Nov 25, 2021 มี Tweet ระบุช่องโหว่และบอกวิธีที่สามารถโจมตี TerraUSD alogrithm ระบบของ LUNA และ USDT ด้วยวิธีของ George Soros และเงินทุนราว $1 Billion USD แต่แทนที่ Do Kwon จะรับฟังและตรวจสอบไอเดียว่าทำได้จริงหรือไม่ เขากลับตอบด้วยประโยคที่เจ้าตัวใช้เป็นประจำว่า “ถ้าไม่ฉลาด ก็เงียบปากไปซะ ไหนใครเป็น Billionaires ลองทำแบบที่มันบอกหน่อย แล้วดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น” และยังมีอีกหลายต่อหลายครั้งที่ Do Kwon โต้ตอบกับผู้คนด้วย tweet ที่ดุเดือดและจองหอง ไม่ว่าจะเป็นการเหยียดหยามคนอื่นว่าจน โง่ หรือเรียกคนที่วิจารณ์ระบบ Terra ว่าเป็นพวกแมลงสาบ ระยะเวลาแค่ 5 เดือนผ่านไป ดูเหมือนสิ่งที่ Do Kwon เคยท้าทายเอาไว้ด้วยความมั่นใจในระบบของตัวเองมากเกินไปจนมองข้ามปัญหา ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า TerraUSD algorithm ถูกโจมตีจนทุกอย่างที่ Do Kwon สร้างขึ้นมาพังพินาศยับเยิน
“แต่งตัวแบบนี้คนอื่นหัวเราะเยาะแน่เลย” “เราต้องทำอะไรผิดพลาดไปแน่ๆ ทำไมคนอื่นดูไม่ค่อยพอใจเราเลย” รู้ไหมว่าบางครั้ง คุณอาจคิดไปเองว่าคนอื่นจะสนใจเรามากเกินความเป็นจริง เพราะมนุษย์มีธรรมชาติที่มักเอาตัวเองเป็นที่ตั้งเสมอ และมักมองเรื่องต่าง ๆ ผ่านความรู้สึกและประสบการณ์ของตัวเอง คิดว่าคนอื่นจะต้องทำหรือรู้สึกเหมือนที่ตัวเองรู้สึก ทางหลักจิตวิทยาเรียกปรากฎการณ์นี้เรียกว่า ‘Spotlight Effect’ วันนี้ UNLOCKMEN จะมาอธิบายให้ฟังว่า Spotlight Effect คืออะไร ทำงานยังไง และเราจะก้าวข้ามมันไปได้อย่างไรบ้าง เพื่อให้ทุกคนเข้าใจคำว่า Spotlight Effect ตรงกัน ก่อนอื่นเราอยากให้ทุกคนลองจินตนาการว่า พวกเรากำลังอยู่ในโรงละครที่การแสดงละครเวทีกำลังดำเนินอยู่ บนเวที พระเอกและนางเองกำลังแลกเปลี่ยนบทสนากัน ภายใต้แสง spotlight ที่ส่องมายังทั้งคู่ เพื่อเป็นการบ่งบอกผู้ชมว่านี่คือตัวละครสำคัญในฉาก พร้อมดึงดูดความสนใจของสายตาทุกคู่ที่อยู่ในโรงละครให้จับจ้องไปที่นักแสดงใต้แสง spotlight นั้น Spotlight Effect จึงเป็นคำเรียก ปรากฎการณ์ที่คนคิดไปเองว่าตัวเองได้รับความสนใจจากคนอื่นตลอดเวลา เหมือนกับมีแสง spotlight ส่องมายังพวกเขาตลอดเวลา (ซึ่งในความเป็นจริงไม่ใช่โรงละคร ไม่มีแสง spotlight และคนเราไม่ได้สนใจคนอื่นมากขนาดนั้น) ทำให้พวกเขารู้สึกต้องระแวดระวังตัวเองอยู่เสมอ เพราะกลัวคนอื่นจะสังเกตเห็นความผิดพลาดของตัวเองได้ ยกตัวอย่าง เวลาเล่นกีฬา คนจะรู้สึกว่าเพื่อนร่วมทีมสังเกตข้อบกพร่องของตัวเองมากกว่าความเป็นจริง งานวิจัยหลายชิ้นได้พยายามอธิบายการมีอยู่ของ
