ช่วงนี้รู้สึกอ่อนแอ ต้องยอมรับว่าบางทีก็เหงา บางเวลาหงุดหงิด ผสมอารมณ์เครียด ๆ บ้าง จากสถานการณ์ติดแหง็กอยู่บ้านแบบนี้ ต่อให้เป็น Introvert แค่ไหนก็คงไม่ชอบเท่าไหร่ ในช่วงเวลาที่เราเริ่มรู้สึกว่าความรู้สึกและความคิดด้านลบเริ่มเข้ามาครอบงำ ทุกอย่างคล้ายจะท่วมท้นในทิศทางที่แย่ลง ช่วงเวลานี้บางคนก็อาจจะรู้สึกหรือเริ่มมีอาการคล้ายจิตหลุดไม่อยู่กับเนื้อกับตัว วูบไหวไปตามการชักจูง ไร้สมาธิและสติสัมปชัญญะพอจะจ่อกับกิจกรรมที่ทำ จนไม่สามารถใช้ชีวิต ทำงาน และมีวินัยได้ดีเหมือนเก่า Kristen Scarlett ผู้ให้คำปรึกษาด้านการอบรมสุขภาพจิตใน Westchester และ Manhattan จึงแนะนำวิธีง่าย ๆ ที่เราสามารถฝึกจิตใจได้ในภาวะนี้อย่าง Ground Exercise เพื่อดึงจิตใจเราให้กลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว กลับมาจดจ่อกับปัจจุบัน ด้วยการเรียกความรู้สึกจากประสาทสัมผัสต่าง ๆ เมื่อมีสิ่งรอบข้างมาปะทะกลับมา เพียงใช้สติทำตาม 5 ขั้นตอนเหล่านี้ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไร ก็ช่วยฮีลสภาพจิตใจให้ผ่อนคลายและกลับมาเป็นคนเดิมได้ หรือถ้าเรียกง่าย ๆ แบบบ้าน ๆ ก็คือฝึกจิตแบบนี้คือวิธีการเรียกขวัญกลับมาอยู่ตัวนั่นเอง Prepare to Relax ก่อนจะเข้าสู่ 5 ขั้นตอนสำคัญ เราต้องเริ่มต้นด้วยการเตรียมสภาพร่างกายให้ผ่อนคลายก่อน โดยปรับร่างกายให้นั่งในท่าที่สบาย หายใจเข้า–ออกช้า ๆ จากนั้นค่อย
รูปแบบการทำงานของใครหลายคนเปลี่ยนไปแบบพลิกโลก จากที่มีออฟฟิศเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ กลายเป็นต้องพึ่งอินเทอร์เน็ต น้ำ ไฟ จากที่บ้าน จากที่ทำงานเหนื่อย ๆ ตกเย็นหาที่ฟังเพลงจิบเครื่องดื่มคล่องคอหล่อเลี้ยงหัวใจ ก็เหลือแค่ห้องเดียวกับที่นั่งทำงานมาทั้งวันให้เอกเขนกดูซีรีส์จนตาแฉะ คนทำงานแต่ละประเภทจึงต้องเผชิญความท้าทายในรูปแบบที่ต่างกันไป รวมถึง “คนทำงานสร้างสรรค์” ศิลปิน นักดนตรี นักวาด นักเขียน ฯลฯ เมื่องานต้องการพลังสร้างสรรค์เท่าเดิม (หรือบางงานต้องการมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ) แต่การทำงานสร้างสรรค์ในห้องปิดตาย หรือสถานที่เดิม ๆ ซ้ำ ๆ นั้นไม่ง่ายที่จะขุดขุมพลังฉูดฉาดมาได้เหมือนที่เคยเป็นมา ทางออกคืออะไร? เราเชื่อว่าสายสร้างสรรค์หลายคนคงอยากฟังคำตอบจากเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ วันนี้ UNLOCKMEN รวบรวม 6 คำตอบจากคนทำงานสร้างสรรค์ว่าในสถานการณ์ชวนอึดอัดนี้และออกไปหาแรงบันดาลใจที่อื่นไม่ได้ พวกเขาทำอะไรเพื่อยังผลิตผลงานหรือใช้ชีวิตให้ไม่ทำร้ายศักยภาพตัวเองเกินไปนัก? ป๊อก-ไพโรจน์ พิเชฐเมธากุล ป๊อก-ไพโรจน์ พิเชฐเมธากุล ศิลปินผู้เชื่อเรื่องการแบ่งปันสิ่งดี ๆ ให้เพื่อนมนุษย์ เขาเลือกใช้ศิลปะช่วยเหลือคนไร้บ้าน สำหรับเขาในห้วงวิกฤตเช่นนี้ อีกหนทางที่คนผลิตงานสร้างสรรค์ยังพอทำได้ คือการพยายามมองหาส่วนที่ดีที่สุดจากสิ่งที่เกิดขึ้น อาจไม่ได้เพื่อลืมแต่เพื่อหาหนทางที่จะใช้ผลงานของเรา ช่วยเหลือหรือสร้างประโยชน์ให้กับคนอื่น ๆ เท่าที่พอทำได้ในช่วงเวลาที่ทุกสิ่งนั้นไม่ง่ายเลย “ผมพยายามมองด้านบวกว่าในเหตุการณ์นี้พอมีเรื่องอะไรดีอยู่บ้าง เราจะมีเวลาเพิ่มมากขึ้น ได้มีเวลาวางแผนการงานและชีวิต เห็นวิกฤตเป็นความท้าทาย พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงไปกับมัน
ในวันที่ต้องทำงานอยู่กับบ้านมากขึ้น และโลกเต็มไปด้วยบทความหรือวิธีการให้เราเก่งขึ้น โปรดักทีฟขึ้น มีพลังมากขึ้น เราเชื่อว่ามีคนทำได้และสนุกกับการเก่งขึ้นทุกวัน โปรดักทีฟขึ้นทุกวันในสถานการณ์ที่หลายอย่างไม่เอื้ออำนวย แต่เพราะมนุษย์มีมากกว่าหนึ่งรูปแบบ เราจึงเชื่อว่ามีใครหลายคนที่เผชิญกับสภาวะชวนหดหู่ช่วงนี้ และพยายามยิ่งกว่าที่เคยพยายามมา แต่เหมือนไอเดียจะไม่พลุ่งพล่านเหมือนเดิม พลังในการทำงานก็มอดดับลงเรื่อย ๆ ยิ่งมองเห็นคนรอบตัวทำกับข้าว สร้างงานศิลปะ ออกกำลังกาย หรือทำงานได้ดีกว่าเดิม ใจก็พาลหดหู่ลงและคิดว่า “หรือเราแม่งห่วยเองวะ?” ในวันที่ไม่รู้ว่าเศรษฐกิจถูลู่ถูกังพาเราไปในทิศทางไหน ชั่วขณะที่หน้าที่การงานเคยมั่นคงจนเรายึดถือมาตลอด คืนค่ำที่ไม่ได้ออกไปผ่อนคลายได้อย่างที่ทำเป็นปกติ รวมถึงความอันตรายจากโรคภัยที่ไม่รู้จะมาถึงตัวเราเมื่อไร สิ่งเหล่านี้โบยตีและใจร้ายกับเรามากพอแล้ว มีคนคิดงานออกก็ดีใจกับเขาด้วย แต่การที่เราจะท้อบ้าง คิดงานไม่ออกบ้าง ทำชีวิตให้เป็นเหมือนห้วงเวลาปกติไม่ได้บ้าง ไม่ได้หมายความว่าเราห่วยหรือแย่กว่าคนอื่นแต่อย่างใด UNLOCKMEN เชื่อในความหลากหลายของมนุษย์ เราจึงไม่จำเป็นต้องเป็นเหมือนใคร และเชื่อว่ามันไม่เป็นอะไรเลยถ้าคุณไม่สามารถทำอะไรราบรื่นได้อย่างที่เคย เรามีสิทธิทุกประการที่จะหงุดหงิด แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าทุกอย่างใจร้ายกับเรามามากพอแล้ว