World

เจาะลึก 4 ฐานทัพลับ Air-Force ที่อเมริกาเคยสร้างไว้ในไทยช่วงสงครามเวียดนาม

By: unlockmen May 21, 2015

สงครามเวียดนามปะทุขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 1955 ไปจนกระทั่งเมื่อกรุงไซ่ง่อนแตกในวันที่ 30 เมษายน 1975 เป็นระยะเวลายาวนานถึง 20 ปี สงครามนี้เป็นสงครามที่เรียกว่า “สงครามตัวแทน” ที่เรียกว่าสงครามตัวแทนก็เพราะว่าแท้จริงแล้ว ไม่ใช่สงครามที่เกิดขึ้นภายในประเทศ แต่เป็นสงครามที่เกิดขึ้นเพราะขั้วอำนาจสองฝั่งของทางโลกตะวันตกเอง คือฝั่งคอมมิวนิสต์ และฝั่งประชาธิปไตย โดยอเมริกาเป็นคนเริ่มสงครามนี้ขึ้นเนื่องมาจากอ้างเหตุผลด้านเสรีภาพของมนุษย์ และทฤษฎีโดมิโน่ อเมริกาอ้างว่าระบอบคอมมิวนิสต์เป็นระบอบที่ริดรอนสิทธิเสรีภาพและความสุขของคนทั่วไป

ผลพวงของสงครามเวียดนามนี้ แท้จริงแล้วก็ถือเป็นหนึ่งในผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะหลังจากอเมริกาและโซเวียตชนะสงคราม ก็ได้ทำการแบ่งประเทศผู้แพ้สงครามออกเป็นสองส่วนเพื่อแยกกันปกครอง จะเห็นได้ว่ามีหลายประเทศที่ถูกกระบวนการนี้แบ่งออก โดยเวียดนามเหนือปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ และเวียดนามใต้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย จนกระทั่งเวียดนามเหนือมีความคิดที่จะทำการรวมประเทศเข้าด้วยกันโดยร่วมมือกับเวียดกง ซึ่งองค์กรนี้เป็นกลุ่มคนที่อยู่ในเวียดนามฝั่งใต้แต่มีความฝักใฝ่ในคอมมิวนิสต์ โดยมองว่าเวียดนามใต้ เป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของอเมริกา  เพราะฉะนั้นการที่จะยอมให้ประเทศเวียดนามใต้ถูกรุกรานและที่สำคัญคือถูกรวมกับเวียดนามเหนือนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ในสายตาของโลกประชาธิปไตย เพราะจะเข้าข่ายทฤษฎีโดมิโน่ คือ อเมริกาเชื่อว่าถ้าเมื่อเวียดนามถูกปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์เมื่อไหร่ ประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ก็อาจจะหันไปปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์กันหมดตามเวียดนาม เหมือนตัวโดมิโน่ที่ล้มต่อกันเป็นทอดๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่อเมริกายอมไม่ได้ จึงได้เริ่มสงครามนี้ขึ้น

และในช่วงเวลานั้นสหรัฐได้มาขอตั้งฐานทัพในประเทศไทยด้วย เพื่อที่จะเป็นสนามบินเปลี่ยนผ่านเพื่อส่งเครื่องบินรบต่างๆ ไปทิ้งระเบิดในเวียดนาม เล่ากันว่าในสนามบินเหมือนเป็นโลกอีกโลกหนึ่งเลยทีเดียว โดยอเมริกาเหมือนยกเมืองๆ นึงของอเมริกามาไว้ในสนามบิน มีร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดแบบอเมริกันเบรคฟาสต์เพื่อบริการเหล่าทหาร มีสาวเสิร์ฟที่เป็นชาวอเมริกาตามบาร์หรือร้านเหล้า ทั้งๆ ที่ในยุคนั้นเมืองไทยยังไม่เจริญไปถึงขั้นนั้น โดยถือเป็นสถานที่บัญชาการฐานทัพลับสุดยอดไม่ให้ผู้ใดเข้าไปได้โดยเด็ดขาดนอกจากผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น ฐานทัพเหล่านี้สร้างความมั่งคั่งและขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เฟื่องฟูในจังหวัดที่มีการตั้งฐานทัพขึ้นอย่างน่าตกใจ ลักษณะการเข้ามาแทรกซึมของอเมริกาจะเข้ามาในรูปแบบบริษัทเหมือนยุคสมัยอาณานิคมอังกฤษที่บุกไปในประเทศอินเดีย โดยเชื่อกันว่าบางบริษัทที่เข้ามาตั้งมีรัฐบาลอเมริกาอยู่เบื้องหลังหลายบริษัท ยกตัวอย่างเช่น บริษัทแอร์อเมริกาที่มาเปิดที่จังหวัดอุดรธานีในช่วงทศวรรษที่ 60 เป็นต้น

ดังนั้นวันนี้ UNLOCKMEN ได้หยิบภาพถ่ายของฐานทัพสหรัฐอเมริกาที่เข้ามาสร้างฐานทัพในไทย ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 4 แห่งภายในช่วงเวลาระหว่างสงครามเวียดนาม เรียกได้ว่ามีบรรดาเครื่องบินที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นมาจอดอยู่ในฐานทัพอากาศเหล่านี้มากมาย จะมีที่ไหนบ้าง มาดูกันเลยครับ

 

1.  ( โคราช )

Korat Royal Thai Air Force Base, 1962-1975

Major USAF Unit: 388th Tactical Fighter Wing, 1965-1975

 

 

18th_Tactical_Fighter_Wing_F-105s_deploying_to_Korat_RTAFB,_Thailand_1965

ภาพ ฝูงเครื่องบินขณะฝึกทำการรบแบบยุทธวิธีกองโจร

 

36th_Tactical_Fighter_Squadron_F-105D_at_Korat_RTAFB_Thailand_1965

ภาพ หนึ่งในเครื่องบินจากฝ่ายยุทธการกองโจร F-105D กำลังบรรทุกระเบิด MK82 จำนวน 500 ปอนด์ เพื่อไปปฏิบัติภารกิจ

 

Big_Hangar_-_Korat_-_1968

ภาพ โรงเก็บเครื่องบินขนาดใหญ่ในปี 1968 ยามค่ำคืน ขณะที่เหล่าช่างกำลังซ่อมบรรดาเครื่องบินที่มีปัญหา นอกจากนี้โรงเก็บเครื่องบินนี้ถูกสร้างขึ้นอย่างพิเศษเพื่อให้สามารถป้องกันแสงแดดและพายุฝนได้อย่างดีเยี่ยม

 

F-105_Flightline_-_Korat_-_1968

ภาพ ฝูงสายการบิน F-105Ds กว่า 50 ลำ ที่ได้ทำการบินมาจากสนามบินอู่ตะเภา ในวันที่ 1 กรกฎาคม 1968
Lockheed_EC-121s_at_Korat_RTAFB

ภาพ เครื่องบินที่ชื่อว่า “College eye” รุ่น EC-121D กำลังทำการบินร่อนลง ส่วนลำที่จอดอยู่ข้างล่างมีชื่อว่า “Batcat” โดยเป็นรุ่น EC-121R

 

2. ( นครพนม )

Nakhon Phanom Royal Thai Navy Base, 1962-1976
Major USAF Unit: 56th Special Operations Wing, 1967-1975

01 in 1960s

ภาพ ที่ถูกถ่ายจากมุมสูงของ Nakhon Phanom Royal Thai Navy Base ในยุค 1960s

 

U.S. Air Force air rescue team Four NKP based A-1 Skyraiders and a Lockheed HC-130P Hercules recovery aircraft refueling a Sikorsky HH-3E Jolly Green Giant helicopter

ภาพ เหล่าฝูงเครื่องบินกู้ภัยกำลังออกปฏิบัติภารกิจ

 

IW2

ภาพ เครื่องบิน Lockheed OP-2E รหัสเนปจูน สังกัดฝูงบิน VO-67 ปฏิบัติภารกิจเหนือน่านฟ้าประเทศลาวระหว่างปี 1967-1968

 

BobHope in 1966

ภาพ Bob Hope ศิลปินชื่อดังชาวอเมริกัน ได้ทำการบินมาจัดการแสดงให้เหล่าทหารดูในค่ายเนื่องในเทศกาลวันคริสต์มาส

 

