Life

“หัวช้ารู้สึกเฉื่อยชา” ลองดูวิธีเพิ่มความไวทางจิต (Mental Agility) ให้เราปิดงานได้เร็วกว่าเดิม

By: unlockmen March 17, 2021

หลายคงรู้สึกเซ็งสุด ๆ เวลาที่ตื่นเช้ามาทำงานแล้วหัวไม่แล่น เวลาคิดหรือทำงานอะไรก็ดูจะช้าไปหมด ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากการนอนไม่เพียงพออย่างเดียว แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการที่เราอยู่ในภาวะ passive หรือ มีความว่องไวของจิตใจต่ำ (Mental Agility) ได้เหมือนกัน ซึ่งถ้าเราสามารถพัฒนา Mental Agility ได้ เราก็จะสามารถทำงานได้เร็วขึ้น และได้งานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้เหมือนกัน


WHAT IS MENTAL AGILITY ?

ความว่องไวของจิตใจ (Mental Agility) หมายถึง ทักษะในการคิด เรียนรู้ และดูดซับข้อมูลใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสกิลนี้จะมีประโยชน์เวลาที่เราเจอกับสถานการณ์หรือปัญหาใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยมาก่อน รวมถึง การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งต้องใช้ความว่องไวและคุณภาพในการคิด หากเรามี Mental Agility เราจะสามารถประเมินสถานการณ์ได้เร็วขึ้น คิดวิธีแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น และตอบสนองต่อปัญหาได้เร็วขึ้น


HOW TO IMPROVE IT ?

เมื่อ Mental Agility เป็นสกิลที่สำคัญในการทำงาน ร่วมถึง การใช้ชีวิตประจำวันที่เร่งรีบ เราเลยจำเป็นที่จะต้องพัฒนาสกิลนี้กัน ซึ่ง UNLOCKMEN ได้รวบรวม 7 วิธีพัฒนา Mental Agility มาฝากทุกคนกันด้วย รับรองว่าถ้าทำเรื่องเหล่านี้ได้แล้ว ปัญหาเรื่องหัวช้าเวลาทำงานจะดีขึ้นอย่างแน่นอน

ทำงานอดิเรกที่ดูฉลาด

ถ้ามีเวลาว่างในช่วงที่ทำงานหรือวันหยุด ลองหางานอดิเรกที่ต้องใช้สมองทำดู จะช่วยเพิ่มพูล Mental Agility ของเราได้ เช่น หมากรุก หรือ บริดจ์ ซึ่งเป็นกิจรรมประเภทที่ทำให้เราต้องใช้สมองอย่างต่อเนื่อง และฝึกการคิด หรือ การอ่าน ซึ่งให้ประโยชน์เราได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ช่วยลดความเครียด ให้ความบันเทิงเริงใจ รักษาความทรงจำ และสามารถยกระดับความสามารถในการคิดของเราได้อีกด้วย แถมมีงานวิจัยบางชิ้นที่พบว่า การอ่านบทกวีนิพนธ์ (poetry) เพิ่ม activity และ connectivity ในสมองของผู้เข้าร่วมการทดลองด้วยอีกต่างหาก

จำไว้ว่าวิธีการแก้ปัญหาไม่มีเพียงหนึ่งเดียว

ถ้าเราโฟกัสกับการหา “วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น” ผลเสียที่อาจตามมา คือ เราจะด่วนตัดสินมากเกินไป และอาจมองข้ามวิธีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพแบบอื่น (ซึ่งไม่ถูกใจเรา และอาจแก้ปัญหาได้ดีกว่า) ไป ดังนั้น เวลาจะแก้ปัญหาที่พบเจอในการทำงาน จึงควรเริ่มจากการคิดและรับฟังวิธีการแก้ปัญหาจากคนรอบตัวให้ได้มากที่สุดก่อน แล้วค่อยตัดสินใจว่าจะใช้วิธีการใดจึงจะดีที่สุด สำหรับเรื่องนี้ การฝึกคิดแบบ Divergent Thinking ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะมันจะช่วยให้เรามีมุมมองที่กว้างขึ้น และมองเห็นความเป็นไปได้มากขึ้น ซึ่งมีงานศึกษาชิ้นหนึ่งให้ผู้เข้าร่วมการทดลองคิดวิธีการใช้งาน ‘คลิปหนีบกระดาษ’ ให้ได้มากที่สุด เราสามารถนำโจทย์นี้มาใช้ในการฝึก Divergent Thinking ได้เหมือนกัน

