

Life
LIVE WITH LIFESTYLE คำตอบแท้จริงที่ทำให้เมืองตึกเพียบไม่เคยเป็น “บ้าน” สำหรับใครสักคน
By: unlockmen July 17, 2019 147074
เคยสงสัยไหมว่า ทำไมพอเราได้ยินคำว่า “กลับบ้าน” คนมักจะไม่ค่อยคิดถึง “กรุงเทพฯ” แม้ว่าบางคนจะเกิดและเติบโตที่นี่ก็ตามที ทำไมหนุ่มเมืองฝันจะไปปลูกผัก ทำสวนที่ต่างจังหวัด อยากใช้ชีวิตอยู่ในที่ใกล้ธรรมชาติ เรียบง่ายและสงบ หรือเวลาออกเที่ยว ปลายทางที่เราคิดไว้ก็ส่วนใหญ่ต้องเป็นต่างจังหวัดหรือต่างประเทศเท่านั้น
นี่เป็นเรื่องที่ติดอยู่ในใจเรามานานและทำให้เราหวนกลับมาเริ่มคิดอย่างจริงจังว่า จริง ๆ แล้วผู้ชายเราไม่ชอบ “เมือง” หรือไม่ชอบที่ “เมือง” มันมีบางอย่างที่เราไม่พอใจอยู่กันแน่ อะไรคือเหตุผลที่ทำให้เราโหยหาการอยู่ต่างจังหวัดกับต่างประเทศมากกว่า จนในที่สุดเราก็พบว่าคำตอบมันอยู่ที่ “ไลฟ์สไตล์” ที่เราต้องการที่มันไม่สัมพันธ์กับพื้นที่ต่างหาก
เรื่องจริงที่คนส่วนใหญ่ไม่อยากทิ้งตัวไว้กับเมืองอย่างกรุงเทพฯ ไม่ใช่แค่คำพูดบ่นไปวัน ๆ รู้หรือเปล่าว่าขณะที่กรุงเทพฯ ติดอันดับเมืองน่าเที่ยวเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน กรุงเทพฯ แต่กลับเคยไม่ติดอันดับหนึ่งในสิบของเมืองน่าอยู่เลยสักครั้ง ทั้งหมดนี้มาจากปัญหาหลาย ๆ เหตุผลที่ไม่เพียงเผยไว้ในผลสำรวจความสุขและความเครียดของคนกรุงเทพฯ ปี 2561 ที่ชี้ให้เห็นว่า คนกรุงเครียดกว่าคนต่างจังหวัด 2 เท่าเท่านั้น แต่ในระดับสากลเองก็เห็นพ้องเช่นเดียวกัน
จากผลสำรวจของ 2019 QUALITY OF LIVING RANKING ที่จัดโดย MERCER “กรุงเทพฯ“ เป็นเมืองน่าอยู่อันดับที่ 133 ลดลงจากปีที่ผ่านมา 1 ลำดับ แถมเรียกได้ว่าห่างไกลจากท็อปลิสต์ไปไกลมากสวนกับความเป็นเมืองท่องเที่ยวสุดฮิต เพราะเมืองมักขาดหลายปัจจัยที่ใช้วัดความน่าอยู่และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ดังต่อไปนี้
ถึงคนเราจะชอบแสงสี แต่เมื่อพักผ่อนหรือต้องการเสพพลังงานดี ๆ “ธรรมชาติ” จะเป็นสิ่งแรกที่เราพยายามวิ่งเข้าหาเสมอ เพราะสีเขียวไม่ได้ให้แค่ความสบายตาเท่านั้นแต่เป็นมาตรฐานของคุณภาพการใช้ชีวิตด้วย เห็นได้จากเหตุการณ์ PM 2.5 ในปีที่แล้ว แม้จะเป็นบทเรียนที่ผ่านมาชั่วคราวแล้วหายไป แต่ก็ยืนยันได้ว่าความเป็น “เมือง” ปอดแหว่ง ๆ ไม่สามารถกรองมลพิษได้นั้นทำให้เราแขวนชีวิตไว้บนเส้นด้ายมากแค่ไหน
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดว่าเมืองที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดีควรมีพื้นที่สีเขียวอยู่ที่ 9 ตารางเมตร/คน ทว่าสำหรับกรุงเทพฯ เมื่อนำสวนสาธารณะที่มีอยู่ทั้งหมดมารวมกันและหารเฉลี่ยแล้ว เราพบว่าค่าเฉลี่ยรวมแล้วอยู่ที่ 6.43 ตร.ม./คน เท่านั้น (ข้อมูล ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2560) ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเสียอีก ดังนั้น ใครที่มีพื้นที่อาศัยห่างไกลจากโซนสวนสาธารณะสุขภาพจิตและกายจึงเสี่ยงกับภัย โรคต่าง ๆ และความเครียดที่พร้อมจะพุ่งเข้าหามากเป็นพิเศษ
กรุงเทพฯ จัดเป็นเมืองที่รถติดอยู่ในอันดับที่ 1 ของเอเชียและมีสถิติติดอันดับที่ 11 ของโลกในปีที่ผ่านมาจากการจัดอันดับในงานวิจัยของ Inrix Global Traffic Scorecard โดยรักษาสถิติไว้ด้วยเวลาเฉลี่ย 64 ชั่วโมงต่อปี! และเคยรั้งตำแหน่งผู้นำเป็นที่ 1 รถติดโลกใช้เวลามากกว่าลอสแองเจิลลิสเมื่อปลายปี 2017 มาแล้ว
รถยิ่งติดชีวิตยิ่งเครียด ผู้ชายเรารู้ดีว่าการเอารถไปวิ่งละลายน้ำมันกับแก๊สบนท้องถนนมันไม่ใช่เรื่องสนุกเลย ด้วยระยะเวลาเท่ากันบางทีเราสามารถขับรถออกต่างจังหวัดถนนโล่ง ๆ วิ่งจากอำเภอนึงไปถึงอีกอำเภอ กระทั่งข้ามจังหวัดได้อย่างสบาย ๆ ดังนั้น การออกต่างจังหวัด ใช้ชีวิตกับถนนโล่ง ๆ เพื่อหลีกหนีรถปริมาณมากจึงเป็นอีกหนึ่งความฝันของเรา
