Life

เข้าใจอันตรายจาก absentee leader ผู้นำที่ชอบหายหัวไม่มาดูแลลูกน้อง

By: unlockmen September 23, 2021

หน้าที่ที่สำคัญที่สุดของ ‘ผู้นำ’ คือ การนำพาทีมหรือองค์กรไปสู่ความสำเร็จให้ได้ในที่สุด ซึ่งการจะไปถึงจุดนั้นต้องอาศัยหลายทักษะ ไม่ว่าจะเป็น ทักษะในกำกับดูแลผู้อื่น ทักษะในการสื่อสารอย่างชัดเจน ไปจนถึง ทักษะในการให้กำลังใจคนอื่น

แต่ในองค์กรมักจะมีหัวหน้าประเภทหนึ่ง ที่เมื่อเลือนขั้นมาดำรงตำแหน่งผู้นำในองค์แล้ว พวกเขากลับไม่ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเหมาะสม พวกเขาเลือกที่จะเพิกเฉยต่อทีมทำงานของตัวเอง ไม่ยอมกำกับการทำงาน หรือ ดูแลสารทุกข์สุขดิบของลูกน้องเลย เอาแต่สนใจผลประโยชน์รวมถึงอภิสิทธิ์ที่ได้รับจากตำแหน่ง เราเรียกหัวหน้าประเภทนี้ว่าเป็น absentee leader ซึ่งเป็นผู้นำประเภทที่ทำลายองค์กรได้อย่างร้ายกาจ

 

ความร้ายกาจของ absentee leader

หลายคนคิดว่า หัวหน้าที่ปล่อยให้ลูกน้องทำอะไรตามอำเภอใจ ไม่ค่อยจู้จี้จุกจิก หรือ สนใจการทำงานของลูกน้องมาก จะทำให้ลูกน้องมีความสุขมากขึ้น แต่ในความเป็นจริง absentee leader อาจทำให้ลูกน้องไม่มีความสุขในการทำงานเลย เพราะพฤติกรรมต่าง ๆ ของพวกเขา (เช่น ไม่ยอมควบคุม หรือ กำกับการทำงานของลูกน้องในระดับที่น้อยมาก มักตัดสินใจล่าช้าอยู่ ไม่มี performance feedback หรือ ไม่เคยกระตุ้นให้พนักงานทำงาน เป็นต้น) สามารถทำให้ลูกน้องเจอกับปัญหากับเพื่อนร่วมงานบ่อยขึ้น เกิดความคลุมเครือในบทบาทหน้าที่ของตัวเองได้ง่ายขึ้น ถูกกลั่นแกล้งได้มากขึ้น และรู้สึกหมดไฟกับการทำงานได้ง่ายขึ้น เมื่อปัญหาเหล่านี้ ทำให้พนักงานไม่มีกระจิตกระใจในการทำงานไม่เอนจอยกับงานที่ทำอยู่ สุดท้ายพวกเขาอาจแห่กันลาออกจากบริษัทในที่สุด

แม้องค์กรจะรู้ว่า absentee leader เป็นปัญหากับพวกเขามากแค่ไหนก็ตาม แต่หลายครั้งการระบุตัวปัญหาก็ยังเป็นเรื่องยากอยู่ดี เพราะ absentee leader มักไม่ค่อยทำอะไรให้คนอื่นสังเกตได้เท่าไหร่ องค์กรจึงให้ความสนใจกับผู้นำคนอื่นที่สร้างปัญหาอย่างชัดเจนมากกว่า เช่น ผู้นำที่เป็นคนเป๊ะในทุกเรื่อง ไม่ยอมฟังความคิดเห็นคนอื่น ไม่ยอมกระจายไปยังลูกน้อง และชอบทำทุกงานด้วยตัวเองเพียงคนเดียว พฤติกรรมแบบนี้เห็นได้ชัดว่าทำให้งานเสร็จล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น และทำลายความโปรดักทีฟในการทำงานของส่วนร่วม


วิธีรับมือกับ absentee leader

absentee leader มักถูกเรียกว่าเป็น “นักฆ่าเงียบ” เพราะพวกเขาค่อย ๆ ทำลายองค์กรอย่างช้า ๆ หากไม่มีใครสังเกตพฤติกรรมของพวกเขาได้ทัน สุดท้าย พวกเขาอาจทำให้องค์กรตกอยู่ในอันตรายซะแล้ว ดังนั้น คนในองค์กรทุกคนควรมีความสามารถในการค้นหาปัญหานี้ให้เจอ เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหามันยิ่งบานปลาย

หากคุณเป็นผู้บริหารที่ดูแลผู้จัดการจำนวนมาก หรือ เป็นผู้นำที่ต้องการตรวจสอบว่าตัวเองเป็น absentee leader หรือ ไม่ เราขอแนะนำให้ลองนำวิธีเหล่านี้ไปใช้ดู

เริ่มจากการสังเกตตัวเอง และผู้นำในสังกัดก่อนว่า พวกเขามีพฤติกรรมไม่สื่อสารกับคนในทีม หรือ ทำงานร่วมกับสมาชิกคนอื่นน้อยไปหรือไม่ หากมีพฤติกรรมเหล่านี้ คุณหรือคนรอบข้างอาจเข้าข่าย absentee leader และควรเปลี่ยนแปลงโดยด่วน

ลูกน้องส่วนใหญ่มักต้องการผู้นำในเวลาที่รู้สึกโดดเดี่ยว หรือ กำลังเผชิญหน้ากับความตรึงเครียด หัวหน้าที่ดีจึงต้องทำให้ลูกน้องรู้สึกว่าหัวหน้าอยู่กับพวกเขาตลอดเวลาที่ทำงาน ซึ่งสามารถความรู้สึกนั้นสามารถสร้างได้ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ลูกน้องรู้สึกโล่งใจเวลาทำงาน จนกล้าที่จะปรึกษาปัญหาต่าง ๆ ที่พบเจอในงาน เป็นต้น

ต่อมาหัวหน้าควรทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกน้องทำตาม เช่น กล้าแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกต่อเรื่องที่จำเป็น เมื่อหัวหน้ามีความเป็นกันเอง และกล้าเปิดเผยความรู้สึกส่วนตัว ความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้องก็จะมีความแน่นแฟ้นมากขึ่้น กล้าทำตามในสิ่งที่ถูกต้องมากขึ้น

หัวหน้าควรสื่อสารกับลูกน้องอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในช่วงที่ work from home หัวหน้าควรสื่อสารกับลูกน้องมากกว่าปกติ และเปิดรับการติดต่อจากลูกน้องอย่างสม่ำเสมอ เพรามันจะทำให้พวกเขารู้สึกว่าหัวหน้าไม่ได้ปล่อยให้พวกเขาต้องอยู่คนเดียว และยังคงพึ่งพาได้ในช่วงทำงาน แบบนี้จะช่วยให้หัวหน้าสามารถอธิบายเป้าหมายในการทำงาน ให้กำลังใจลูกน้อง และช่วยให้ลูกน้องกล้าที่จะสื่อสารกับหัวหน้ามากขึ้น

ทั้งหมดนี้ก็เป็นวิธีรับมือกับ absentee leader ที่ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้กับตัวเองและคนรอบข้างอย่างง่ายดาย เราหวังว่ามันจะช่วยให้องค์กรของคุณดีขึ้นไม่มากก็น้อย


Appendix: 1 / 2

unlockmen
WRITER: unlockmen
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line