ออกไปขยับขากันบ้าง

การออกกำลังกายส่งผลดีต่อการพัฒนา Mental Agility อย่างแน่นอน เพราะมันให้ประโยชน์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ช่วยให้มีพลังในการใช้ชีวิตมากขึ้น ช่วยให้มีอารมณ์ดีขึ้น และช่วยให้นอนหลับสบายในตอนกลางคืนมากขึ้นด้วย ซึ่งวิธีการออกกำลังกายที่เราอยากแนะนำให้ทุกคนทำกัน คือ การเดิน ซึ่งมีงานวิจัยที่พบว่า การเดินเป็นระยะทาง 2 ไมล์ต่อวัน เป็นเวลา 5 วันต่อสัปดาห์ ช่วยลดโอกาสการเป็นโรคสมองเสื่อมได้ แต่ถ้าจะให้ดี เราควรไปเดินท่ามกลางธรรมชาติ เพราะธรรมชาติช่วยให้ความคิดเราแหลมคมมากขึ้น เพิ่มสมาธิของเรา และยังส่งผลดีต่ออารมณ์ของเราอีกด้วย

อย่าใช้พลังจิตอย่างสิ้นเปลื้อง

พลังงานมีวันหมด เราไม่สามารถทุมเทแรงกายและแรงใจให้กับทุกเรื่องได้ ดังนั้น เราต้องใช้พลังใจให้คุ้มค่า ไม่ใช้มันไปกับการคิดถึงเรื่องแย่ ๆ ในอดีตหรืออนาคต หรือ กังวลในสิ่งที่เราไม่สามารถทำอะไรกับมันได้ การใช้แรงใจอย่างคุ้มค่า คือ การใช้มันกับเรื่องที่มีประโยชน์และเราสามารถควบคุมมันได้ เช่น การวางแผนศึกษาต่อ การวางแผนชีวิต หรือ การวางแผนการทำธุรกิจ เป็นต้น

ออกจาก comfort zone

การได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ช่วยพัฒนา Mental Agility ได้เหมือนกัน เพราะมันป้องกันไม่ให้ความทรงจำของเราเสื่อม และบังคับให้เราต้องใช้งานสมองบ่อย ๆ ด้วย จึงทำให้ความคิดของเราคงสภาพดีไว้ได้ยาวนาน ดังนั้นเราเลยอยากแนะนำให้ลองทำอะไรที่ไม่เคยทำดู เช่น อ่านหนังสือประเภทที่ไม่เคยอ่าน หรือ เล่นกีฬาที่เราไม่เคยเล่น เป็นต้น เพื่อรักษา Mental Agility

ใช้เวลากับเพื่อนฝูงบ้าง

ถ้าเรามัวแต่ยุ่งกับงานหรือการเรียน จนไม่ได้หาเวลาว่างให้ตัวเอง ผลเสียที่เกิดขึ้นอาจมีหลายอย่าง เช่น เราอาจเหนื่อยเกินไปจนไม่สามารถโฟกัสกับงานและทำงานได้แย่ลงได้ หรือ บางทีสุขภาพจิตของเราอาจถูกทำลาย ดังนั้น เราควรหาเวลาว่างไปเที่ยวกับเพื่อนบ้าง จะช่วยให้ Mental Agility ของเราดีขึ้นได้ เพราะการเข้าสังคมมักกระตุ้นการทำงานของจิตใจเรา ช่วยบรรเทาความรู้สึกแย่ ๆ เช่น ความเหงา และทำให้เราผ่อนคลายมากขึ้น

อย่าให้อะไรมารบกวนเราได้

บางครั้งสิ่งที่อยู่รอบข้างก็ทำให้เราคิดช้าลง หรือ มีสมาธิน้อยลงได้เหมือนกัน จึงจำเป็นที่เราจะต้องจัดการสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ถ้าเราทำงานในที่มีการรบกวนมากเกินไป ลองเดินออกมา และมองหาสถานที่ที่เงียบสงบปราศจากเสียงรบกวนมากขึ้น ลองปิดเสียงโทรศัพท์มือถือเวลาทำงานดู จะช่วยเพิ่มความโปรดักทีฟในการทำงาน และสมองของเราจะแล่นได้ดียิ่งขึ้น และที่สำคัญ คือ เราควรทำงานที่ละอย่าง ไม่ทำหลายอย่างพร้อมกัน (multi-tasking) ด้วย

ทั้งหมดนี้ก็เป็นวิธีพัฒนาความเร็วของจิตใจที่เราได้นำมาฝากทุกคนกัน เราหวังว่ามันจะช่วยให้ทุกคนสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีขึ้น ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีความสุขกับการทำงานมากขึ้นตามมา


APPENDIXS: 1 / 2

unlockmen
WRITER: unlockmen
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line