักของทีมคู่กับแม็กซ์ เวอร์สเต็ปเพ่นไปจนจบฤดูกาลนี้และเพิ่งเปิด RB16 รถแข่งประจำปี 2020 ออกมาสด ๆ ร้อน ๆ แน่นอนว่าพันธมิตรอย่าง TAG Heuer ได้เตรียมนาฬิการุ่นพิเศษสำหรับฤดูกาลใหม่โดยใช้ชื่อว่า TAG
ถ้าพูดถึงมังงะเรื่อง Rurouni Kenshin หรือชื่อภาษาไทยคุ้นตาอย่าง “ซามูไรพเนจร” เด็กผู้ชายส่วนใหญ่ก็ต้องร้องอ๋อกันแน่นอน เพราะผลงานจากปลายปากกาของอาจารย์วาสึกิ โนบุฮิโระ (Watsuki Nobuhiro) สามารถเข้าไปเป็นมังงะในดวงใจของใครหลายคนได้ง่ายดาย แถมยังโด่งดังจนถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ฉบับคนแสดงไปแล้วเมื่อปี 2012 ล่าสุดมีประกาศอัปเดตว่าเรื่องราวของโรนินจะถูกสร้างเป็นหนังอีกครั้งแถมยังวางกำหนดฉายออกมาสองภาคในปีเดียวอีกด้วย ก่อนจะมาเป็นภาพยนตร์แอกชันดวลเพลงดาบ แรกเริ่มเดิมทีซามูไรพเนจรเป็นมังงะที่เขียนลงในนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ Shonen Jump มาตั้งแต่ปี 1994 -1999 สามารถต่อยอดกลายเป็นแอนิเมชันออกฉายทางโทรทัศน์ญี่ปุ่นในปี 1996 พร้อมกับการเติบโตทั้งยอดขายและความนิยมจนสามารถมีภาพยนตร์ฉบับคนแสดงออกมาให้เราได้ดูกันเป็นครั้งในปี 2012 ตอนนี้ซามูไรพเนจรฉบับคนแสดงกลับมาอีกครั้งในปี 2020 โดยนำเรื่องราวจากตอน ‘ทัณฑ์มนุษย์ (Jinchu)’ ซึ่งเป็นพาร์ตสุดท้ายจากฉบับมังงะมาเล่าเรื่อง เผยให้เห็นการเผชิญหน้ากันระหว่างรูโรนิ เคนชิน (Rurouni Kenshin) อดีตซามูไรที่รับงานเป็นมือสังหาร กับ เอนิชิ โยกิชิโระ (Enishi Yukishiro) ศัตรูผู้แข็งแกร่งที่สุดของเคนชิน พวกเขามีปมแค้นกันมาก่อนและรอวันที่จะได้ฟาดฟันวิชาดาบใส่กัน ซามูไรพเนจรทั้งสองภาคที่เตรียมฉายในปี 2020 ไม่เพียงแต่ทำให้บอสใหญ่มาเจอกับตัวเอกของเรื่อง แต่ยังเล่าย้อนกลับไปยังช่วงที่เคนชินยังทำงานรับจ้างฆ่าคน เฉลยปมชีวิตว่าเขาไปได้บาดแผลใหญ่บนใบหน้ามาจากไหน และเพราะเหตุใดนักฆ่าสุดฝีมือเยี่ยมอย่างเขาถึงยอมทิ้งทุกอย่างและหันหลังให้กับวงการ ซาโต้ ทาเครุ (Satoh Takeru) กลับมารับบทเป็นรูโรนิน เคนชิน (Rurouni Kenshin) อีกครั้ง
ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร การต่อกรระหว่างคนขายของกับคนซื้อของก็ยังเกิดขึ้นวันยันค่ำ โดยที่คนคิดโฆษณาและการตลาดต้องก้าวให้ไวกว่าก้าวหนึ่งเสมอ เราชินกับการขายภาพลักษณ์ที่สวยงามให้แบรนด์ ถ้าเป็นอาหารทุกอย่างจะถูกเซตยัดไส้มาอย่างดีให้ฟูนุ่ม เนื้อแน่นน่ากิน ถ้าเป็นบ้านผู้คนต้องขวักไขว่ รถไฟฟ้าต้องจ่อถึงหน้าบ้าน สารพันจะยัดประสบการณ์ด้านบวกมาใส่ไว้ทุกอณูการขาย ทุกคนจะได้สัมผัสสิ่งที่ดีที่สุดผ่านสายตาตั้งแต่ของชิ้นนั้นยังไม่ถึงมือ แต่วันนี้เกมการตลาดแบบเดิมกำลังเปลี่ยนไป เพราะวิธีขายของด้วยภาพลักษณ์ลบ ๆ กลายเป็นการฉีกแนวช่วยกระตุ้นการขายได้ดีกว่าที่คิด แถมความแปลกของรูปแบบที่นำเสนอยังช่วยสร้าง Word of Mouth ได้เป็นอย่างดี Case Study ที่ยกมาให้เห็นภาพชัด เรายกมาจากแคมเปญโฆษณาต่างประเทศและในประเทศไทยแบรนด์ที่หลายคนรู้จักกัน คือ Burger King และ Greyhound แต่อาจจะยังไม่เคยรู้ว่าเขากล้าขายด้วยวิธีนี้ BURGER KING: The Beauty of no artificial preservatives โฆษณา Timelapse ของเบอร์เกอร์นับตั้งแต่แรกเสิร์ฟจนถึงวันเน่าบูด ราขึ้นเต็มชิ้น จนเห็นแล้วอยากจะเขวี้ยงลงถังขยะ บางคนเห็นแวบแรกคงไม่คิดว่าเป็นการโฆษณาแต่น่าจะเป็นการ discredit มากกว่า เพราะมันดูไม่น่ากินเอาเสียเลย แต่จริง ๆ แล้วใครจะคิดว่า “บูด” เป็นจุดขาย 33 วันนับตั้งแต่วันแรกที่ปรุงสุกพร้อมเสิร์ฟไม่ใช่แค่ทำให้เราเห็นภาพลบของอาหารที่ไม่น่ากิน แต่ขณะที่มันกำลังบูด มันก็โชว์ความงามและคุณค่าของอาหารฟาสต์ฟู้ดหนึ่งชิ้นที่อยู่ตรงหน้าเรา
เราสามารถเรียกบุรุษผู้ข่มเหงสตรีเหมือนพวกเธอเป็นเครื่องระบายอารมณ์ทางเพศว่ากษัตริย์ที่ดีได้หรือไม่? ก็อาจจะได้ แต่ถ้าชายคนเดียวกันนี้หมกมุ่นกับความแค้น พังสุสานของย่า ขูดรีดประชาชน ไม่ว่างานราชการมัวแต่เมาเหล้า ดูละคร ร้องเพลงกับสาวสวย ขอถามอีกครั้งว่าเรายังจะเรียกเขาว่ากษัตริย์ที่ดีได้อีกหรือไม่? มาหาคำตอบไปพร้อมกันในภาพยนตร์เรื่อง The Treacherous (2015) The Treacherous (2015) ภาพยนตร์ที่ถูกจัดระดับไว้ 18+ อัดแน่นเรื่องเพศและความรุนแรงหากใครอายุยังไม่ถึงควรได้รับคำแนะนำ โดยหนังดำเนินเรื่องเกี่ยวกับราชวงศ์เกาหลีใต้ยุคโชซอนสมัยพระเจ้ายองซันผู้ครองราชย์ในเวลาสั้น ๆ คาบเกี่ยวกับต้นเรื่องของซีรีส์แดจังกึม พระเจ้ายองซันเป็นเด็กมีปมชีวิต แม่ของเขาถูกเสด็จย่าสั่งประหารชีวิต (เพราะทำความผิดร้ายแรง) แต่หลานชายเติบโตขึ้นกลับแค้นย่าที่สั่งฆ่าแม่ตัวเองโดยไม่สนใจว่าแม่ทำผิดร้ายแรงจนราชวงศ์เกือบล่มสลาย แม้เวลาที่ย่าจากไป เขายังไปป่วนหลุมศพของคนตาย ตามสั่งเก็บผู้เกี่ยวข้องรู้เห็นเหตุการณ์ทั้งหมด แถมเรื่องฉาวเหล่านี้ยังได้รับการบันทึกไว้ทำให้นักประวัติศาสตร์เรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า “การสังหารหมู่นักปราชญ์ปีมูโอ” เมื่อกำจัดเสี้ยนหนามตำใจจนหมดสิ้น พระองค์เริ่มทำให้รั้ววังปั่นป่วนอีกครั้งด้วยนำ ‘กีแซง’ หญิงสาวที่มีหน้าที่ให้ความบันเทิงของผู้ชายเข้ามาในราชวัง แต่งตั้งให้เธอเป็นพระสนม ถือเป็นเรื่องผิดแปลกจากธรรมเนียมเดิมที่สืบทอดกันมายาวนาน