ตอนที่เพิ่งตื่นขึ้นมา หลายคนอาจเคนรู้สึกงัวเงีย หรือ สับสน แต่ยังสามารถขยับร่างกายได้ตามปกติ คล้ายกับคนเมาสุรา เราเรียกอาการนี้ว่าเป็น Sleep Drunkness ซึ่งผลของมันสามารถอยู่ได้นานหลายนาที หรือ หลายชั่วโมง และขัดขวางการทำงานและการใช้ชีวิตของเราไม่น้อยเหมือนกัน UNLOCKMEN อยากพาทุกคนไปรู้จักกับอาการนี้มากขึ้น และเรียนรู้วิธีการป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นกัน Sleep Drunkenness คือ อะไร Sleep Drunkness คือ อาการสับสนมึนงงที่เกิดขึ้นในช่วงที่เราตื่นนอน โดยอาการนี้มักเกิดขึ้นเมื่อสมองของเราไม่สามารถเปลี่ยนผ่านจากโหมดนอนหลับไปยังโหมดตื่นได้แบบ 100% จนร่างกายอยู่ในสภาพคล้ายสลึมสลือเหมือนคนเมา แต่ก็ยังเคลื่อนไหวร่างกาย เดิน และพูดได้ตามปกติ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้อาการนี้เกิดขึ้นมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น พักผ่อนไม่เพียงพอ ความผิดปกติเรื่องการนอนหลับ (เช่น restless legs syndrome, sleep apnea, หรือ Insomnia) เสพติดการดื่มสุรา ใช้ยาต้านซึมเศร้าบางชนิด ไปจนถึง การนอนไม่เป็นเวลาเนื่องจากมีเวลาทำงานที่ไม่แน่นอน อ้างอิงจากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่สัมภาษณ์คนอายุกว่า 18 ปีขึ้นไป จำนวนกว่า 19,000 คน เกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรมการนอน การเจอกับ ภาวะสับสนระหว่างการตื่นนอน
ปัญหาเรื่องการพักผ่อนไม่เพียงพอส่งผลเสียต่อมนุษย์ทุกคนได้มากมาย ผลร้ายของมัน ไม่ว่าจะเป็น ทำให้ไม่มีแรงในการใช้ชีวิต ขาดสมาธิในการทำงาน เคยทำชีวิตของใครหลายคนพังมานักต่อนัก และยิ่งไปกว่านั้น ปัญหานี้อาจทำให้เกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ ตามมาได้อีกเช่นกัน UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำเทคนิคจาก NASA ที่จะช่วยให้ทุกคนสามารถนอนหลับได้ดีขึ้น บอกเลยว่าใครที่นอนหลับยาก ไม่ควรพลาดบทความนี้ด้วยประการทั้งปวง !! เริ่มจากสร้างตารางชีวิตประจำวัน เคยสงสัยไหมว่าบางครั้ง นอนเยอะ นอนหลายชั่วโมงแล้ว แต่ตื่นขึ้นมาก็ยังรู้สึกง่วงอยู่ นั่นอาจเป็นเพราะร่างกายของเรารับรู้เวลารับตื่นไม่ถูกต้อง ร่างกายของเรามีระบบที่เรียกว่า ‘นาฬิกาชีวิต’ (Biological Clocks) ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมช่วงเวลาตื่นและหลับของเรา โดยการหลั่งฮอร์โมนและสารต่าง ๆ ออกมาเพื่อให้เราเรารู้สึกง่วง (เมื่อถึงเวลานอน) หรือ ตื่นตัว (เมื่อถึงเวลาตื่น) หากเรานอนไม่เป็นเวลา นอนดึก ตื่นสาย นาฬิกาเรือนนี้สามารถเกิดความผิดปกติขึ้นมาได้ และอาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรง เช่น โรคนอนไม่หลับ หรือ อาการเหนื่อยล้า ขึ้นมาได้ด้วย การกำหนดตารางเวลาตื่นนอน จะช่วยให้เรานอนเป็นเวลา และป้องกันไม่ให้นาฬิกาชีวิตผิดปกติ ซึ่งเวลาทำตารางเวลาควรให้ความสำคัญกับเรื่องธรรมชาติของนาฬิกาชีวิต และพฤติกรรมการนอนของตัวเอง อีกทั้งควรมีการระบุเรื่องวิธีการเปิดไฟ การกินอาหาร การออกกำลังกาย และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการนอนของเราด้วย เพื่อให้เราสามารถลงมือทำจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การนอนบนเตียงนุ่มแสนนุ่ม อุณหภูมิห้องแสนสบาย ผ้าห่มหนากำลังดี ถือเป็นความสุขใจอย่างหนึ่ง หลายคนชอบนอนคนเดียว แต่หลายคนก็จำใจต้องนอนคนเดียวบนเตียงชวนฝันอย่างเดียวดาย เพราะโสด เพราะไม่มีใครข้างกาย หรืออาจเพราะไม่มีใครสักคนที่เชื่อใจมากพอจะให้เขามาเคียงข้างร่วมเตียง คล้ายว่าการนอนคนเดียว (สำหรับคนที่ต้องจำใจนอน) จะไม่ได้มีอุปสรรคแค่ความเดียวดายเท่านั้น เมื่องานวิจัยล่าสุดออกมาบอกว่าการนอนกับใครสักคนที่เรารักและเชื่อใจ ทำให้การนอนมีเสถียรภาพกว่าเมื่อเทียบกับการนอนคนเดียว Bed-Sharing in Couples Is Associated With Increased and Stabilized REM Sleep and Sleep-Stage Synchronization คืองานวิจัยชื่อโคตรยาวที่เพิ่งเผยแพร่สด ๆ ร้อน ๆ โดยงานวิจัยชิ้นนี้ระบุว่าคู่รักมีประสบการณ์การนอนหลับที่ลึกกว่า และถูกรบกวนน้อยกว่าเมื่อพวกเขาร่วมเตียงกัน เทียบกับการนอนเพียงลำพัง อย่างไรก็ตามงานวิจัยชิ้นนี้ถือว่าออกมาโต้ผลงานวิจัยหลายชิ้นก่อนหน้านี้ เช่น Two in a bed: The influence of couple sleeping and chronotypes on relationship and sleep. เมื่อปี 2016 ที่ระบุว่าการนอนร่วมเตียงกันนั้นอาจทำให้คุณภาพการนอนลดลง
“การนอนหลับ” ถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมาเพื่อให้ร่างกายและสมองของมนุษย์ได้ชาร์จพลังเพื่อกลับมาใช้ชีวิตอีกครั้งได้อย่างมีคุณภาพ พอ ๆ กับที่การนอนหลับก็ยังมีหลากหลายแง่มุมที่มนุษย์ยังพยายามหาคำตอบ รวมถึงคำถามที่ว่าทำไมบางคนถึงได้นอนหลับง่ายดายและแสนสุข ในขณะที่หลายคนกลับทนทุกข์ทรมาน เพราะไม่สามารถนอนหลับให้เพียงพอได้เลย สารพัดปัจจัยที่ถูกนำมาศึกษาหาคำตอบ ทั้งเรื่องการดื่มกาแฟมากไป พฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม การเข้านอนและตื่นนอนไม่เป็นเวลา ไปจนถึงการใช้สมาร์ตโฟนเป็นเวลานาน ฯลฯ หรือแม้กระทั่ง “รายได้” ก็กลายเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนได้เหมือนกัน ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคประเทศสหรัฐอเมริกาทำแบบสำรวจสอบถามกลุ่มตัวอย่างในสหรัฐอเมริกา 140,000 คน ระหว่าง ค.ศ. 2011-2014 พบว่ารายได้ส่งผลต่อคุณภาพการนอนของผู้คน โดยรายได้ที่สูงขึ้นมีแนวโน้มจะทำให้คนนั้นสามารถพักผ่อนอย่างเต็มที่ตลอดคืนมากขึ้นตามไปด้วย ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคประเทศสหรัฐอเมริกานิยามการ “พักผ่อนเต็มที่ตลอดคืน” ไว้ที่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่ำกว่า “เส้นแบ่งความยากจน” ของประเทศ มีเพียง 64.8% ที่นอนหลับอย่างมีคุณภาพ นั่นหมายความว่า 1 ใน 3 ของคนที่มีรายได้น้อย (ต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจน) มีคุณภาพการนอนที่ไม่ดี ไม่สามารถเข้าถึงการพักผ่อนที่เพียงพอได้ ในขณะที่ผู้มีรายได้สูงกว่าเส้นแบ่งความยากจนนั้น มีคุณภาพการนอนที่ดีกว่า แล้วใช้อะไรกำหนดว่าใครรวยกว่า ใครจนกว่า? คำตอบก็คือ “เส้นแบ่งความยากจน” ที่ถือเป็นระดับรายได้อันเพียงพอจะใช้ชีวิตในประเทศหนึ่ง โดยแต่ละประเทศก็มีเส้นแบ่งที่แตกต่างกัน ประเทศพัฒนาแล้วจึงอาจมีเส้นแบ่งความยกจนสูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา เส้นแบ่งความยากจนของสหรัฐฯ ณ
ในวันที่เศรษฐกิจไม่คล่องตัวอย่างใจฝัน เงินไม่ได้ลอยเข้ากระเป๋าผู้ชายอย่างเราง่าย ๆ การทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำเพื่อสร้างรายได้ให้ตัวเองและคนที่เรารักจึงเป็นคำตอบแรก ๆ ที่เราต้องทำ ยิ่งงานเยอะ ก็ยิ่งได้เงินมาก แต่สิ่งที่นับวันยิ่งลดน้อยลง ๆ จนน่าใจหายคือ “เวลาพัก” แต่จะให้ลดเวลาทำงานเพื่อมานอนยาว ๆ ก็อาจไม่ตอบโจทย์ เพราะชีวิตตอนนี้ เวลาเป็นเงินเป็นทองให้หยุดหาเงินก็คล้ายหยุดหายใจ UNLOCKMEN จึงชวนทุกคนมาโกงความตาย ทำงานสู้ฟัด พร้อม ๆ กับหนทางนอนน้อยแต่ได้มากในวันที่เราทุกคนต้องฝ่าฟันทุกวิกฤตนี้ไปด้วยกัน เพราะนอนมาก ไม่สำคัญเท่า “นอนให้มีคุณภาพ” เหตุผลอย่างหนึ่งที่เรามักบ่นกันเสมอว่าช่วงนี้ไม่ค่อยได้นอนเลย หรือบอกว่านอนน้อย ๆ เป็นประจำ นั่นเพราะเรามีมาตรฐานการนอนที่บอกต่อ ๆ กันมา ฟังตาม ๆ กันมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กว่า “เราควรนอนให้ได้อย่างน้อย 8 ชั่วโมง” เราจึงเข้าใจว่าเมื่อไรที่เรานอนน้อยกว่า 8 ชั่วโมงนั้นหมายความว่าเรานอนไม่พอ เรานอนน้อย แต่ในความเป็นจริง 8 ชั่วโมงนั้นคือเวลามาตรฐานโดยเฉลี่ย แต่ไม่ใช่กฎตายตัวเพราะมนุษย์แต่ละคน แต่ละช่วงวัยนั้นมีช่วงเวลาการนอนที่พอเหมาะแตกต่างกันไป โดยเฉพาะเมื่อบทความชื่อ Sleep quality versus sleep quantity: Relationships
ความฝันถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาของมนุษย์ ไม่ว่าใครก็เคยฝันมาแล้วทั้งนั้น แต่จะต่างตรงที่พวกเขาเหล่านั้นฝันดีหรือฝันร้ายมากกว่ากัน บางคนบอกว่าฝันคือการสร้างสมดุลทางจิต โดยปลดปล่อยความเครียดหรือกุเรื่องไร้สาระขึ้นมาในหัว บ้างว่าฝันถูกจิตสำนึกลึก ๆ ผลักออกมาและปรุงแต่งจนเป็นเรื่องราว สะท้อนถึงความปรารถนาที่ไม่ได้ถูกตอบสนองในชีวิตจริง แต่ความปรารถนานั้นไม่ได้หายไป หากเก็บไว้เบื้องลึกในจิตใจและระบายออกมาผ่านความฝัน แต่ไม่ว่าความฝันจะเกิดขึ้นจากอะไร ใคร ๆ ก็คงอยากฝันดีมากกว่าฝันร้ายกันทั้งนั้น นั่นให้เราอยากรู้ว่าทำไมคนถึงเกลียดฝันร้าย และฝันร้ายของพวกเขาเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไรมากที่สุด? งานวิจัยชิ้นหนึ่งของ Amerisleep ที่รวบรวมเรื่องราวฝันร้ายของชาวอเมริกัน 2,000 คน เผยว่าฝันร้ายที่พบบ่อยที่สุดคือการฝันว่าตัวเองหกล้ม (65%) ตามมาด้วยฝันที่ถูกไล่ล่าเอาชีวิต (63%) ฝันว่าตัวเองตาย (55%) ฝันว่าคนรักตายจากไป (54%) และฝันว่าถูกจับยึดจนไม่สามารถขยับไปไหนได้ (52%) นี่แสดงให้เห็นว่าฝันร้ายแต่ละเรื่องนั้นค่อนข้างรุนแรงและกระทบกระเทือนต่อจิตใจคน อีกทั้งขณะที่อยู่ในฝันเราก็ไม่สามารถรับรู้ได้ว่ามันคือเรื่องจริงหรือความฝันกันแน่ ถ้าต้องเจอเรื่องราวเลวร้ายที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าใครก็คงทุกข์ใจไม่ต่างกัน ทำไมถึงฝันร้าย? มีหลากหลายปัจจัยที่ทำให้เราฝันร้าย ตั้งแต่การกินของว่างตอนดึก ผลข้างเคียงจากยา หรือแม้แต่การนอนตะแคงซ้ายขวา แต่นอกจากยังมีงานวิจัยอีกหลายชิ้นที่พิสูจน์ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงของเราก็มีอิทธิพลต่อความฝันด้วย เนื่องจากเนื้อหาในฝันจะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงขณะตื่น หากคุณเป็นคนสบาย ๆ ไม่ค่อยเครียด และค่อนข้างพอใจกับชีวิต เป็นไปได้ว่าฝันของคุณจะเป็นเรื่องบวก ในทางตรงกันข้ามถ้าคุณทุกข์ใจหรือวิตกกังวลบ่อย ๆ ก็อาจทำให้คุณฝันร้ายได้ในเวลาเดียวกัน ฝันร้ายบอกอะไรเรา? กว่า 70%
ถึงจะมีรูปร่างกำยำล่ำสันและสมรรถภาพร่างกายแข็งแกร่ง แต่เมื่อต้องใช้พลังงานไปกับไลฟ์สไตล์สุดเหวี่ยง ไม่ว่าผู้ชายคนไหนก็ต้องโหยหาเตียงนุ่ม ๆ เพื่อหวังทิ้งตัวลงนอนและกำจัดความเหนื่อยล้าทั้งหมดที่มีให้หายเป็นปลิดทิ้ง ต่อให้ออกกำลังอย่างหนักหน่วง ช่วยตัวเองจนหมดแรง หรือจดจ่อดูซีรีส์จนตาแฉะ แต่ดูเหมือนหนทางที่จะเข้าเฝ้าพระอินทร์และหลับใหลในห้วงนิทรานั้นจะไม่ใช่เรื่องง่าย หากคุณเป็นหนึ่งคนที่พยายามข่มตาหลับและนอนนับแกะจนหมดฟาร์ม แต่ยังไม่หลับสักที UNLOCKMEN มีอุปกรณ์เจ๋ง ๆ ที่จะช่วยให้หนุ่ม ๆ หลับง่ายและหลับสบายยิ่งขึ้นมาแนะนำ! Bose บริษัทผู้ผลิตหูฟังและลำโพงชั้นนำออกแบบ Noise-masking Sleepbuds หูฟังไร้สายขนาดกะทัดรัด ที่เอื้อประโยชน์ต่อการนอนหลับอย่างไม่น่าเชื่อ แม้หูฟัง