

Life
Schadenfreude ใครได้ดีกว่า มันต้องล่มจม อารมณ์สุดดาร์คยอดฮิตในสังคมที่เราควรอยู่ให้ห่างไกล
By: Chaipohn September 11, 2017 75791
“It is not enough to succeed. Others must fail” หรือถ้าเปลี่ยนเป็นวลีไทยที่คุ้นหูขึ้นมาอีกหน่อย ก็น่าจะเป็น “ถ้ากูไม่ได้ คนอื่นก็ต้องไม่ได้” หลายครั้งที่เราได้ยินคำพูดสุดชั่วช้านี้ หลุดออกมาจากของตัวโกง ตัวร้าย ในละครน้ำเน่าที่ดำเนินซ้ำกันไปมา แต่ที่จริงแล้ว นี่คือสิ่งที่หลายคนในยุคปัจจุบันกำลังรู้สึกกันอยู่ในใจ เวลาคนเราเห็นใครมีอะไรดีกว่า เหนือกว่า ทั้งในชีวิตจริง หรือทาง Social Network ก็อดไม่ได้ที่จะรู้สึกร้อนหัว แต่เมื่อไหร่ที่เห็นคนที่เหนือกว่าเหล่านั้นเดือดร้อน กลับยิ้มออกมาด้วยความรู้สึกดีโดยไม่รู้ตัว หรืออุทานกับเพื่อนอย่างถึงรสว่า “กูว่าแล้ว แม่งไม่มีทางเจ๋งจริงหรอก” อารมณ์สุดดาร์คของมนุษย์ ที่เฝ้ารอดูคนอื่นล้มเหลวกว่าตัวเอง มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Schadenfreude
Schadenfreude มาจากภาษาเยอรมัน เป็นการรวมคำที่ความหมายตรงตัวมาก ประกอบด้วย Schaden (damage, harm) และ Freude (joy) หมายถึงการรู้สึกมีความสุข เมื่อเห็นคนอื่นผิดพลาด ล้มเหลว และรู้สึกเป็นทุกข์ เมื่อเห็นคนอื่นได้ดีกว่า มีสาเหตุจากการมี Low Self-Esteem ไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง ก็เลยต้องหาวิธีทำให้ตัวเองรู้สึกสูงส่ง มีคุณค่ามากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นจุดอ่อน ปมด้อยของตัวเอง เมื่อเห็นคนอื่นได้โอกาส หรือมีในสิ่งที่เราไม่มี เมื่อคนอื่นล้มเหลว จะรู้สึกมีความสุข และอาจะซึมซับเข้าไปในชีวิตประจำวันโดยไม่รู้ตัว
ในอดีตการแสดงออกถึงความรู้สึกแย่ ๆ อันนี้อาจจะทำไม่ได้ง่าย หรือเปิดเผยมากนัก แต่ในยุคที่ Internet อยู่ในมือ แสดงความคิดเห็นได้ง่ายด้วยปลายนิ้ว แถมไม่ต้องเปิดเผยตัวตน มาพร้อมการโชว์ Status อวดสรรพคุณของดี ที่ง่ายขึ้นเช่นกัน เราจึงมีโอกาสเห็นคนโชว์ของกันได้ไม่เว้นแต่ละวัน ความไม่สบายใจ และอารมณ์ Schadenfrede จึงเกิดขึ้นตลอดเวลา เป็นรากฐานของการรุมซ้ำเติมเมื่อมีใครพลาดท่าขึ้นมา และความเคยชิน ก็ทำให้เราเผลอแสดงออกในชีวิตจริงมากขึ้นเรื่อย ๆ และมันนี่แหละ ที่เป็นสาเหตุของความแตกแยกในสังคม ความหงุดหงิดใจ ทำให้คนไม่มีความสุขในการใช้ชีวิตเท่าที่ควร ดังนั้นเราจึงต้องรีบรับมือความรู้สึกนี้ เพื่อความสุขของตัวเองและคนรอบข้าง
ก่อนจะทำการรักษา เราต้องแบ่งแยกระดับของความดาร์คในจิตใจก่อนว่าโหดรัายเกินขั้นคนธรรมดาหรือยัง โดยพื้นฐานแล้ว ความอิจฉา เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ และอยู่ในพฤติกรรมของมนุษย์อยู่แล้ว มนุษย์เห็นคนอื่นได้ดีกว่า ย่อมรู้สึกอยากแข่งขันให้ชนะ ซึ่งในระดับปกติ มันจะกลายเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาความสามารถ นับว่าเป็นเรื่องที่ดี
แต่ Schadenfreude ขั้นหนัก คือการมีความสุข บนความทุกข์ของคนอื่น ซึ่งเป็นสัญญาณของความซาดิสต์ภายในจิตใจ ที่ควรต้องแก้ไขก่อนจะฝังรากลึกเกินไป โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้เรา เช่นเพื่อนร่วมงานได้รับการเลื่อนขั้น แล้วเกิดเหตุบ้านไฟไหม้ มนุษย์ปกติคงต้องรู้สึกสงสาร เสียใจ เห็นใจ แต่ถ้าใครรู้สึกมีความสุข สะใจ อารมณ์ดีขึ้นมาจากเหตุนี้ อันนี้ถือว่าหนัก น่ารังเกียจ และควรไปพบจิตแพทย์เพื่อทำการรักษาให้ดีขึ้น ก่อนที่ Schadenfreude จะส่งผลร้ายมากมายในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็น
ไม่ต้องรู้สึกอับอาย ถ้าจะยอมรับว่าตัวเองก็มีอารมณ์แบบ Schadenfreude เพราะคนส่วนใหญ่อาจจะต้องเคยเป็นมาบ้างในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต คนทำธุรกิจ คนทะเยอทะยาน คนแย่งกันจีบสาว สารพัดโอกาสที่จะทำให้เรารู้สึกหัวร้อนในความพร้อมของคนอื่น ถ้ารู้สึกว่าถลำลึกมากเกินไป แนะนำให้ปรึกษาจิตแพยท์เพื่อความสบายใจ ถ้าให้เราแนะนำ ก็อยากให้เอาเวลาที่มานั่งอิจฉา ไปพัฒนาความสามารถของตัวเองจะดีกว่า และใช้มันเป็นแรงผลักดันตัวเองต่อไป แถมตอนนี้สังคมบ้านเรากำลังอ่อนแอ ต้องการการดูแล เห็นอกเห็นใจ และสามัคคีกันของคนในสังคมมากกว่าคนที่มีอารมณ์แบบ Schadenfreude บ้านเมืองคงดูโหดร้ายมากเลยทีเดียว
ส่วนใครที่รู้ว่าคนใกล้ตัวเป็นคนแบบ Schadenfreude ก็ขอให้ตีตัวออกให้ห่าง ไม่ว่าเค้าจะเป็นใครก็ตาม เพราะสิ่งที่เค้าคิดเวลาอยู่ใกล้ ก็คงไม่มีอะไรมากไปกว่าการรอดูกว่าเราจะพลาดเมื่อไหร่ เพราะความผิดพลาดของเรา เป็นความสุขของเค้านั่นเองครับ