ประสบการณ์ที่เลวร้ายมักทำให้หลายคนเกิดอาการคิดมากจนเกินไปอยู่เสมอ เช่น บางคนไม่กล้าเปลี่ยนงานใหม่ เพราะกลัวว่าตัวเองจะหางานไม่ได้ หรือ ไม่เจองานที่ดีกว่า หรือ บางคนอาจเครียดเรื่องการเรียน เพราะกลัวว่าผลการศึกษาที่ไม่ดีจะทำให้ตัวเองกลายเป็นแรงงานที่ไร้คุณค่า เป็นต้น เรามักเรียกความกังวลที่เกิดขึ้นว่าเป็น Catastrophizing และถ้าเราไม่รู้จักวิธีการป้องกัน อาจทำให้เราเสียสุขภาพจิตได้ ความหมายของ Catastrophizing Catastrophizing คือ การจินตนาการถึงเหตุการณ์ที่เลวร้าย และเชื่อว่ามันจะเกิดขึ้นกับตัวเองอย่างแน่นอน โดยคนที่มีอาการนี้มักมองโลกในแง่ลบ และมองเห็นปัญหาที่ตัวเองกำลังเผชิญอยู่นั่นหนักหนาสาหัสเกินความเป็นจริง จนพวกเขารู้สึกสิ้นหวังและตกอยู่ในความเครียดตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น ถ้าพวกเขากังวลกับการสอบตก พวกเขาจะคิดว่า การสอบตกทำให้ตัวเองกลายเป็นนักศึกษาที่ไม่ดี เรียนไม่จบ หรือ ไม่ได้รับใบปริญญา และไม่มีใครรับเข้าทำงาน สุดท้ายพวกเขาจึงด่วนสรุปไปเองว่า การสอบตกจะทำให้พวกเขาไม่มีความมั่นคงในชีวิต ซึ่งในเป็นความจริง คนที่ประสบความสำเร็จจำนวนมากก็เรียนหนังสือไม่จบ หรือ เคยสอบตกมาก่อน แต่คนที่ Catastrophizing มักไม่คิดถึงเรื่องนี้ และหมกหมุ่นกับความคิดอันเลวร้ายของตัวเองเป็นตุเป็นตะ จนได้รับความเสียหายทางจิตใจอย่างแสนสาหัส ยังไม่มีใครตอบได้ว่า Catastrophizing เกิดขึ้นได้อะไร แต่หลายคนคาดว่ามันเกิดขึ้นได้หลากสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ได้รับข้อความที่มีความหมายกำกวมจนเราเกิดอาการคิดไปไกล เราให้ความสำคัญกับอะไรมากเกินไปจนคิดมาก หรือ เรากลัวอะไรบางอย่างมาเกินไป จนเรายิ่งคิดถึงผลลัพธ์แย่ ๆ ที่จะได้รับจากมัน
เวลาทำงานเราจำเป็นต้องพูดคุยกับใครหลายคน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน บอส หรือ ลูกค้า ทักษะในการสื่อสารที่ดีจึงสำคัญต่อการทำงานร่วมกับคนอื่นอย่างมาก เพราะถ้าเราคุยกับคนอื่นได้ไม่ดี เราอาจสูญเสียความน่าเชื่อถือและประสบกับความล้มเหลวในการทำงานได้ UNLOCKMEN เลยอยากจะแนะนำ 5 ประโยคที่ไม่ควรพูดในที่ทำงาน โดยหวังว่ามันจะทำให้ทุกคนมีความสุขกับการทำงานมากขึ้น “เราทำแบบนี้มาตลอด” แม้คุณจะเป็นฝ่ายถูก แต่การพูดแบบนี้มักทำให้หัวหน้ารู้สึกว่า “คุณไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง” ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่แย่ของคนทำงาน เพราะการเปลี่ยนแปลงสามารถนำสิ่งที่ดีกว่ามาสู่องค์กร ดังนั้นจงจำไว้ว่า สิ่งที่ทำมาตลอดไม่ใช่ว่ามันจะดีที่สุดเสมอไป บางสิ่งมันก็ควรเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ เช่น การเปลี่ยนจากทำงานบนกระดาษมาเป็นทำงานเอกสารบนคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตแทน แทนที่เราจะพูดแบบนั้น เราควรถามฝ่ายตรงข้ามกลับไปว่า “อะไร คือ ประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการลองวิธีใหม่” ถ้าวิธีการทำงานแบบใหม่ดีกว่าวิธีเก่าจริง พวกเขาก็ควรบอกได้ว่าทำไมมันถึงดีกว่า แต่ถ้ามันไม่ได้ดีกว่าเลย คุณก็ควรบอกเหตุผลว่าทำไมเราถึงควรใช้วิธีเก่ากันต่อไป “ผมจะลองดู” ถ้าเราใช้คำว่า “จะลองดู” หรือ “จะพยายามทำดู” นั่นหมายความว่า คุณไม่มีความมั่นใจในสิ่งที่ตัวเองจะต้องทำ มันมีโอกาสที่จะล้มเหลวสูง ซึ่งความไม่มั่นใจและความกลัวไม่ใช่เรื่องดีสำหรับการทำงานเลย การทำให้หัวหน้าของคุณรู้สึกแบบนั้นจึงไม่ใช่เรื่องดีต่อตัวคุณเช่นกัน ดังนั้น แทนที่คุณจะพูดว่า “จะลองดู” ให้พูดว่า “จะทำให้อย่างสุดความสามารถดูครับ แล้วเดี๋ยวผมจะสรุปมาให้ว่ามีข้อดีข้อเสียอะไรเพื่อปรับปรุงได้บ้าง” แทน ซึ่งเป็นคำพูดที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพมากกว่า “ขอโทษครับ แต่….” เวลาที่คุณรู้สึกผิดกับความผิดพลาดของตัวเอง คำว่า