EVENT

BKKDW2020: ‘HUNDRED YEARS BETWEEN’ เรื่องเล่าภาพฟิล์มและจดหมายที่ส่งข้ามกาลเวลานับ 100 ปี

By: anonymK February 7, 2020

ตึกเก่าบางหลังที่เคยเดินผ่าน ชั่วชีวิตนี้เราอาจไม่มีโอกาสได้เห็นข้างในของมัน เรื่องเล่าที่สูงศักดิ์ที่อ่านจากตำรา พงศาวดาร ฟัง ไปก็เหมือนมีฝ้าบางมากั้นไว้เสมอ

บางทียิ่งเป็นเรื่องพระองค์ เป็นเจ้า บางทีคนจะยิ่งรู้สึกห่าง เป็นสิ่งที่คนจะกระเถิบ แต่อยากจะให้คนเห็นว่าจริง มันมีความเป็น Humanity ในเรื่องนี้พอสมควร

อยากให้ทุกคนเห็นว่าท่านแม้ว่าจะเป็นบุคคลเชิงประวัติศาสตร์ เป็นกษัตริย์ไทย ท่านก็โชว์ความรู้สึกส่วนพระองค์แล้วท่านก็มีความเป็นมนุษย์อยู่เหมือนทุกคน อยากให้ทุกคนเข้าใจตรงนี้ คิดว่าทุกคนพอจะเข้าใจเพราะทุกคนเคยมีญาติ

คำอธิบายในฐานะภัณฑรักษ์และเจ้าของผลงานของท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน เจ้าของนิทรรศการภาพถ่ายHundred Years Between” เล่าเรื่องราวหลังตามรอยเส้นทางเสด็จฯ ประพาสรัชกาลที่ 5 ประเทศนอร์เวย์ ที่จัดขึ้นเพื่อฉลองวาระครบรอบ 115 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยนอร์เวย์ในปี 2563 ซึ่งกำลังจัดแสดงอยู่ในงาน Bangkok Design Week 2020 ตรึงเราไว้ทันทีที่ได้ยิน

ทำไมงานนี้ถึงเป็นงานที่มีผู้คนพูดถึงมากที่สุดในบรรดางานกว่า 500 ชิ้นที่กำลังจัดอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน ทำไมคนถึงต้องแห่กันจองเพื่อเข้าชมงาน

เหตุผลเพราะอีกแค่ 2 วันกับไม่กี่ชั่วโมง พวกคุณจะไม่ได้สัมผัส 3 สิ่งนี้ตลอดกาล

  1. ไม่ได้เห็นมุมมองของรัชกาลที่ 5 และท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน ในมุมของความเป็นมนุษย์ที่ไม่แตกต่างจากปุถุชนอย่างเราทุกคน
  2. ไม่ได้เข้าไปในศุลกสถาน อาคารเก่าอายุ 130 ปีที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ด้วยสายตาตัวเองไปจนตลอดชีวิต
  3. ไม่ได้เสพศิลป์ สัมผัสความอิ่มเอมกับภาพถ่ายของเรื่องเล่า และเห็นกระบวนการจัดนิทรรศการในโบราณสถานที่ชวนทึ่ง

เราเองก็ไม่พลาดโอกาสนี้ เดินทางไปเก็บภาพและเบื้องลึกที่มาการจัดนิทรรศการจากท่านผู้หญิงฯ นำมาเผยแพร่ต่อเพื่อทำให้ทุกคนเต็มอิ่มกับนิทรรศการครั้งนี้มากขึ้น

ร่องรอยกาลเวลาที่ถางไว้ผ่านตัวหนังสือ ภาพถ่าย และตึกเก่า

พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการแบ่งออกเป็น 3 ชั้น แต่ละชั้นให้คาแรกเตอร์และความรู้สึกที่ต่างกัน ไม่ได้เล่าตรงไปตรงมาแต่เปิดให้ผู้คนที่เข้าไปค่อย สัมผัสความรู้สึกผ่านภาพถ่าย จดหมาย และร่องรอยของตึกที่ทุกอย่างสัมพันธ์กันหมด ร้อยเรียงออกมาเป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญ

Hundred Years Between” นำพระราชหัตถเลขาที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์ ไกลบ้าน จากการเสด็จประพาสยุโรปของรัชกาลที่ 5 คราวเสด็จฯ นอร์เวย์ นำมาเล่าเคียงคู่กับภาพถ่ายและจดหมายของท่านผู้หญิงที่เดินทางไปยังสถานที่เดียวกันเพื่อสะท้อนความรู้สึกและความเป็นมนุษย์ที่มีธรรมชาติที่มีความอ่อนน้อมสวยงาม สามารถเกื้อกูลชีวิตของผู้คนและมีอำนาจทำลายล้างชีวิตและอารยธรรมของผู้คนเช่นเดียวกัน จัดขึ้นในศุลกสถาน สถานที่ที่จัดเลี้ยงงานสมโภชคราวการเสด็จนิวัติพระนครของรัชกาลที่ 5 ในครั้งนั้น

ทันทีที่เดินเข้าไปก้าวแรก เราจะสัมผัสภาพความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติที่รายล้อมจากภาพถ่ายกล้องฟิล์มที่พิมพ์ลงบนแคนวาสขนาดใหญ่ ติดตั้งให้ลอยเหนือพื้น ภาพที่จัดแสงไว้อย่างลงตัว ส่องสว่างเพียงบางจุดนำสายตาให้เห็นรายละเอียดที่ยิ่งใหญ่ของธรรมชาติบนภาพ แต่ก็ไม่กลบโครงสร้างของตึกเก่า เป็นเสน่ห์ที่สนับสนุนกันทำให้ภาพคล้ายมีมนต์สะกด

ส่วนห้องด้านข้างที่แขวนภาพเดี่ยวภาพเดียวนี้ เป็นภาพพิเศษที่คุณใหม่กล่าวว่าเป็นภาพป่ากลางกรุงออสโล ซึ่งเป็นสวนสาธารณะตั้งใจกลางเมือง ความรู้สึกสงบและอ่อนน้อมเมื่อได้สัมผัส ห้องนี้จึงเลือกจัดวางโดยใช้แสงธรรมชาติที่ส่องผ่านช่องหน้าต่างด้านหลัง ภาพที่ออกมาจึงนุ่มนวลและเมื่อเข้าชมต่างช่วงเวลาก็ทำให้ความรู้สึกแตกต่างกัน

เดินขึ้นบันไดมาที่ชั้น 2 จากความรู้สึกหนักอึ้งที่ทำให้รู้สึกว่าตัวเราเล็กในด้านล่างจะรู้สึกเบาบางลง ชั้นนี้เราจะเริ่มเห็นตัวอักษรที่เล่าเรื่องราวของเมืองและสถานที่แห่งเดียวกันกับที่รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาส พร้อมกับภาพฟิล์มของคุณใหม่ที่พิมพ์ออกมาให้มีขนาดเล็กลงและวางอยู่บนโต๊ะอะคริลิก

Dialogue ระหว่างคน 2 คนที่อยู่ในสถานที่เดียวกันบอกเล่าความรู้สึกที่มนุษย์ทุกคนสามารถสัมผัสได้ ห้วงเวลาที่เห็นภาพเดียวกันนั้น ช่องว่างที่ห่างกันนับ 100 ปีจะค่อย ใกล้ขึ้นและบรรจบด้วยความรู้สึกหลอมรวมกัน

ปิดท้ายด้วยชั้นบนสุดที่เผยโครงสร้างทั้งหมด ไม่ปิดม่านกรองแสงเหมือนชั้น 2 เพราะคุณใหม่ตั้งใจบาลานซ์ความสำคัญระหว่างชิ้นงานและสถานที่ เพื่อสร้าง Natural spirits of the site ขึ้นมา ชั้นนี้มีสไลด์ภาพเก่าสมัยรัชกาลที่ 5 กว่า 25 ภาพฉายบนสไลด์ดิจิทัล พร้อมกับภาพถ่ายของท่านผู้หญิง

