Work

ท้อได้แต่อย่าจม ใจดีกับตัวเองให้เป็น พฤติกรรมที่จะช่วยทำให้คุณทำงานได้ดีกว่าเดิม

By: anonymK November 15, 2018

เคยไหม เวลาที่เราทำงานแล้วดันพลาดเพราะจุดบกพร่องที่เรามองไม่เห็นแต่เจ้านายดันมองเห็นและเรียกเราเข้าไปรับฟังคำปรับปรุง หลังฟังคอมเมนต์เราก็เดินกลับมานั่งที่โต๊ะเงียบ  เฝ้าบอกตัวเองว่าจะไม่ทำผิดอีก จับจดกับมันจนนอยด์ โทษตัวเองครั้งแล้วครั้งเล่าว่ากูมันไม่ดี กูมันห่วย

ความคิดแบบนั้นบางคนอาจจะสามารถพลิกไปใช้ในทางบวกให้ทำงานดีขึ้นได้ แต่เชื่อเถอะว่าการเฆี่ยนตัวเองบ่อย จากความคิดลบเพียงอย่างเดียว มันจะรีดพลังงานและความกระหายที่จะทำงานของเราไปจนหมด ดังนั้น เพื่อให้ทำงานได้โปรดักทีฟแบบไม่ต้องเจ็บทั้งตัวจากการโดนตำหนิของคนอื่น แล้วยังมาเจ็บใจซ้ำเพราะตำหนิตัวเอง ลองมาเปลี่ยนความคิด แล้วใจดีกับตัวเอง ให้โอกาสกับความผิดพลาดเสียบ้าง แล้วคุณจะรู้ว่าผลลัพธ์ที่ออกมาไม่ใช่ความเหลาะแหละ แต่เป็นประสิทธิภาพที่ดีเกินคาด

หลักการนี้ไม่ใช่เรื่องหลักลอย แต่นำมาผลงานและการศึกษาของ 2 นักวิจัย คือ Leah Weiss ศาสตราจารย์ที่ Stanford University Graduate School of Business ที่เขียนผลงาน How We Work: Live Your Purpose, Reclaim Your Sanity, and Embrace the Daily Grind (เราทำงานกันอย่างไร: อยู่เพื่อเป้าหมาย ฟื้นฟูจิตใจ และโอบกอดงานประจำ) กับ Shauna Shapiro ศาสตราจารย์จาก Santa Clara University นักจิตวิทยาคลินิกและผู้เชี่ยวชาญด้านการจดจำในระดับสากล ซึ่งว่าด้วยการยอมให้ตัวเองอ่อนแอในบางเวลาเพื่อสร้างสิ่งที่ดีกว่าให้กับชีวิต ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้ชายเราทุกคนเป็นกัน

 

เราคิดว่าเราดีไม่พอ และกดตัวเองซ้ำซาก

ห่วยมันไม่มีใครชอบ แต่เราคิดว่าเราจะพ้นจากความห่วย ด้วยการบอกว่ามึงมันโคตรห่วยนี่มันจะยิ่งทำให้เราพังยิ่งกว่าเก่า เพราะไม่ใช่แค่เราจะรู้สึกแย่กับตัวเอง แต่พอเรารู้สึกว่ากำลังรู้สึกว่าตัวเองแม่งน่าอาย หรือโดนตัดสิน โดยเฉพาะยิ่งเมื่อคำตัดสินนั้นมาจากตัวเราเองด้วย สิ่งเหล่านี้มันจะโดนฝังเข้าไปในสมอง จากนั้นสมองส่วนการเรียนรู้ของเราจะเริ่มปิดกั้น ต่อต้าน แล้วสุดท้ายเราก็แช่อยู่กับพฤติกรรมเดิมที่เราอยากจะเปลี่ยนมัน

การยอมรับว่าตัวเองอ่อนแอ มันไม่ได้แปลว่าเราอ่อนแอ หรือทำให้ดูเป็นผู้ชายเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ เพราะเรื่องน้ีมันจะช่วยให้เรามีแรงจูงใจและยืดหยุ่น กลับมาตั้งหลักปรับการทำงานได้ดีขึ้น แทนที่เราจะรู้สึกขี้เกียจ ความเห็นใจตัวเองมันจะผลักดันเราให้ไปข้างหน้า โดยจากการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 2 คนพบว่า ถ้าเรารู้สึกเห็นใจหรือสงสารตัวเอง เราจะปรับพฤติกรรมนั้นไปอัตโนมัติ เราจะกินอาหารที่ดี ดูแลร่างกายตัวเอง เพราะเราแคร์ความรู้สึกของตัวเองนั่นเอง

 

ใจดีบางส่วน ไม่ใช่จนหย่อนยานต่อหน้าที่

ถึงแม้จะบอกว่าต้องใจดี แต่ก็ไม่ใช่ว่าหลับหูหลับตาใจดีทั้ง 100% จนเจอข้อเสียอะไรก็ปล่อยไว้ให้หย่อนยานไม่ปรับแก้ สูตรที่ Shauna ใช้คือ 15% แห่งความใจดี ซึ่งที่เหลือพวกเราจะเคี่ยวยังไงมันก็คงจะไม่ดึงดาวน์แน่นอน

ต้องพยายามอ่อนโยนกับตัวเอง 5 % ใจดีอีก 5% และเชื่อมั่นในตัวเองอีกสัก 5%”

หลักการน้ีมันไม่ใช่แค่ใช้ได้กับตัวของคุณในเรื่องการทำงานเท่านั้น แต่ยังมองได้ลึกไปถึงนิสัยของการเลี้ยงดูลูกด้วย ถ้าคุณอยากเห็นว่าวิธีการนี้มันจะทำให้คุณใช้ชีวิตเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือได้ยังไง แค่ลองมองดูพฤติกรรมของเด็ก ที่เป็นเหมือนผ้าขาวทุกวันนี้ หรือลองย้อนไปคิดถึงตัวเองในวัยเด็กก็ได้ที่พ่อแม่เราเลี้ยงดูเรา ถ้าเราโดนเลี้ยงแบบตำหนิ เราก็จะรู้สึกกลัวเรื่องนั้นจนไม่กล้าก้าวต่อ แต่ถ้าพ่อแม่บอกว่า ไม่เป็นไร ลองใหม่ลูก คนเรามันผิดกันได้เราก็จะรู้สึกว่าสามารถลองทำเรื่องนั้นให้ดีกว่าเดิมขึ้นได้

 

ไม่ว่าวันนี้คุณจะรู้สึกแย่กับตัวเองแค่ไหน ทำอะไรผิด หรือมีคนรอบข้างที่กำลังรู้สึกแย่อยู่ ส่งต่อบทความนี้ให้เขาอ่านแล้วบอกเขาว่าผิดครั้งน้ีไม่เป็นไร คราวหน้ามันจะไม่เป็นแบบเดิมอีก” UNLOCKMEN เชื่อว่ามันจะทำให้เขาสามารถยืนขึ้นใหม่ได้อย่างภาคภูมิใจ

 

SOURCE

anonymK
WRITER: anonymK
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line