พวกเราต้องเจอกับ Presentation มาตั้งแต่เด็กจนโต ไม่ว่าจะเป็น PowerPoint หรือ Keynote ก็ตาม หลายครั้งที่เราพยายามตั้งใจดูสไลด์พร้อมกับฟังคำอธิบายในการประชุมอย่างจดจ่อ กลายเป็นว่าสมองยิ่งสับสน ไม่สามารถจดจำเนื้อหาอะไรได้เลยแม้แต่ท่อนเดียว ถ้าคุณเป็นแบบนี้บ่อย ๆ อย่าพึ่งโทษตัวเอง หรือโทษลูกน้องของคุณ เพราะวิทยาศาสตร์ได้อธิบายเหตุการณ์นี้เอาไว้ว่า สาเหตุนั้นมาจากวิธีทำ Presentation เอง การทำสไลด์ที่น่าเบื่อ มีตัวหนังสือพรืดเต็มหน้าจอ พร้อมกับการพูดอธิบายข้อมูลที่ซับซ้อน ทำให้สมองของคนฟังต้องทำงานตีความหมายจากสอง inputs ไปพร้อม ๆ กันแบบ multitasking มากเกินไปโดยไม่รู้ตัว Presentation ที่ดี ไม่ควรมีความซับซ้อน หากใครเคยเห็น Presentation ที่เต็มไปด้วยข้อความหรือ bullet ยิบย่อยมากมาย และคน present ก็พูดอธิบายข้อความเนื้อหาจำนวนมากไปพร้อม ๆ กัน แทนที่จะช่วยย้ำหรืออธิบายข้อมูลให้เข้าใจง่าย กลับกลายเป็นการเพิ่มโหลดให้สมองส่วนจดจำข้อมูล เพราะในขณะที่ตาเราจ้องอ่านข้อความบนสไลด์เพื่อตีความหมาย หูของเราก็ฟังคำอธิบายที่แตกต่างจากบนสไลด์เพื่อตีความหมายไปพร้อม ๆ กัน เมื่อหูและตาเจอกับข้อความที่แตกต่างกัน รวมถึงการเสียสมาธิเพราะต้องสลับโฟกัสระหว่างคำพูดและข้อความบนสไลด์ ทำให้เกิดการส่งข้อมูลที่ซับซ้อนไปสู่สมองจากคนละประสาทสัมผัส ผลคือสมองของเราจะเหนื่อยล้า สมาธิหลุด ส่งผลให้เรารู้สึกเบื่อการประชุม และลืมข้อมูลไปจากความทรงจำอย่างรวดเร็ว
Dangerous Minds คือภาพยนตร์แนวดราม่าที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในยุค 90’s ออกฉายครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 1995 นำแสดงโดย Michelle Pfeiffer มารับบทเป็นคุณครู LouAnne Johnson และกำกับการแสดงโดย John N. Smith ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังสือ “My Posse Don’t Do Homework” ที่เขียนโดย LouAnne Johnson ตัวจริง Dangerous Minds นำเสนอเรื่องราวของคุณครูคนหนึ่งที่ตกลงปลงใจเข้าสอนกลุ่มนักเรียนพิเศษในระดับไฮส์สคูล หรือจะให้บอกตรง ๆ ก็คือกลุ่มนักเรียนเกเรที่ไม่มีใครอยากสนใจ มีครูมากมายที่ต้องลาออกไปเพราะไม่สามารถที่จะรับมือกับความแสบของเด็ก ๆ กลุ่มนี้ได้ แต่ครู LouAnne Johnson กลับสามารถพิชิตใจนักเรียนกลุ่มนี้ได้ แม้กว่าจะทำสำเร็จก็ต้องผ่านเรื่องราวอะไรต่าง ๆ มากมาย ซึ่งพอมาเปรียบเทียบกับชีวิตของเราแล้ว มันมีอะไรหลาย ๆ อย่างที่เหมาะกับการนำไปปรับใช้เวลาทำงานด้วยเช่นกัน และเราสามารถแบ่งประเด็นที่น่าสนใจออกมาได้เป็นจำนวน 5 ข้อหลัก ๆ ดังนี้ แผนบางอย่างใช้ไมได้กับทุกสถานการณ์
เวลาทำงานเราจำเป็นต้องพูดคุยกับใครหลายคน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน บอส หรือ ลูกค้า ทักษะในการสื่อสารที่ดีจึงสำคัญต่อการทำงานร่วมกับคนอื่นอย่างมาก เพราะถ้าเราคุยกับคนอื่นได้ไม่ดี เราอาจสูญเสียความน่าเชื่อถือและประสบกับความล้มเหลวในการทำงานได้ UNLOCKMEN เลยอยากจะแนะนำ 5 ประโยคที่ไม่ควรพูดในที่ทำงาน โดยหวังว่ามันจะทำให้ทุกคนมีความสุขกับการทำงานมากขึ้น “เราทำแบบนี้มาตลอด” แม้คุณจะเป็นฝ่ายถูก