Sleepbuds ตัวนี้จะไม่อาจเล่นเพลงตามเพลย์ลิสต์โปรดของหนุ่ม ๆ ได้ แต่มันสามารถปล่อย White Noise หรือคลื่นเสียงรบกวนตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเสียงฝนตก เสียงธารน้ำ หรือเสียงลม ที่มีผลต่อการทำงานของสมอง ช่วยสร้างสมาธิ ลดความเครียด และกล่อมหนุ่ม ๆ ให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น Bose Sleepbuds เป็นนวัตกรรมหูฟังที่ออกแบบมาให้แตกต่างจากเจ้าอื่น ๆ โดยตัวหูฟังนั้นดีไซน์มาเป็นจุกซิลิโคนนุ่มสบาย ทำให้ไม่อึดอัดขณะสวมใส่ ด้วยขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเพียง 1.4 กรัมต่อชิ้น จึงง่ายต่อการพกพาและเสียบฟังตอนนอนได้สบาย ๆ ขนาดของหูฟังมีให้เลือกทั้งหมด 3 ไซซ์
พฤติกรรมการใช้ชีวิต ความเคยชิน และเหตุผลต่าง ๆ นานาที่ทำให้ผู้ชายหลายคนหลงรักการนอนดึก มีความสุขที่ได้ทำงานเงียบ ๆ ตอนกลางคืน และรู้สึกดีทุกครั้งเมื่อได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ของวันท่ามกลางบรรยากาศที่แสงอาทิตย์ถูกกลบด้วยความมืดของราตรีกาล ทั้งหมดนั้นทำให้เรากลายเป็นคนนอนดึกตื่นเช้า ไม่ก็นอนเช้าตื่นค่ำไปโดยไม่รู้ตัว สิ่งที่พ่วงมากับพฤติกรรมเลียนแบบค้างคาวคือนาฬิกาชีวิตเดินผิดแผกไปจากเดิม เราเชื่อว่าไม่ใช่ผู้ชายทุกคนที่จะนอน 8-10 ชั่วโมงต่อวัน แม้จะรู้ว่าการเข้านอนตรงเวลาดีต่อร่างกาย แต่ให้ตายยังไงก็ไม่ทำ เพราะมันยากที่จะทำได้จริง ว่าไหมล่ะครับ? วันนี้ UNLOCKMEN เลยเอาวิธีรีเซตนาฬิกาชีวิตเวอร์ชันเบสิกมาฝากหนุ่ม ๆ ค้างคาวทุกคน เป็นวิธีง่าย ๆ ที่ทำได้จริงและส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายของเราแน่นอน! NIGHT OWL มนุษย์ผู้โปรดปรานพระจันทร์มากกว่าพระอาทิตย์ แต่เดิม ‘NIGHT OWL’ มีความหมายว่า ‘นกฮูก’ จนเมื่อ William Shakespeare นำคำนี้ไปเปรียบเปรยในบทกวี The Rape of Lucrece ตั้งแต่นั้น NIGHT OWL ก็กลายเป็นคำจำกัดความของผู้ที่ชื่นชอบใช้ชีวิตกลางคืนไปโดยปริยาย NIGHT OWL คือคนที่ไม่สามารถนอนหลับได้เป็นระยะเวลานาน หลับยากกว่าคนอื่น ๆ และมีแนวโน้มที่จะนอนดึก บ้างก็นอนในตอนเช้า พวกเขาชอบทำงาน
ตกกลางคืนทีไร แทนที่ร่างกายจะได้จมดิ่งลงห้วงแห่งการนอน แต่กลับมีเรื่องราวให้นอนไม่หลับ ไม่ว่าจะข้างห้องกินเหล้า รอดูบอลทีมรัก งานที่ตามหลอกหลอนถึงที่บ้าน หรือแม้แต่นอนไม่หลับเองก็ตาม ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร การนอนไม่หลับหรือไม่มีเวลานอน มันช่างบั่นทอนสุขภาพและอารมณ์สำหรับวันต่อไป แต่เมื่อปัจจัยมันบังคับ UNLOCKMEN ขอแนะนำทางลงให้กับคนนอนน้อย ด้วยวิธีง่ายแสนง่ายอย่าง “การหายใจเข้าลึก ๆ” ก็สามารถทำให้เราเข้าสู่ห้วงนิทราได้แบบไม่เปลืองแรง