ประสบการณ์ที่เลวร้ายมักทำให้หลายคนเกิดอาการคิดมากจนเกินไปอยู่เสมอ เช่น บางคนไม่กล้าเปลี่ยนงานใหม่ เพราะกลัวว่าตัวเองจะหางานไม่ได้ หรือ ไม่เจองานที่ดีกว่า หรือ บางคนอาจเครียดเรื่องการเรียน เพราะกลัวว่าผลการศึกษาที่ไม่ดีจะทำให้ตัวเองกลายเป็นแรงงานที่ไร้คุณค่า เป็นต้น เรามักเรียกความกังวลที่เกิดขึ้นว่าเป็น Catastrophizing และถ้าเราไม่รู้จักวิธีการป้องกัน อาจทำให้เราเสียสุขภาพจิตได้ ความหมายของ Catastrophizing Catastrophizing คือ การจินตนาการถึงเหตุการณ์ที่เลวร้าย และเชื่อว่ามันจะเกิดขึ้นกับตัวเองอย่างแน่นอน โดยคนที่มีอาการนี้มักมองโลกในแง่ลบ และมองเห็นปัญหาที่ตัวเองกำลังเผชิญอยู่นั่นหนักหนาสาหัสเกินความเป็นจริง จนพวกเขารู้สึกสิ้นหวังและตกอยู่ในความเครียดตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น ถ้าพวกเขากังวลกับการสอบตก พวกเขาจะคิดว่า การสอบตกทำให้ตัวเองกลายเป็นนักศึกษาที่ไม่ดี เรียนไม่จบ หรือ ไม่ได้รับใบปริญญา และไม่มีใครรับเข้าทำงาน สุดท้ายพวกเขาจึงด่วนสรุปไปเองว่า การสอบตกจะทำให้พวกเขาไม่มีความมั่นคงในชีวิต ซึ่งในเป็นความจริง คนที่ประสบความสำเร็จจำนวนมากก็เรียนหนังสือไม่จบ หรือ เคยสอบตกมาก่อน แต่คนที่ Catastrophizing มักไม่คิดถึงเรื่องนี้ และหมกหมุ่นกับความคิดอันเลวร้ายของตัวเองเป็นตุเป็นตะ จนได้รับความเสียหายทางจิตใจอย่างแสนสาหัส ยังไม่มีใครตอบได้ว่า Catastrophizing เกิดขึ้นได้อะไร แต่หลายคนคาดว่ามันเกิดขึ้นได้หลากสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ได้รับข้อความที่มีความหมายกำกวมจนเราเกิดอาการคิดไปไกล เราให้ความสำคัญกับอะไรมากเกินไปจนคิดมาก หรือ เรากลัวอะไรบางอย่างมาเกินไป จนเรายิ่งคิดถึงผลลัพธ์แย่ ๆ ที่จะได้รับจากมัน
คนที่เคยดูซีรีส์เกาหลีชื่อดังอย่าง “It’s okay to not be okay” อาจคุ้นเคยกับวิธีบำบัดที่ชื่อว่า Butterfly Hug หรือ การกอดตัวเองโดยการเอามือทาบไว้ที่หน้าอกจนมีลักษณะเหมือนปีกผีเสื้อกันบ้างแล้ว ในบทความนี้ UNLOCKMEN อยากมาแนะนำวิธีการกอดตัวเองอีกแบบหนึ่งชื่อว่า Havening ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยลดความเครียดให้เราได้เป็นอย่างดี Havening คือ อะไร ? สมองของเราจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ (emotional brain) และส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคิด (thinking brain) ซึ่งการทำงานของสมองเหล่านี้ถูกควบคุมโดยอะมิกดาลา (กลุ่มนิวเคลียสประกอบด้วยโครงสร้างต่าง ๆ มีหน้าที่สร้างความรู้สึกกลัว วิตกกังวล) หากมันพบเจอเหตุการณ์ที่ดูเป็นภัยคุกคามแก่ชีวิต มันจะสร้างความเครียดให้เรา และเร่งให้เกิดการตอบสนองอย่างรวดเร็วที่เรียกว่า fight-or-flight เช่น การวิ่งหนีโจรผู้ร้าย หรือ การเอาตัวรอดจากเหตุการณ์เพลิงไหม้ อย่างไรก็ดี สมองของเรามักคิดไปเองว่ากำลังเจอภัย โดยเฉพาะสมองของคนที่เป็นโรควิตกกังวลทั่วไป (generalized anxiety) โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง ( post-traumatic stress disorder) และ