นอกจากนี้ผลงานวิจัยเรื่อง Traffic and Crime ของ Louisiana State University ยังเผยว่า “รถติด” มีผลกับอารมณ์ก้าวร้าวและการเกิดความรุนแรงในครอบครัว เพราะเขาพบว่าคนที่อาศัยอยู่ในเมืองรถติดหรือพื้นที่รถติดมีสถิติก่ออาชญากรรมมากกว่าและมักก่อเหตุอาชญากรรมภายในบ้านเนื่องจากเวลาเราเครียดจากปัญหารถติด เราไม่สามารถไประบายออกกับที่ทำงานหรือคนที่มีอำนาจมากกว่าได้ แรงกดดันนี้จึงกลับไปสะท้อนที่บ้านแทน (อันนี้จริงเพราะเกิดกับเราบ่อย ๆ โดยไม่รู้ตัวเหมือนกัน)
ผศ.ดร. นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) เคยแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่อง “โรค” ใน “โลกคนเมือง” กับ 101 minutes at Starbucks ครั้งที่ 4 : Modern Syndrome ว่าเมืองอย่างกรุงเทพฯ ทำให้เราต้องเจอกับภาวะทั้ง “อ้วน โสด เหงา” โดยให้เหตุผลไว้ดังนี้
เมืองทำให้ “จน” เพราะข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2555 ระบุว่าคนกรุงเทพฯ มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางประมาณ 20% ของรายได้ทั้งหมด
เมืองทำให้ “อ้วน” เพราะผังเมืองไม่เอื้อให้เราออกเดินไปไหน อยากขี่จักรยานไปทำงานก็ทำไม่ได้ ออกกำลังกายยิ่งไม่ต้องพูดถึงเนื่องจากไกลแหล่งสวนสาธารณะเสียเหลือเกิน วัน ๆ เราเลยหมดไปกับการออกไปทำงานแล้วกลับมาหมกตัวในห้อง ซึ่งก็ส่งผลให้เรา “โสด” โดยไม่รู้ตัว เพราะไม่เจอสังคมกับกิจกรรมอื่นนอกจากที่เดิม ๆ นอกจากนี้ เวลาเราขาดการออกกำลังกายไปใจเราก็จะยิ่งหมองเศร้าลงไปกว่าเดิม
ข้อมูลผลวิจัยเผยว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยกระตุ้นสมองเราและทำให้เราลดความเครียด เผชิญหน้ากับปัญหาได้ดีขึ้น ควบคุมตัวเองได้ดี สุขภาพจิตดี แถมยังทำให้เราสูบบุหรี่ บริโภคแอลกอฮอล์และคาเฟอีนลดลง กินอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น เพราะเวลาเราออกกำลังกายเราจะได้ฝึกสมองให้สู้กับความเหนื่อยของร่างกาย เพื่อออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง เรียกได้ว่าเป็นบ่อเกิดการก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเอง แต่เมื่อไม่มีโอกาสก็เท่ากับจำกัดการพัฒนาตัวเองโดยไม่รู้ตัว
หลากเหตุผลเหล่านี้จึงเป็นคำตอบว่าทำไม “ความสะดวกสบายและความเจริญ” ไม่ว่าจะมากแค่ไหนก็ไม่เคยตอบโจทย์จิตใจของผู้อยู่อาศัย หรือต่อให้คนต่างจังหวัดจะอยากย้ายเข้ามาหาเงินในเมืองแค่ไหน แต่เมืองก็จะเป็นเพียงทางผ่านเพื่อกลับไปยัง “บ้าน” ของพวกเขาในสักวันอยู่ดี
แม้งานวิจัยหลายชิ้นด้านบนจะชี้ว่า “เมือง” ไม่ค่อยเป็นมิตรกับคุณภาพชีวิตเท่าไหร่ แต่ใช่ว่าเมืองจะไม่มีสถานที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ด้านบนเหล่านี้เลย ใครอยากหาสถานที่บาลานซ์การใช้ชีวิตเพิ่มความสุข ใจกลางเมืองย่านอโศกยังคงมี Hidden Gem Condomidium หลงเหลือให้จับจองได้ที่ FYNN ASOKE คอนโดที่คุณต้องพิสูจน์ความน่าอยู่ด้วยตัวเองจากทำเลที่สงบ ความสะดวกของระบบขนส่งสาธารณะ และอยู่ติดกับสวนสาธารณะเบญจกิติได้ในระยะแค่เอื้อมเพียง 200 เมตรกระตุ้นให้ลุกไปทำกิจกรรมและออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกายและใจที่ดี
แล้วคุณจะรู้ว่าใน “เมือง” ก็มี “บ้าน” ซ่อนอยู่ “Home is not a place It’s a feeling.”
FYNN Asoke 550 ม. จาก BTS อโศก เริ่มเพียง 5.4 ล้าน แต่งครบ ลดสูงสุด 750,000 บาท* ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษที่ https://bit.ly/2K1Fbnh และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือนั