

CARS
ที่สุดแห่งดีไซน์ GULLWING DOORS CAR รถประตูปีกนก (1954-2025)
By: GEESUCH January 30, 2025 234030
ในฐานะเด็กที่เติบโตมากับการดูหนัง Back To The Future และมี ‘มาร์ตี้ แม็คฟลาย’ กับ ‘ด็อก’ เป็นฮีโร่ประจำตัวเสมอ ภาพของ DeLorean DMC-12 กับการเปิดประตูแบบปีกนกนางนวล (GULLWING DOORS) ยังคงเป็นสิ่งที่เท่ที่สุดของดีไซน์ประตูรถในโลกยนตกรรมของเรามาทั้งชีวิต
โพสต์นี้ UNLOCKMEN ขอพาทุกคนไปรู้จักกับเหล่ารถที่ดีไซน์ประตู GULLWING DOORS เริ่มกันตั้งแต่ประวัติศาสตร์คันแรก จนถึงวันที่ EV CAR ก็ยังเคารพ Herritage Story เคารพจุดกำเนิดของประตูปีกนกบานแรก
เมื่อเราพูดถึงประตูปีกนกนางนวล / Falcon-Wing Doors / หรือชื่อที่นิยมเรียกอย่างเป็นทางการว่า GULLWING DOORS ในอุตสาหกรรมยานยนถูกใช้เป็นครั้งแรกในยุค 1950s และผู้เป็น The Pioneer ก็คือ .. คือใครให้ทาย .. คำตอบก็คือ Mercedes-Benz 300SL รถแข่ง 215 HP ที่เปิดตัวในปี 1954 ในงาน International Motor Sports Show ประจำนิวยอร์ก และเปลี่ยนเกมของ Automobile Design ระดับโลกโดยทันที
สาเหตุที่ทำให้ทาง Benz ต้องดีไซน์ประตูให้มีความล้ำขนาดนั้นก็เป็นเพราะว่ารถซีรีส์นี้มีแชสซีแบบ Space Frame ที่โครงสร้างเป็นเพนพอยต์กับการประตูเปิดข้าง (Side-Hinged Doors) หลังจากที่รถรุ่นนี้ออกมา ทำให้เหล่า manufacturers หลาย ๆ ค่ายพยายามทำตามบ้าง แต่ปัญหาเดียวที่ยังเป็นปัญหามาจนถึงรถรุ่นปัจจุบันก็คือ ประตูแบบนี้ต้องใช้การลง Man Hour ของวิศวกรรมอันซับซ้อนที่มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่แพงลิบลิ่ว ความนิยมจึงไม่เกิดขึ้นมานัก ความยูนีกนี้จึงเกิดกับรถซีรีส์พิเศษที่เป็น Limited Car หรือ Super Sport Car สมรรถนะสูงเท่านั้น
รถตัวเก่งของแบรนด์ Italian Car-Manufacturing ที่สำนักข่าวรถหลายเจ้ามักจะใช้นิยามรถอิตาเลียนประตูปีกนกที่อยู่ส่วนท้ายของรถสุดเท่คันนี้ว่า “สปอร์ตคาร์ที่ถูกลืมเพราะโดนรุ่น Pantera บดบัง” โครงสร้างสุดดุดันของคันนี้เป็นผลพวงมาจากการใช้แชสซีแบบเดียวกับรุ่นก่อนหน้าอย่าง Vallelunga ผลงานการดีไซน์ของ Giorgetto Giugiaro ผู้ก่อตั้ง Italdesign ดีไซน์เนอร์คาร์ผู้ยิ่งใหญ่
นี่คือรถที่วางเครื่อง V8 สมรรถนะความแรงแบบ American Power คอนเซปต์ในความเร็วระดับ 306 hp คันนี้ถูกวางคอนเซปต์เอาไว้ตั้งแต่ชื่อรุ่น ‘Mangusta’ ที่มีความหมายว่า ‘พังพอน’ สัตว์สุดว่องไวที่สามารถฆ่างูพิษได้ และ ! พอพูดถึงงู รถคันนี้มีเรื่องเล่าในตำนานอยู่ว่า ตอนแรก De Tomaso คุยกับ Carroll Shelby เพื่อที่จะให้ช่วยสร้างรถที่มาฆ่า Shelby Cobr ในสนามแข่ง แต่โปรกเจกต์ก็ถูกยุติในปี 1965 เพราะว่าเชลบี้ไปช่วยพัฒนา Ford GT40
‘MELKUS RS 1000’ รถใช้งานจริงบนท้องถนนคันแรกของเฟอร์รารี่แห่งตะวันออก
ฉายาของ “Ferrari of the East” แบรนด์ Car Manufacturer จากเยอรมันที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1959 โดย Heinz Melkus นักแข่งรถจาก Dresden ซึ่งในช่วงเวลาที่ดำเนินธุรกิจแบรนด์ผลิตแต่รถยนต์ที่เป็น racing cars สำหรับแข่งในสนามเท่านั้น แต่ MELKUS RS 1000 ที่เกิดขึ้นในปี 1969 นับเป็นคันแรกที่ถูกตั้งเป้าให้เป็นรถใช้จริงบนถนน (แล้วก็ดีไซน์ GULLWING DOORS ซะเลย ไม่ทิ้งลายความมันส์)
รถหน้าตาละม้ายคล้าย Ferrari 250 GTO คันนี้ ติดตั้ง Roll Bars เอาไว้ 2 จุด 1.กระจกบังลม 2.ด้านหลังเบาะนั่งคนขับ เครื่องยนต์ 3 สูบ 2 จังหวะ ให้แรงม้าที่ 68 hp ทำให้ตัวรถที่ตัวถังไฟเบอร์กลาสมีน้ำหนักเบามาก เพียง 1,500 pounds เท่านั้น สมกับเป็นรถใช้งานจริงบนถนนคันแรกและคันเดียวของ MELKUS จริง ๆ
รถสปอร์ตคูเป้จากยุค 1970s ผลงานชิ้นเอกของ Malcolm Bricklin ชายผู้เป็นคนนำเข้า Subaru มาจำหน่ายอเมริกา กับรถรุ่น Bricklin SV-1 ที่เป็นชื่อคู่กับชายระดับตำนานแม้ในวันที่เขาจากไปแล้วก็ตาม
SV-1 มีชื่อเต็ม ๆ ว่า ‘Safety Vehicle 1’ ทำให้ความแรงของรถสปอร์ตคันนี้มาพร้อมกับความปลอดภัยระดับสูง รวมถึงมีนวัตกรรมที่เป็นบรรทัดฐานของรถปัจจุบัน เช่น Roll Cage เป็นต้น แนวความคิดเบื้องหลังความแรงระดับ 220-hp ของเครื่อง AMC V-8 คือการวางสมรรถนะไม่ให้เกินไปกว่าความปลอดภัยในการใช้ความเร็วของอเมริกา ไม่รู้ว่าใครคิดอย่างไร แต่เรารู้สึกว่านี่คือหนึ่งในรถที่มี Character Shape Design ของหน้ารถได้เข้ากับ Gullwing Doors มากที่สุดคันหนึ่ง
DeLorean DMC-12 เจาะเวลาหาอดีตกับรถปีกนกที่ไทม์เลสที่สุดของโลก
DMC-12 ผลิตโดย DeLorean Motor Company ค่ายรถเมืองลุงแซมที่ John DeLorean เป็นผู้ก่อตั้ง โดย Prototype คันแรกของ DMC-12 ผลิตขึ้นในปี 1976 เป็นงานออกแบบของ Giorgetto Giugiaro ก่อนต่อยอดพัฒนา Prototype จนกระทั่งปี 1981 DeLorean DMC-12 คันแรกก็ถูกส่งออกสู่ตลาด
ขุมพลัง DeLorean DMC-12 ที่ผลิตระหว่างปี 1981-1983 ใช้เป็นเครื่องยนต์ V6 PRV Engine ZMJ-159 เป็นเครื่องยนต์ขนาด 2.85 ลิตร ที่ให้พลัง 130 แรงม้าและแรงบิดที่ 153 ปอนด์-ฟุต โดยชุดเกียร์มีให้เลือกระหว่างแมนนวล 5-Speed และเกียร์อัตโนมัติ 3-Speed จะนับว่าเป็น Timeless Car ที่สุดคันหนึ่งของโลกก็ไม่กระดากปากที่จะพูดเลย
ย้อนกลับไปในปี 1992 ขอพาทุกคนไปรู้จักกับ GullWing ด้วยรถไซส์คอมแพคที่ถูกเรียกว่า keijidōsha Car (รถยนต์ที่มีขนาดเบา) จากแบรนด์ย่อยของ Mazda ถูกผลิตออกมาในยุคที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังถดถอย ทำให้สปอร์ตคาร์ไซส์เล็ก ความยาวไม่เกิน 3.4 เมตรและกว้าง 1.4 เมตร คันนี้ถูกผลิตขึ้นมาแค่ 4,000 คัน ตั้งแต่ปี 1992-1994 เท่านั้น
รถในโปรเจกต์ AZ-1 เป็นความร่วมมือกับ Suzuki แต่มีความแรงเพียงแค่ 64 แรงม้า ซึ่งเป็นกำลังสูงสุดที่กฎหมาย K-Car กำหนดในตอนนั้น
‘MERCEDES-BENZ 300SL’ ปลุกตำนานรถ Gullwing Doors รุ่นแรกขึ้นมาอีกครั้ง !
เห็นทรง เห็นชื่อรุ่น เห็น Gullwing Doors ก็ไม่ต้องสืบเลยว่านี่ล่ะคือรถคันที่ต่อยอดแรงบันดาลใจมากจาก MERCEDES-BENZ 300SL และนี่คือ 2010 MERCEDES-BENZ 300SL กับความแรงเครื่องยนต์ V8 ขนาด 6.3 ลิตร สร้างขุมกำลัง 571 แรงม้าที่ 6,800 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 650 นิวตัน-เมตรที่ 4,750 รอบต่อนาที ตัวถังกับแชสซีส์ทำจากอลูมิเนียม ทำให้สามารถลดน้ำหนักรถมีน้ำหนักเพียง 1,620 กก. เท่านั้น
เอาล่ะ แล้วของโลกยนตกรรมที่ล้ำสมัยขึ้นในหลักวินาทีต่อวีนาที เข้าสู่ยุคสมัยของ EV CAR ERA อย่างเต็มรูปแบบ การพาดีไซน์ Gullwing Doors กลับมาอีกครั้งของ HYPTEC HT ภายใต้แบรนด์ AION เป็นอะไรที่บอกกับเราว่าดีไซน์ของประตูในรูปแบบนี้อยู่เหนือกาลเวลาอย่างชัดเจน
แน่นอนที่สุดของไฮไลต์ของรถคันนี้ก็ต้องเป็นประตูปีกนกนางนวลเรดาร์ 12 จุด ระบบดูดไฟฟ้าซึ่งทำให้เปิดและปิดประตูได้อย่างเงียบไร้เสียงรบกวน พร้อมกับช่วยมอบพื้นที่การขึ้นลงรถขนาดใหญ่เป็นพิเศษด้วยการเปิด 2.3 เมตร แก้ Pain Point แบบที่ทุกคนไม่ต้องย่อตัวก้มหัวขณะขึ้นรถอีกต่อไป แล้วยังสามารถจอดรถในที่แคบได้อย่างสบาย ด้วยระยะด้านข้างเพียง 34 ซม. พร้อมระบบหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางอัจฉริยะของ
AION HYPTEC HT มอเตอร์ไฟฟ้า 1 ตัว กำลัง 340 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 430 นิวตันเมตร แบตเตอรี่ขนาดความจุ 83.3 kWh ทำอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ภายใน 5.8 วินาที พร้อมวิ่งระยะทางสูงสุด 620 กม.(มาตรฐาน NEDC) ทำความเร็วสูงสุด 183 กม./ชม. การชาร์จไฟฟ้ากระแสตรง รองรับสูงสุด 280 kW ชาร์จ 10-70% ภายใน 15 นาที เท่านั้น