Life

วิธีป้องกัน Catastrophizing ความคิดที่ว่าสิ่งเลวร้ายจะเกิดขึ้นกับตัวเองเสมอ

By: unlockmen March 3, 2024

ประสบการณ์ที่เลวร้ายมักทำให้หลายคนเกิดอาการคิดมากจนเกินไปอยู่เสมอ เช่น บางคนไม่กล้าเปลี่ยนงานใหม่ เพราะกลัวว่าตัวเองจะหางานไม่ได้ หรือ ไม่เจองานที่ดีกว่า หรือ บางคนอาจเครียดเรื่องการเรียน เพราะกลัวว่าผลการศึกษาที่ไม่ดีจะทำให้ตัวเองกลายเป็นแรงงานที่ไร้คุณค่า เป็นต้น เรามักเรียกความกังวลที่เกิดขึ้นว่าเป็น Catastrophizing และถ้าเราไม่รู้จักวิธีการป้องกัน อาจทำให้เราเสียสุขภาพจิตได้

 

ความหมายของ Catastrophizing

Catastrophizing คือ การจินตนาการถึงเหตุการณ์ที่เลวร้าย และเชื่อว่ามันจะเกิดขึ้นกับตัวเองอย่างแน่นอน โดยคนที่มีอาการนี้มักมองโลกในแง่ลบ และมองเห็นปัญหาที่ตัวเองกำลังเผชิญอยู่นั่นหนักหนาสาหัสเกินความเป็นจริง จนพวกเขารู้สึกสิ้นหวังและตกอยู่ในความเครียดตลอดเวลา

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าพวกเขากังวลกับการสอบตก พวกเขาจะคิดว่า การสอบตกทำให้ตัวเองกลายเป็นนักศึกษาที่ไม่ดี เรียนไม่จบ หรือ ไม่ได้รับใบปริญญา และไม่มีใครรับเข้าทำงาน สุดท้ายพวกเขาจึงด่วนสรุปไปเองว่า การสอบตกจะทำให้พวกเขาไม่มีความมั่นคงในชีวิต ซึ่งในเป็นความจริง คนที่ประสบความสำเร็จจำนวนมากก็เรียนหนังสือไม่จบ หรือ เคยสอบตกมาก่อน แต่คนที่ Catastrophizing มักไม่คิดถึงเรื่องนี้ และหมกหมุ่นกับความคิดอันเลวร้ายของตัวเองเป็นตุเป็นตะ จนได้รับความเสียหายทางจิตใจอย่างแสนสาหัส

ยังไม่มีใครตอบได้ว่า Catastrophizing เกิดขึ้นได้อะไร แต่หลายคนคาดว่ามันเกิดขึ้นได้หลากสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ได้รับข้อความที่มีความหมายกำกวมจนเราเกิดอาการคิดไปไกล เราให้ความสำคัญกับอะไรมากเกินไปจนคิดมาก หรือ เรากลัวอะไรบางอย่างมาเกินไป จนเรายิ่งคิดถึงผลลัพธ์แย่ ๆ ที่จะได้รับจากมัน นอกจากนี้มันยังเกิดขึ้นได้จากความผิดปกติต่าง ๆ เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือ อาการปวดเรื้อรัง เป็นต้น ซึ่งต้องการ

 

วิธีการเลิก Catastrophizing

เมื่อ Catastrophizing ส่งผลเสียต่อเราหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ทำให้เรามองไม่เห็นความจริง หรือ ทำให้เราขาดความสุขในชีวิต UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำวิธีการป้องกันความคิดประเภทนี้ เพื่อให้ทุกคนใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้นต่อไปยาวนาน

  • ยอมรับในสิ่งที่ไม่น่าพอใจ – ไม่มีใครที่เจอเรื่องดีไปตลอดชีวิต ชีวิตมักพาเราไปเจอกับปัญหาและอุปสรรค์อยู่เสมอ เราจึงมีวันที่ดี และวันที่เลวร้ายสลับกันไป การยอมรับว่าเรื่องเลวร้ายเป็นสิ่งที่เราต้องเจอในบางครั้ง และยังมีวันดี ๆ รอเราอยู่ข้างหน้าจะช่วยให้เรา
  • รู้ตัวเมื่อความคิดของเราไม่สมเหตุสมผล – แต่ละคนมัก Catastrophizing โดยมีรูปแบบที่ชัดเจน เช่น บางคนอาจพูดกับตัวเองว่า “วันนี้ฉันรู้สึกเจ็บ และความเจ็บปวดนี้คงไม่มีวันหาย” หากเราเข้าใจแพทเทิร์นของมันแล้ว เราจะสามารถรับมือกับอาการนี้ได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน
  • เตือนตัวเองให้หยุดคิดมาก – เวลาที่เราคิดมากซ้ำไปซ้ำมา สิ่งที่เราทำได้เพื่อออกจากวังวนนี้ คือ การพูดกับตัวเองว่า “หยุด” หรือ “พอกันที” วิธีนี้จะช่วยให้เราได้สติ สามารถตั้งหลักและเปลี่ยนวิธีการคิดของตัวเองให้ดีขึ้นได้
  • ลองคิดถึงผลลัพธ์ในแง่อื่น – แทนที่จะคิดถึงแต่เรื่องแง่ลบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ลองหันมาคิดถึงเรื่องในแง่ดี หรือ เรื่องที่แง่ลบน้อยลง จะช่วยให้เรามองเห็นความเป็นจริงมากขึ้น
  • ยืนยันความคิดในแง่บวก – เวลาที่เราเริ่มคิดฟุ้งซ่าน เราควรมีความเชื่อมั่นในตัวเอง ควบคู่ไปกับการเชื่อว่าสิ่งที่ดีมีโอกาสจะเกิดขึ้นในอนาคต ความมั่นใจจะช่วยให้เราเป็นกังวลน้อยลง เลิกกลัวอนาคต และสามารถใช้ชีวิตภายใต้ความเครียดที่น้อยลงได้
  • หมั่นดูแลตัวเองอยู่เสมอ – ความคิดฟุ้งซ่านมักถูกควบคุมได้ยาก เมื่อพวกเราเหนื่อยหรือกำลังเครียดอยู่ ดังนั้น ถ้าเราอยากเอาชนะความคิดของตัวเอง เราต้องหมั่นดูแลตัวเองอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น นอนหลับให้เพียงพอ หรือ ทำกิจกรรมผ่อนคลายความเครียด เช่น ออกกำลังกาย

ทั้งหมดนี้ก็เป็นวิธีที่จะทำให้เราหยุดคิดมาก และมีชีวิตที่มีความสุข ลองนำไปปรับใช้กับชีวิตของตัวเองดู และจะพบกับการเปลี่ยนแปลง แต่ถ้ารู้สึกว่าวิธีเหล่านี้ไม่ตอบโจทย์ การไปพบผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักบำบัด หรือ จิตแพทย์ ก็เป็นทางเลือกที่จะช่วยให้เราผ่านปัญหานี้ไปได้เร็วขึ้นเหมือนกัน


Appendix: 1 / 2 

unlockmen
WRITER: unlockmen
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line