Survival
SKILLS EVERY MAN SHOULD KNOW
  • Survival

    “เหมือนตื่นและฝันในเวลาเดียวกัน” รู้จักภาวะ Derealization สัญญาณอันตรายต่อสุขภาพของเรา

    By: unlockmen August 23, 2021

    ต้องมีสักครั้งในชีวิต ที่เราตื่นขึ้นมาใช้ชีวิตแล้วรู้สึกเหมือนกำลังอยู่ในภวังค์ให้ความรู้สึกที่เหมือนกับกำลังอยู่ในฝัน บางครั้งความรู้สึกนี้ก็ทำให้เราสับสนว่า “กำลังตื่น หรือ หลับอยู่กันแน่นะ” ซึ่งอาการนี้ ทางการแพทย์ เรียกว่า ความจริงวิปลาส และถ้าประสบกับมันบ่อย ๆ อาจเป็นสัญญาณของโรคจิตเวชได้   ความจริงวิปลาสคืออะไร ปกติแล้ว ภาวะความจริงวิปลาส (Derealization) นับเป็นหนึ่งในอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคดิสโซสิเอทีฟ (Dissociative Disorders) เช่นเดียวกับบ ภาวะบุคลิกภาพแตกแยก (Depersonalization) ทำให้บางครั้งสองอาการนี้ก็ถูกใช้แทนกันด้วย อย่างไรก็ตาม ทั้งสองอาการไม่ได้มีความเหมือนกันซะทีเดียว แต่มีความแตกต่างกันอยู่ดังต่อไปนี้ Derealization จะเป็นอาการที่เรารู้สึกขาดการเชื่อมต่อกับความเป็นจริงหรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว จนเกิดอาการเช่น สิ่งที่อยู่รอบตัวดูเชื่องช้า หรือ ทุกอย่างดูพร่ามัวไปหมด เราจะรู้สึกเหมือนสิ่งที่อยู่รอบตัวไม่มีอยู่จริง เหมือนกำลังอยู่ในโลกจำลอง หรือ โลกแห่งความฝัน ไม่สามารถประมวลผลหรือทำความเข้าใจสิ่งที่อยู่รอบตัวของเราได้ จนเราเกิดความไม่คุ้นเคยกับสถานที่เราอยู่ และเกิดความสับสันระหว่างโลกแห่งความฝันและความเป็นจริง ส่วน Depersonalization คือ ภาวะที่เรารู้สึกตัดขาดจากร่างกาย อารมณ์ และความคิดของตัวเอง คนที่มีอาการนี้มักจะรู้สึกว่าตัวเองเหมือนเป็นภาชนะว่างเปล่า เป็นเพียงผู้ชมร่างกายตัวเอง หรือ เป็นหุ่นยนต์ที่คอยรับคำสั่งจากคนอื่น ไม่สามารถบังคับร่างกายของตัวเองได้อีกต่อไป แม้พวกเขาจะขยับแขนขยับขา หรือ รู้สึกถึงอารมณ์ของตัวเองได้ก็ตาม

    อ่านต่อ
  • Survival

    “นอนกรนเสียงดังจนเพื่อนรำคาญ” เรามีวิธีแก้ที่จะทำให้คุณมีค่ำคืนที่แสนสงบมากขึ้น

    By: unlockmen August 18, 2021

    ผู้ชายที่ชอบกรนเสียงดัง มักสร้างความรำคาญให้กับคนรอบข้าง เพราะเสียงกรนที่แสนดังและถี่มักทำให้เพื่อนร่วมห้องหนวกหูอยู่เสมอ บางคนอาจจะทนเสียงกรนได้ในช่วงแรก แต่ความอดทนขอคนก็มีจำกัด พอผ่านไปสักระยะหนึ่ง การกรนอย่างต่อเนื่องจะสร้างปัญหาการอยู่ร่วมห้องกับคนอื่นได้ หากเราต้องการอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข การหยุดกรนจึงเป็นเรื่องที่เราควรทำกันโดยเร่งด่วน นอกจากนี้การกรนยังสามารถทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้ อาทิ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac Arrhythmia) เราเลยอยากมาแนะนำวิธีการป้องกันการกรนเวลานอน เพื่อให้ทุกคนสามารถนอนหลับสนิทอย่างฟินตลอดคืนได้   ทำไมคนเราถึง ‘กรน’ ก่อนจะเข้าช่วงแนะนำวิธีการป้องกัน เราอยากพาทุกคนไปทำความเข้าใจกลไกที่ทำให้เกิดการกรนก่อน เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับร่างกายของเราล้วน ๆ เริ่มจากเวลาเราหลับ และกำลังเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านจากการหลับตื้น (light sleep) ไปยัง การหลับลึก (deep sleep) ส่วนของกล้ามเนื้อเพดานปากที่ชื่อว่า เพดานอ่อน (soft palate) ลิ้น และคอ จะอยู่ในภาวะผ่อนคลายมากกว่าปกติ เมื่อเนื้อเยื่อที่อยู่ในช่องปาก และลำคออยู่ในภาวะผ่อนคลายมาก มันจะไปปิดกั้นทางเดินของอากาศหายใจที่อยู่ในลำคอ ส่งผลให้อากาศเดินทางผ่านช่องทางนั้นได้ยากขึ้น และทำให้เนื้อเยื่อที่อยู่ในลำคอเกิดการสั่นไหวด้วย และพอทางเดินอากาศในช่องคอแคบลงมากเท่าไหร่ การไหลผ่านของอากาศก็จะยิ่งยากขึ้น และทำให้เนื้อเยื่อเกิดการสั่นไหวมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งการสั่นไหวของเนื้อเยื่อในช่องคอ เป็นสาเหตุที่ทำให้เราเกิดเสียงกรนที่ดังหรือเบา ปัญหาที่ทำให้ช่องอากาศของเรเวลานอนมีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ลักษณะของ soft palate ที่ต่ำและหนาเกินไป จนทำให้ทางเดินอากาศแคบ

    อ่านต่อ