พร้อมกันนี้ ชั้นนี้ยังเล่าเรื่องเล่าของคุณฮานส์ผู้จัดการในนอร์ธเคป (North cape) หนึ่งในบุคคลที่คุณใหม่กล่าวว่าช่วยทำให้ชิ้นงานสมบูรณ์ที่สุด เนื่องจากเขาให้คำตอบว่า เหตุใดคนนอร์เวย์จึงสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างดีและน่าภูมิใจ

สิ่งที่ดึงดูดเราเข้าไปในเรื่องคือฮานส์ ผู้จัดการที่อยู่ในนอร์ธเคป (North cape) ตอนสุดท้ายที่เราคุยกันก็ถามฮานส์ว่าใช้ชีวิตอยู่ตรงนี้สภาพอากาศมันก็โหด (อยู่บนเขา) ธรรมชาติมันมีความยิ่งใหญ่ โหดร้าย เราอยู่ได้อย่างไร เขาบอกว่าเขาไม่เคยคิดอย่างนี้เลย เขาบอกว่าบางทีคนเรา ถ้าต้องการความสวยหรือยิ่งใหญ่แบบนี้มันก็ต้องอยู่คู่กับความโหดร้าย มันต้องอยู่คู่กัน มันเป็นสิ่งเดียวกัน

 

ต่างกันบนผิว แต่คล้ายคลึงบนความรู้สึก

งานนี้เป็นงานที่คุณเข้ามาแล้วอาจจะสงสัย เพราะไร้คำอธิบาย แต่มี Context รายทางที่ทำหน้าที่เหมือนคำใบ้ให้เราค่อย ต่อยอดความสงสัยพร้อมกับความประทับใจ และถ้าหลังจากที่เดินออกจากที่นี่ไปแล้วคุณตั้งคำถาม พยายามหาคำตอบนั่นแปลว่าคุณมาถูกทางแล้วตามความตั้งใจและจุดประสงค์ที่เจ้าของผลงานสร้างสรรค์ผลงานไว้

ทุกคนก็ถามว่าจะทำเป็น Wall Text หรือเปล่า ก็บอกว่า ‘No’ นี่คือความตั้งใจ อยากให้คนค่อย หาเพราะว่าหาแล้วมันจะมีการกระตุ้นให้คนกลับไปหาข้อมูล เป็น curiousity ขึ้นมา

อยากให้คนเข้ามาแล้วรู้สึกว่ามันอบอุ่นและเข้าใจ และมันเป็นสิ่งที่เขาก็เป็นส่วนหนึ่งของเรื่อง ก็จะพูดมาตลอดเวลาว่านี่ไม่ได้เป็นนิทรรศการภาพถ่ายแต่ว่าเป็น experience มากกว่า สีสันของตึก พยายามที่จะดึง แสง Natural เข้ามาเพราะว่าอยากให้คนรู้สึกในเชิงลึก

ยืนยันอีกครั้งว่าถ้าไม่มาครั้งนี้ อาจจะไม่มีโอกาสอีกแล้วในชีวิต เพราะถ้าตึกบูรณะไปคงไม่เหมือนเดิมอีก ชาว UNLOCKMEN อย่าพลาดไปเก็บภาพประวัติศาสตร์พร้อมกันได้ใน 2 วันสุดท้ายหรือคืนนี้!

 

รายละเอียดการเข้าชม

นิทรรศการจัดแสดงวันที่ 1 – 9 กุมภาพันธ์ .. 2563 เวลา 11.00 – 21.30 . ที่ศุลกสถาน หรือโรงภาษีร้อยชักสาม ซอยเจริญกรุง 36 เปิดให้เข้าชมได้รอบละ 20 ท่าน รอบละ 30 นาที ใครที่ไม่อยากเสี่ยงไปต่อคิวหน้างานสามารถจองคิวล่วงหน้าได้ที่ www.zipeventapp.com/e/Hundred-Years-Between (ต้องมารับคิวก่อนเข้าชม 15 นาที) แล้วมารับสัญลักษณ์เข้าชมงานที่หน้าอาคารก่อนเวลาเข้าชม 15 นาที หากไม่มารับบัตรคิวภายในเวลาที่กำหนด ขอสงวนสิทธิ์ให้คิวต่อไปชมก่อน

 

PHOTOGRAPHER: Warynthorn Buratachwatanasi

anonymK
WRITER: anonymK
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line