เวลาทำงานสักชิ้น หลายคนคงอยากจะทำให้มันดีที่สุด ผิดพลาดน้อยที่สุด และเป็นไปตามที่เราหวังไว้มากที่สุด แต่หลายครั้งเหมือนกันที่เราพบว่า แม้งานโดยรวมจะออกมาจะดี แต่ข้อผิดพลาดเล็กบ้างน้อยบ้างที่เกิดขึ้น ทำให้เรารู้สึกหัวเสียมากกว่าที่จะดีใจกับงานที่สำเร็จแล้ว เป็นเพราะธรรมชาติของเรามีกลไกที่เรียกว่า ‘อคติเชิงลบ (negativity bias)’ ที่ทำให้สมองของเรามองว่าเรื่องเลวร้าย ข้อผิดพลาด หรือ ข้อเสีย มีความสำคัญมากกว่า เรื่องดี ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต งานวิจัยที่ทำโดย John Cacioppo ได้ทำการโชว์ภาพที่กระตุ้นอารมณ์เชิงบวก (เช่น ภาพรถเฟอร์รารี่ หรือ พิซซ่า) ภาพที่กระตุ้นอารมณ์ด้านลบ (เช่น ภาพแมวตาย) และภาพที่ให้อารมณ์เป็นกลาง (เช่น ภาพจาน หรือ เครื่องเป่าผม) แก่ผู้ที่เข้าร่วมการทดลอง พร้อมกับทำการบันทึกกิจกรรมของกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นใน เปลือกสมอง (cerebral cortex) ซึ่งมีความสำคัญต่อการรับข้อมูล จากงานวิจัย Cacioppo พบว่า สมองจะมีปฏิกริยาอย่างรุนแรงต่อสิ่งเร้าเชิงลบ โดยมันจะทำให้เกิดการทำงานของกระแสไฟฟ้ามากขึ้นในสมอง กล่าวได้ว่า ทัศนคติของเราได้รับอิทธิพลอย่างมากจากข่าวร้ายมากกว่าข่าวดี ด้วยการทำงานของสมองแบบนี้ เราจึง ‘วิจารณ์ตัวเอง (self-criticism)’ บ่อยครั้งด้วยคำพูด เช่น
สุภาพบุรุษทุกคนต้องพึ่งพาสภาพ ‘กาย’ และ ‘ใจ’ ในการใช้ชีวิตในแต่ละวัน เพราะร่างกายที่แข็งแรงจะทำให้รอดจากโรคภัยไข้เจ็บและมีแรงในการใช้ชีวิต ส่วนสุขภาพจิตที่ดีก็ทำให้คุณผู้ชายไม่ขาดแรงจูงใจในการทำสิ่งต่าง ๆ แม้หลายคนจะใส่ใจกับการออกกำลังกายกันแล้ว แต่เรื่องการออกกำลังกายจิตเรามักใส่ใจกันน้อยเกินไป อาจเพราะไม่รู้วิธี หรือ ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมันมาก่อน สุดท้ายจึงกลายเป็นซึมเศร้า หรือ หมดไฟกันง่ายกว่าปกติ UNLOCMEN จึงอยากมาแนะนำเคล็ดในการพัฒนา Mental Fitness หรือ ความฟิตของจิตใจ เพื่อให้หัวใจของทุกคนแข็งแกร่งขึ้น และมีแรงจูงใจในการใช้ชีวิตในแต่ละวันมากขึ้นตามมา What is mental fitness ? ใครได้ยินคำว่า Mental Fitness ครั้งแรก อาจนึกถึงการทำแบบฝึกสมองเพื่อบูส IQ ให้ถึงขั้นอัจฉริยะ หรือ การเข้าร่วมกิจกรรมฝึกจิตใจจนกล้าแกร่งแบบซามูไร ซึ่งไม่ใช่ ความหมายของ Mental Fitness จริง ๆ แล้ว คือ การรักษาสภาพจิตใจ อารมณ์ และสมอง ให้มีความเฮลตี้ จนสามารถตระหนักถึงความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรมของตัวเองได้เสมอ นั่นหมายความว่า