และมีกิจกรรมโปรดน่าสนใจอย่างการจัดปาร์ตี้เซ็กซ์อยู่บ่อยครั้ง เมื่อกษัตริย์ไม่ทำงาน ระบบการปกครองกับอำนาจทางการเมืองทั้งหมดตกไปอยู่กับขุนนาง ส่วนราชาใช้ชีวิตสำราญได้เต็มที่เท่าใจต้องการ The Treacherous พาเราไปเจอมุมมองของชนชั้นปกครอง มองเห็นผ่านมุมมองขุนนางจากลูกชายของมหาเสนาบดีมีงานหลักรับใช้พระราชาด้วยการจัดหาสาวงามวัยแรกแย้มเข้าวังมาปรนเปรอ และมุมมองของฝ่ายผู้เสียอำนาจที่โดนพระเจ้ายองซันสั่งฆ่าล้างตระกูลจนอยากแก้แค้นให้กษัตริย์รับผิดชอบกับสิ่งที่ตัวเองเคยทำไว้ The Treacherous นำเสนอมุมมืดของราชวงศ์ควบคู่ไปกับฉากเซ็กซ์บ้าคลั่งวาบหวิว ความวิปริตทางเพศของชายที่ขึ้นชื่อว่าเป็นราชา ผูกปมความแค้นการถูกกดขี่ของกลุ่มขุนนางและประชาชนได้น่าประทับใจ ถือว่าเป็นภาพยนตร์ติดเรตที่มีเนื้อหาเข้มข้นน่าสนใจไม่แพ้ฉากอย่างว่าที่มีมาให้เห็นตลอดทั้งเรื่อง จนหนุ่ม ๆ บางคนดูแล้วยังบอกเลยว่าแม้ฉากเซ็กซ์น่าสนใจมาก แต่เนื้อเรื่องมันเข้มข้นมากจนเผลอลืมไปเลยว่าตอนแรกตั้งใจจะดูหนังเรื่องนี้เพราะ
ในยุคที่การใช้พลังงานไฟฟ้าแทนน้ำมันเชื้อเพลิงนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ หลากหลายแบรนด์รถจักรยานยนต์ก็เริ่มคิดหาวิธีใหม่ ๆ มาช่วยนำเสนอโมเดลรถของตนให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น เข้ากับกระแสนิยม และสอดคล้องไปกับแนวคิดยั่งยืนที่เริ่มหยั่งรากลึกลงในไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ แม้แต่ Switch Motorcycle บริษัทผลิตรถจักรยานยนต์หน้าใหม่จากเซี่ยงไฮ้ ก็เพิ่งเปิดตัว ‘Switch eScrambler Motorcycle’ มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าสุดเท่ที่มาพร้อมถังทรงเหลี่ยมสีฟ้าเมทัลลิก แฝงความคลาสสิกและกลิ่นอายของความร่วมสมัยอย่างลงตัว Matthew Waddick ผู้เชี่ยวชาญที่สร้างรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ามาหลายปี จับมือกับ Michel Riis แชมป์แข่งมอเตอร์ไซค์รายการ Flat Track ชาวเดนิชและอดีตดีไซเนอร์ค่าย Yamaha ร่วมกันออกแบบ Switch eScrambler คันนี้ ตัวรถใช้เฟรม old-school เปลคู่ที่ไม่เหมือนใคร พร้อมเฟรมย่อยสไตล์ scrambler มีท่อเหล็กสองท่อนเชื่อมยึดกันจากแกนคอ และแยกออกมาเพื่อให้รับน้ำหนักเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ได้ แม้จะรักษารูปลักษณ์ดั้งเดิมของจักรยาน ICE โบราณเอาไว้ แต่รถคันนี้ก็ยังดูเท่ล้ำสมัยด้วยระบบขับเคลื่อนจากพลังงานโปรตอน พร้อมคอนโทรลเลอร์จากบริษัท Mopibus หนึ่งในเจ้าดีที่สุดของโลก ที่ดีไซน์คอนโทรลเลอร์พิเศษสำหรับ Switch eScrambler คันนี้โดยเฉพาะ บนหน้าปัดแสดงผลออกแบบให้เป็นดิจิทัล มีโหมดขับขี่ให้เลือกทั้งหมดสามแบบ ทั้งยังมีระบบ GPS ติดตามตัว