แต่การพูดแบบนี้มักทำให้หัวหน้ารู้สึกว่า “คุณไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง” ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่แย่ของคนทำงาน เพราะการเปลี่ยนแปลงสามารถนำสิ่งที่ดีกว่ามาสู่องค์กร ดังนั้นจงจำไว้ว่า สิ่งที่ทำมาตลอดไม่ใช่ว่ามันจะดีที่สุดเสมอไป บางสิ่งมันก็ควรเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ เช่น การเปลี่ยนจากทำงานบนกระดาษมาเป็นทำงานเอกสารบนคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตแทน แทนที่เราจะพูดแบบนั้น เราควรถามฝ่ายตรงข้ามกลับไปว่า “อะไร คือ ประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการลองวิธีใหม่” ถ้าวิธีการทำงานแบบใหม่ดีกว่าวิธีเก่าจริง พวกเขาก็ควรบอกได้ว่าทำไมมันถึงดีกว่า แต่ถ้ามันไม่ได้ดีกว่าเลย คุณก็ควรบอกเหตุผลว่าทำไมเราถึงควรใช้วิธีเก่ากันต่อไป “ผมจะลองดู” ถ้าเราใช้คำว่า “จะลองดู” หรือ “จะพยายามทำดู” นั่นหมายความว่า คุณไม่มีความมั่นใจในสิ่งที่ตัวเองจะต้องทำ มันมีโอกาสที่จะล้มเหลวสูง ซึ่งความไม่มั่นใจและความกลัวไม่ใช่เรื่องดีสำหรับการทำงานเลย การทำให้หัวหน้าของคุณรู้สึกแบบนั้นจึงไม่ใช่เรื่องดีต่อตัวคุณเช่นกัน ดังนั้น แทนที่คุณจะพูดว่า “จะลองดู” ให้พูดว่า “จะทำให้อย่างสุดความสามารถดูครับ แล้วเดี๋ยวผมจะสรุปมาให้ว่ามีข้อดีข้อเสียอะไรเพื่อปรับปรุงได้บ้าง” แทน ซึ่งเป็นคำพูดที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพมากกว่า “ขอโทษครับ แต่….” เวลาที่คุณรู้สึกผิดกับความผิดพลาดของตัวเอง คำว่า
เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางคนถึงมีชีวิตดี ทำธุรกิจอะไรก็ประสบความสำเร็จ ในขณะที่บางคนทำอะไรก็ให้ผลตอบแทนไม่งอกเงยเท่าที่ควร มีผลวิจัยทำสถิติระบุว่า เรื่องนี้อาจอยู่ที่พฤติกรรมการใช้ชีวิตและมุมมองวิธีคิดของแต่ละคน เช่นคนที่มักจะรายล้อมตัวเองด้วยคน Toxic หรือมองความท้าทายเป็นปัญหาที่ไม่กล้าจะก้าวเท้าออกไปเผชิญหน้ากับมัน วันนี้ UNLOCKMEN จึงอยากมาแนะนำพฤติกรรมที่ควรปรับเปลี่ยน เพื่อที่จะช่วยให้ทุกคนประสบความสำเร็จในชีวิตในการใช้ชีวิตได้มากขึ้น คบคนพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตพาไปหาผล ดูเหมือนว่าคนรอบตัวจะมีอิทธิพลต่อความสำเร็จมากกว่าที่เราคิด ถ้าเราอยู่ร่วมกับคนเก่ง เราจะกลายเป็นคนที่เก่งขึ้น ถ้าเราอยู่กับคนขี้แพ้ เราอาจกลายเป็นคนขี้แพ้ไปด้วย งานวิจัยที่ใช้เวลากว่า 25 ปีของ Dr. David McClelland อาจารย์และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่า ปัจจัยนึงที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเราได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ กลุ่มอ้างอิง (reference group) หรือกลุ่มคนที่เราใช้ชีวิตอยู่ด้วย พูดคุยด้วย หรือ ทำงานร่วมกันเป็นประจำ คนกลุ่มนี้ส่งผลต่อตัวเราทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อนที่เราเลือกคบนั้นจะมีอิทธิพลต่อเราในทุกด้าน Warren Buffet เคยพูดว่าความสำเร็จเกิดขึ้นจากการใช้เวลาร่วมกับคนที่ดีกว่าตัวเอง เลือกเพื่อนที่มีพฤติกรรมดีกว่าเรา เราจะอยากผลักดันตัวเองให้มีพฤติกรรมที่ดีขึ้นไปด้วย ดังนั้น เราควรมีเพื่อนเก่ง ๆ อย่างน้อยสักหนึ่งคนที่สามารถขอคำแนะนำหรือคำปรึกษาในยามที่เกิดปัญหา ในขณะเดียวกัน ตัวเราเองก็ต้องมีความพร้อมในการมองเห็นและยอมรับปัญหาของตัวเอง เพื่อที่จะได้พัฒนาศักยภาพให้ดีขึ้นได้แบบ inside-out เรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ คนที่ประสบความสำเร็จมักจะหาความรู้ใส่ตัวตลอดเวลา เพราะเทคโนโลยีและความรู้ในโลกเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเร็วขึ้นเรื่อย ๆ ความรู้ความเข้าใจที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน
ความแตกต่างระหว่าง ‘นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ’ กับ ‘คนที่ไม่ประสบความสำเร็จ’ ปัจจัยสำคัญนั้นอยู่ที่วิธีคิด หรือ Mindset ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่มีความสำคัญต่อการทำธุรกิจอย่างมาก ว่ากันว่าถ้าเรามี Mindset ที่ดี เราจะสามารถจัดการรับมือและแก้ปัญหาได้ดีกว่าคนอื่น ทำให้มีโอกาสชนะในการแข่งขันทางธุรกิจมากกว่าคนอื่นอีกด้วย Mindset หมายถึง กลุ่มของความเชื่อที่ส่งผลต่อความเข้าใจในโลกรอบตัว วิธีคิด ความรู้สึก การแสดงออกในแต่ละสถานการณ์ รวมไปถึงการแก้ปัญหาชีวิตของเรา มันจึงเป็นอะไรที่สำคัญมาก และนักธุรกิจทุกคนควรให้ความสนใจและพัฒนา Mindset ของตัวเองอยู่บ่อย ๆ เราอยากแนะนำประเภทของ Mindset ที่จะช่วยให้นักธุรกิจทุกคนเข้าใกล้ความสำเร็จมากขึ้นในปีใหม่ที่แสนจะท้าทายนี้กันครับ Growth Mindset เริ่มจาก Growth Mindset หรือ แนวคิดของมนุษย์ที่เชื่อว่าตัวเองมีความสามารถมากพอที่จะพัฒนาตัวเองได้ตลอดเวลา เพียงแค่มีความตั้งใจและความพยายามก็สามารถพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น หรือ ฝึกฝนจนเชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่อหนึ่งมากขึ้นได้ คนที่มีแนวคิดแบบนี้ยังมองว่าการหยุดพยายาม หรือ การหนีจากปัญหาคือความล้มเหลว ในขณะที่ความท้าทายหรืองานที่โหดหิน จะทำให้พวกเขากลายเป็นคนที่ฉลาดยิ่งขึ้น Growth Mindset สำคัญต่อนักธุรกิจ เพราะมันช่วยให้พวกเขาเผชิญหน้ากับปัญหา และตัดสินใจทางธุรกิจได้ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อนักธุรกิจเจอกับการขาดทุนหนักในระยะเวลานึง ถ้ามี Growth Mindset พวกเขาจะไม่เลิกทำธุรกิจ แต่จะเรียนรู้จากปัญหา
