ManUp สัปดาห์นี้เป็นการอัพสกิลเมนูเบสิกที่หลายคนคุ้นเคยอย่าง ‘ข้าวผัด’ แต่จะผัดข้าวยังไงให้ดูแล้วน่าตื่นตาตื่นใจไม่จำเจ? บอกเลยว่าต้องลองเมนู ‘ข้าวผัดมันเนื้อ’ ข้าวผัดพริกเผาจีนหอม ๆ คลุกเคล้าเนื้อสันคอหั่นเต๋าย่างขนาดกำลังเคี้ยว ท็อปด้วยสเต็กสันคอชิ้นหนามันเนื้อฉ่ำแตกซ่านทุกคำที่กัดเข้าไป โปะหน้าอีกรอบด้วยไข่ดาวกรอบ ๆ ไข่แดงเยิ้ม ๆ เรียกได้ว่าทั้งหมดทั้งมวลในจานนี้มันคือสวรรค์ดี ๆ ที่รอเดินทางเข้าปากเท่านั้นเอง งานนี้ใครอยากทำข้าวผัดฟิน ๆ กรุ่นกลิ่นสเต็กชั้นดี รีบเตรียมวัตถุดิบ แล้วลงมือทำตามขั้นตอนได้เลย ส่วนผสม วัตถุดิบและเครื่องปรุงข้าวผัด ▪️เนื้อ Chuck (เนื้อส่วนสันคอ) หั่นเต๋า 50 กรัม ▪️ข้าวสวย 130g (แนะนำเป็นข้าวเก่าหุงแล้วแช่เย็นทิ้งไว้ 1 คืน) ▪️ซอสถั่วเหลือง 20 กรัม ▪️น้ำปลาเล็กน้อย ▪️ซอสหอยนางรม 30 กรัม ▪️น้ำพริกเผาจีน 45 กรัม ▪️กระเทียมฝานหรือสับ 15 กรัม ▪️พริก 15 กรัม ▪️ไข่ไก่ 1 ฟอง
ชีวิตของผู้ใหญ่มักเต็มไปด้วยความวุ่นวายอยู่เสมอ ไหนจะต้องเลี้ยงดูคนรอบข้าง ไหนจะต้องเครียดเรื่องงานและค่าใช้จ่าย ไหนจะต้องเสพข่าวร้าย ๆ จากโซเชียลมีเดีย ปัญหาชีวิตเหล่านี้อาจทำให้เราเหมือนตกอยู่ในความวุ่นวาย จนรู้สึกเหนื่อยและหมดไฟในการเรื่องต่าง ๆ ได้ในที่สุด บางคนจึงเลือกใฝ่หาความสงบ เพื่อพักผ่อนจิตใจ หรือ ทุ่มเทให้กับการคิดถึงเรื่องสำคัญ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะหาความสงบในชีวิตเจอได้ เพราะบางคนอาจทำงานยุ่งทั้งวันจนไม่มีเวลาทำอย่างอื่น UNLOCKMEN จึงอยากมาแนะนำวิธีการเพิ่มความโปรดักทีฟชื่อว่า ‘Monk Mode’ ซึ่งได้รับการเคลมจากหลายคนแล้วว่าช่วยชีวิตพวกเขาเอาไว้ได้มาก Monk Mode คือ อะไร Monk Mode คือ การกำหนดช่วงเวลาที่เราจะใช้ในการทุ่มเทสมาธิ และพลังงานของเราไปยังเป้าหมายที่เราต้องการทำให้สำเร็จ เช่น การกำหนดเวลาในการนั่งสมาธิเพื่อเลิกเหล้า หรือ การกำหนดเวลาในการออกกำลังกาย เพื่อให้เรามีรูปกายที่สมบูรณ์แบบ หรือ การกำหนดเวลาในการฝึกฝนทักษะเพื่อรองรับการทำงานสายใหม่ เป็นต้น Monk Mode จะไม่เหมือนกับการทำตามเป้าหมายตรงที่ว่า มันให้ความสำคัญกับการกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิต และการใช้เวลาที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าที่สุด โดยตลอดเวลาที่เราเข้าสู่ Monk Mode เราจะโฟกัสแต่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายของเรา (เช่น การอ่านหนังสือ หรือ การออกกำลังกาย เป็นต้น) โดยไม่สนใจสิ่งรบกวนอื่น เช่น
เมื่อพูดถึงสเต็กเนื้อ เมนูนี้น่าจะติดอยู่ในลิสต์อาหารโปรดอันดับต้น ๆ ของใครหลายคน เรียกได้ว่าชื่นชอบจนถึงกับต้องมาลองทำกินเองที่บ้าน แน่นอนว่ามีทั้งประสบความสำเร็จอร่อยถูกใจ หรืออาจจะเฟลจนไม่กล้าเปิดเตาแสดงฝีมือกันอีกต่อไป สำหรับใครที่ยังไม่มั่นใจในฝีมือทำสเต็กของตัวเอง คอลัมน์ ManUP อยากชวนให้ลุกขึ้นมาอัพสกิลการลงครัวอีกครั้งกับ Filet mignon with Pomme Puree เมนูสเต็กเนื้อสันในฉ่ำ ๆ เคียงคู่กับมันบดเนื้อเนียนนุ่ม รสกลมกล่อม เอาไว้ทำกินที่บ้าน หรือโชว์ฝีมือเซอร์ไพรส์คนพิเศษก็เท่ไม่หยอก งานนี้ส่วนผสมและขั้นตอนวิธีทำจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันได้เลย ส่วนผสม สเต็ก เนื้อ Tenderloin 300 กรัม น้ำมันมะกอก 30 กรัม เนย 40 กรัม กระเทียม 2 -3 กลีบ ใบ Thyme / Rosemary เกลือ พริกไทยดำ มันบด มันฝรั่ง 100 กรัม นมสด 30 กรัม เนย 50
คนทำงานประจำ 5 วันต่อสัปดาห์ มักรู้สึกฮึกเหิมในการทำงานในวันศุกร์มากกว่าวันอื่น เพราะวันถัดไป คือ เริ่มต้นวันหยุดสุดสัปดาห์ ซึ่งมักทำให้เรารู้สึกว่าทำงานอีกนิดเดียวก็จะได้พักผ่อนแล้ว!! หลายคนจึงเกิดแรงบันดาลใจอยากเคลียร์งานทั้งหมดให้จบในวันนี้กัน อย่างไรก็ตาม วันหยุดสุดสัปดาห์จริง ๆ อาจมีแค่วันเสาร์ เพราะวันอาทิตย์อยู่ใกล้กับวันจันทร์ และเป็นเหมือนสัญญาณว่าวันหยุดกำลังจบลง มันจึงทำให้เราได้พักผ่อนน้อย พร้อมกับมีอาการแย่ ๆ ที่เรียกว่า Sunday Blues หรือ ภาวะประสาทกินในวันอาทิตย์ได้เหมือนกัน หากชีวิตของใครกำลังอยู่ในวงจรนี้ อาจได้รับผลกระทบจาก Weekend Effect เสียแล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีเลย เพราะมันอาจทำให้สุขภาพจิตของคุณเสื่อมเสียเร็วกว่าปกติ จากการที่คุณรู้สึกว่าต้องอดทนทำงานไปวัน ๆ เพื่อให้มีชีวิตรอดถึงสุดสัปดาห์ เราจึงอยากมาแนะนำวิธีการเอาชนะ Weekend Effect เพื่อปลดล็อคความสุขในทุกวัน ทำไมสุดสัปดาห์ถึงเป็นเหมือนสวรรค์ของใครหลายคน แต่ก่อนอื่นเลย เราอยากทำให้ทุกคนเข้าใจสาเหตุที่ทำให้ Weekend Effect เกิดขึ้นก่อน โดยเรามีงานวิจัยเรื่องนี้ในบริบทของการทำงานมาช่วยอธิบายให้ทุกคนฟัง งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Journal of Social and Clinical Psychology (2010) ได้ติดตามชีวิตของผู้ใหญ่จำนวน 74