เคยใช้เวลาว่างพักผ่อนอย่างเต็มที่แล้ว แต่เรายังรู้สึกเหนื่อยล้าและหายใจยังไม่ทั่วท้องหรือไม่ บางทีมันอาจเกิดขึ้นเพราะเราพักผ่อนไม่ครบทุกด้าน Dr. Saundra Dalton-Smith นักพูด Tedx และนักเขียนหนังสือชื่อ Sacred Rest: Recover Your Life, Renew Your Energy, Restore Your Sanity ได้แบ่งการพักผ่อนของมนุษย์ ออกเป็นทั้งหมด 7 ประเภท ได้แก่ การพักผ่อนกายภาพ (physical rest) หรือ การพักผ่อนร่างกายปกติ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นทั้งแบบ active หรือ passive โดย passive จะประกอบไปด้วย การนอนและการงีบ ส่วน active จะเป็นการทำกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น โยคะ หรือ การนวด ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาระบบไหลเวียนเลือดและความยืดหยุ่นของเรา ต่อมา คือ การพักผ่อนจิตใจ (mental rest) หรือ การทำให้จิตใจแจ่มใส ถ้าเราทำงานหนักแบบไม่หยุดพัก เราจะเกิดความเครียดสะสม จนเกิดความรู้สึกเหนื่อยล้าทางจิตใจได้
ใครที่เคยดูภาพยนตร์เรื่อง “Sex and the City” คงคุ้นเคยกับตัวละครที่ชื่อว่า “Carrie Bradshaw” นักเขียวสาวสวยผู้เป็นตัวละครหลักในเรื่อง นิสัยของเธอมีความน่าสนใจมาก คือ เธอคิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง ปัญหาของเธอต้องมาก่อนปัญหาของคนอื่นเสมอ และเพื่อนมีหน้าที่คอยให้กำลังใจเธอเท่านั้น นิสัยที่ชอบทำตัวเหมือนเป็นตัวเอกในเรื่องราวชีวิตของตัวเอง ในทางจิตวิทยา เรียกว่าเป็น Main Character Syndrome หรือ อาการของตัวละครหลัก ซึ่งคนที่มีอาการนี้มักมองว่าตัวเองเป็นตัวเอกในเรื่องราวชีวิตของตัวเอง และคนอื่นเป็นเพียงตัวละครสมทบเท่านั้น พวกเขาจึงไม่ค่อยสนใจชีวิตของคนอื่นมากนัก และมองว่าชีวิตของตัวเองสำคัญที่สุด หากไม่ได้รับการเปลี่ยนนิสัย อาจส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตได้ อาการนี้มักพบในคนรุ่น GenZ ที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี ซึ่งมีความผูกพันกับการใช้เทคโนโลยี พวกเขามักพยายามหนีจากโลกความเป็นจริง โดยใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือในการสร้างตัวตนใหม่ เช่น แต่งภาพให้ดูดีขึ้น หรือ แต่งเรื่องราวของตัวเองให้ดูน่าสนใจ แม้การมองตัวเองเป็นตัวละครหลัก จะช่วยให้เรามีความมั่นใจในการใช้ชีวิตและมองเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงมันก็สะท้อนถึงปัญหาเรื่องความมั่นใจในตัวเองเหมือนกัน เพราะคนกลุ่มนี้มักอ่อนแอต่อคำวิจารณ์มาก และเป็นพวกนิยมความสมบูรณ์แบบ จึงพยายามใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือที่แสดงให้คนอื่นเห็นว่าตัวเองสุดยอดแค่ไหน เช่น การแต่งรูปให้ดูดี หรือ การแต่งเรื่องราวของตนเองให้คนสนใจ ปัญหาของ Main Character Syndrome คือ
แม้จะเป็นสัปดาห์แห่งวันหยุดแล้ว แต่หลายคนอาจกำลังอยู่หน้าจอคอมหรือมือถือตรวจสอบ Inbox จากอีเมล์ที่ทำงานอยู่ บางคนอาจกังวลว่าจะมีงานด่วนเข้ามารึเปล่า หรือ กลัวว่าจะพลาดการตอบอีเมล์สำคัญไป ส่งผลให้พวกเขาต้องหมั่นเช็คอีเมล์อยู่ตลอดเวลา อาการนี้มีชื่อเล่นว่า Email Anxiety และเป็นอาการที่ทำร้ายเราได้มากกว่าที่คิด มันจะทำให้เราเครียดแม้ในวันหยุด และขัดขวางการพักผ่อนของเรา UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำวิธีรับมือกับอาการนี้ให้อยู่หมัด