การนอนไม่เต็มอิ่ม มันสามารถสะสมหลาย ๆ คืนจนทำให้เรารู้สึกอ่อนเพลียได้ ผลกระทบที่มันสะสมต่อเนื่อง นานเข้ามันไม่ได้ส่งผลแค่กับร่างกายหรือใต้ตาที่ดำคล้ำเพียงอย่างเดียว มันยังส่งผลกับสมองของเราอีกต่างหาก ทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย โฟกัสกับอะไร หรือคิดไอเดียใหม่ ๆ ไม่ราบรื่นเอาซะเลย แม้วิธีการพาเราเข้าสู่ห้วงนิทรามีสารพัดวิธีที่จะขับกล่อมตัวเองยามหัวถึงหมอน ไม่ว่าจะกลิ่นอโรมา การฟังเพลง แต่เรามีวิธีที่ง่ายกว่านั้น ง่ายและใกล้ตัวจนเราอาจมองข้ามไปอย่าง “การสูดลมหายใจเข้าลึก ๆ” ปกติแล้วการเลือกสูดลมหายใจลึก ๆ เป็นจังหวะ เรามักจะทำตอนที่อารมณ์ของเราพุ่งไปแบบฉุดไม่อยู่ ไม่ว่าจะโกรธ กลัว ตื่นเต้น เพราะช่วยบรรเทาความรู้สึกนั้น ผ่อนคลายความเครียด ความกังวล และปัดเป่าอารมณ์ขุ่นมัวให้ลดลง แต่วันนี้เราจะใช้ประโยชน์จากมันนำมาช่วยให้เรานอนหลับง่าย หลับได้ลึก จากการหายใจเหมือนกันนี่แหละ โดยผู้วิจัยอย่าง Christophe Andre ได้ทดลองฝึกการหายใจให้ลึกและเป็นจังหวะ จนเป็นเหมือนการออกกำลังกายด้วยลมหายใจ ซึ่งไม่เพียงได้ผลตรงตามที่บอกว่าแค่ช่วยลดความเครียด ทว่ามันช่วยเรื่องการนอนของเราได้
กว่าเราจะยอมไว้เนื้อเชื่อใจใครสักคนให้มาร่วมเตียงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเวลานอนหลับคือช่วงเวลาที่เราปล่อยตัวปล่อยใจที่สุด เราอ่อนแอที่สุดและป้องกันตัวเองได้น้อยที่สุด ดังนั้นใครสักคนที่เรายอมพลีกายร่วมหมอนนอนเสื่อด้วย ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน คนในครอบครัว หรือสาวน่ารัก ๆ สักคนจึงเป็นคนสำคัญกับเราไม่น้อย ในฐานะผู้ชาย ถ้าเรานอนร่วมเตียงกับใครสักคนเราก็ย่อมอยากให้เขาหรือเธอคนนั้นได้หลับเต็มอิ่ม มีคุณภาพการนอนที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคนนั้นคือคุณภรรยาสุดที่รักหรือแฟนสาวที่อยู่กินด้วยกันมา แต่มันจะช็อกโลกแตกขนาดไหน ถ้าเรากำลังจะรู้ความจริงที่สาว ๆ ออกมาระบุว่า “นอนกับหมายังหลับสบายกว่านอนกับคน!” อย่าเพิ่งตีโพยตีพาย หายใจลึก ๆ แล้วมาอ่านรายละเอียดงานวิจัยชิ้นนี้ไปด้วยกันก่อน ดร. Christy L. Hoffman ศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมสัตว์ นิเวศวิทยาและการอนุรักษ์จาก Canisius College ผู้เป็นทีมนักวิจัยผู้พยายามสำรวจว่าสัตว์เลี้ยงมีผลต่อคุณภาพการนอนหลับของมนุษย์อย่างไรโดยงานวิจัยนี้มีชื่อว่า An Examination of Adult Women’s Sleep Quality and Sleep Routines in Relation to Pet Ownership and Bedsharing พวกเขาสำรวจผู้หญิงจำนวน 962 คนในสหรัฐอเมริกา พบว่า 55% นอนร่วมเตียงกับสุนัขอย่างน้อยหนึ่งตัวและ 31 %