ตลอดระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา เราเชื่อว่าทุกคนคงเจอทั้งเรื่องราวดี ๆ ที่น่าจดจำ และเรื่องราวร้าย ๆ อันแสนเจ็บปวดกันมาอย่างโชกโชน แต่ชีวิตคนเรานั้น ไม่ได้มีอะไรที่คงอยู่ตลอดไป มีขึ้นก็ต้องมีลง มีชนะ มีพ่ายแพ้ นี่แหละคือสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมาเป็นแบบทดสอบใจของคน สำหรับบางคน ปีที่ผ่านมาอาจจะเป็นปีชงที่โคตรจะเฮงซวย ทำอะไรก็ไม่เป็นอย่างที่หวังไปซะหมด แต่ถ้าหากคุณลองทบทวนดูดี ๆ อีกที เรื่องราวตลอดทั้งปีที่ผ่านมานี้ จะช่วยสอนให้คุณได้เรียนรู้ว่า อะไรที่คุณควรจะทำต่อไป และอะไรที่คุณควรจะทิ้งมันไว้เป็นอดีต และจำมันมาเป็นบทเรียนในการใช้ชีวิตต่อไปในอนาคต ดังนั้น วันนี้เราจึงได้นำเอาวิธีการง่าย ๆ ที่จะช่วยให้คุณนำไปใช้เริ่มต้นปีใหม่ เพื่อให้มีชีวิตใหม่ที่ดีขึ้นกว่าเดิมมาฝากกัน กับ 6 สิ่งในชีวิตที่บางครั้งคุณไม่จำเป็นต้องฝืน แต่ควรจะช่างแม่ง และปล่อยวาง รับรองได้เลยว่า คุณจะมีความสุขกับชีวิตมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมาอย่างแน่นอน 1. ช่างแม่งกับบุคคลมลพิษ มันอาจจะฟังดูน่าตลก แต่มันเป็นเรื่องจริงที่คนเรามักพยายามเอาชนะใจคนอื่น แม้แต่กับคนที่เรารู้อยู่เต็มอกว่า แม่งไม่ได้ทำดีอะไรกับเราเลย Toxic People หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ‘บุคคลมลพิษ’ กับเรานี้ อาจจะได้ทั้ง เพื่อน ญาติ คนในครอบครัว หรือใครก็ตามที่ผ่านเข้ามาชีวิต แต่ที่รู้ก็คือว่า
คนที่เคยดูซีรีส์เกาหลีชื่อดังอย่าง “It’s okay to not be okay” อาจคุ้นเคยกับวิธีบำบัดที่ชื่อว่า Butterfly Hug หรือ การกอดตัวเองโดยการเอามือทาบไว้ที่หน้าอกจนมีลักษณะเหมือนปีกผีเสื้อกันบ้างแล้ว ในบทความนี้ UNLOCKMEN อยากมาแนะนำวิธีการกอดตัวเองอีกแบบหนึ่งชื่อว่า Havening ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยลดความเครียดให้เราได้เป็นอย่างดี Havening คือ อะไร ? สมองของเราจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ (emotional brain) และส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคิด (thinking brain) ซึ่งการทำงานของสมองเหล่านี้ถูกควบคุมโดยอะมิกดาลา (กลุ่มนิวเคลียสประกอบด้วยโครงสร้างต่าง ๆ มีหน้าที่สร้างความรู้สึกกลัว วิตกกังวล) หากมันพบเจอเหตุการณ์ที่ดูเป็นภัยคุกคามแก่ชีวิต มันจะสร้างความเครียดให้เรา และเร่งให้เกิดการตอบสนองอย่างรวดเร็วที่เรียกว่า fight-or-flight เช่น การวิ่งหนีโจรผู้ร้าย หรือ การเอาตัวรอดจากเหตุการณ์เพลิงไหม้ อย่างไรก็ดี สมองของเรามักคิดไปเองว่ากำลังเจอภัย โดยเฉพาะสมองของคนที่เป็นโรควิตกกังวลทั่วไป (generalized anxiety) โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง ( post-traumatic stress disorder) และ