ต้องมีสักครั้งในชีวิต ที่เราตื่นขึ้นมาใช้ชีวิตแล้วรู้สึกเหมือนกำลังอยู่ในภวังค์ให้ความรู้สึกที่เหมือนกับกำลังอยู่ในฝัน บางครั้งความรู้สึกนี้ก็ทำให้เราสับสนว่า “กำลังตื่น หรือ หลับอยู่กันแน่นะ” ซึ่งอาการนี้ ทางการแพทย์ เรียกว่า ความจริงวิปลาส และถ้าประสบกับมันบ่อย ๆ อาจเป็นสัญญาณของโรคจิตเวชได้ ความจริงวิปลาสคืออะไร ปกติแล้ว ภาวะความจริงวิปลาส (Derealization) นับเป็นหนึ่งในอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคดิสโซสิเอทีฟ (Dissociative Disorders) เช่นเดียวกับบ ภาวะบุคลิกภาพแตกแยก (Depersonalization) ทำให้บางครั้งสองอาการนี้ก็ถูกใช้แทนกันด้วย อย่างไรก็ตาม ทั้งสองอาการไม่ได้มีความเหมือนกันซะทีเดียว แต่มีความแตกต่างกันอยู่ดังต่อไปนี้ Derealization จะเป็นอาการที่เรารู้สึกขาดการเชื่อมต่อกับความเป็นจริงหรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว จนเกิดอาการเช่น สิ่งที่อยู่รอบตัวดูเชื่องช้า หรือ ทุกอย่างดูพร่ามัวไปหมด เราจะรู้สึกเหมือนสิ่งที่อยู่รอบตัวไม่มีอยู่จริง เหมือนกำลังอยู่ในโลกจำลอง หรือ โลกแห่งความฝัน ไม่สามารถประมวลผลหรือทำความเข้าใจสิ่งที่อยู่รอบตัวของเราได้ จนเราเกิดความไม่คุ้นเคยกับสถานที่เราอยู่ และเกิดความสับสันระหว่างโลกแห่งความฝันและความเป็นจริง ส่วน Depersonalization คือ ภาวะที่เรารู้สึกตัดขาดจากร่างกาย อารมณ์ และความคิดของตัวเอง คนที่มีอาการนี้มักจะรู้สึกว่าตัวเองเหมือนเป็นภาชนะว่างเปล่า เป็นเพียงผู้ชมร่างกายตัวเอง หรือ เป็นหุ่นยนต์ที่คอยรับคำสั่งจากคนอื่น ไม่สามารถบังคับร่างกายของตัวเองได้อีกต่อไป แม้พวกเขาจะขยับแขนขยับขา หรือ รู้สึกถึงอารมณ์ของตัวเองได้ก็ตาม
เคยรู้สึกสงสัยไหมว่า ทำไมคนอื่นมีสิ่งที่ดีกว่าเราตลอดเวลา จนเราไม่สามารถพอใจหรือหยุดกับสิ่งที่เรามีอยู่ได้ ต้องค้นหาเป้าหมายใหม่ต่อไปอีกเรื่อย ๆ เราเรียกอาการนี้ว่าเป็น ‘Grass is Greener Syndrome’ ตัวการขัดขวางการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขของเรา ที่คนในปัจจุบันเป็นกันมากมายโดยไม่รู้ตัว WHAT IS GRASS IS GREENER SYNDROME ‘Grass is Greener Syndrome’ คือ อาการที่เราเชื่อว่าตัวเองกำลังพลาดหรือขาดอะไรที่ดีกว่าสิ่งที่ตัวเองมีในตอนนี้อยู่ ไม่ว่าจะเป็น โอกาสด้านการงานที่ดี หรือ ประสบการณ์ที่วิเศษ จึงเกิดแรงกระตุ้นที่จะหาสิ่งที่ตัวเองคิดว่าขาดให้เจอ ชื่อของอาการนี้มีที่มาจากสำนวนของฝรั่งที่ว่า “the grass is always greener on the other side of the fence” (สนามหญ้าที่อยู่อีกฝั่งของรั้วบ้านมักเขียวกว่าของเรา) หมายความว่า เรามักมองชีวิตคนอื่นดีกว่าของตัวเองเสมอนั่นเอง อาการนี้มักมีที่มาจากความกลัวส่วนบุคคล อาทิ ความกลัวเรื่องการผูกมัดกับงานประจำที่ไม่ดีพอ หรือความสัมพันธ์ที่อาจจะย่ำแย่ในอนาคต ซึ่งในความเป็นจริง ชีวิตของคนที่มีอาการนี้ก็ยังไม่มีปัญหาอะไร มีแต่พวกเขาที่คิดไปเองว่าตัวเองกำลังมีปัญหา นอกจากอาการคิดไปเองแล้ว คนที่เป็น Grass
สุขภาพกายคือสิ่งสำคัญที่เราพยายามดูแลมันอย่างสุดกำลังความสามารถ เลือกกินอาหารที่ดีที่สุดเพื่อสุขภาพที่ดีที่สุด เลือกออกกำลังกายอย่างอดทนเพื่อความแข็งแกร่งที่คุ้มค่า แต่ดูเหมือนว่า “สุขภาพใจ” อาจไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร โดยเฉพาะในวันที่โลกไม่เป็นไปตามอย่างใจหวัง สภาวะเศรษฐกิจที่คาดเดาไม่ได้ หน้าที่การงานที่ไม่แน่ใจว่าจะมั่นคงไปถึงเมื่อไร สภาวะแบบนี้ที่เรายิ่งต้องดูแลหัวใจของเราให้แกร่งเข้าไว้ เมื่อร่างกายก็เต็มที่ และหัวใจก็พร้อมชน ไม่ว่าอุปสรรคหรือความยากลำบากแบบไหนก็ทำอะไรเราไม่ได้ แม้หัวใจจะไม่ได้มีอาหารดี ๆ หรือการออกกำลังอย่างเป็นรูปธรรมเหมือนร่างกาย แต่ “ทัศนคติ” ก็เป็นอีกอย่างที่เราสามารถฝึกหัวใจของเราให้แกร่งอยู่เสมอได้ และนี่คือวิธีฝึกใจให้แกร่งในวันที่ COVID-19 ยังทำให้อะไรหลายอย่างมัวหม่นกว่าที่เคยเข้าใจ โลกมันเลวร้าย แต่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องรู้สึกเลวร้ายเสมอ สภาพเศรษฐกิจถดถอย ผู้คนตกงาน โรคระบาดที่ยังไม่มีทางรักษา ฯลฯ เราไม่ได้ให้คุณปฏิเสธว่าสิ่งเหล่านี้มันไม่จริง สิ่งเหล่านี้คือข้อเท็จจริงและใช่มันคือเรื่องเลวร้าย แต่วิธีหนึ่งที่เราจะยังสามารถฝึกใจให้แกร่งอยู่ได้เสมอคือเราต้องยอมรับความจริงว่าโลกมันแย่ แต่ตัวเราไม่จำเป็นต้องรู้สึกแย่ตามสถานการณ์ไปทุกเรื่อง ทุกอณู ความเครียด ความเจ็บปวดที่บ่อนทำลายหัวใจเรานั้น ลองตั้งสติถามตัวเองดี ๆ ว่าเรากำลังเอาใจไปผูกกับบางเรื่องหนักหนาเกินกว่าที่มันจะเป็นหรือไม่? และบางอย่างมันยังไม่ทันส่งผลกระทบกับเราเลยใช่หรือเปล่า? การตระหนักถึงปัญหาเป็นสิ่งที่ดี