วินาทีนี้คงจะไม่มีซีรีส์เรื่องไหนจะร้อนแรงได้เท่ากับ Beef ของ Netflix อีกแล้ว ! ซีรีส์เรื่องนี้ผลิตโดย A24 ค่ายสุดไฮป์ผู้ขยันสร้างตำนานได้ทุกวัน กับเรื่องย่อสุดมินิมอลที่สามารถเล่าไว ๆ บรรทัดเดียวจบได้แบบนี้ “นี่คือเรื่องราวระหว่าง Danny Cho กับ Amy Lau คนแปลกหน้าที่ประทะอารมณ์กันบนท้องถนน บีบแตรรถใส่กัน ด่ากัน ชูนิ้วกลางให้อีกฝ่าย จนนำไปสู่ความวายป่วงของชีวิตเกินกว่าใครจะคิดฝัน” ถึงแม้ว่าเรื่องย่อของซีรีส์จะแสนสั้น แต่ซีรีส์เรื่องนี้อุดมด้วยรายละเอียดของประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์สังคมอย่างเข้มข้น ทั้งฉายภาพความเหนื่อยล้าของชนชั้นกลางที่ทำงานเพื่อคนอื่นตลอดชีวิตแต่ไม่มีใครเห็นค่า ความคิดชุ่ย ๆ ของ Privillage ที่มองคนเป็นคนไม่เท่ากัน และอีกหลายประเด็นที่ดูจบครั้งเดียวคงเก็บรายละเอียดไว้ไม่หมดแน่นอน สิ่งที่น่าสนใจมาก ๆ อย่างแรกเกี่ยวกับ Beef คือการวางตัวของ Lee Sung Jin เดบิวต์ในฐานะ Creator และ Director เป็นครั้งแรก หลังจากที่เขาเป็นคนเขียนบทซีรีส์มาโดยตลอด ผลงานเด่น ๆ ก็จะมี Undone (2019) / Dave (2020) /
แม้ความเป็นส่วนตัวจะเป็นเอกสิทธิ์สำหรับใครคนใดคนหนึ่งในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่เมื่อไรที่คุณย่างก้าวสู่โลกดิจิทัลและใช้ชีวิตผูกโยงกับโซเชียลมีเดีย ‘ความเป็นส่วนตัว’ และ ‘ความเป็นสาธารณะ’ อาจมีเพียงเส้นบาง ๆ คั่นกลางเท่านั้น แล้วประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวนี้ก็เคยเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดกับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอันดับหนึ่งอย่าง ‘Facebook’ จนเมื่อปีก่อนมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งและ CEO ต้องออกมาขอโทษผ่านหนังสือพิมพ์ 9 ฉบับ ว่าด้วยเรื่องการปล่อยให้มีการใช้ข้อมูลส่วนตัวของสมาชิกราว 50 ล้านคนอย่างไม่เหมาะสม มีข่าวลือว่า Cambridge Analytica คือบริษัทหัวหอกผู้ซื้อข้อมูลส่วนตัวจาก Facebook เพื่อเอื้อประโยชน์ให้โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี ทันทีที่ข่าวนี้ถึงหูประชาชนคนอเมริกัน ความน่าเชื่อถือทั้งหมดของ Facebook ก็ถูกถ่ายโอนไปยัง Amazon และ Google แน่นอนว่าเหตุการณ์นี้ได้ทำลายความเชื่อถือของแอปพลิเคชันยอดนิยมของคนทั้งโลกไปอย่างสิ้นซาก หลังจากที่โดนกระแสโจมตีเรื่องการรุกล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ Facebook ก็ทนพัฒนาและปรับปรุงระบบการใช้ท่ามกลางข้อครหามาร่วมปี แล้วตอนนี้ทาง Facebook ก็ออกแคมเปญเรียกคืนความน่าเชื่อถืออีกครั้ง ด้วยการเปิดคาเฟ่ป๊อปอัปเพื่อตรวจสอบความเป็นส่วนตัวให้ผู้ใช้ คาเฟ่ป๊อปอัปจะถูกสร้างขึ้นในร้านกาแฟ 5 แห่งทั่วเกาะอังกฤษ ทั้งร้าน The Attendant ใน London, ร้าน Takk ใน Manchester,
เงียบมาสักระยะสำหรับเรื่องข่าวคราวของสายสกุลเงินดิจิทัล หลังจากหลายคนหมุนเข้า ๆ ออก ๆ กันไปมาด้วยหลายเหตุผล ทั้งไม่อยากลงทุนบ้าง หน้าใหม่ไม่เหลือช่องให้เข้าก็มี แต่เมื่อไม่นานนี้ จู่ ๆ เรื่องนี้ก็กลับมาสร้างกระแสฮือฮาอีกครั้งหลังจากที่ Facebook โดดเข้ามาสร้างสกุลเงินของตัวเองจริงจังและประกาศใช้ตั้งชื่อสกุลเงินดิจิทัลอย่างไม่เป็นทางการว่า “Libra” แต่ทันทีที่ประกาศตัวกับเผยข้อมูลไม่นาน ทางสภาคองเกรสก็ออกมาเบรกหัวทิ่มให้ทางเฟซบุ๊กชะลอโครงการนี้ก่อน เพราะอะไรและเราจะมีโอกาสสร้างกระเป๋าเงินดิจิทัลไหม ลองมาดูข้อมูลบางส่วนที่เราสรุปให้พร้อมกัน Libra อภิมหาโปรเจกต์ยิ่งใหญ่ใจถึง องค์กรใหญ่ก็ต้องคิดการใหญ่ สำหรับแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ที่มีคนใช้งานสูงถึง 2,000 ล้านคนทั่วโลกอย่างเฟซบุ๊กเองก็ไม่ได้เริ่มตั้งไข่ Libra ไว้เล่น ๆ แต่เขาตั้งเป้าว่าสกุลเงิน Libra นี้จะเป็นโครงสร้างทางการเงินระดับโลกเพื่อคนยุคนี้ เพราะทุกวันนี้หลายพื้นที่ของโลกยังเข้าไม่ถึงสถาบันการเงินหลัก เปิดบัญชีธนาคารไม่ได้ ฯลฯ แต่เรายังมีมือถือ ดังนั้น ถ้าเปิดให้ใช้ช่องทาง Cryptocurrency ของ Libra เข้าไปใช้งานได้เมื่อไหร่ ปัญหานี้จะหมดไปทันที แถมยังตอบโจทย์คนยุคใหม่ที่หันไปใช้ไลฟ์สไตล์แบบ Unbanked หรือการทำธุรกรรมนอกธนาคารกันหมดแล้ว และยังเป็นตัวช่วยสำคัญที่เชื่อมการใช้เงินต่างสกุลกัน เพราะใช้เงินสกุลกลางอย่าง Libra ได้ แต่เพื่อความโปร่งใสกับการตั้งตัวเป็นสถาบันกลางของโลก ฝั่งเฟซบุ๊กเขาเลยจัดตั้งองค์กรแยกที่เข้ามาควบคุมดูแลเรื่องนี้ โดยจัดตั้งเป็น Libra Association องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ทำงานร่วมกับพันธมิตร
นั่งไทม์แมชชีนย้อนสู่ยุค 90 ยุคที่เรายังฟังเพลงจาก Walkman ไม่ใช่ Spotify ยุคที่เรายังดูภาพยนตร์จากวิดิโอหรือซีดีไม่ใช่ Netflix ยุคที่เรายังสื่อสารกันผ่านเพจเจอร์ ไม่ใช่ Facebook แต่แน่นอนว่าพวกเราทุกคนไร้ซึ่งพลังพิเศษ ไม่อาจหวนสู่คืนวันเหล่านั้นได้อีก เช่นเดียวกับ Thomas Ollivier ดีไซน์เนอร์ไอเดียเจ๋งที่ได้รับแรงบันดาลใจจากแนวคิดเหล่านี้ จนนำไปสู่ผลงานการออกแบบที่เห็นแล้วต้องหลงรัก โดยเฉพาะกลุ่ม Gen-X ตอนปลาย Gen-Y ตอนต้นที่ชีวิตช่วงวัยรุ่นอยู่ในยุค 90 ปัจจุบันบริการ Online Streaming ต่าง ๆ คือช่องทางหลักที่เราใช้เสพสิ่งบันเทิงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหนัง, ซีรีส์ หรือเพลง เมื่อเป็นเช่นนี้ Thomas Ollivier จึงจับ Spotify หนึ่งใน Music Online Streaming ยอดฮิตมาอยู่ในเครื่องเล่นเทปซึ่งเป็นตัวแทนแห่งการฟังเพลงเมื่อยุคสมัยนั้น เช่นเดียวกับ Netflix หนึ่งใน Online Streaming ที่รวบรวมความบันเทิงไว้มากที่สุดในปัจจุบัน ถูกจับแปรสภาพกลายเป็นเครื่องเล่น VCD ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ Y2K โทรศัพท์มือถือยังราคาแพงหูฉี่ ดังนั้นทางเลือกที่ได้รับความนิยมในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่นคงหนีไม่พ้นเพจเจอร์ ตรงกันข้ามกับปัจจุบันที่การสื่อสารทำได้ง่ายเพียงแค่ปลายนิ้วจิ้ม นอกจากนั้นยังรวบรวมข่าวสารจากทั่วทั้งโลกมาไว้ภายใต้ตัว F และพื้นหลังสีฟ้า เช่นเดียวกันกับการถ่ายรูปที่ในปัจจุบันทุกอย่างรวดเร็ว เพียงไม่ถึง 1
คิดว่าการสปอยล์หนังเป็นเรื่องเล็ก? ลองจินตนาการตามนี้ สมมติเราอยากจะดูหนังเรื่องโปรดที่เฝ้าติดตามข่าวตั้งแต่วันเปิดกล้อง รอคอยผ่านไปสามสี่ปี ถึงวันฤกษ์งามยามดีที่หนังเข้าโรง ระหว่างที่เราทำงานรอให้ถึงเวลาฉายในรอบหนังที่เราจองเอาไว้ อีกแค่ไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เราคิดไปพร้อมใช้นิ้วเลื่อน Facebook ไปพลาง “ฉิบหาย เผลออ่านสปอยล์ไปเต็ม ๆ” ใช่ครับ เราเผลออ่านเนื้อหา จุด Climax และตอนจบอันหักมุมของหนังเข้าให้ซะแล้ว ความรู้สึกเหมือนโดนตีแสกหน้าด้วยสปอยล์จากผู้หวังดีเข้าอย่างจัง ทำให้อารมณ์ดูหนังหายเกลี้ยง หมดกันเวลาสามสี่ปีที่สูญเปล่า ดังนั้นสำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว การสปอยล์หนังจึงถือว่าเสียมารยาทและผิดจรรยาบรรณเป็นอย่างมาก ไม่ใช่แค่การโพสโอ้อวดใน Social Media ในชีวิตจริงเราเองก็คงไม่อยากฟังสปอยล์จากปากเพื่อนในออฟฟิศ หรือคนที่เดินสวนกันในห้องน้ำโรงหนังก็ตาม แม้ชีวิตจริงเราจะปิดปากใครไม่ได้ แต่ใน FACEBOOK เราทำได้แล้ว ด้วย FEATURE ใหม่ที่จะช่วยให้ Newsfeed ของเราปลอดภัยจากนักสปอยล์ทั้งหลาย จะเป็นยังไงนั้น UNLOCKMEN จะมาเล่าให้ฟัง ช่วยด้วยครับ! โดนสปอยล์เต็ม ๆ ช่วงที่ Avengers: Infinity War เข้าฉายเพียงวันแรก (ไม่ต้องรอสัปดาห์แรกหรอก) ก็มีคนบางกลุ่มสปอยล์หนังกันแล้ว ซึ่งเป็นการสปอยล์เปิดเผยเนื้อหาสำคัญที่เล่นเอาหมดสนุกไปเลย ทั้งแบบข้อความและแบบรูปภาพ มันน่าโมโหตรงที่คนที่ยังไม่ได้ดูก็ต้องมาเจอสปอยล์แบบที่ไม่มี Spoil Alert ตามมารยาทที่ควรจะเป็น Facebook คงจะเล็งเห็นปัญหานี้นี่แหละ จึงได้เล่นใหญ่