เราคือคนเดียวที่จะรักและใจดีกับตัวเองได้ในช่วงเวลาอันยากลำบากนี้ แต่ถ้าไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหน ลองไม่กี่วิธีง่าย ๆ ที่เราอยากชวนคุณมาผ่อนคลาย ยอมรับความเปลี่ยนแปลง และเผชิญหน้ากับตัวเองในเวอร์ชันใหม่ที่อาจจะพาเราไปสู่ปลายทางที่เราไม่เคยคิดมาก่อนก็ได้ เมื่อ “ลงมือเขียน” เมื่อนั้นเราได้เผชิญหน้ากับตัวตนของเราเอง มนุษย์มีวิธีโอบกอดและยอมรับสิ่งที่ตัวเองเป็นได้หลายวิธี บางวิธีต้องลงทุนลงแรง ในขณะที่บางวิธีขอแค่มีกระดาษกับปากกาก็เพียงพอแล้ว ใช่ เรากำลังพูดถึงวิธีเยียวยาตัวเองด้วย “การเขียน” วิธีง่าย ๆ ที่เรามักหลงลืมมันไป เพราะไม่คิดว่ามันจะช่วยได้จริง แต่วันที่เราไม่ได้ออกไปไหน
เชื่อว่าชีวิตของหนุ่ม ๆ หลายคนในช่วงนี้คงไม่พ้นการต้องกักตัวอยู่ในบริเวณบ้านหรือห้องตัวเอง บางคนมีงานให้ต้องสะสาง ขณะที่หลายคนเลือกจะพักผ่อนด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่ตัวเองชอบ แต่สำหรับคนที่กำลังเผชิญปัญหา ท้อแท้หรือหมดกำลังใจกับชีวิตในช่วงเวลานี้อยู่ เราอยากชวนคุณหลบมุมเพื่อพักผ่อนและเติมพลังชีวิตไปกับ Sport Documentary ดี ๆ ที่มีให้ทั้งความรู้ ความสนุกสนาน MOTIVATHLETE วันนี้ถือโอกาสเลือกสารคดีกีฬา 5 เรื่อง 5 สไตล์ที่หวังจะสามารถให้มุมมองและแง่คิดดี ๆ กับทุกคนได้ไม่มากก็น้อย ไปดูกันว่าเราจะหยิบเรื่องราวของนักกีฬาคนไหนมาแนะนำบ้าง Conor Mcgergor: Notoriouus สารคดีที่เล่าถึงเรื่องราวชีวิตของคอเนอร์ แม็คเกรเกอร์ นักกีฬาต่อสู้ศิลปะป้องกันตัวแบบผสมผสานอดีตแชมป์ 2 รุ่นน้ำหนักคนแรกของ Ultimate Fighting Championship หรือ UFC ชายปากมากที่มีทั้งคนรักและเกลียดเพราะฝีมือการต่อสู้ของเขามีมากพอ ๆ กับน้ำลาย ตัวสารคดีจะเกริ่นรู้จักตัวคอเนอร์ตั้งแต่ช่วงแรกที่เข้าวงการมวยกรง 8 เหลี่ยมสู่แมตซ์เปิดตัวอันน่าประทับในบนสังเวียน UFC และการแข่งขันที่เข้มข้นกับทั้ง Chad Mendes และ Nate Diaz ที่สอดแทรกมุมมองชีวิตส่วนตัวจากปากคอเนอร์เองและคนใกล้ชิด หวังเรื่องราว 1.30 ชั่วโมงจะทำให้ทุกคนเข้ามากขึ้นว่าชีวิตของชายคนนี้ไม่ได้ก้าวขึ้นมามีชื่อเสียงและร่ำรวยบนเส้นทางที่ราบเรียบ
การระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อผู้คนในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีอัตราผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้โรงพยาบาลหลักหลายแห่งเริ่มไม่เหลือพื้นที่เพียงพอสำหรับรักษาและกักตัวผู้ติดเชื้อทั้งหมด สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้บริษัทด้านสุขภาพอย่าง Jupe เร่งพัฒนาโปรเจกต์ “อาคารดูแลผู้ป่วยแบบติดตั้ง” เพื่อเตรียมนำมาใช้งานจริงในสถานที่ห่างไกลจากโรงพยาบาล โดยตึกพยาบาลแบบ Standalone ทั้งหมดจะประกอบไปด้วยอะไรบ้างมาชมไปพร้อมกัน Jupe คือบริษัทด้านสุขภาพที่ก่อตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่ชื่อ Jeff Wilson และนายแพทย์ Esther Choo โดยได้เงินสนับสนุนจากเศรษฐีผู้สนใจงานด้านมนุษยธรรมอย่าง Cameron Sinclair ซึ่งทั้ง 3 คนมีความเห็นตรงกันว่าอยากจะสร้างศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินเคลื่อนที่ ที่สามารถขนส่งและติดตั้งในสถานที่ไหนก็ได้ รวมถึงใช้เวลาประกอบเพียงชั่วข้ามคืนจนออกมาเป็นผลงานที่ชื่อว่า Jupe Health Jupe Health ประกอบไปด้วยสิ่งก่อสร้างทั้งหมด 3 ยูนิตด้วยกันคือ Jupe Plus, Jupe Care และ Jupe Rest ที่สร้างขึ้นมาตอบโจทย์การใช้งานที่แตกต่าง แต่สิ่งอำนวยความสะดวกในยูนิตต่าง ๆ จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง มาทำความรู้จักไปพร้อมกัน เริ่มกันที่ Jupe Plus อาคารดูแลผู้ป่วยหนักแบบ Stand-Alone ยูนิตแรกของโลก ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นห้องดูแลผู้ป่วย ICU
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้สถานที่ออกกำลังของหนุ่ม ๆ หลายคนกำลังถูกจำกัดให้อยู่ในวงแคบลงเรื่อย ๆ ก่อนหน้านี้สถานที่อย่างฟิตเนสจำเป็นต้องปิดให้บริการ และล่าสุดสวนสาธารณะซึ่งเป็นสถานที่สำหรับวิ่งและยืดเส้นยืดสายของใครหลายคนก็ต้องปิดลงชั่วคราว ทั้งหมดทำให้ “การออกกำลังภายในบริเวณบ้านหรือที่พัก” เป็นเรื่องที่ทุกคนควรให้ความสำคัญมากขึ้น ซึ่งสาเหตุนี้ส่งผลให้ผู้ชายหลายคนเลือกสั่งซื้ออุปกรณ์อย่าง ดัมเบล เคตเทิลเบล รวมไปถึงเสื่อโยคะมาเตรียมไว้ที่บ้าน แต่สำหรับใครที่ยังไม่มีอุปกรณ์ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะวันนี้ UNLOCKMEN จะมาแนะนำท่าออกกำลังควบคู่กับเฟอร์นิเจอร์และมุมต่าง ๆ ภายในบ้านแบบไม่ต้องเสียตังค์ซื้ออุปกรณ์ใด ๆ แต่จะมีท่าออกกำลังสำหรับกล้ามเนื้อส่วนไหนบ้าง มาเรียนรู้ไปพร้อมกันเลย เก้าอี้ (Chair) Calf Raise