ท่ามกลางสมรภูมิการทำงานที่แต่ละบริษัทสู้รับกันอย่างดุเดือด มองเผิน ๆ แล้วเราอาจแบ่งบริษัทได้เป็นสองประเภทหลัก คือบริษัทขนาดใหญ่ที่มีพนักงานนับร้อยพ่วงมากับเงินทุนหลายล้าน ซึ่งดูเป็นบริษัทที่มั่นคงและค่อนข้างมีระเบียบ ในทางกลับกันก็มีบริษัทขนาดย่อมที่รวมพนักงานทั้งหมดแล้วยังไม่ถึงครึ่งแผนกของบริษัทแรก แต่สิ่งที่ได้เปรียบคือพนักงานจำนวนน้อยนิดนั้นทำงานเข้าขากันสุด ๆ แต่ถ้าจะให้วัดประสิทธิภาพการทำงานของทั้งสองบริษัทข้างต้น อาจตอบไม่ได้เต็มปากว่าบริษัทไหนจะเจ๋งกว่ากัน เพราะบริษัทใหญ่อาจไม่ได้เป็นต่อเสมอไป และการทำงานในบริษัทเล็กก็คงไม่ได้แปลว่าด้อยกว่าไปเสียทุกเรื่อง แล้วอยากรู้ไหมครับว่าการทำงานในบริษัทเล็กดีกว่าบริษัทใหญ่ตรงไหนกัน? ทีมเล็ก ๆ ก็แก้ไขปัญหาใหญ่ ๆ ได้ การทำงานในทีมเล็ก ๆ ไม่เพียงทำให้คนในทีมรู้จักสนิทสนมกันมากกว่าทีมใหญ่ หากยังช่วยให้มองเห็นทักษะของเพื่อนร่วมงานแต่ละคนได้อย่างใกล้ชิด พร้อมเรียนรู้และนำความสามารถของกันและกันไปแก้ปัญหาอย่างตรงจุด เมื่อต้องตัดสินใจแก้ปัญหาเรื่องอะไรสักเรื่อง ทุกคนในทีมเล็ก ๆ มีแนวโน้มจะเข้าใจและเห็นภาพตรงกันมากกว่าทีมใหญ่ ทำให้สามารถตัดสินใจเรื่องยากได้ดีขึ้นในขอบเขตเวลาที่สั้นลง ทุกคนโฟกัสในเรื่องเดียวกัน เมื่อคนเยอะ ปัญหาก็เยอะขึ้น และความคิดเห็นที่แตกต่างอาจนำมาสู่การถกเถียงกันไม่จบสิ้น กลับกันถ้าทีมของคุณมีเพียงไม่กี่คน พนักงานทุกคนคงจะโฟกัสการทำงาน การประชุม และทำให้หลาย ๆ ความคิดกลมเกลียวกว่าเดิม มีงานวิจัยด้านจิตวิทยาอ้างว่า เมื่ออยู่ในทีมที่มีขนาดเล็กลงจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละคนเพิ่มขึ้นตามมา เพราะถ้าทำงานในทีมใหญ่ ๆ ก็อาจไม่จำเป็นต้องแสดงความคิดเห็น และบางคนมักจะรู้สึกว่าตนไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น การสื่อสารที่ง่ายและราบรื่นกว่า การสื่อสารเป็นกำแพงพื้นฐานที่ทุกคนในบริษัทต้องทลายมันร่วมกัน เนื่องจากการทำงานที่ดีต้องอาศัยทักษะการสื่อสารที่เป็นระบบ ซึ่งการทำงานในทีมเล็ก ๆ ก็มีลักษณะแกมบังคับให้คุณต้องแสดงความคิดเห็นและสื่อสารกับคนในทีมแบบเลี่ยงไม่ได้ แต่ผลลัพธ์ที่ได้คือทุกคนจะทำงานเข้าขากันมากขึ้น ทำให้ความสัมพันธ์ของคนในทีมใกล้ชิดกันกว่าที่เคย และมีโอกาสที่ทุกคนในทีมจะรักใคร่ปรองดอง ตลอดจนเคารพซึ่งกันและกันมากกว่า