Email Anxiety เกิดขึ้นได้อย่างไร ในช่วงที่เราต้องทำงานอยู่บ้าน เราอาจซัฟเฟอร์กับ Email Anxiety ได้ง่ายขึ้น เพราะการเปลี่ยนวิธีทำงาน มาทำงานที่บ้าน อาจทำให้หลายบริษัทเริ่มจู้จี้กับพนักงานมากขึ้น จนหลายคนเริ่มมีเวลาทำงานที่ไม่แน่นอน และสูญเสียความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต (work-life balance) ไป สุดท้ายสภาพจิตใจของพวกเขาก็ตกอยู่ในอันตราย เมื่อเราไม่รู้ว่าเวลาไหนควรหยุดดูอีเมล์จากที่ทำงาน เราจะไม่สามารถคลายความเครียดและความกังวลเรื่องงานไปได้ เพราะเราจะรู้สึกเหมือนถูกบังคับให้สนใจเรื่องงานตลอดเวลา จนใกล้จะถึงเวลานอนแล้ว เราอาจกำลังดูอีเมล์อยู่ก็เป็นได้ นอกจากนี้ Email Anxiety สามารถเกิดขึ้นได้จากการทำงานของสมอง เช่น ความต้องการอยากทำงานให้สำเร็จ พอเราตรวจสอบอีเมล์จากที่ทำงานเสร็จ สมองจะหลั่งฮอร์โมนโดปามีนซึ่งทำให้เราเกิดความรู้สึกดี เราจึงอยากดูอีเมล์ตลอดเวลา แต่ในความเป็นจริง อีเมล์อาจไม่ได้เข้ามาในเวลางานเสมอไป หรือ บางวันอีเมล์งานอาจเยอะมากเกินเราจะเช็คหมดในวันเดียว เพราะฉะนั้น การไล่ตามอีเมล์ตลอดเวลา จึงมีแต่ทำให้เรารู้สึกเครียดกังวล
เวลาทำงานผิดพลาด หรือ ตัดสินใจทำอะไรแล้ว ผลลัพธ์ที่ออกมาไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง สิ่งที่หลายคนมักทำกันหลังจากนั้น คือ โทษตัวเอง (Self-Blame) ด้วยถ้อยคำต่าง ๆ เช่น “มันเป็นความผิดของฉันเอง” หรือ “เราพลาดเอง” เป็นต้น แม้พฤติกรรมนี้จะทำให้เรารู้สึกว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นเริ่องใหญ่ และเกิดแรงกระตุ้นในการหาวิธีป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก แต่ถ้ามองในอีกมุมหนึ่งมันก็ทำให้เรารู้สึกแย่กับตัวเอง จนอาจสูญเสียความมั่นใจในการใช้ชีวิตไปได้เหมือนกัน Self-Blame เกิดขึ้นได้อย่างไร โทษตัวเอง (Self-Blame) คือ การมองว่าสถานการณ์ตึงเครียด หรือ ปัญหาที่เกิดขึ้น นั่นมีที่มาจากตัวเราเอง โดยไม่คำนึงถึงปัจจัยอื่นที่ทำให้ปัญหานี้เกิดขึ้นมาได้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้พฤติกรรมนี้เกิดขึ้นก็มีหลากหลายเหมือนกัน เช่น ความเชื่อที่ว่าต้องทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบอยู่เสมอ ก็ทำให้เราคาดหวังสูงในทุกเรื่อง และเลือกที่จะโทษตัวเองก่อนในเวลาเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมาได้เหมือนกัน หรือ เราอาจเคยถูกคนอื่นทารุณหรือโดนคุกคามมาก่อน ซึ่งประสบการณ์นั้นทำให้เราพัฒนานิสัยชอบโทษตัวเองขึ้นมา นอกจากนี้ Self Blame ยังเกี่ยวข้องกับอาการซึมเศร้า เพราะคนที่มีอาการนี้มักจะรู้สึกว่าตัวเองบกพร่อง หรือ รู้สึกผิดกับอะไรบางอย่างอยู่เสมอ หลายคนที่เป็นซึมเศร้าจึงชอบโทษตัวเองเมื่อความล้มเหลวเกิดขึ้น จนรู้สึกว่าตัวเองสิ้นหวังและไร้ทางเยียวยา และไม่สามารถหลุดออกจากความซึมเศร้าไปได้ ลักษณะของ Self-Blame พฤติกรรมเหล่านี้มักถูกเรียกว่าเป็น Self-Blame โทษตัวเองเมื่อต้องเลิกลากับคนอื่นหรือหย่าร้าง รู้สึกต้องรับผิดชอบปัญหาด้านการเงินของคู่ครองหรือผู้ปกครอง วิจารณ์การตัดสินใจของตัวเองในอดีต
