หลายคนน่าจะเจอเคยเจอกับความรู้สึกที่ว่า “ทำดีไปก็ไม่ช่วยอะไร” พอเจอกับความรู้สึกแบบต้องมีดาวน์ หรือ ไม่อยากทำสิ่งที่ทำอยู่กันบ้าง ซึ่งมันอาจเกิดขึ้นได้จากปรากฎการณ์ GOLEM EFFECT ที่นอกจากจะส่งผลเสียต่อการทำงานของลูกน้องแล้ว ยังส่งผลเสียต่อผลวานขององค์กรโดยรวมได้ด้วย เราเลยจำเป็นที่จะต้องรู้เท่าทันมัน พร้อมรับมือกับมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อะไร คือ GOLEM EFFECT ? นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเรื่องผลของ “ความคาดหวัง” ที่มีต่อคนมานานแล้ว ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยจากประเทศอิสราเอล ในปี 1982 ซึ่งพบว่า เด็กนักเรียนที่ถูกคาดหวังต่ำในห้องเรียนที่มีครูเป็นคนอคติสูง จะได้รับการปฏิบัติจากครูที่แย่กว่า และมีผลงานที่เลวร้ายกว่าเด็กนักเรียนคนอื่น ๆ หรือ งานวิจัยในปี 2007 ซึ่งพบว่า ความคาดหวังผลงานของนักเรียนในแง่ลบส่งให้พวกเขาทำผลงานที่ต้องใช้ความคิด ( cognitively based tasks ) ออกมาได้แย่ลง เป็นต้น งานวิจัยเหล่านี้ได้ยืนยันการมีอยู่ของ ‘GOLEM EFFECT’ หรือ ปรากฎการณ์ที่ ‘ความคาดหวังในแง่ลบของคนอื่น’ ส่งผลให้คนที่โดนคาดหวังทำผลงานได้แย่ลงกว่าปกติ เราอาจเห็น GOLEM EFFECT ได้ในห้องเรียนที่ครูแบ่งแยกนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
เคยรู้สึกสงสัยไหมว่า ทำไมคนอื่นมีสิ่งที่ดีกว่าเราตลอดเวลา จนเราไม่สามารถพอใจหรือหยุดกับสิ่งที่เรามีอยู่ได้ ต้องค้นหาเป้าหมายใหม่ต่อไปอีกเรื่อย ๆ เราเรียกอาการนี้ว่าเป็น ‘Grass is Greener Syndrome’ ตัวการขัดขวางการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขของเรา ที่คนในปัจจุบันเป็นกันมากมายโดยไม่รู้ตัว WHAT IS GRASS IS GREENER SYNDROME ‘Grass is Greener Syndrome’ คือ อาการที่เราเชื่อว่าตัวเองกำลังพลาดหรือขาดอะไรที่ดีกว่าสิ่งที่ตัวเองมีในตอนนี้อยู่ ไม่ว่าจะเป็น โอกาสด้านการงานที่ดี หรือ ประสบการณ์ที่วิเศษ จึงเกิดแรงกระตุ้นที่จะหาสิ่งที่ตัวเองคิดว่าขาดให้เจอ ชื่อของอาการนี้มีที่มาจากสำนวนของฝรั่งที่ว่า “the grass is always greener on the other side of the fence” (สนามหญ้าที่อยู่อีกฝั่งของรั้วบ้านมักเขียวกว่าของเรา) หมายความว่า เรามักมองชีวิตคนอื่นดีกว่าของตัวเองเสมอนั่นเอง อาการนี้มักมีที่มาจากความกลัวส่วนบุคคล อาทิ ความกลัวเรื่องการผูกมัดกับงานประจำที่ไม่ดีพอ หรือความสัมพันธ์ที่อาจจะย่ำแย่ในอนาคต ซึ่งในความเป็นจริง ชีวิตของคนที่มีอาการนี้ก็ยังไม่มีปัญหาอะไร มีแต่พวกเขาที่คิดไปเองว่าตัวเองกำลังมีปัญหา นอกจากอาการคิดไปเองแล้ว คนที่เป็น Grass
พอโตเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวแล้ว หลายคนต้องออกจากบ้านมาอยู่คนเดียว และห่างเหินกับคนรอบตัวมากขึ้น ทำให้พอเจอปัญหารุมเร้าแล้วเครียด ก็ไม่สามารถรับมือกับมันได้เหมือนเดิม จะมองซ้ายมองขวาก็ไม่เห็นใครที่จะขอคำปรึกษาได้ ถ้าใครกำลังมีช่วงเวลาแบบนี้ เราอยากแนะนำให้ทุกคนเริ่มให้กำลังใจตัวเองกัน ซึ่งวิธีเหล่านี้จะช่วยให้เราดีขึ้นได้โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องพึ่งพาใคร ให้เวลากับตัวเอง ในแต่ละวันเราอาจวุ่นอยู่กับการทำตามใจคนอื่น ไม่ว่าจะเป็น เจ้านาย คนในครอบครัว หรือ เพื่อน จนลืมที่จะทำอะไรเพื่อตัวเองไป นาน ๆ เข้าก็อาจรู้สึกเหมือนหลงทาง ดังนั้น เพื่อให้เรากลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความหมายดังเดิม เราควรหาเวลาว่างอย่างน้อย 10 – 15 นาทีในการอยู่กับตัวเอง ซึ่งเราสามารถใช้เวลาตรงนั้นทำอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น นอน นั่งสมาธิ หรือ เดินไปรอบห้อง แต่จำไว้ว่าพอยซ์ของกิจกรรมนี้ คือ การทำให้เราหันมาสนใจและตอบสนองความต้องการของตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้เราเกิดแรงจูงใจในการใช้ชีวิตมากขึ้นได้ อย่าคิดว่ากำลังแข่งกับคนอื่นอยู่ นิสัยอย่างหนึ่งที่หลายคนมักชอบทำ คือ การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น เช่น เห็นคนอื่นก้าวหน้ากว่า แล้วเกิดอาการดูถูกตัวเอง เป็นต้น ซึ่งปัญหานี้ทำให้เกิดผลเสียต่อตัวเรา คือ มันบั่นทอนกำลังใจ และทำให้เรามองข้ามสิ่งสำคัญที่เราต้องทำอยู่เสมอ ดังนั้น เราควรโฟกัสที่ตัวเองมากกว่าคู่แข่ง และหาทางว่าจะทำให้ผลงานของตัวเองดียิ่งขึ้นอย่างไรจะดีกว่า เปลี่ยนความคิดเรื่องความล้มเหลวใหม่ เพราะความสิ้นหวังมักทำให้เราไม่กล้าลงมือทำอะไรใหม่ ๆ
เมื่อเราเจอกับเรื่องที่น่าผิดหวังบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น ทำงานพลาด โดนแฟนทิ้ง หรือ ไม่ได้รับในสิ่งที่หวังไว้ สิ่งที่เกิดขึ้น คือ เรามักคิดว่าตัวเองไม่มีคุณค่า และไม่สมควรได้รับความรักจากใครแม้แต้ตัวเอง พอนาน ๆ เข้า เราก็อาจจะดาวน์ และนำไปสู่ปัญหาด้านการใช้ชีวิตในที่สุด การรักตัวเอง หรือ self-love จะเป็นสกิลสำคัญในเวลาที่เจอเรื่องแบบนี้ มันจะช่วยให้เรารอดพ้นจากเรื่องแย่ ๆ ได้ และสามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขดังเดิม ทำไม self-love ถึงเป็นสกิลเอาตัวรอด ? หลายคนคงได้ยินคำว่า ‘รักตัวเอง’ บ่อยแล้วจากคนรอบข้าง แต่พอจะหันมารักตัวเองจริง ๆ อาจเริ่มรู้สึกสับสน เพราะคำนี้มีความหมายค่อนข้างกว้าง เราเลยอยากอธิบายบริบทของการ ‘รักตัวเอง’ ที่กำลังจะกล่าวถึงว่ามันคืออะไรกันแน่ self-love คือ การรักตัวเอง และยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็น คนที่รักตัวเองจะเข้าใจว่าตัวเองอยากทำอะไร และเข้าใจด้วยว่าความคิดและอารมณ์ส่งผลต่อตัวเองอย่างไร เมื่อเรารักตัวเอง เราจะมองเห็นคุณค่าของตัวเองอยู่เสมอ แม้เราจะเจอกับเรื่องที่ทำให้เราโกรธ เกลียด หรือ ผิดหวังในตัวเองมากแค่ไหนก็ตาม เราก็จะไม่ดาวน์ และสามารถรับมือกับมันได้เป็นอย่างดี คนที่รักตัวเองมักทำเรื่องเหล่านี้ ได้แก่ พูดสิ่งดี
มันต้องมีสักครั้งที่เรารู้สึกเหมือนโลกทั้งใบมีแค่ ‘เรา’ กับ ‘สิ่ง’ ที่อยู่ตรงหน้า เราโฟกัสกับสิ่งนั้นอย่างจริงจัง ทุมเทพลังงานและความสนใจให้กับมัน จนเราไม่สนใจสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวเลย แต่พองานจบลงความรู้สึกเหล่านั้นก็หายไปเหมือนไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ปรากฎการณ์นี้มีชื่อเรียกว่าสภาวะ ‘Flow’ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตและการทำงานอย่างมาก แต่ก็ยากที่จะเข้าถึงเหมือนกัน UNLOCKMEN เลยอยากมาแชร์วิธีการเข้าโหมดโฟลว์อย่างง่ายดาย เพื่อให้ทุกคนนำไปปรับใช้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น WHAT IS THE FLOW STATE ? โฟลว์ (flow) คือ สภาวะที่เราจมอยู่กับกิจกรรมหรืองานอย่างเต็มตัวในช่วงเวลาหนึ่ง โดยที่เราไม่สนใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองและรอบข้าง ซึ่งคำนี้มีที่มาจาก มิฮาย ชิกเซนต์มิฮายยี (Mihály Csíkszentmihályi) นักจิตวิทยาเชิงบวกในปี 1975 และได้รับการสนใจมาจนถึงปัจจุบัน ว่ากันว่าเวลาเราเกิดโฟลว์ สมองส่วนคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal cortex) ซึ่งเกี่ยวข้องกับความคิดขั้นสูง อาทิ ความทรงจำ รวมถึง การมีสติรู้ตัว อาจหยุดทำงานชั่วคราว ส่งผลให้เกิดการรับรู้เวลาผิดเพี้ยน ไม่รู้สึกตัว และไม่ได้ยินเสียงจิตใจของตัวเอง นอกจากนี้การหลั่งของสารเคมีที่ชื่อว่า โดปามีน อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดโฟลว์ด้วย หลายคนอาจไม่เกิดโฟลว์บ่อย เพราะโหมดโฟลว์ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ ต้องมีเงื่อนไขที่จำเป็น
เมื่อเทคโนโลยีทำให้เราสามารถทำงานนอกออฟฟิศได้ง่ายขึ้น เราสามารถทำงานได้จากทุกที ไม่ว่าจะเป็น บ้าน ร้านอาหาร หรือ ร้านกาแฟ สิ่งที่ตามมา คือ เราอาจเกิดความสับสนระหว่างเวลาในการใช้ชีวิต และนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ เช่น ความเครียด ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน จนสุดท้ายราอาจเจอกับความล้มเหลวทั้งในเรื่อง Work และเรื่อง Life บทความนี้ UNLOCKMEN อยากให้ทุกคนรู้จักวิธีการกำหนด work-life boundaries หรือ ขอบเขตระหว่างการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถบริหารเวลาได้ดีขึ้น และเป็นผู้ชนะทั้งการใช้ชีวิตและการทำงาน WORK-LIFE BOUNDARIES คืออะไร ? ถ้าจะสรุปคอนเซ็ปท์ของ work-life boundaries