แต่การตระหรักและพยายามหาทางรับมือแก้ไข กับการตระหนักแล้วปล่อยใจตัวเองจมไปกับความเครียดเศร้าและรู้สึกเลวร้ายจนไม่เป็นอันทำอะไรนั้นก็เป็นคนละเรื่องกัน ดังนั้นวิธีการฝึกใจให้แกร่งขึ้นแรกคือต้องเข้าใจเสมอว่า ใช่ โลกเลวร้าย แต่เราไม่ต้องรู้สึกแย่ตามเสมอไป ตั้งสติพาตัวเองออกมาห่าง ๆ ส่วนอะไรที่เป็นปัญหาก็รับมือกับมันไป ขอเพียงอย่าเอาใจไปจมกับมัน โซเชียลมีเดียไม่ใช่ทุกอย่าง ยิ่งโลกอยู่ในสภาวะที่มีหลายสิ่งหลายอย่างประเดประดังเข้ามา โซเชียลมีเดียคือพื้นที่หนึ่งที่เราสามารถส่งและรับความคิดเห็นต่อสิ่งต่าง ๆ ทั่วโลกได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว
ตามความเข้าใจของคนทั่วไป อาจเข้าใจว่าเพศชายอย่างเราจะตื่นตัวกับเรื่องใต้สะดืออยู่เสมอ ซึ่งนั่นก็ใช่ ไม่ได้มองผิดไปแต่อย่างใด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าผู้ชายอย่างเราจะหน้าชื่นตาบานกับเซ็กซ์เสมอไป ทุกครั้งมันอาจจะไม่ได้จบลงที่การเดินออกไปดูดบุหรี่สักตัว แล้วเข้ามานอน Cuddle กันใต้ผ้าห่มอุ่น ๆ ทุกครั้งไป เมื่อความสุขไม่อาจมาพบเจอกับเราได้ทุกครั้ง หลายครั้งมันจบลงด้วยการนั่งซึม อยากจะนอนก่ายหน้าผากอยู่อย่างนั้น อาการแบบนี้เกิดขึ้นกับผู้ชายหลายคน ใครจะไปคิดว่าผู้ชายมักจะมีอาการเศร้าหลังจากมีเซ็กซ์ ซึ่งเป็นอาการที่มีชื่อเรียกอย่างจริงจัง ไม่ได้นั่งนึกเอาเองแต่อย่างใด UNLOCKMEN จะพามาทำความรู้จักกับอาการเศร้าหลังมีเซ็กซ์ หนุ่มคนไหนสังเกตตัวเองแล้วรู้สึกว่าตัวเองเข้าข่าย ลองมาทำความเข้าใจกับมัน จะได้หาทางหนีทีไล่ได้ทัน Post-Sex Blues เราจะมาฟังข้อมูลดี ๆ ที่ผู้ชายควรรู้ไว้ดูแลตัวเองจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา Robert Schweitzer จาก Queensland University of Technology ใน Australia เพราะเขาคือคนที่พยายามหาคำตอบว่าทำไมผู้ชายอย่างเราถึงมีอาการเศร้าหลังมีเซ็กซ์ หรือที่เรียกว่า Postcoital Dysphoria (PCD) นั่นเอง จริง ๆ อาการนี้เกิดขึ้นได้กับทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่ความน่าสนใจคือ ผู้ชายที่ดูผิวเผินแล้ว น่าจะแฟนซีกับเรื่องเพศ แต่ทำไมกลับมีอาการเซื่องซึมหลังจากมีเซ็กซ์ซะได้ ลองมาดูคำตอบกันดีกว่า Schweitzer ได้ลองสำรวจเกี่ยวกับอาการ PCD ในผู้หญิงก่อน โดยเกือบครึ่งบอกว่าเคยมีอาการแบบนี้เกิดขึ้นมาแล้วเช่นกัน