ถ้าเราเริ่มต้นได้ดี เราจะมีชัยไปกว่าครึ่ง เพราะเหมือนกับการสร้างตึก ถ้าเราทำฐานตึกดี ต่อให้เราสร้างตึกสูงแค่ไหนก็ตาม ตัวตึกก็จะแข็งแรงคงทน และถล่มได้ยาก การเริ่มต้นปีที่ดี จะทำให้เรามีความสุขตลอดปีได้เช่นกัน UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำเทคนิคในการเริ่มต้นปีใหม่ที่จะช่วยให้ทุกคนประสบความสำเร็จในปีนี้ ตั้งเป้าหมายประจำปีที่เป็นไปได้จริง อย่าตั้งเป้าหมายปีใหม่ (New year resolution) ที่แฟนตาซีเกินไปจนเป็นจริงได้ยาก เช่น อยากย้ายไปอยู่ดาวอังคาร หรือ อยากร่ำรวยขึ้นถึง 1,000 ล้านบาทภายในหนึ่งปี เราควรตั้งเป้าหมายที่สามารถทำให้สำเร็จได้ภายในปีนั้น โดยเป้าหมายควรมีความเฉพาะเจาะจง และสมเหตุสมผล ยกตัวอย่างเช่น ในปีนี้เราอยากเปิดธุรกิจร้านอาหาร หรือ อยากเลือนตำแหน่ง เป็นต้น เมื่อเรากำหนดเป้าหมายได้แล้ว เราควรวางแผนที่จะทำให้ไปถึงเป้าหมายนั้นด้วย เช่น ระบุสกิลที่เราต้องฝึกเพิ่มเติม รวมถึงระยะเวลาที่เราควรฝึกสกิลนั้น เป็นต้น รวมถึงควรติดตามความคืบหน้าของเป้าหมายทุกเดือน และอย่าลืมแชร์เป้าหมายของตัวเองกับคนรอบตัวด้วย เพื่อรับแรงสนับสนุนและมีกำลังใจในการทำตามเป้าหมายต่อไป ไม่ทำผิดเรื่องเดิมซ้ำ ลองมองย้อนไปเมื่อปีที่แล้ว เราทำอะไรผิดพลาดบ้าง เช่น จัดการเวลาผิดพลาด จนทำงานหนักเกินไป และไม่มีเวลาพักผ่อน หรือ ดูแลตัวเองน้อยไป จนสุขภาพเสีย เป็นต้น และเรียนรู้จากข้อผิดพลาดเหล่านั้น เมื่อเรารับรู้แล้วว่าอะไรคือสิ่งที่ผิด
แม้จะเป็นสัปดาห์แห่งวันหยุดแล้ว แต่หลายคนอาจกำลังอยู่หน้าจอคอมหรือมือถือตรวจสอบ Inbox จากอีเมล์ที่ทำงานอยู่ บางคนอาจกังวลว่าจะมีงานด่วนเข้ามารึเปล่า หรือ กลัวว่าจะพลาดการตอบอีเมล์สำคัญไป ส่งผลให้พวกเขาต้องหมั่นเช็คอีเมล์อยู่ตลอดเวลา อาการนี้มีชื่อเล่นว่า Email Anxiety และเป็นอาการที่ทำร้ายเราได้มากกว่าที่คิด มันจะทำให้เราเครียดแม้ในวันหยุด และขัดขวางการพักผ่อนของเรา UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำวิธีรับมือกับอาการนี้ให้อยู่หมัด Email Anxiety เกิดขึ้นได้อย่างไร ในช่วงที่เราต้องทำงานอยู่บ้าน เราอาจซัฟเฟอร์กับ Email Anxiety ได้ง่ายขึ้น เพราะการเปลี่ยนวิธีทำงาน มาทำงานที่บ้าน อาจทำให้หลายบริษัทเริ่มจู้จี้กับพนักงานมากขึ้น จนหลายคนเริ่มมีเวลาทำงานที่ไม่แน่นอน และสูญเสียความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต (work-life balance) ไป สุดท้ายสภาพจิตใจของพวกเขาก็ตกอยู่ในอันตราย เมื่อเราไม่รู้ว่าเวลาไหนควรหยุดดูอีเมล์จากที่ทำงาน เราจะไม่สามารถคลายความเครียดและความกังวลเรื่องงานไปได้ เพราะเราจะรู้สึกเหมือนถูกบังคับให้สนใจเรื่องงานตลอดเวลา จนใกล้จะถึงเวลานอนแล้ว เราอาจกำลังดูอีเมล์อยู่ก็เป็นได้ นอกจากนี้ Email Anxiety สามารถเกิดขึ้นได้จากการทำงานของสมอง เช่น ความต้องการอยากทำงานให้สำเร็จ พอเราตรวจสอบอีเมล์จากที่ทำงานเสร็จ สมองจะหลั่งฮอร์โมนโดปามีนซึ่งทำให้เราเกิดความรู้สึกดี เราจึงอยากดูอีเมล์ตลอดเวลา แต่ในความเป็นจริง อีเมล์อาจไม่ได้เข้ามาในเวลางานเสมอไป หรือ บางวันอีเมล์งานอาจเยอะมากเกินเราจะเช็คหมดในวันเดียว เพราะฉะนั้น การไล่ตามอีเมล์ตลอดเวลา จึงมีแต่ทำให้เรารู้สึกเครียดกังวล