ตอนที่เพิ่งตื่นขึ้นมา หลายคนอาจเคนรู้สึกงัวเงีย หรือ สับสน แต่ยังสามารถขยับร่างกายได้ตามปกติ คล้ายกับคนเมาสุรา เราเรียกอาการนี้ว่าเป็น Sleep Drunkness ซึ่งผลของมันสามารถอยู่ได้นานหลายนาที หรือ หลายชั่วโมง และขัดขวางการทำงานและการใช้ชีวิตของเราไม่น้อยเหมือนกัน UNLOCKMEN อยากพาทุกคนไปรู้จักกับอาการนี้มากขึ้น และเรียนรู้วิธีการป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นกัน Sleep Drunkenness คือ อะไร Sleep Drunkness คือ อาการสับสนมึนงงที่เกิดขึ้นในช่วงที่เราตื่นนอน โดยอาการนี้มักเกิดขึ้นเมื่อสมองของเราไม่สามารถเปลี่ยนผ่านจากโหมดนอนหลับไปยังโหมดตื่นได้แบบ 100% จนร่างกายอยู่ในสภาพคล้ายสลึมสลือเหมือนคนเมา แต่ก็ยังเคลื่อนไหวร่างกาย เดิน และพูดได้ตามปกติ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้อาการนี้เกิดขึ้นมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น พักผ่อนไม่เพียงพอ ความผิดปกติเรื่องการนอนหลับ (เช่น restless legs syndrome, sleep apnea, หรือ Insomnia) เสพติดการดื่มสุรา ใช้ยาต้านซึมเศร้าบางชนิด ไปจนถึง การนอนไม่เป็นเวลาเนื่องจากมีเวลาทำงานที่ไม่แน่นอน อ้างอิงจากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่สัมภาษณ์คนอายุกว่า 18 ปีขึ้นไป จำนวนกว่า 19,000 คน เกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรมการนอน การเจอกับ ภาวะสับสนระหว่างการตื่นนอน
ในชีวิตของหลายคนคงเคยพานพบกับคนที่มีความคิดหรือความชอบคล้ายกับตัวเอง และรู้สึกว่าพวกเขามีเสน่ห์และน่าดึงดูดอย่างน่าประหลาด มีคนพยายามอธิบายเรื่องนี้ด้วยความเชื่อเรื่อง กฎแห่งแรงดึงดูด (Law of Attraction) ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาความสุขในชีวิตได้หลายด้าน UNLOCKMEN อยากพาทุกคนไปเข้าใจกฎที่ว่านี้มากขึ้น กฎแห่งแรงดึงดูด คือ อะไร กฎแห่งแรงดึงดูด (Law of Attraction) เป็นหลักปรัชญาที่ได้รับการพูดถึงตั้งแต่ปี 1887 โดยมันสอนว่า ความคิดในแง่ดีจะดึงดูดผลลัพธ์ในเชิงบวก ส่วนความคิดในแง่ลบจะดึงดูดผลลัพธ์ในเชิงลบเช่นเดียวกัน ความเชื่อดังกล่าวมีฐานคิดมาจากความเชื่อที่ว่า ความคิดเป็นเหมือนพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สามารถดึงดูดสิ่งที่เหมือนกันได้ โดยพลังงานเชิงบวก (การคิดบวก) จะสามารถดึงดูดความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ของชีวิตได้ เช่น ด้านสุขภาพ ด้านการเงิน และด้านความสัมพันธ์ Law of Attraction ได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะหนังสือแนว Self-help ชื่อ ‘The Secret’ (2016) ที่เขียนโดย Rhonda Byrne และมีเนื้อหาอ้างอิงถึงเรื่องกฎแห่งแรงดึงดูด ซึ่งได้รับความนิยมมากจนมียอดขาย 30 ล้านเล่มทั่วโลก และถูกแปลเป็นภาษาอื่นมากกว่า 50 ภาษา สำหรับ Law
