การตั้งอาณานิคมใหม่นอกโลกเคยเป็นเพียงเรื่องที่เราดูผ่านภาพยนตร์ SCI-FI หรือจินตนาการเอาตอนเล่นกับเพื่อนสมัยเด็ก ๆ เท่านั้น แต่เมื่อมวลมนุษยชาติเดินทางมาถึงปี 2020 เรื่องราวการย้านถิ่นฐานไปดาวอื่น ทั้งเทคโนโลยีการเดินทาง ไปจนถึงความพยายามพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและที่อยู่อาศัยให้มนุษย์ออกไปใช้ชีวิตนอกดาวเคราะห์สีน้ำเงินก็ไม่ใช่เรื่องฝันเพ้ออีกต่อไป แม้ดาวอังคารดูจะเป็นดาวที่มนุษย์สนใจจะย้ายถิ่นฐานไปอยู่มากที่สุดดาวหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อมหาเศรษฐีระดับโลกอย่าง Elon Musk แถลงข่าวว่าเขาจะสร้างเมืองที่พึ่งพาตัวเองได้ 100% บนดาวอังคาร มนุษย์จะใช้ชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องใช้พลังงานใด ๆ จากโลก โดย Starship ยานอวกาศที่ถูกคิดค้นมาเพื่อทำภารกิจนี้จะเริ่มเดินทางราว ๆ ปี 2024 ที่กำลังจะมาถึง แต่ดวงจันทร์ก็เป็นดาวอีกดวงหนึ่งที่ NASA เห็นศักยภาพ นั่นจึงเป็นที่มาของโครงการ Artemis ภารกิจเดินทางไปกลับดวงจันทร์ของ NASA ซึ่งภารกิจนี้ไม่ใช่การเดินทางระยะสั้นต้องการการตั้งฐานแบบถาวรบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ โดยไม่ใช่แค่เพื่อปฏิบัติภารกิจการสำรวจเท่านั้น แต่ Artemis Base Camp จะเป็นรากฐานสำคัญทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจบนดวงจันทร์ในอนาคตอีกด้วย แม้ความต้องการสร้างโครงสร้างพื้นฐานและที่อยู่อาศัยบนดวงจันทร์จะชัดเจน แต่โจทย์ที่ท้าทายเหล่านักบุกเบิกอวกาศคือการที่สภาพพื้นผิวดวงจันทร์นั้นไม่สามารถนำอุปกรณ์ก่อสร้าง หรือยานพาหนะหนัก ๆ ลงจอดได้เลย เครน รถบรรทุก รถถมดิน ฯลฯ ที่มีส่วนสำคัญในการก่อสร้างบนดาวเคราะห์สีน้ำเงินจึงไม่อาจใช้ในการก่อสร้างบนดวงจันทร์ได้ เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์
ในอดีตความฝันเรื่องอวกาศเหมือนสิทธิ์ผูกขาดของตะวันตก สหรัฐฯ จะบินไป โซเวียตจะบินมาเหนือดาวสีน้ำเงินก็เป็นเรื่องน่าเหลือเชื่อสำหรับพวกเราเหล่าซีกโลกตะวันออก แต่มาวันนี้ประเทศแดนมังกรอย่างจีนได้พิสูจน์แล้วว่าความฝันของมนุษยชาตินอกโลกนี้ เขาสามารถก้าวเข้ามาได้ในฐานะผู้นำและไปเอี่ยวมันได้ทั้งหมด นับจากเสียงฮือฮาตั้งแต่ปีที่แล้วที่จีนอุกอาจส่งดาวเทียมไปทำหน้าที่พระจันทร์เทียมเพื่อสร้างแสงสว่างประหยัดพลังงานให้ประเทศ มาถึงวันนี้จีนยังเหนือขั้นกับการไปนอกโลกแบบไม่ไปเปล่า พกของติดไม้ติดมือไปทดลองเพิ่มด้วย โดยคราวน้ีเป็นการนำเรื่อง “ชีววิทยา” อย่างการปลูกพืชและปล่อยสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ไปทดลองหายใจในต่างดาว (ไม่ใช่แค่ต่างแดน) ซึ่งเขาคือเจ้าแรกที่ทำให้มันโตได้สำเร็จ ก่อนจะโชว์ความเหนือชั้นของมนุษยชาติครั้งนี้ผ่านทางทวิตเตอร์ Chang’e 4 : อดีตยานพระรอง ที่กำลังเป็นพระเอกเพราะเมล็ดฝ้ายโต ถ้าใครเคยติดตามเรื่องราวของยานอวกาศจีนที่ยิงขึ้นไปปล่อยบนดวงจันทร์ ชื่อของ Chang’e 4 อาจจะเป็นชื่อที่เคยได้ยินผ่านหูมาบ้างแล้ว เพราะยานลำนี้แหละที่เคยสำรวจดวงจันทร์ด้านมืดมาก่อน แต่ก่อนจะไปสำรวจด้านมืดมันโดนวางตำแหน่งไว้ในฐานะยานสำรองของ Chang’e 3 ที่จีนมอบภารกิจลงจอดนิ่ม ๆ แล้วนำรถโรเวอร์ลงวิ่งบนพื้นผิวดวงจันทร์ ทว่าพอ Chang’e 3 ทำได้ดีโดยไม่ต้องการตัวสำรอง Chang’e 4 ก็เลยได้รับการปรับแต่งและมอบภารกิจใหม่ให้อย่างการสำรวจดวงจันทร์ด้านมืดแทน ระหว่างที่คนกำลังตื่นเต้นกับภารกิจสำรวจด้านมืดของดวงจันทร์ที่ไม่มีใครเคยสำรวจมาก่อนในวันที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา อยู่ ๆ เราก็ได้รับข่าวดีว่าภารกิจซ้อนที่เราไม่เคยรู้อย่างการทดลองชีววิทยาซึ่งถูกเหน็บไปพร้อมกันด้วย เพราะ Chang’e 4 ติดตั้งถังทดลองขนาด 18 เซนติเมตรไป ด้านในประกอบด้วย เมล็ดพันธุ์พืชต่าง ๆ เช่น
ถ้าจะยกให้ใครเป็นเจ้าแห่งการประดิษฐ์และเทคโนโลยีแล้วล่ะก็ หนึ่งประเทศมหาอำนาจตะวันออกที่ทั่วโลกห้ามมองข้ามเด็ดขาดคงหนีไม่พ้นประเทศจีนอย่างแน่นอน เพราะเขาประดิษฐ์ “เก่ง” ตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ ซึ่งล่าสุดเก่งกาจขนาดประดิษฐ์ดวงจันทร์เพื่อยิงขึ้นไปบนท้องฟ้าเป็นของตัวเองแล้ว พระจันทร์เทียมดวงใหม่นี้สร้างขึ้นจากดาวเทียม มีกำหนดการจะแตะท้องฟ้าเหนือเมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน ประเทศจีน ด้วยการยิงขึ้นไปบนท้องฟ้าและปล่อยให้มันลอยค้างอยู่บนชั้นบรรยากาศ ส่องแสงลงมายังเมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเฉิงตูในปี 2020 People’s Daily สื่อท้องถิ่นของจีนได้ระบุเหตุผลในการออกแบบพระจันทร์เทียมครั้งนี้ว่า “ออกแบบขึ้นเพื่อเติมเต็มท้องฟ้ายามค่ำคืน” ซึ่งนักพัฒนากับศูนย์วิทยาศาสตร์และสถาบันเทคโนโลยีการบินและอวกาศของเฉิงตูอ้างว่ามันน่าจะให้แสงที่สว่างกว่าพระจันทร์ธรรมชาติถึง 8 เท่า กล่าวคือการเรืองแสงของพระจันทร์เทียมนี้จะสามารถส่องสว่างทั่วพื้นได้ในระยะเส้นผ่าศูนย์กลาง 1080 กิโลเมตรและสามารถควบคุมความแม่นยำของแสงได้ในระยะ 10 เมตรเพื่อทดแทนดวงไฟบนท้องถนนเลยทีเดียว ไอเดียสร้างพระจันทร์ยักษ์เป็นของตัวเองครั้งนี้ People’s Daily เผยว่าได้แรงบันดาลใจมาจากศิลปินฝรั่งเศสที่จินตนาการการแขวนสร้อยคอกระจกทรงกลมเหนือโลกที่ทำให้มันสามารถสะท้อนแสงจากพระอาทิตย์สาดลงสู่ถนนทุกสายในปารีสตลอดทั้งปี แม้นี่จะเป็นอีกหนึ่งสิ่งประดิษฐ์มหัศจรรย์ที่ทำให้หลายประเทศเห็นข่าวแล้วต้องร้องว้าว! แต่ท่ามกลางความก้าวหน้าด้านสิ่งประดิษฐ์ครั้งใหญ่ของจีนที่มีต่อการเอาชนะธรรมชาติในครั้งนี้ บางคนได้ออกมาให้ความเห็นในเชิงลบมากกว่าบวก โดยพวกเขามองว่าแสงเทียมเหล่านี้น่าจะสร้างผลกระทบใหญ่หลวงต่อระบบนิเวศ เช่นเดียวกับฟากของนักดาราศาสตร์เองก็อาจจะไม่ค่อยปลื้มนักเพราะเป็นการสร้างมลภาวะทางแสง (Light Pollution) ทุกวันนี้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็วไม่เพียงทำให้เราสะดวกสบายขึ้น แต่ก็สร้างความกังวลเพิ่มขึ้นไม่แพ้กัน สุดท้ายสิ่งที่เราทุกคนต้องตั้งคำถามคงไม่ใช่การหยุดพัฒนาหากเป็นการสร้างขอบเขตของการนำสิ่งที่พัฒนามาใช้งานให้ชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์ในองค์รวม เราจะจับจองดวงดาว หรือเป็นเจ้าของท้องฟ้าทำไม ถ้าปลายทางของมันคือการทำร้ายซึ่งกันและกัน SOURCE: 1 / 2 / 3