เวลาทำงานผิดพลาด หรือ ตัดสินใจทำอะไรแล้ว ผลลัพธ์ที่ออกมาไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง สิ่งที่หลายคนมักทำกันหลังจากนั้น คือ โทษตัวเอง (Self-Blame) ด้วยถ้อยคำต่าง ๆ เช่น “มันเป็นความผิดของฉันเอง” หรือ “เราพลาดเอง” เป็นต้น แม้พฤติกรรมนี้จะทำให้เรารู้สึกว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นเริ่องใหญ่ และเกิดแรงกระตุ้นในการหาวิธีป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก แต่ถ้ามองในอีกมุมหนึ่งมันก็ทำให้เรารู้สึกแย่กับตัวเอง จนอาจสูญเสียความมั่นใจในการใช้ชีวิตไปได้เหมือนกัน Self-Blame เกิดขึ้นได้อย่างไร โทษตัวเอง (Self-Blame) คือ การมองว่าสถานการณ์ตึงเครียด หรือ ปัญหาที่เกิดขึ้น นั่นมีที่มาจากตัวเราเอง โดยไม่คำนึงถึงปัจจัยอื่นที่ทำให้ปัญหานี้เกิดขึ้นมาได้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้พฤติกรรมนี้เกิดขึ้นก็มีหลากหลายเหมือนกัน เช่น ความเชื่อที่ว่าต้องทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบอยู่เสมอ ก็ทำให้เราคาดหวังสูงในทุกเรื่อง และเลือกที่จะโทษตัวเองก่อนในเวลาเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมาได้เหมือนกัน หรือ เราอาจเคยถูกคนอื่นทารุณหรือโดนคุกคามมาก่อน ซึ่งประสบการณ์นั้นทำให้เราพัฒนานิสัยชอบโทษตัวเองขึ้นมา นอกจากนี้ Self Blame ยังเกี่ยวข้องกับอาการซึมเศร้า เพราะคนที่มีอาการนี้มักจะรู้สึกว่าตัวเองบกพร่อง หรือ รู้สึกผิดกับอะไรบางอย่างอยู่เสมอ หลายคนที่เป็นซึมเศร้าจึงชอบโทษตัวเองเมื่อความล้มเหลวเกิดขึ้น จนรู้สึกว่าตัวเองสิ้นหวังและไร้ทางเยียวยา และไม่สามารถหลุดออกจากความซึมเศร้าไปได้ ลักษณะของ Self-Blame พฤติกรรมเหล่านี้มักถูกเรียกว่าเป็น Self-Blame โทษตัวเองเมื่อต้องเลิกลากับคนอื่นหรือหย่าร้าง รู้สึกต้องรับผิดชอบปัญหาด้านการเงินของคู่ครองหรือผู้ปกครอง วิจารณ์การตัดสินใจของตัวเองในอดีต
ปฏิเสธได้ยากว่าความมั่นใจเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่หัวหน้าทุกคนควรมี เพราะมันช่วยในการตัดสินใจเรื่องสำคัญ แต่ความมั่นใจมากเกินก็ส่งผลเสียต่อการทำงานของหัวหน้าเหมือนกัน และคนจำนวนไม่น้อยก็ประเมินตัวเองสูงเกินกว่าความเป็นจริงอีกด้วย เราเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า ความเหนือกว่าเทียม หรือ Illusory Superiority และระดับผู้นำทุกคนควรรู้วิธีรับมือกับมัน What is Illusory Superiority ? ความเหนือกว่าเทียม (Illusory Superiority) คือ cognitive bias ประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคนประเมินคุณสมบัติและความสามารถของตัวเองสูงเกินไป จนคิดว่าตัวเองเหนือกว่าคนอื่น ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว ก็ไม่ได้ต่างอะไรจากคนอื่นมากนัก ปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นได้เมื่อการเข้าใจตัวเองในบางเรื่องทำได้ยาก โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นนามธรรมอย่าง ความเฉียวฉลาด (Intelligence) บางคนอาจประเมินเรื่องนี้แบบเข้าข้างตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น คนที่เทพคำนวณ อาจนิยามว่า ความฉลาดคือทักษะคณิตศาสตร์ หรือ บางทีเราก็ไม่ได้รับ feedback ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาตัวเอง เราจึงกลายเป็นคนที่มั่นใจในตัวเองมากเกินไป นอกจากนี้ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมก็ส่งผลต่อการเกิด Illusory Superiority เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น คนเอเชียตะวันออกมักประเมินความสามารถของตัวเองต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อการพัฒนาตัวเอง และการอยู่ร่วมกับคนในสังคม ในขณะที่ชาวตะวันตกชอบแสดงความเหนือกว่าให้คนอื่นเห็นมากกว่า How to avoid Illusory Superiority
คนส่วนมากอยากเป็นเจ้าของชีวิตของตัวเอง อยากมีอิสระในการตัดสินใจ หรือ ควบคุมทุกเหตุการณ์ที่ตัวเองเผชิญ แต่ก็มีหลายคนเหมือนกันที่รู้สึกว่าชีวิตของตัวเองไม่มีอิสระเอาเสียเลย เพราะเจอกับเจ้านายที่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางและไม่ยอมรับฟังสิ่งที่พวกเขาพูด หรือ พวกเขากำลังอยู่ในความสัมพันธ์แบบ Toxic Relationship ที่ต้องยอมทนกับอีกฝ่ายทุกอย่าง และสะสมความอึดอัดใจไว้ที่ตัวเองเดียว หากเราไม่มีอิสระในการตัดสินใจหรือในการจัดการกับชีวิตตัวเอง เราจะมีปัญหาทั้งเรื่องการใช้ชีวิตและการทำงาน เพราะเราจะรู้สึกแย่และหมดแรงจูงใจในการใช้ชีวิต UNLOCKMEN เลยอยากแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับทฤษฎีที่เรียกว่า Self-determination หรือ การกำหนดตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้เราใช้ชีวิตอย่างมีแพสชันไปยาวนาน เกี่ยวกับทฤษฎี Self-determination ย้อนกลับไปเมื่อ 1971 นักจิตวิทยาชื่อว่า Edward Deci ได้ทำงานวิจัยชื้นหนึ่ง โดยเขามอบหมายให้นักเรียนจิตวิทยา 2 กลุ่มทำการแก้ไขปริศนาลูกบาศก์โซมา (Soma cube) เป็นเวลา 3 ช่วง โดยในช่วงที่สอง นักเรียนกลุ่มหนึ่งจะได้รับเงินตอบแทนทุกครั้งที่แก้ไขปริศนาได้สำเร็จและอีกกลุ่มจะไม่ได้อะไรเลย ส่วนในช่วงที่หนึ่งและสาม ไม่มีนักเรียนกลุ่มใดที่ได้รับเงินตอบแทนจากการแก้ปริศนาสำเร็จ หลังจากที่ Deci ประกาศว่าหมดเวลาในการแก้ไขปริศนา และนักเรียนถูกทิ้งไว้ในห้องทดลองสักพัก กลุ่มนักเรียนที่เคยได้รับเงินจากการแก้ไขปริศนา ก็หันเหความสนใจจากภารกิจไปทำอย่างอื่น เช่น อ่านนิตยสาร ในขณะที่กลุ่มที่ไม่เคยได้รับเงินเลยจะพยายามแก้ไขปริศนาต่อไป นำไปสู่ข้อสรุปของการทดลองที่ว่า “คนที่ได้รับเงินไม่รู้สึกถึงแรงจูงใจภายใน (intrinsic motivation)