

Business
Perceived Burdensomeness อาการที่ทำให้รู้สึกว่า ทุกอย่างคงจะดีอยู่แล้ว ถ้าไม่มีเราอยู่ตรงนั้น
By: Chaipohn May 22, 2025 235086
“ถ้าเราหายไป ทุกคนคงสบายขึ้น”
“แค่ตัวเราอยู่ตรงนี้ ก็ทำให้คนรอบข้างไม่มีความสุข”
นี่คือความรู้สึกขมขื่นและทุกข์ทรมาน ที่คนคิดแบบนี้มักจะไม่ปรึกษาใคร ด้วยอาการที่ทำให้รู้สึกว่า เราคือภาระของคนอื่น ทุกอย่างคงจะดีอยู่แล้ว ถ้าไม่มีเราอยู่ตรงนั้น ความรู้สึกแบบนี้เรียกว่า Perceived Burdensomeness
Perceived Burdensomeness หนึ่งในทฤษฎีที่อธิบายโดย Thomas Joiner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน บอกว่ามันคือความเชื่อฝังลึกว่าเราเป็นคนที่ทำให้ชีวิตคนอื่นแย่ลง ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ คนรัก เพื่อน หรือเพื่อนร่วมงาน มันไม่ใช่แค่ความคิดเล่น ๆ ว่า “ต้องให้เพื่อนเลี้ยงข้าวอีกแล้ว” แต่มันคือภาวะซึมเศร้าที่ฝังลึกในสมอง ที่สำคัญคือ “ต่อให้คนอื่นจะไม่คิดแบบนั้น เราก็จะเชื่อว่ามันจริงอยู่ดี มันจึงสร้างความเจ็บปวดให้เกิดขึ้นตลอดเวลา โดยที่ไม่สามารถปรึกษาใครได้ เพราะกลัวจะไปสร้างปัญหาให้คนอื่น
สาเหตุที่บางคนมีความคิดแบบนี้มักจะมาจาก 3 ปัจจัยหลักครับ
Thomas Joiner บอกว่า ความคิดนี้มันไม่ใช่ความอ่อนแอ แต่มันคือ “ความเข้าใจผิด” ที่มีผลรุนแรงเป็นอย่างมากต่อจิตใจมนุษย์ และแนะนำวิธีปลดล็อกจากความรู้สึกนี้ว่า ให้เปลี่ยน “มุมมอง” ต่อความรู้สึกของตัวเอง แยกแยะ “Feeling” กับ “Fact” การรู้สึกว่าคนไม่อยากให้เราอยู่ด้วย ไม่ได้แปลว่ามันเป็นความจริง และต้องกล้าขอความช่วยเหลือโดยไม่รู้สึกผิด เช่นการพูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือปรึกษากับคนที่พร้อมจะรับฟังปัญหาของเรา ซึ่งแอดเชื่อว่ามันมีอยู่จริงแน่นอน
จำไว้ว่า “ไม่มีใครเกิดมาเป็นภาระ” มีแต่คนที่เคยถูกทำให้เชื่อว่าตัวเองเป็นภาระ เราเข้าใจความหนักของอาการนี้ดี เพราะแอดก็จมอยู่กับความคิดแบบนี้เหมือนกัน วันนี้แอดเลยอยากชวนให้คนอื่นค่อย ๆ ปลดล็อกมันออกไป และเชื่อว่าแค่คุณได้อ่านบทความมาถึงตรงนี้ คุณก็ก้าวมาไกลกว่าเดิมมากแล้ว