Life

รับมือกับ Sleep Drunkenness อาการตื่นมาแล้วงัวเงียเหมือนคนเมา

By: unlockmen December 7, 2021

ตอนที่เพิ่งตื่นขึ้นมา หลายคนอาจเคนรู้สึกงัวเงีย หรือ สับสน แต่ยังสามารถขยับร่างกายได้ตามปกติ คล้ายกับคนเมาสุรา เราเรียกอาการนี้ว่าเป็น Sleep Drunkness ซึ่งผลของมันสามารถอยู่ได้นานหลายนาที หรือ หลายชั่วโมง และขัดขวางการทำงานและการใช้ชีวิตของเราไม่น้อยเหมือนกัน UNLOCKMEN อยากพาทุกคนไปรู้จักกับอาการนี้มากขึ้น และเรียนรู้วิธีการป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นกัน

Sleep Drunkenness คือ อะไร

Sleep Drunkness คือ อาการสับสนมึนงงที่เกิดขึ้นในช่วงที่เราตื่นนอน โดยอาการนี้มักเกิดขึ้นเมื่อสมองของเราไม่สามารถเปลี่ยนผ่านจากโหมดนอนหลับไปยังโหมดตื่นได้แบบ 100% จนร่างกายอยู่ในสภาพคล้ายสลึมสลือเหมือนคนเมา แต่ก็ยังเคลื่อนไหวร่างกาย เดิน และพูดได้ตามปกติ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้อาการนี้เกิดขึ้นมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น พักผ่อนไม่เพียงพอ ความผิดปกติเรื่องการนอนหลับ (เช่น restless legs syndrome, sleep apnea, หรือ Insomnia) เสพติดการดื่มสุรา ใช้ยาต้านซึมเศร้าบางชนิด ไปจนถึง การนอนไม่เป็นเวลาเนื่องจากมีเวลาทำงานที่ไม่แน่นอน

อ้างอิงจากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่สัมภาษณ์คนอายุกว่า 18 ปีขึ้นไป จำนวนกว่า 19,000 คน เกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรมการนอน การเจอกับ ภาวะสับสนระหว่างการตื่นนอน (Confusional Arousal) ไปจนถึงประวัติเรื่องการรักษาสุขภาพจิต และพบว่า ผู้เข้าร่วมการทดลอง 15% เคยเกิดภาวะสับสนระหว่างการตื่นนอนในช่วงปีที่ผ่านมา ในขณะที่ผู้เข้าร่วมการทดลองจำนวนเกินครึ่งเกิดอาการมากกว่าหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์

ผู้เข้าร่วมการทดลอง 84% กล่าวว่า นอกจากจะมีอาการ Sleep Drunkenness แล้ว พวกเขายังมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ความผิดปกติด้านการนอน ความผิดปกติทางด้านสุขภาพจิต หรือ การใช้ยารักษาอาการทางจิตบางประเภท เช่น ยาต้านซึมเศร้า

ในขณะที่ในกลุ่มผู้เข้าร่วมการทดลองที่มีอาการ Sleep Drunkenness น้อยกว่า 1% ไม่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ในกลุ่มที่เจอกับภาวะสับสนระหว่างการตื่นนอน 37% มีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น ซึมเศร้า ไบโพลาร์ เสพติดสุรา PTSD รวมไปถึง ภาวะวิตกกังวล ซึ่งมีแนวโน้มทำให้เกิด Sleep Drunkenness มากขึ้น

นอกจากนี้ Sleep Drunkenness ยังเกี่ยวข้องกับการนอนหลับมากหรือน้อยเกินไป โดย 20% ของคนที่นอนหลับน้อยกว่า 6 ชั่วโมง และ 15% ของคนที่นอนหลับอย่างน้อย 9 ชั่วโมงต่อคืน เจอกับปัญหาเรื่อง Sleep Drunkenness นอกจากนี้คนที่เป็น sleep apnea ยังมีโอกาสที่จะมีปัญหานี้มากกว่าคนอื่นอีกด้วย
แต่ละคนจะเจอกับความรุนแรงของ Sleep Drunkenness ที่แตกต่างกันไป บางคนอาจเจออาการนี้ปีละครั้ง หรือ บางคนอาจเจอกับปัญหานี้ถี่และบ่อย ซึ่ง

วิธีรับมือกับ Sleep Drunkenness

การเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ชีวิตจะช่วยให้เราสามารถรับมือกับ Sleep Drunkenness ได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนก่อนนอน ไม่เล่นมือถือหรือแท็ปเล็ต 1 ชั่วโมงก่อนนอน นอนหลับให้ได้ 7 – 9 ชั่วโมงทุกคืน ทำห้องนอนให้มืดสนิทที่สุด ไม่งีบระหว่างวัน ใช้ยาซึมเศร้าและยานอนหลับให้ถูกต้องตามที่หมอสั่งไป หากอาการไม่ดีขึ้นก็ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาต่อไป


Appendix: 1 / 2 / 3

unlockmen
WRITER: unlockmen
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line