เริ่มกันที่ Calf Raise กับเก้าอี้ ท่าออกกำลังเบา ๆ ที่ช่วยบริหารกล้ามเนื้อน่องให้แข็งแรง พร้อมกันการฝึก Calf Raise ร่วมกับเก้าอี้ยังช่วยเรื่องการทรงตัวสำหรับคนที่ยังไม่เชี่ยวชาญอีกด้วย เตรียมฝึก Calf Raise ด้วยการยืนด้านหลังเก้าอี้ โดยหันส่วนพนักพิงเข้าหาลำตัว มือทั้ง 2 ข้างจับพนักพิงเพื่อประคอง ก่อนออกยกส้นเท้าพร้อมกับลำตัวขึ้น เกร็งส่วนน่องค้างไว้ประมาณ 3 วินาที ทิ้งน้ำหนักลงและทำซ้ำจนครบเซต Bulgarian Split Squat
COVID-19 เปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของมนุษย์เกือบทุกชีวิตบนดาวเคราะห์สีน้ำเงินดวงนี้ ทั้งวิธีการทำงาน วิธีการกิน วิธีการจับจ่ายใช้สอย ไปจนถึงวิธีการที่เราปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบตัว แต่ใครจะรู้ว่า COVID-19 ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแค่โลกอันเป็นรูปธรรมที่เราจับต้องได้เท่านั้น แม้แต่ “โลกความฝัน” ก็ถูก COVID-19 เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงได้เช่นกัน บิดเบี้ยวและหงิกงอ: เมื่อความจริงตามไปหลอกหลอนถึงความฝัน นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เราเริ่มฝันแปลก ๆ (แปลกออกไปแบบที่ปกติไม่ค่อยได้ฝัน) ทีแรกคิดว่าเป็นอยู่คนเดียว จนเริ่มถามคนรอบตัว เราเริ่มฝันถึงซอมบี้ที่ตามไล่ล่าเรามากขึ้น เราฝันถึงวันสิ้นโลกบ่อยขึ้น บางคนฝันถึงโลกดิสโทเปียที่ล่มสลาย และสถานที่ที่ผู้คนกำลังจะตาย แต่ดูเหมือนว่าไม่ใช่แค่ในหมู่คนไทยเท่านั้นที่ความฝันเริ่มพิลึกพิลั่นไปทุกที ๆ ในโซเชียลมีเดียเริ่มมีการตั้งคำถามลอย ๆ ว่ามีใครคิดว่าตัวเองฝันผิดเพี้ยนไปช่วงนี้บ้าง? และคำตอบทำให้เรารู้ว่า COVID-19 ได้แพร่ไปในความฝันของคนทั่วโลกแล้วจริง ๆ Gus Jacobson คุณครูสอนโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งในประเทศแคนาดาเล่าว่าในฝันโรงเรียนที่เขาสอนอยู่นั้นแปลกไป มันดูลึกลับและคล้ายว่าจะมีสิ่งน่าสะพรึงกลัว ผนัง โต๊ะเรียน ดูผุพังและส่งกลิ่นเน่าเหม็น “มันเหมือนเวลาคุณเดินเข้าไปในป่า และเจอเข้ากับตอไม้เหม็นเน่าที่ดูเละย้วย จนคุณสามารถทำให้มันลงไปกองแฉะได้แค่ใช้แรงเพียงนิดเดียว” เขาอธิบาย ไม่มีใครอยู่ในบริเวณโรงเรียนเลย และเขาสัมผัสได้ว่าตัวเขาก็ไม่ควรมาป้วนเปี้ยนอยู่ที่นั่น วินาทีที่ Jacobson ลืมตาตื่น เขารู้ว่ามันเป็นความฝัน แต่ที่แย่คือเขาฝันแบบนี้ซ้ำ ๆ ตั้งแต่การเริ่มระบาดของ