A1s-nkp

ภาพ เหล่าฝูงเครื่องบินขับไล่ ดักลาส A-1E และ A-1H ที่ประจำอยู่ที่ฐานทัพ Nakhon Phanom Royal Thai Navy

 

A 609th SOS A-26K starting engines in 1969

ภาพ เครื่องบินรุ่น A-26 กำลังทำการติดเครื่องยนต์ ในปี 1969

 

3. ( อุบลราชธานี )

Ubon Royal Thai Air Force Base, 1965-1974 
Major USAF Unit: 8th Tactical Fighter Wing, 1965-1974

 

 

8tfwF-4D

ภาพ เครื่องบิน McDonnell F-4D-29-MC Phantom  เป็นเครื่องบินลำแรกๆ ที่ถูกพัฒนาให้ใช้เลเซอร์ในการนำวิถีระเบิด เครื่องบินลำนี้สามารถรอดอยู่ได้จนกระทั่งจบสงครามเวียดนาม และถูกไปใช้ต่อในภารกิจอื่นของสหพันธ์วิทยุชุมชนโลกภาคพื้นเอเชีย ในปี 1989

 

Ac-130a-55-0029-16SOS-Ubon-May74

ภาพ เครื่องบิน Lockheed C/AC-130A-LM ซึ่งสามารถรอดอยู่ได้จนกระทั่งจบสงครามเวียดนาม และถูกส่งไปใช้ในภารกิจอื่นของสหพันธ์วิทยุชุมชนโลกภาคพื้นเอเชียในปี 1989

 

F-104Cs_475TFS_DaNang_1965

ภาพ ฝูงเครื่องบิน F-104C

 

Martin_B-57G_53-1588_13th_Bomb_Squadron_Ubon_RTAFB_1970

ภาพ เครื่องบินทิ้งระเบิด Martin B-57G

4. ( อุดรธานี )

Udorn Royal Thai Air Force Base, 1964-1976
Major USAF Unit: 432d Tactical Reconnaissance Wing, 1966-1975

 

 

 

FrontGate-21-Dick-Hammaker_fs

ภาพ บริเวณด้านหน้าประตูทางเข้าของฐานทัพ Udorn Royal Thai Air Force จะเห็นได้ว่ารถที่ไม่ได้รับการรับรองจะไม่ได้รับอนุญาติให้ขับเข้าไปด้านในอันเนื่องจากระบบคัดกรองเพื่อรักษาความปลอดภัย

 

udorn19a

ภาพ เครื่องบินรุ่น F-104C กำลังทำการลงจอดบนรันเวย์

 

Udorn-outabout04Maingatebackside

ภาพ ถ่ายจากมุมมองด้านในที่มองออกไปภายนอกของฐานทัพ

 

zoom-sher3

ภาพ เครื่องบิน McDonnell RF-4E-MC Phantom II ขณะลงจอดหลังจากไปปฏิบัติภารกิจนอกฐานทัพ

 

เมื่อสงครามเวียดนามจบลงโดยที่มีอเมริกาเป็นฝ่ายแพ้สงคราม หลังจากได้ทำการขนทหารกลับไปหมดแล้ว ทางรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาได้มอบสนามบินเหล่านี้ทุกแห่งที่สร้างขึ้นให้แก่ประเทศไทย แต่เนื่องด้วยงบประมาณไม่เพียงพอในการดูแลรักษา สนามบินบางแห่งจึงถูกปล่อยทิ้งร้างและไม่ได้ใช้งาน ซึ่งผลพลอยได้ที่ดีที่สุดที่เราได้รับจริงๆ คือการสร้างถนน เพราะถนนบางแห่งที่ทางกองทัพของสหรัฐอเมริกาได้ลาดยางและสร้างไว้ในถิ่นธุรกันดารยังถูกใช้จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

เราจะเห็นได้ว่าสงครามผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ปัญหาต่างๆนานา ก็ไม่ได้ยุติไปจากการทำสงครามแต่อย่างใด ทิ้งไว้แต่ร่องรอยของความโศรกเศร้าและการสูญเสีย เพราะฉะนั้นนี่อาจเป็นอีกบทเรียนหนึ่งที่สอนเราให้รู้ว่า การใช้กำลังไม่ได้ช่วยเราแก้ปัญหาใดๆ ได้เลยนั่นเอง

unlockmen
WRITER: unlockmen
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line