หลายคนอาจมองว่าการเมืองเป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องน่าเบื่อไม่ชวนฟัง เพราะฟังทีไรก็พาลให้เครียด แต่ถ้าลองมองให้ลึกลงไปจะเห็นว่าการเมืองเป็นแทบทุกเรื่องของเรา ไม่ว่าค่าใช้จ่ายในบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ภาษีที่เราจ่าย ค่าข้าวร้านป้าข้างบ้าน ทางเท้าที่เราเดิน รวมถึงเรื่องแฟชั่นล้วนเกี่ยวข้องกับการเมืองด้วยกันทั้งนั้น แม้ใครหลายคนอาจไม่ชอบติดตามเรื่องการเมือง ไม่ได้ดูวันเปิดสภา หรือตามฟังนักการเมืองฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาลประชันกันในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่ถ้าได้ยินชื่อของคุณประยุทธ์ คุณประวิตร หรือคุณธนาธร รับรองเลยว่าถึงไม่สนใจการเมืองก็ต้องรู้จักชื่อของนักการเมืองเหล่านี้ ครั้งนี้ UNLOCKMEN ไม่ได้มาพูดเรื่อง ‘การเมืองไทย’ แต่จะมาเล่าถึง ‘แฟชั่นของนักการเมืองไทย’ ที่น่าสนใจทั้งหมด 5 คนด้วยกัน เพื่อดูว่านักการเมืองชื่อดังมีสไตล์การแต่งตัวอย่างไร พวกเขาชื่นชอบเสื้อผ้าแบบไหน และอะไรคือแฟชั่นที่โดดเด่นออกมาจนคนจำได้ SOMKID JATUSRIPITAK เริ่มสำรวจสไตล์ของนักการเมืองคนแรกไปกับคุณสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ คนไทยรุ่นพ่อแม่เห็นเขาโลดแล่นอยู่ในโลกการเมืองมายาวนาน เคยเป็นนักการเมืองพรรคไทยรักไทย จากนั้นย้ายมาอยู่พรรครวมใจชาติพัฒนา ถัดมาคือพรรคพลังประชารัฐ เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ชายคนนี้เป็นนักการเมืองเจนสนาม การแต่งตัวของเขาไม่ว่าไปประชุมสภา ไปงานใด ๆ มักเนี้ยบจนแทบหาที่ติ (เรื่องการแต่งตัว) ไม่ได้ เริ่มกันตั้งแต่ทรงผมเซตเสยขึ้นไปไว้ด้านหลังให้หมด บางครั้งเซตแบ่งข้าง บางงานเสยผมข้ึนไปทางเดียวทั้งหมด จุดสังเกตน่าสนใจคือคุณสมคิดไม่ปาดเจลจนผมแข็ง เหลือวอลลุ่มไว้ให้เห็นควบคู่กับสีผมธรรมชาติที่กล้าพูดเลยว่าเราเห็นเขามาตั้งแต่ผมดำจนผมกลายเป็นสีดอกเลาก็ยังเนี้ยบเหมือนเดิม ชุดสูทของคุณสมคิดทั้งสูทสีดำ
ในวันที่เศรษฐกิจไม่คล่องตัวอย่างใจฝัน เงินไม่ได้ลอยเข้ากระเป๋าผู้ชายอย่างเราง่าย ๆ การทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำเพื่อสร้างรายได้ให้ตัวเองและคนที่เรารักจึงเป็นคำตอบแรก ๆ ที่เราต้องทำ ยิ่งงานเยอะ ก็ยิ่งได้เงินมาก แต่สิ่งที่นับวันยิ่งลดน้อยลง ๆ จนน่าใจหายคือ “เวลาพัก” แต่จะให้ลดเวลาทำงานเพื่อมานอนยาว ๆ ก็อาจไม่ตอบโจทย์ เพราะชีวิตตอนนี้ เวลาเป็นเงินเป็นทองให้หยุดหาเงินก็คล้ายหยุดหายใจ UNLOCKMEN จึงชวนทุกคนมาโกงความตาย ทำงานสู้ฟัด พร้อม ๆ กับหนทางนอนน้อยแต่ได้มากในวันที่เราทุกคนต้องฝ่าฟันทุกวิกฤตนี้ไปด้วยกัน เพราะนอนมาก ไม่สำคัญเท่า “นอนให้มีคุณภาพ” เหตุผลอย่างหนึ่งที่เรามักบ่นกันเสมอว่าช่วงนี้ไม่ค่อยได้นอนเลย หรือบอกว่านอนน้อย ๆ เป็นประจำ นั่นเพราะเรามีมาตรฐานการนอนที่บอกต่อ ๆ กันมา ฟังตาม ๆ กันมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กว่า “เราควรนอนให้ได้อย่างน้อย 8 ชั่วโมง” เราจึงเข้าใจว่าเมื่อไรที่เรานอนน้อยกว่า 8 ชั่วโมงนั้นหมายความว่าเรานอนไม่พอ เรานอนน้อย แต่ในความเป็นจริง 8 ชั่วโมงนั้นคือเวลามาตรฐานโดยเฉลี่ย แต่ไม่ใช่กฎตายตัวเพราะมนุษย์แต่ละคน แต่ละช่วงวัยนั้นมีช่วงเวลาการนอนที่พอเหมาะแตกต่างกันไป โดยเฉพาะเมื่อบทความชื่อ Sleep quality versus sleep quantity: Relationships
ต้องยอมรับว่าสื่อทั่วโลกกำลังให้ความสนใจเรื่องโควิด – 19 (Coronavirus 2019) กันจริงจัง หลายประเทศเปิดมาตรการป้องกัน ตรวจสอบ และกักกันคนที่มีอาจเกี่ยวข้องกับเชื้อนี้ แต่เจ้าที่เราเห็นชัดว่าตอนนี้กลายเป็นที่จับตาไปทั่วโลกอีกประเทศคือ “ญี่ปุ่น” หลังพบการระบาดจากเรือสำราญที่เข้าเทียบ จากจำนวนผู้ติดเชื้อที่ลุกลามทำให้หลายประเทศเริ่มแจ้งระวังการเดินทางไปญี่ปุ่น และพิจารณานักเดินทางที่ต้องการเข้าประเทศหากเดินทางมาจากญี่ปุ่น ซึ่งจะเรียกว่าเป็นโชคร้ายหรือคราวซวยก็ว่าได้ เพราะระยะเวลาการระบาดดันไปประจวบเหมาะกับช่วงจัด Tokyo Olympic 2020 ปีนี้พอดิบพอดี กลายเป็นจุดตั้งสังเกตว่า สรุปแล้วงานครั้งนี้จะล่มหรือรอด ระหว่างที่ยังไม่ถึงเดือน 7 ตามกำหนดการจัดการของโตเกียว จู่ ๆ Shaun Bailey ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกเทศมนตรีของลอนดอน (ตอนนี้ก็ยังไม่ได้รับเลือก) ก็ดันจับเรื่องนี้ไปเป็นหนึ่งในนโยบายการหาเสียงของตัวเองในทวิตเตอร์ส่วนตัวโดยกล่าวว่า ใจความง่าย ๆ ก็คือสามารถรับเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกปีน้ีแทนได้ เพราะเราเคยมีประสบการณ์มาแล้ว และถ้าผมได้เป็นนายกเทศมนตรีแล้วล่ะก็ ผมจะทำให้มั่นใจเลยว่าลอนดอนรับเป็นเจ้าภาพอีกครั้ง (หลังเคยเป็นมาแล้วในปี 2012) ได้อย่างแน่นอน แถมยังบอกว่าอยากให้คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) พิจารณาเรื่องนี้ด้วย ฝั่งผู้ว่าการกรุงโตเกียว ยูริโกะ โคอิเกะ ก็ตอกกลับเบา ๆ ว่า “ไม่เป็นไร” แต่ให้เหตุผลเจ็บหนักที่ฟังแล้วไม่รู้ว่าทางลอนดอนจะเจื่อนแค่ไหนว่า “เหตุผลที่ทำให้ปัญหานี้กลายเป็นที่สนใจของคนทั่วโลกก็เพราะเรือสำราญลำนั้น แต่นั่นเป็นเรือสัญชาติสหราชอาณาจักร ฉันเข้าใจได้ดี