ต่อให้ไทยเป็นประเทศอู่ข้าวอู่น้ำที่อุดมสมบูรณ์และมีวัตถุดิบมากมายให้เลือกสรรมาทำอาหารหลากเมนู แต่ต้องยอมรับว่าบางทีเราเองก็ดันรู้สึกเบื่ออาหารไปเสียดื้อ ๆ ข้าวผัด ผัดไทย หรือผัดกะเพรา ไม่ว่าจะกินอะไรก็ไม่อร่อยทั้งนั้น แถมเมื่อต้องนั่งกินข้าวคนเดียวอย่างตอนนี้ ก็ยิ่งทำให้เหงาและเบื่ออาหารหนักไปกว่าเดิมอีก UNLOCKMEN เลยอยากพาหนุ่ม ๆ มารู้จัก ASMR Eating สไตล์เกาหลี หรือ Mukbang (ม็อกบัง) คลิปวิดีโอกินอาหารโชว์อย่างเอร็ดอร่อยบนโลกออนไลน์ที่อาจช่วยเรียกน้ำย่อย คลายเหงา หรือทำให้หนุ่มบางคนรู้สึกอยากอาหารมากขึ้นก็ได้ ‘ASMR’ เสียงธรรมดาที่สร้างความรู้สึกพิเศษ ‘ASMR’ ย่อมาจาก Autonomous Sensory Meridian Response นิยามถึงการตอบสนองทางความรู้สึกอันเนื่องมาจากที่เราได้มอง ได้ฟัง หรือได้สัมผัสอะไรบางอย่าง เสียง ASMR ที่ว่านี้ทำให้ใครหลายคนรู้สึกผ่อนคลาย หลับง่ายขึ้น และมีสมาธิจดจ่ออยู่กับอะไรได้นานเป็นพิเศษ แม้กระนั้นก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะอินกับเสียง ASMR และปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงของบางคนก็ต่างกัน บ้างรู้สึกขนลุกซู่ราวกับมีใครมากระซิบข้างหู หรือคนที่ฟังเสียงนี้แล้วผล็อยหลับไปก็มีเหมือนกัน ส่วน ASMR Eating สไตล์เกาหลี หรือ Mukbang (ม็อกบัง) เป็นเพียงหนึ่งในสับเซตของ ASMR ที่ผสมผสานระหว่างคำว่า ‘กิน’ (muk-da)
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้หนุ่ม ๆ หลายคนต้องใช้เวลาอยู่บ้านเกือบจะทั้งสัปดาห์ อย่างไรก็ตามช่วงที่ทุกคน Stay Home Stay Safe ก็ไม่ควรลืมออกกำลังเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและรักษามวลกล้ามเนื้อของตัวเอง แม้การอยู่บ้านไม่ได้หมายความว่าเราจะมีเวลาให้ออกกำลังตลอดทั้งวัน เพราะหลายคนยังคงต้องปั่นงานส่ง ยังต้องรับสายลูกค้าหรือใช้เวลากับหน้าที่ของตัวเองอยู่ QUICK WORKOUT วันนี้เลยอยากชวนทุกคนมาแบ่งเวลาวันละ 1 ชั่วโมง ไปกับโปรแกรมออกกำลังที่บริหารร่างกายครบทุกส่วนใน 1 สัปดาห์ โดยแต่ละวันจะเป็นโปรแกรมสำหรับการฝึกกล้ามเนื้อส่วนไหนบ้าง มาเรียนรู้และฝึกฝนไปพร้อมกัน คำแนะนำ : การออกกำลังทุกท่าแนะนำให้ฝึกอย่างน้อย 3 เซต เซตละ 9-12 ครั้ง Day 1 ขา Lunge Lunge เป็นท่าแรกที่เราอยากแนะนำและถือเป็นท่าฝึกที่ช่วยวอร์มกล้ามเนื้อขาทั้งหมดไปในตัว