หลายคน พอยิ่งโต อาจยิ่งควบคุมอารมณ์ได้เก่งขึ้น แต่ก็มีบางคนเหมือนกันที่ถูกมองว่าเป็นเด็กอยู่ตลอดเวลา เพราะพวกเขาชอบทำอะไรตามใจ และไม่ค่อยคิดถึงผลของการกระทำของตัวเอง สุดท้ายพวกเขาก็ตัดสินใจได้แย่อยู่เสมอ จนเกิดผลเสียต่อตัวเองและคนรอบข้าง เราเรียกพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นว่า ’Impulsivity’ ซึ่ง UNLOCKMEN ได้นำวิธีป้องกันพฤติกรรมดังกล่าวมาฝากทุกคนด้วย อะไร คือ Impulsivity นักจิตวิทยาใช้คำว่า ‘Impulsivity’ ในการอธิบายพฤติกรรมลงมือทำอะไรบางอย่างโดยไม่คิดถึงผลลัพธ์ที่ตามมา เช่น การเสียเงินให้กับสิ่งล่อตาล่อใจได้ง่าย หริอ เดินข้ามถนนโดยไม่มองซ้ายมองขวา เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้มักส่งผลเสียต่อเราและคนรอบข้าง เพราะการทำอะไรแบบไม่ยั้งคิด อาจนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ไม่คาดฝันได้ เช่น การสูญเสียคนรัก การสูญเสียเงินโดยใช้เหตุ หรือ การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นต้น Impulsivity เกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยเฉพาะกับเด็กที่ยังไม่ค่อยมีวุฒิภาวะมากนัก และสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ความผิดปกติของสมองส่วน Prefrontal Cortex ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลในการตัดสินใจ การสืบทอดความผิดปกติทางกรรมพันธ์ุ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิด Impulsivity ไปจนถึงความผิดปกติทางจิตประเภทต่าง ๆ เช่น ภาวะอารมณ์สองขั่ว โรคสมาธิสั้น (ADHD) ภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (BPD) รวมไปถึง ความผิดปกติในการควบคุมตัวเอง
ความสัมพันธ์มักเป็นสิ่งที่รักษาเอาไว้ได้ยาก หากเราหรือคนที่เรารักไม่มีความมั่นคงทางอารมณ์ และแสดงพฤติกรรมที่คาดเดาได้ยากอยู่ตลอดเวลา อาการนี้มักเกิดขึ้นกับคนที่เป็นโรคไบโพลาร์ การอยู่ร่วมกับพวกเขาจึงต้องใช้ความรู้และความเข้าใจในอาการป่วยมากพอสมควร ถึงจะรับมือกับพฤติกรรมที่เกิดจากความแปรปวนทางอารมณ์ของพวกเขาได้อย่างอยู่หมัด UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำวิธีการรักษาความสัมพันธ์ให้อยู่ได้ยาวนาน เมื่อเราหรือแฟนเป็นโรคไบโพลาร์ ความหมายของโรคไบโพลาร์ โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) หรือ Manic Depression คือ อาการเจ็บป่วยทางจิตที่เกิดขึ้นได้จากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมองอันมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของฮอร์โมนหรือกรรมพันธ์ุ ส่งผลให้คนมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ หรือที่เรียกกันว่ามี ‘อารมณ์สองขั้ว’ โดยช่วงหนึ่งผู้ป่วยจะมีความสุขมากและเปี่ยมไปด้วยความกระกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ แต่อีกช่วงหนึ่งพวกเขาจะรู้สึกแย่ เสียใจ สิ้นหวัง ท้อแท้ ช่วงที่ผู้ป่วยมีความสุขมักจะเรียกกันว่า แมเนีย (Mania) ผู้ป่วยจะรู้สึกตื่นเต้น มีความหวัง รู้สึกกระฉับกระเฉง และมีความมั่นใจในตัวเองสูงมาก จนพวกเขาสามารถตัดสินใจทำเรื่องต่าง ๆ ได้โดยไม่ยั้งคิด นอกจากนี้พวกเขาอาจมองเห็นภาพหลอน หรือ ได้ยินเสียงที่ไม่มีจริงอีกด้วย ถ้าเป็นอาการเมเนียแบบไม่รุนแรงมาก เรามักเรียกกันว่าเป็น ไฮโปแมเนีย (Hypomania) โดยผู้ป่วยจะไม่มองเห็นภาพหลอนหรือได้หูแว่ว และอาการป่วยไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ส่วนช่วงเวลาแห่งความทุกข์ เราจะเรียกว่า ซึมเศร้า (Depressive) โดยผู้ป่วยจะรู้สึกซึมเศร้าหรือโศกเศร้าอย่างหนัก