หน้าที่ที่สำคัญที่สุดของ ‘ผู้นำ’ คือ การนำพาทีมหรือองค์กรไปสู่ความสำเร็จให้ได้ในที่สุด ซึ่งการจะไปถึงจุดนั้นต้องอาศัยหลายทักษะ ไม่ว่าจะเป็น ทักษะในกำกับดูแลผู้อื่น ทักษะในการสื่อสารอย่างชัดเจน ไปจนถึง ทักษะในการให้กำลังใจคนอื่น แต่ในองค์กรมักจะมีหัวหน้าประเภทหนึ่ง ที่เมื่อเลือนขั้นมาดำรงตำแหน่งผู้นำในองค์แล้ว พวกเขากลับไม่ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเหมาะสม พวกเขาเลือกที่จะเพิกเฉยต่อทีมทำงานของตัวเอง ไม่ยอมกำกับการทำงาน หรือ ดูแลสารทุกข์สุขดิบของลูกน้องเลย เอาแต่สนใจผลประโยชน์รวมถึงอภิสิทธิ์ที่ได้รับจากตำแหน่ง เราเรียกหัวหน้าประเภทนี้ว่าเป็น absentee leader ซึ่งเป็นผู้นำประเภทที่ทำลายองค์กรได้อย่างร้ายกาจ ความร้ายกาจของ absentee leader หลายคนคิดว่า หัวหน้าที่ปล่อยให้ลูกน้องทำอะไรตามอำเภอใจ ไม่ค่อยจู้จี้จุกจิก หรือ สนใจการทำงานของลูกน้องมาก จะทำให้ลูกน้องมีความสุขมากขึ้น แต่ในความเป็นจริง absentee leader อาจทำให้ลูกน้องไม่มีความสุขในการทำงานเลย เพราะพฤติกรรมต่าง ๆ ของพวกเขา (เช่น ไม่ยอมควบคุม หรือ กำกับการทำงานของลูกน้องในระดับที่น้อยมาก มักตัดสินใจล่าช้าอยู่ ไม่มี performance feedback หรือ ไม่เคยกระตุ้นให้พนักงานทำงาน เป็นต้น) สามารถทำให้ลูกน้องเจอกับปัญหากับเพื่อนร่วมงานบ่อยขึ้น เกิดความคลุมเครือในบทบาทหน้าที่ของตัวเองได้ง่ายขึ้น ถูกกลั่นแกล้งได้มากขึ้น และรู้สึกหมดไฟกับการทำงานได้ง่ายขึ้น เมื่อปัญหาเหล่านี้
ในชีวิตนี้เราคงผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เรามีความสุขมามากมาย เช่น ตอนที่ได้ของขวัญวันเกิด ตอนที่ได้รางวัลใหญ่ ตอนที่จีบสาวติด หรือ ตอนที่ทำธุรกิจประสบความสำเร็จ เหตุการณ์เหล่านั้นคงทำให้หลายคนเกิดอาการดีใจเบิกบาน ร่าเริง และมีกำลังใจในการใช้ชีวิตไปอีกหลายวัน แม้ความสุขดูจะเป็นสิ่งที่ดีจนทำให้หลายคนพยายามตามหามัน แต่วิทยาศาสตร์กลับบอกเราว่า การให้ความสำคัญกับความสุขมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อเราได้ในหลายด้านเหมือนกัน เช่น ทำให้เราเผชิญหน้ากับปัญหาได้แย่ลง ทำให้เราไม่มีความสุข ร้ายที่สุดมันอาจทำให้เราตายไวขึ้นด้วย ความสุขที่มากเกินไปอาจไม่ดีต่อหัวใจ ความสุขที่มากเกินไปอาจส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจของเราอ่อนแรงลงได้ไม่ต่างจากคนอกหัก ทีมวิจัยจาก University Hospital Zurich พบว่า ช่วงเวลาแห่งความสุขอาจทำให้เราเกิด ภาวะใจแหลกสลาย (Takotsubo syndrome) หรือ ภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงแบบเฉียบพลันได้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย Takotsubo syndrome จำนวน 485 ราย แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยจำนวนกว่า 96% มีเหตุการณ์เศร้าเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ ส่วนอีก 4% มีอาการจากเหตุการณ์ที่ทำให้พวกเขาดีใจสุดขีด งานวิจัยชิ้นนี้ทำให้เห็นว่าไม่ใช่แค่ความเศร้าที่เป็นภัยต่อหัวใจ แต่ความสุขก็ทำให้ชีวิตตกอยู่ในอันตรายได้เหมือนกัน ความสุขที่มากเกินไปอาจทำให้เราแก้ปัญหาได้แย่ลง แม้ความปิติยินดีจะเป็นแรงผลักดันให้เราใช้ชีวิต และทำให้เราทำอะไรหลายอย่างได้ดีขึ้น แต่ถ้าเราถูกครอบงำด้วยความสุขมากเกินไป ผลที่เกิดขึ้นอาจมีร้ายมากกว่าดี งานวิจัยเมื่อปี 2008 ได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์และความคิดสร้างสรรค์ คือ
เวลาเปิดไอจี หรือ ดูเฟสบุ๊ค เรามักจะได้เห็นเรื่องราวดี ๆ ของเพื่อน และเปรียบเทียบตัวเองกับพวกเขาอยู่เสมอ บางทีเราอาจรู้สึกอิจฉาเพื่อนที่ได้ไปเที่ยว หรือ ประสบความสำเร็จในชีวิต ในขณะที่เรากำลังนั่งทำงานอย่างหลังขดหลังแข็งตั้งแต่เช้ายันเย็นทุกวัน บางครั้งเราอาจรู้สึกว่าเพื่อนของเราห่างไกลออกไป หรือ เริ่มอยู่คนละโลกกับเรามากขึ้นเรื่อย ๆ จนเราเริ่มเกิดความโดดเดี่ยว และทุกข์ใจตามมา เมื่อชีวิตที่แสนธรรมดากำลังทำให้เรารู้สึกเหมือนถูกทิ้ง รู้สึกกำลังไล่ตามหลังคนอื่นอยู่ หรือ รู้สึกไม่ได้รับการยอมรับจากคนอื่น เราก็เริ่มก็เริ่มกลัวการใช้ชีวิตของตัวเอง และพยายามทำในสิ่งที่เราเชื่อว่าจะทำให้ตัวเองเป็นคนพิเศษมากขึ้น เช่น ทำตามความคาดหวังของคนอื่น จู้จี้จุกจิก หรือ เป็น perfectionist ทั้งเรื่องงานและการใช้ชีวิต หรือ พยายามเอาชนะคนอื่นในทุก ฯลฯ แต่พอทำไปได้สักพัก เรากลับยิ่งรู้สึกแย่กว่าเดิม เพราะเราฝืนตัวเองไปไกลจนกู่ไม่กลับ เราเรียกอาการกลัวชีวิตที่แสนธรรมดานี้ว่า ‘Koinophobia’ ซึ่งบางสิ่งที่เราทำเพื่อเอาชนะความกลัวก็สามารถกลับมาทำลายชีวิตของเราได้เหมือนกัน อย่างการเป็น perfectionist ก็อาจทำให้เราทำงานช้าลงจนส่งงานไม่ทันเดดไลน์ หรือ ทำให้โลกหมุนรอบตัวเรามากขึ้น จนเราหัวแข็งและฟังคนอื่นน้อยลง สุดท้ายก็ไม่มีใครอยากคบกับเราในที่สุด หากคุณกำลังกลัวชีวิตที่แสนธรรมดาของตัวเอง และความกลัวนั้นทำให้คุณรู้สึกแย่ รู้สึกเครียด หรือ ได้รับความทรมานจากมัน ข่าวดี คือ มันมีสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อก้าวข้ามความกลัวของตัวเอง และกลายเป็นคนที่ดีขึ้น