ให้เข้าใจง่ายที่สุด มันคือการที่เราไม่เอาเวลาทำงานมาทำเรื่องส่วนตัว และไม่เอาเวลาทำเรื่องส่วนตัวมาทำงาน ซึ่งการกำหนด work-life boundaries ที่ชัดเจนก็มีงานวิจัยยืนยันด้วยว่า ส่งผลดีต่อการทำงานเหมือนกัน เช่น งานวิจัยของ เอลเลน เอินส์ท คอสเสก (Ellen Ernst Kossek) จากมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเพอร์ดู พบว่า การบริหาร work-life
รู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา – นอนยังไงก็ไม่หายเหนื่อย กำลังมีอาการเหล่านี้ไหม ? ถ้ามี คุณอาจเข้าข่ายเป็นโรค Chornic Fatigue Syndrome (CFS) อยู่ก็ได้ ซึ่งโรคนี้ทำลายชีวิตของเราพอสมควร เพราะเป็นโรคที่ทำให้เราอยู่ในภาวะเหนื่อยล้าตลอดเวลา จนไม่สามารถทำอะไรได้ เราเลยอยากให้ทุกคนรู้จักโรคนี้กันมากขึ้น สำหรับใครที่เคยได้ยินเรื่อง CFS ครั้งแรก เราอยากบอกว่ามัน คือ ภาวะความผิดปกติที่ทำให้เราเกิดอาการเหนื่อยล้าอย่างหนักและยาวนาน ซึ่งต่อให้เราพักผ่อนเพียงพอแล้วก็ตาม อาการเหนื่อยล้าก็ไม่หายไป ซึ่งคนที่มีภาวะนี้มักเจอกับปัญหาในการชีวิตประจำวัน เพราะมีอาการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาด้านการนอนหลับ ไม่สามารถคิด ไม่สามารถจดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้อย่างเต็มที่ ไม่มีแรงมากพอที่จะทำอะไร โรคนี้จึงมักทำให้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยพังลงอยู่เสมอ เมื่อมันเป็นโรคน่ากลัวขนาดนี้ เราเลยอยากแนะนำให้ทุกคนลองเช็คตัวเองดูว่าเข้าข่ายแล้วหรือยัง โดยคนที่เป็น CFS มักจะมีอาการเหล่านี้ – มีปัญหาด้านการนอนหลับ – ปวดกล้ามเนื้อ – ปวดหัว – เจ็บคอ – มีปัญหาด้านการคิด การจดจำ และการจดจ่อ – อาการคล้ายเป็นไข้หวัด – รู้สึกป่วยหรือเวียนหัว –
ในวันที่กระแสส่วนใหญ่บนโลกใบนี้เชื่อว่ายิ่ง “หนัก” อาจหมายถึงยิ่งดี คนทำงานหนักกว่าได้รับการยกย่องมากกว่า คนแบกรับภาระมากกว่าหมายถึงรับผิดชอบมากกว่า “ความเบา” กลายเป็นสิ่งที่ผู้คนหลงลืมกันไป ในวันที่โลกทั้งใบเชื่อในสิ่งหนัก ๆ แต่ใครบางคนอาจเชื่อในความบางเบา คล่องตัว ยืดหยุ่นและพร้อมรับความหลากหลาย แต่ก็ยังมีไลฟ์สไตล์ที่เต็มไปด้วยคุณภาพทุกอณู “ฟ้า-ษริกา สารทศิลป์ศุภา” ยูทูเบอร์สาวก็เป็นหนึ่งในนั้น เธอเคยลองเป็นนักร้อง รับงานนักแสดง มีธุรกิจเป็นของตัวเอง รวมถึงไลฟ์สไตล์และความสนใจที่หลากหลายจนเราอดสงสัยไม่ได้ว่า “ทำทั้งหมดได้อย่างไร?” ความเบา ความคล่องตัวอยู่ตรงไหนในชีวิตที่ทั้งประสบความสำเร็จและมีความสุขนี้? เบากว่า ตรงเป้ากว่า: เพราะชีวิตไม่จำเป็นต้องหนัก แค่ต้องปล่อยสิ่งที่ไม่จำเป็น โลกตอนนี้อาจบีบบังคับให้เราต้องทำหลาย ๆ สิ่งพร้อมกัน และต้องทำอย่างหนักเพื่อให้ทุกสิ่งออกมาดีที่สุดด้วย ตอนแรกฟ้าเองก็เชื่อแบบนั้น