การจบบทสนทนานับเป็นสกิลที่ผู้ชายทุกคนควรมี เพราะผู้ชายอย่างเราต้องเข้าสังคม และทักษะการจบบทสนทนาจะช่วยให้เราสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคนอื่นได้ แต่หลายคนคงพบว่าการจบบทสนทนาเป็นเรื่องยากมาก เพราะไม่รู้ว่าควรจะตัดจบยังไงให้ดูไม่น่าเกลียด UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำเทคนิคการจบบทสนทนาอย่างสมูท โดยไม่ทำให้อีกฝ่ายต้องเสียความรู้สึก มีเป้าหมายที่ชัดเจน เวลาจะไปพบใครก็ตาม เราควรจำไว้เสมอว่าเราไปพบกับเขาเพื่ออะไร เช่น ต้องการหาคู่ หรือ ต้องการเจรจาทางธุรกิจ การตั้งเป้าหมายจะช่วยให้เรารู้ว่าควรพูดคุยกับอีกฝ่ายประมาณไหน ป้องกันการพูดหรือฟังมากเกินไป จนจบบทสนทนาได้ยาก แถมยังช่วยให้เรากล้าตัดสินใจมากขึ้นด้วย ถ้าเราเจอกับสถานการณ์ที่ต้องทำร้ายจิตใจอีกฝ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รอจนบทสนทนาเริ่มสงบ รอสัญญาณจากอีกฝ่ายที่แสดงให้เห็นว่าบทสนทนากำลังจะจบลงแล้ว ซึ่งสัญญาณมักมาในรูปแบบของคำพูด เช่น “อืม” “โอเค” หรือ “เออ” เป็นต้น คำเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าอีกฝ่ายเริ่มหมดเรื่องที่จะพูดกับเราแล้ว และเราสามารถใช้โอกาสนี้ในการเปลี่ยนเรื่องคุย หรือ ตัดจบบทสนทนาที่กำลังเกิดขึ้นได้ จบด้วยเป้าหมายในการสนทนา เราควรยึดเป้าหมายในการสนทนาตั้งแต่ต้นจนจบบทสนทนา ยกตัวอย่างเช่น ถ้าตอนแรกเราขอคำแนะนำจากเพื่อนเรื่องคลาสที่น่าเข้าเรียน เราอาจออกจากบทสนทนาโดยใช้ประโยคจบที่เชื่อมกับเป้าหมายในตอนแรก เช่น “ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ เราจะลงเรียนวิชานี้ให้ทันในเทอมหน้า” เป็นต้น จบด้วยการขอบคุณ ไม่ว่าคุณจะสนทนากับใคร หากต้องการจบบทสนทนาอย่างสุภาพ ควรจบด้วยการขอบคุณเสมอ เช่น ขอบคุณที่อีกฝ่ายสละเวลามาคุยกับเรา หรือ บอกกับอีกฝ่ายว่าการพูดคุยในครั้งนั้นสนุกมากแค่ไหน เป็นต้น
ตอนที่เพิ่งตื่นขึ้นมา หลายคนอาจเคนรู้สึกงัวเงีย หรือ สับสน แต่ยังสามารถขยับร่างกายได้ตามปกติ คล้ายกับคนเมาสุรา เราเรียกอาการนี้ว่าเป็น Sleep Drunkness ซึ่งผลของมันสามารถอยู่ได้นานหลายนาที หรือ หลายชั่วโมง และขัดขวางการทำงานและการใช้ชีวิตของเราไม่น้อยเหมือนกัน UNLOCKMEN อยากพาทุกคนไปรู้จักกับอาการนี้มากขึ้น และเรียนรู้วิธีการป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นกัน Sleep Drunkenness คือ อะไร Sleep Drunkness คือ อาการสับสนมึนงงที่เกิดขึ้นในช่วงที่เราตื่นนอน โดยอาการนี้มักเกิดขึ้นเมื่อสมองของเราไม่สามารถเปลี่ยนผ่านจากโหมดนอนหลับไปยังโหมดตื่นได้แบบ 100% จนร่างกายอยู่ในสภาพคล้ายสลึมสลือเหมือนคนเมา แต่ก็ยังเคลื่อนไหวร่างกาย เดิน และพูดได้ตามปกติ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้อาการนี้เกิดขึ้นมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น พักผ่อนไม่เพียงพอ ความผิดปกติเรื่องการนอนหลับ (เช่น restless legs syndrome, sleep apnea, หรือ Insomnia) เสพติดการดื่มสุรา ใช้ยาต้านซึมเศร้าบางชนิด ไปจนถึง การนอนไม่เป็นเวลาเนื่องจากมีเวลาทำงานที่ไม่แน่นอน อ้างอิงจากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่สัมภาษณ์คนอายุกว่า 18 ปีขึ้นไป จำนวนกว่า 19,000 คน เกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรมการนอน การเจอกับ ภาวะสับสนระหว่างการตื่นนอน