Life

“หวังดีได้ดี หวังชั่วได้ชั่ว” รู้จัก GOLEM EFFECT เมื่อความคาดหวังของคนอื่นส่งผลเสียต่อการทำงานของเรา

By: unlockmen March 15, 2021

หลายคนน่าจะเจอเคยเจอกับความรู้สึกที่ว่า “ทำดีไปก็ไม่ช่วยอะไร” พอเจอกับความรู้สึกแบบต้องมีดาวน์ หรือ ไม่อยากทำสิ่งที่ทำอยู่กันบ้าง ซึ่งมันอาจเกิดขึ้นได้จากปรากฎการณ์ GOLEM EFFECT ที่นอกจากจะส่งผลเสียต่อการทำงานของลูกน้องแล้ว ยังส่งผลเสียต่อผลวานขององค์กรโดยรวมได้ด้วย เราเลยจำเป็นที่จะต้องรู้เท่าทันมัน พร้อมรับมือกับมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ


อะไร คือ GOLEM EFFECT ?

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเรื่องผลของ “ความคาดหวัง” ที่มีต่อคนมานานแล้ว ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยจากประเทศอิสราเอล ในปี 1982 ซึ่งพบว่า เด็กนักเรียนที่ถูกคาดหวังต่ำในห้องเรียนที่มีครูเป็นคนอคติสูง จะได้รับการปฏิบัติจากครูที่แย่กว่า และมีผลงานที่เลวร้ายกว่าเด็กนักเรียนคนอื่น ๆ หรือ งานวิจัยในปี 2007 ซึ่งพบว่า ความคาดหวังผลงานของนักเรียนในแง่ลบส่งให้พวกเขาทำผลงานที่ต้องใช้ความคิด ( cognitively based tasks ) ออกมาได้แย่ลง เป็นต้น

งานวิจัยเหล่านี้ได้ยืนยันการมีอยู่ของ ‘GOLEM EFFECT’ หรือ ปรากฎการณ์ที่ ‘ความคาดหวังในแง่ลบของคนอื่น’ ส่งผลให้คนที่โดนคาดหวังทำผลงานได้แย่ลงกว่าปกติ

เราอาจเห็น GOLEM EFFECT ได้ในห้องเรียนที่ครูแบ่งแยกนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเด็กดี และกลุ่มเด็กดื้อ รวมถึง สังคมการทำงานที่เจ้านายบางคนอาจคาดหวังจากลูกน้องแต่ละคนไม่เท่ากัน ฯลฯ เมื่อคนกลุ่มหนึ่งมองว่าตัวเองไม่มีทางเอาชนะใจครูหรือหัวหน้าได้ พวกเขาก็มักจะไม่มีแรงจูงใจในการให้ครูหรือพวกเขาเกิดความประทับใจ และทำผลงานออกมาแย่หรืออยู่ในระดับปานกลาง โดยให้เหตุผลทำนองว่า “ทำดีไปก็ไม่ช่วยอะไร” หรือ “ทำงานเก่งไปเขาก็ไม่เหลียวแล”


ทำไมถึงชื่อว่า GOLEM EFFECT ?

ตามตำนานของชาวยิวกล่าวไว้ว่า Judah Loew ben Bezalel แรบไบจากเมืองปราก ต้องการปกป้องเมืองของตัวเอง จึงได้สร้าง ‘โกเลม’ ขึ้นมาจากดินเหนียว เพื่อให้มันทำหน้าที่เป็นผู้ปกป้อง แต่ทว่า เมื่อเวลาผ่านไป โกเลมกลับเกิดอาการผิดปกติ และพยายามทำลายเมืองแทนที่จะปกป้อง จนท้ายที่สุดมันก็เลยถูกทำลายลงด้วยน้ำเมื่อของผู้ที่สร้างมันขึ้นมาเอง

ซึ่งตำนานโกเลมได้ถูกนำมาใช้เป็นชื่อ ‘GOLEM EFFECT’ ในปี 1982 โดย Babad, Inbar และ Rosenthal กลุ่มนักวิจัย เพื่อใช้ในการอธิบายถึงปรากฎการณ์ที่ความคาดหวังในแง่ลบ ส่งผลเสียต่อคนที่ถูกคาดหวัง

แต่นอกจาก GOLEM EFFECT แล้วยังมี PYGMALION EFFECT ซึ่งมีที่มาจากตำนานกรีก และใช้ในการอธิบายปรากฎการณ์ที่ตรงกันข้ามกับ GOLEM EFFECT คือ ความคาดหวังที่สูงส่งผลให้คนที่ถูกคาดหวังทำผลงานได้ดีขึ้นด้วย


วิธีเอาชนะ GOLEM EFFECT

เมื่อปรากฎการณ์นี้ส่งผลเสียต่อการทำงานได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ทำให้ลูกน้องไม่ตั้งใจทำงาน หรือ ทำงานได้แย่ลง ดังนั้น หัวหน้าจึงจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนมายด์เซ็ทของตัวเองที่มีต่อลูกน้อง ไม่ว่าจะเป็น ลองให้ความสำคัญกับพวกเขามากขึ้น เชื่อใจพวกเขามากขึ้น และให้กำลังใจพวกเขามากขึ้น เมื่อทำสิ่งเหล่านี้แล้ว รับรองว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับองค์กรอย่างแน่นอน


APPENDIXS: 1 /

unlockmen
WRITER: unlockmen
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line