เฟซบุ๊กแทบจะเป็นทุกอย่างให้ชีวิตเราแล้ว แต่เหมือนเฮียมาร์คแกจะยังไม่พอใจ อยากเป็นอะไรต่อมิอะไรให้ชีวิตผู้คนเพิ่มไปอีก โดยฟังก์ชั่นล่าสุดที่เฟซบุ๊กจัดให้คือ dating features หรือฟีเจอร์ที่จะมาช่วยให้ผู้ชายสายนก สายอดอยากปากแห้ง ปัดทินเดอร์มา 3 ปีก็ไม่มีใครแมทช์ หรือแมทช์แล้วแต่ไม่ได้อย่างใจ ได้เปิดตลาด เอ้ย เปิดประสบการณ์ใหม่ด้วยการลองหาสาว ๆ จากในเฟซบุ๊กดูบ้าง แล้วมันจะเวิร์คไหมวะ ? มีอะไรแตกต่างจากแอปพลิเคชันหาคู่อื่น ๆ บ้าง ? มาสำรวจไปพร้อม ๆ UNLOCKMEN เลย ขั้นตอนการใช้งานก็ดูไม่ยุ่งยากอะไร โดยเฉพาะผู้ชายที่ใช้เฟซบุ๊กจีบสาวเป็นประจำอยู่แล้ว หรือไม่เคยใช้จีบสาวแต่ใช้งานเป็นประจำก็ไหวอยู่ โดยเฟซบุ๊กจะให้เราสร้าง dating profile ขึ้นมา และไม่ต้องห่วงว่า dating profile นี้จะโผล่ไปทั่วประเทศจนเพื่อนแอบเอามาแซวว่า เฮ้ย มึงจะหาแฟนในเฟซบุ๊กหรอวะ? เพราะ dating profile นี้จะไม่ได้เห็นกันทั่วไปเหมือนโปรไฟล์เฟซบุ๊กปกติ แต่จะเห็นเฉพาะคนที่มี dating profile เหมือนกันเท่านั้น! ดังนั้นใครที่มันเห็นเราก็แปลว่ามันกำลังหาเหยื่อ เอ้ย หาคู่เดตอยู่เหมือนกันกับเรานี่แหละ ความดีงามที่เฟซบุ๊กเคลมว่าดี และ UNLOCKMEN ก็แอบรู้สึกว่ามันน่าจะดีกว่าทินเดอร์หลายระดับก็คือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเราที่เฟซบุ๊กเก็บเล็กผสมน้อยไว้เป็นจำนวนมากนี่แหละ
ใครที่คอยติดตามข่าวคราวข้อมูลอัปเดตของวงการดิจิทัล ไม่ควรพลาดเมื่อ Mark Zuckerberg เจ้าของบ้าน Social Platform ขาใหญ่อย่าง Facebook ปีนี้ดูร้อนรนออกมาเก็บกวาดบ้านเป็นพิเศษด้วยการออกกฎมากมายที่ชาว UNLOCKMEN ทุกคนคงได้รับผลกระทบไม่ทางใดก็ทางหนึ่งในฐานะ User หรือบางคนอาจจะกระทบถึงหน้าที่ธุรกิจการงานเพราะใช้ Facebook เป็นช่องทางสำหรับทำ Stats หรือหน้าร้านธุรกิจ งานนี้ถ้ายังอยากมีที่ยืนต้องทำยังไง เรามีทางแก้ไปดูกัน 1. แบนการโปรโมตสกุลเงิน Cryptocurrency และ Binary option Trade Reason: เงินหนาพี่ก็ไม่รับ อยากซื้อแค่ไหนก็ไม่ให้ เพราะเฮียเขาออกมาบอกว่าระยะน้ีโจรมันชุม จะอยู่ครอบครัวเดียวกันก็ต้องตัดโจรออกไปสักหน่อย เนื่องจากพวกโฆษณาเกินจริงหลอกลวงมันเยอะเสียเหลือเกิน กันไว้ดีกว่าต้องมาตามแก้กันทีหลัง โดยเฉพาะพวกที่ออกมาเชิญชวนใ้ห้ไปร่วมลงทุน ซื้อโทเคนเพื่อเอาส่วนลดมาแลก ฯลฯ Key: ทางแก้ไม่ยาก ก็แค่อย่าโกง อย่าโฆษณาเกินจริง อย่าหลอกใคร ความจริงเท่านั้นแหละที่จะทำให้เรามีที่ยืนในสังคม 2. ปรับ Reach โฆษณาหลีกหน่อย คนจะเจอกัน Reason: เรื่องนี้เขาแค่ออกมาแสดงจุดยืน การ Back to
เล่นเกมกันไหม เล่นง่าย แข่งกับเพื่อนผ่าน Facebook Messenger โดยไม่ต้องติดตั้งแอพฯ อะไรให้วุ่นวาย