เมื่อก่อน ‘กัญชา’ สมุนไพรแห่งความผ่อนคลายที่โลกรู้จักสรรพคุณมาอย่างนานนม มักถูกกล่าวโทษด้วยคำพูดต่าง ๆ นา ๆ อยู่เสมอ เช่น ทำให้ก่ออาชญากรรมได้ง่ายขึ้นหรือ ทำให้คนขี้เกียจและไร้เรี่ยวแรงในการทำงาน เป็นต้น ปัจจุบันเริ่มมีการพิสูจน์แล้วว่าข้อเสียของกัญชาบางข้ออาจไม่ได้เป็นความจริงเสมอไป เช่น งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร SAGE Journals (2020) ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการสูบกัญชาหลังเลิกงานไม่ส่งผลเสียต่อการทำงานในวันรุ่งขึ้น การทดลองที่เริ่มต้นโดย Jeremy B. Bernerth และ H. Jack Walker นักวิทยาศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยซานดิเอโกสเตท และ มหาวิทยาลัยออเบิร์น ประเทศสหรัฐฯ ต้องการศึกษาเอฟเฟคของกัญชาที่มีต่อความสามารถในการทำงานของคน (เช่น พฤติกรรมที่แสดงออกต่อเพื่อนร่วมงาน หรือ ทัศนคติที่มีต่องาน เป็นต้น) โดยการสอบถามคนทำงานจากสถานที่ทำงานทั่วไปจำนวนกว่า 281 คนถึงพฤติกรรมการใช้กัญชา พร้อมให้หัวหน้าของพนักงานเหล่านั้นประเมินผลการทำงานของพวกเขา พนักงานทุกคนจะต้องรายงานเรื่องการใช้กัญชาแก่นักวิจัย (เช่น ความถี่และช่วงเวลาในการบริโภคกัญชา) ส่วนหัวหน้าจะเป็นคนประเมินผลการทำงานของพนักงานเหล่านั้นโดยใช้ 3 เกณฑ์ ได้แก่ ความสามารถในการทำงานให้สำเร็จ ทัศนคติที่มีต่อเพื่อนร่วมงาน และทัศนคติที่มีต่อตัวงาน เมื่อได้ข้อมูลครบแล้ว สุดท้ายนักวิจัยก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และสรุปผลการทดลอง ผลการวิจัยพบว่า
เวลาป่วยหลายคนอาจไม่กล้าที่จะลางานด้วยหลายสาเหตุ เช่น ปัญหาด้านการเงิน ภาระงานที่กองเป็นภูเขา หรือ การอยู่ในสังคมที่มองคนลาหยุดไม่ดี สุดท้ายพวกเขาก็พยายามพาตัวเองมาทำงานในสภาพที่ไม่พร้อมเต็มที่ และทำผิดพลาดได้บ่อยขึ้นในที่สุด ปัญหาเรื่องพนักงานไม่ยอมลาหยุดงาน และมาทำงานตอนป่วย หรือ บาดเจ็บ เราเรียกกันว่า ‘Presenteeism’ ซึ่งสามารถทำลาย Productivity ในการทำงานของคนได้มากถึง 1 ใน 3 แถมปัญหานี้ยังอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิดด้วย มีคนทำงานชาวไทยจำนวนมากที่ไม่ยอมลาป่วย และมาทำงานในสภาพที่ไม่พร้อม ส่งผลให้พวกเขาทำงานได้ไม่เต็มที่ อ้างอิงจาก การสำรวจของบริษัทประกันซิกน่า (2018) พบว่า คนไทยราว 89% ยังคงไปทำงานแม้ตัวเองจะป่วย หรือ มีสภาพจิตใจที่ไม่พร้อม ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของพวกเขาลดลงเหลือเพียง 74% เท่านั้น นอกจากจะทำให้งานเสียแล้ว ปัญหานี้อาจนำไปสู่ปัญหาหนักข้ออื่น ๆ ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาเรื่องความเหนื่อยล้าของพนักงาน หรือ ปัญหาที่ร้ายแรงกว่านั้นอย่างการแพร่ระบาดของโรคในออฟฟิศ Presenteeism จึงเป็นปัญหาที่ส่งผลเสียต่อภาคธุรกิจอย่างมาก และคนระดับผู้นำไม่ควรมองข้ามปัญหานี้ ทำไมพนักงานถึงไม่ยอมลาป่วย ? ภาระงานที่มากเกินไป นโยบายที่กระตุ้นให้พนักงานลาหยุดน้อยลง วัฒนธรรมที่สนับสนุนการทำงานหนัก จนถึง มุมมองที่มีต่อการลาหยุดว่าเป็นเรื่องเลวร้าย ล้วนกระตุ้นให้เกิด
ความสุขของผู้ชายมักมีที่มาจากความสำเร็จในชีวิตของพวกเขา เช่น หน้าที่การงานก้าวหน้า (ได้เลือนขั้น หรือ ธุรกิจประสบความสำเร็จ) ได้ซื้อรถยนต์คันใหม่ หรือ เจอกับเหตุการณ์ที่ทำให้กลายเป็นเศรษฐีในชั่วข้ามคืนอย่างการถูกลอตเตอรี่ เป็นต้น แม้เหตุการณ์เหล่านี้จะทำให้ชีวิตเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ แต่มันก็ไม่ได้ทำให้เรามีความสุขยาวนานเลย นานวันไป ความรู้สึกดีก็ค่อย ๆ ลดลงไปตามกาลเวลา จนสุดท้ายเราก็รู้สึกเฉยชากับมันในที่สุด เราเรียกปรากฎการณ์ที่ความสุขค่อยลดลงตามกาลเวลาว่าเป็น ลู่วิ่งแห่งความสุข (Hedonic Treadmill) Hedonic Treadmill เกิดขึ้นได้อย่างไร ? ในช่วงยุค 1970s สองนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ Philip Brickman และ Donald Thomas Campbell ได้แนะนำให้โลกได้รู้จักกับคอนเซ็ปท์ของ Hedonic Adaptation หรือ ความสามารถของมนุษย์ในการปรับตัวให้เข้ากับความสุขที่ตัวเองได้รับ จนรู้สึกไม่ยินดียินร้ายกับมันในที่สุด กล่าวคือ เวลาที่เราเจอกับเหตุการณ์ที่ทำให้หัวใจเราพองโต อารมณ์และความรู้สึกจากเหตุการณ์นั้นจะค่อย ๆ จางหายไป จนสุดท้าย เราจะรู้เฉยชาเหมือนก่อนเกิดเหตุการณ์นั้นในที่สุด สาเหตุที่ทำให้กลไกนี้อยู่คู่กับมนุษย์ อาจเกี่ยวข้องกับการเอาตัวรอด ถ้าเรามีความรู้สึกที่มากเกินไป เช่น ดีใจเกินไป หรือ
หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องการฟอกเงินกันมาบ้าง บางคนคงเคยรับรู้จากซีรีส์ชื่อ Ozark ซึ่งพาเราไปเปิดโลกของนักฟอกเงินอย่างเต็มตา บางคนอาจเคยได้ยินจากบทความเล่าเรื่องคดีอาชญากรรมที่เผยแพร่อยู่บนอินเทอร์เน็ต คุณอาจเกิดความสงสัยขึ้นมาบ้างว่าการฟอกเงินนี่มันทำกันยากง่ายแค่ไหน วิธีการมันทำยังไงกันแน่นะ ? เราเลยอยากเล่าขั้นตอนพื้นฐานในการฟอกเงินให้ทุกคนฟัง เพื่อคลายข้อสงสัย และรู้จักป้องกันมันได้มากขึ้น การฟอกเงินเขาทำกันอย่างไร ? คนที่ประกอบอาชีพไม่สุจริต เช่น นักธุรกิจ นักการเมือง หรือ เจ้าหน้าที่รัฐน้ำเสีย มักจะได้รับเงินสกปรกจากแหล่งผิดกฎหมายต่าง ๆ เช่น การติดสินบนเจ้าหน้าที่ การค้ายาเสพติด หรือ การทำธุรกิจผิดกฎหมายอื่น ๆ ถ้าพวกเขาถือเงินสกปรกก้อนนั้นไว้โดยที่ไม่ทำอะไรกับมัน ความซวยอาจมาเยือนพวกเขาในไม่ช้า เงินสกปรกเหล่านั้นจึงมักถูกนำไปฟอกให้สะอาดเสียก่อน เพื่อปกปิดแหล่งที่มาที่แท้จริงของมัน จนสามารถนำไปใช้จ่ายได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งหลายคนน่าจะเห็นข่าวในประเทศไทยเกี่ยวกับการรับเงินทอน เงินใต้โต๊ะ รวมถึงเงินจำนวนหลายร้อยล้านบาทที่หมุนเวียนจากการเปิดบ่อนออนไลน์จำนวนมาก มักจะถูกนำไปฟอกผ่านการซื้อ Supercars คันงาม บ้านละที่ดิน รวมถึงการจ่ายยัดเงินให้เจ้าหน้าที่สกปรกเป็นทอด ๆ อย่างไม่รู้จบ การฟอกเงินมักเกี่ยวข้องกับขั้นตอนพื้นฐาน 3 อย่าง ได้แก่ การนำเงินเข้าระบบ (Placement) หมายถึง การนำเงินสกปรกเข้าสู่ระบบการเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ธนาคาร หรือ สถาบันทางการเงินอื่น
ผู้ชายไทยส่วนใหญ่มักไม่ค่อยจะให้ความสนใจในเรื่องของทรงผมกันมากนัก หรือไม่ก็จะทำตัวตามกันไปหมดจนแทบจะแยกไม่ออกว่าใครเป็นใคร เห็นเค้าว่าทรงนี้ดี ทรงนี้กำลังฮิต ก็ทำตามกันโดยไม่ได้รู้ที่มาที่ไป หรือดูความเหมาะสมกับสไตล์ของตัวเอง ซึ่งอย่างที่เราเคยบอกไปหลายครั้งว่าเรื่องของทรงผมนั้น “ไม่มีกฎตายตัว” ไม่มีใครฟันธงได้ว่าแบบไหนถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมเข้ากันระหว่างสไตล์ที่เลือกใช้ กับคาแรคเตอร์ บุคลิก และตัวตนของคุณมากกว่า ขอแค่คุณหาตัวเองจนพบว่าจริง ๆ ชอบอะไร ทำอะไรแล้วรู้สึกมั่นใจ เพราะบางครั้งการทำผมแบบดาราในดวงใจ ผมที่ได้ชื่อฮิตอันดับหนึ่งของโลก ก็ไม่ได้ช่วยให้คุณกลายเป็นคนที่มีสไตล์ดีขึ้นได้ถ้ามันไม่ใช่ตัวตนของคุณ เพื่อเป็นการแนะนำสำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร สไตล์ทรงผมแบบไหนที่เหมาะสมกับตัวเอง เพราะการพัฒนาสไตล์ถือเป็นหนึ่งวิธีที่จะช่วยเสริมสร้างความเป็นตัวเองได้ง่ายที่สุด วันนี้เรามีแนวทางมาช่วยแนะนำผู้ชายทุกคนที่ต้องการจะพัฒนาบุคลิกตัวเองให้ดีที่สุดด้วยการ “Find the right hairstyle for you” PICK THE BEST HAIRSTYLE เติมเต็มสไตล์ของตัวเอง นอกจากเสื้อผ้า เรื่องทรงผมก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะเป็นส่วนสำคัญในการเติมเต็มสไตล์และคาแรคเตอร์ของเราให้สุดทาง สามารถเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ภายนอกได้อย่างสิ้นเชิง ต่อให้แต่งตัวดีแค่ไหน แต่ถ้าเลือกทรงผมไม่เข้ากับสไตล์และรูปหน้า หรือเซ็ทผมออกมาได้ไม่ดี ก็ทำให้ภาพรวมดูขัดใจได้ง่าย ๆ เหมือนกัน ทรงผมผู้ชายมีให้เลือกหลากหลายสไตล์ แต่ไม่ใช่ว่าเราจะเหมาะกับผมทุกทรง ซึ่งเราแนะนำให้เลือกทรงผมที่ใช่ โดยใช้รูปหน้าเป็นจุดหลักในการช่วยตัดสินใจ จะทำให้ได้ไอเดียช่วยเลือกและจัดแต่งทรงผมได้ง่ายขึ้น รูปทรงไข่ (Oval Face) คือทรงหน้าที่น่าอิจฉา เพราะมีอัตราส่วนค่อนข้างสมบูรณ์แบบ