เทคนิคในการฝึก Lunge เน้นใช้พลังจากกล้ามเนื้อต้นขาและน่องเป็นหลัก ให้ความสำคัญกับจังหวะการฝึกที่ต่อเนื่องและระวังเรื่องการผ่อนน้ำหนักที่ไม่ควรกระชากเร็วเกินไป Jump Squat ต่อด้วย Jump Squat ท่าเรียกกำลังขาที่พัฒนาให้ยากขึ้นจาก Squat เล็กน้อยแต่ให้ประโยชน์กับกล้ามเนื้อเป็นเท่าตัวแถมยังเผาลาญแคลอรี่ได้ดีอีกด้วย หลักการฝึก Jump Squat คือการทรงตัวและการรองรับน้ำหนัก ระหว่างกระโดดให้ใช้มือทั้ง 2
หนังสือคือเพื่อน หนังสือคือจินตนาการ หนังสือคือความรู้ หนังสือเป็นอะไรก็ได้ตราบเท่าที่คนอ่านอย่างเรานิยามให้ ในช่วงเวลาที่เราแทบไม่ได้ออกไปไหน ใช้เวลาส่วนใหญ่ในโลกปิดแคบที่เรียกว่าบ้านและโหยหาการเดินทางใจจะขาด หนังสือจะพาเราออกโบยบินไปไกลแสนไกล UNLOCKMEN จึงเอา 5 หนังสือเรื่องการเดินทางมาฝากมนุษย์ทุกคนที่ต้องอยู่บ้านเพื่อส่วนรวม รวมถึงที่ยังต้องออกไปทำงาน (แต่ก็ไม่อาจเดินทางไปไหนไกล ๆ ได้) ทุกการเดินทางในหนังสือ 5 เล่มนี้ไม่เพียงเป็นการเดินทางเพื่อท่องเที่ยว แต่เป็นการเดินทางเพื่อตามหาความหมายอะไรบางอย่าง ซึ่งเราเชื่อเหลือเกินว่าในช่วงเวลาอันยากลำบากและชวนสับสนนี้ เราทุกคนต่างพยายามตั้งคำถามว่า “ชีวิตเราต้องการอะไรกันแน่?” มากกว่าที่เคยถามมาทั้งชีวิต สู่หนไหน “สู่หนไหน” หนังสือที่จะพาเราเดินทางไปกับ 2 หนุ่มบ้าระห่ำที่ไม่ได้ต้องการเดินทางเพื่อสิ่งใด นอกจากตอบสนองเสียงเรียกร้องในหัวใจของตัวเองเท่านั้น พวกเขาเดินทางด้วยรถเก่า ๆ รอนแรมไปทัวสหรัฐอเมริกาดินแดนแห่งเสรีที่ดูเหมือนว่าใจของพวกเขาจะเสรียิ่งกว่า การได้อ่านเล่มนี้ให้ความรู้สึกราวกับได้กระเตงไปบนรถเก่าคร่ำคร่า บางหนรถวิ่งอย่างราบรื่นพาไปเห็นบางมุมของชีวิตที่สวยงาม บางคราวรถกระตุกทุลักทุเลราวกับว่าไม่อาจจะไปต่อได้ แต่เช่นนั้น เช่นที่การเดินทางและชีวิตของมนุษย์อย่างเรา ๆ เป็น เพราะหนทางนั้นอีกยาวไกล เราจึงต้องเจอทั้งดีและร้ายอีกมาก แต่ที่หนังสือเล่มนี้ทำให้เราตั้งคำถามกับตัวเองได้อย่างเด็ดขาดคือ “ชีวิตคืออะไร?” เรากล้าจะกระโจนเข้าสู่การเดินทางราวกับตัวละครหลักของเรื่องไหม? ทั้งถนนหนทางจริง ๆ และถนนหนทางของชีวิตเรานั่นเอง ในครึ่งที่ยังว่างของกระเป๋าเดินทางสีฟ้า เรื่องราวของมนุษย์เงินเดือนวัย 29 ปี ที่ตั้งแต่ลืมตามาบนโลกจนถึงบัดนี้ยังไม่เคยออกเดินทางไปต่างประเทศแม้สักหน แล้วจู่ ๆ