Life

คู่มือการเอาตัวรอดจาก COVID-19 ในปี 2021 ที่ทุกคนควรอ่าน

By: unlockmen July 27, 2021

COVID-19 ได้อยู่สร้างปัญหาให้เรามานานหลายปี และช่วงนี้ดูจะเป็นช่วงพีคของมัน การแพร่ระบาดที่รวดเร็วของเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตา ทำให้ผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นจำนวนมากถึงวันละหมื่นกว่าราย จนโรงพยาบาลหลายแห่งต่างประสบปัญหาขาดเตียงรองรับผู้ป่วยรายใหม่ UNLOCKMEN เลยอยากมาแชร์ข้อมูลที่ทุกคนควรรู้เพื่อรับมือกับ COVID-19 ได้ดีกว่าเดิม


อาการของผู้ป่วย COVID-19

COVID-19 เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสตัวหนึ่งที่ชื่อว่า Sar-CoV2 ซึ่งเป็นไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งค้นพบเมื่อช่วงปลายปี 2019 โดยไวรัสตัวนี้จะส่งผลต่อผู้ที่ติดเชื้อแตกต่างกันไปบางคนมีอาการหนัก บางคนมีอาการเบา หรือ ปานกลาง ส่วนใหญ่จะแสดงอาการป่วยใน 5 – 6 วัน และสำหรับบางคนอาจใช้เวลาถึง 14 วัน

เราสามารถแบ่งอาการของผู้ป่วยได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มสีเขียว

  • มีไข้ขึ้นสูงตั้งแต่ 37.5 องศาขึ้นไป
  • ไอแห้ง เจ็บคอ
  • อ่อนเพลีย
  • ไม่ได้กลิ่นและไม่รับรู้รส
  • ท้องเสีย

กลุ่มสีเหลือง

  • หายใจลำบาก
  • แน่นหน้าอก
  • อ่อนเพลียร่วมกับเวียนศีรษะ
  • หน้ามืด
  • ปอดอักเสบ

กลุ่มสีแดง

  • พูดหรือเคลื่อนไหวไม่ได้
  • แน่นหน้าอก หายใจแล้วเจ็บหน้าอก
  • เฉื่อยชาตอบสนองช้า

ถ้าคุณเป็นผู้ป่วยในกลุ่มสีเขียว คุณสามารถแยกกักตัวที่บ้าน หรือ home isolation ภายใต้การดูแลของแพทย์ได้ แค่ถ้าคุณเป็นกลุ่มสีเหลืองหรือแดง ต้องรีบเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยด้วน


วิธีการตรวจโรค COVID-19

ตอนนี้การตรวจโรค COVID-19 มีอยู่ทั้งหมด 2 วิธี ได้ แก่ การตรวจแบบ Rapid Test หรือ การใช้ Antigen Test Kit ซึ่งเป็นการตรวจแบบเร่งด่วน ให้ผลเร็ว มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แต่ขาดความแม่นยำ ต้องมีการตรวจด้วยวิธีการ RT-PCR อีกที

เราสามารถซื้อ Antigen Test Kit มาใช้เองได้จากร้านขายยา หรือ รับการตรวจที่สถานพยาบาลที่ให้บริการ สามารถเข้าไปดูรายชื่อสถานพยาบาลที่ให้บริการได้ที่ลิงก์นี้ 

อีกวิธีหนึ่ง คือ การตรวจแบบ RT-PCR ซึ่งเป็นวิธีการตรวจโรค COVID-19 โดยการดูสารพันธุกรรม RNA ของไวรัส ที่มีความแม่นยำสูง และจำเป็นต้องทำให้ห้องแล็ปของสถาบันทางการแพทย์ หรือ โรงพยาบาลต่าง ๆ


ถ้าติดโควิดแล้วควรทำอะไรบ้าง

หากหลังการตรวจ RT-PCR แล้วผลเป็นลบ ยินดีด้วย แสดงว่าคุณไม่ได้ติดโควิด แต่ถ้าผลออกมาเป็นบวกก็อย่าตื่นตระหนก ให้รีบแจ้งหน่วยงานหรือเพจที่เกี่ยวข้องทันที เราได้รวมลิสต์ช่องทางติดต่อของหน่วยงาน หรือ เพจที่ดูแลผู้ป่วย COVID-19 มาไว้ที่นี่แล้ว

ประสานงานหาเตียง หรือ รถพยาบาล

สอบถามสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาล

  • สายด่วนประกันสังคม (เบอร์โทร 1506)
  • ปรึกษาปัญหาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ (UCEP) (เบอร์โทร 02-872-1669)

ขอคำปรึกษาเรื่องภาวะเครียด หรือ วิตกกังวลจากโรคระบาด

  • สายด่วนสุขภาพจิต (เบอร์โทร 1323 )

หาเตียงในพื้นที่ปริมณฑล

  • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (เบอร์โทร 061-394-5402, 061-172-2534, 061-394-5403, 061-172-2260)

วิธีการแยกกักตัวที่บ้าน (home isolation)

ถ้าคุณเป็นผู้ป่วยในกลุ่มสีเขียว หรือ ผู้ป่วยที่แพทย์พิจารณาว่ารักษาที่บ้านได้ คุณสามารถทำการแยกกักตัวที่บ้าน หรือ home isolation ได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งผู้ป่วย COVID-19 ควรทำสิ่งเหล่านี้เมื่อต้องแยกกักตัวที่บ้าน ได้แก่

  • ห้ามออกจากที่พัก และห้ามใครมาเยี่ยม
  • ห้ามเข้าใกล้คนอื่น หรือ เว้นระยะห่าง 2 เมตร
  • แยกห้องพัก และของใช้ส่วนตัวจากผู้อื่น
  • ห้ามกินข้าวร่วมกับคนอื่น
  • สวมหน้ากากอนามัยเวลาอยู่กับคนอื่นตลอดเวลา
  • ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่จับสิ่งของ
  • แยกซักเสื้อผ้าและเครื่องนอนของผู้ป่วย ด้วยน้ำและสบู่ ผงซักฟอก หรือ น้ำยาทำความที่สามารถฆ่าเชื้อ COVID-19 ได้

ยาที่ควรมีไว้ติดบ้าน

นอกจากเจลแอลกอฮอล์ และเครื่องวัดอุณหภูมิแล้ว สิ่งที่จำเป็นต่อการรับมือกับเชื้อไวรัส ยังมีอีกอย่างหนึ่ง คือ เรื่องของหยูกยาสามัญประจำบ้านต่าง ๆ ที่จะช่วยให้เรารอดพ้นวิกฤตนี้ไปได้ ซึ่งยาที่จำเป็นเราได้ลิสต์มาแล้วว่ามีดังนี้

  • ยาแก้ปวด หรือ ยาแก้ไข้ เช่น พาราเซตามอล
  • ยาแก้แพ้ เช่น ลอราทาดีน
  • ยาลดน้ำมูก
  • ยาบรรเทาอาการเจ็บคอระคายคอ
  • ผงเกลือแร่ไว้รับมืออาการท้องเสีย
  • วิตามินซี วิตามินบีรวม วิตามินดี สำหรับสร้างภูมิคุ้มกัน

เมื่อเราดูแลตัวเองได้แล้ว อย่าลืมดูแลคนอื่นที่อยู่รอบตัวเราด้วย แล้วเราจะผ่านปัญหานี้ไปด้วยกัน

unlockmen
WRITER: unlockmen
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line