แต่คำถามก็คือ “ชีวิตคนเราต้องหนักขนาดนั้นไหม?” นั่นเองคือจุดเริ่มต้นที่ฟ้าเริ่มมองว่า ความเบาอาจเติมเติมเต็มเธอได้มากกว่า จนเธอตัดสินใจลาออกจากมหาวิทยาลัยเพื่อทำสิ่งที่เธอรัก “ช่วงมัธยมฟ้าเริ่มเป็นศิลปินฝึกหัด เริ่มมีงานถ่ายแบบเป็นงานในวงการเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เรายังทำได้ในช่วงนั้น แต่พอใกล้เข้ามหาวิทยาลัย มันเริ่มหนักจริง เราอยากทำธุรกิจของตัวเอง อยากทำอะไรใหม่ ๆ และเป็นช่วงสอบเข้ามหาวิทยาลัยด้วย เลยเหนื่อยและหนักเป็นพิเศษ” “ช่วงที่หนักที่สุดคือตอนเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว เราเริ่มเรียนรู้ระบบมหาวิทยาลัยว่ามีสอบ มีส่งงาน ตอนนั้นเราเป็นนักร้องอยู่ด้วย
ทองหล่อ ย่านที่ไม่เคยหลับไหล ซ่อนไลฟ์สไตล์ สถานที่น่าสนใจไว้มากมายไม่มีวันหยุด
ชีวิตผู้ชาย Work Hard Play Hard เต็มไปด้วยสารพัดสิ่งที่เราต้องจัดการ ทั้งงานล้นมือ กิจกรรมล้นชีวิต ปาร์ตี้ล้นเวลาที่มี ความสัมพันธ์ล้นเกินจะจัดการ ทั้งหมดนี้เราอาจคืบคลานผ่านมันไปอย่างยากลำบากถ้าปราศจาก “เทคโนโลยีสุดล้ำ”มาช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้น เพราะเทคโนโลยียิ่งล้ำก็ยิ่งช่วยให้ชีวิตสะดวกขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่มาในรูปแบบการรวมหลายฟังก์ชันซับซ้อนมาไว้ในหนึ่งเดียว น้อยแต่มาก จิ๋วแต่แจ๋ว เล็กแต่เร็ว จะช่วยให้สารพัดสิ่งที่เราต้องจัดการง่ายขึ้น ยิ่งชีวิตผู้ชาย Urban Men ที่ต้องการความเร็ว ความสะดวกและความคล่องตัวสูง นอกจากสัญชาตญาณและไลฟ์สไตล์ที่ (พยายาม) เร่งรีบแล้ว การมี “เทคโนโลยีจิ๋วแต่แจ๋ว”อยู่เคียงข้างคอยช่วยก็มั่นใจได้เลยว่าชีวิตจะง่ายไร้ขีดจำกัดอย่างที่เราต้องการได้แน่นอน “แคปซูล” เป็นอีกความน้อยแต่มากที่ช่วยเหลือผู้ชายมาหลายยุคหลายสมัยในประวัติศาสตร์มวลมนุษยชาติ ด้วยความจิ๋วแต่แจ๋ว พกพาฟังก์ชั่นหลากหลายไว้ในหนึ่งแคปซูลจึงทำให้แคปซูลกลายเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ชีวิตผู้ชายทั้งง่าย ไวและคล่องตัวขึ้นอย่างมหัศจรรย์ แคปซูลจิ๋วแต่แจ๋ว: ชีวิตกินยาได้ง่ายขึ้นด้วย“ยาแคปซูล” คุณเป็นผู้ชายคนหนึ่งที่พร้อมเผชิญหน้ากับโลกทั้งใบอย่างไม่หวาดหวั่น แต่รู้สึกว่าการต้องกลืนยาเม็ดในวันป่วยหนักช่างยากเย็นเหลือเกินหรือเปล่า? ถ้าใช่ ลองจินตนาการดูสิว่าหากปราศจาก “ยาแคปซูล” แล้วเราต้องมานั่งชั่ง ตวง วัด ปริมาณยาผงที่ถูกต้องเป็นมิลลิกรัม ๆ ด้วยตัวเอง แถมรสชาติยังชวนสยองพองขน ขมหนักจนมะระยังต้องหลีกทางให้ การกินยาของเราคงเป็นเรื่องยากกว่านี้ร้อยเท่าพันเท่า ส่วนถ้าคุณรู้สึกว่าการกินยาไม่ยากอยู่แล้วก็ยิ่งต้องขอบคุณ “ยาแคปซูล”ที่จิ๋วแต่แจ๋วตัวนี้ ย้อนกลับไปในปี 1833 ซึ่งเป็นปีที่ยาแคปซูลอ่อนถือกำเนิดขึ้นโดย Mothes