“โฆษณา” เป็นสิ่งที่เราพบเห็นได้ทุกที่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าเราจะมองไปที่ไหนก็ตาม ถึงแม้ว่า “โฆษณา” จะเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้าม หรือรำคาญจนจ้องจะกดข้ามมันไปภายในเสี้ยววินาที แต่สำหรับบางคน โฆษณาคือสิ่งมหัศจรรย์ที่เขาหลงใหลและมองเห็นคุณค่าของมัน จนวันนึงเขาสามารถที่จะเปลี่ยนโฆษณาให้กลายเป็น Content ทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จอย่างสวยงามได้ ซึ่งคุณเองก็สามารถเปลี่ยนความคลั่งอะไรบางอย่างให้กลายเป็นธุรกิจได้เช่นกัน วันนี้เราจะพาทุกคนเข้าไปในโลกของคนคลั่งโฆษณา “เพิท พงษ์ปิติ ผาสุขยืด” จาก Ad Addict สื่อออนไลน์ด้านโฆษณาและการตลาด ‘เพราะทุกสิ่งในโลก ล้วนเป็นโฆษณา’ และหาวิธีทำให้คนอื่น ๆ ได้เห็นมุมมองดี ๆ ของมัน ใช้ชีวิตอยู่กับมันได้อย่างมีความสุข มาดูกันว่าคนคลั่งโฆษณาอย่างคุณเพิท สร้างรายได้จากโฆษณาได้อย่างไร มีคำแนะนำอะไรสำหรับคนที่อยากเริ่มต้นทำธุรกิจจากความคลั่งของตัวเองบ้าง จากตัวแทนแข่งแผนการตลาดสมัยมหาวิทยาลัย กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คุณเพิทคลั่งไคล้โฆษณา สู่การเป็น Founder ของเพจ Ad Addict ที่กำลังไปได้ดีมาก น่าจะคล้ายกับความฝันของคนรุ่นใหม่หลายคน ที่อยากจะทำงานหาเงินบนสิ่งที่ตัวเองคลั่งไคล้บ้าง “ทำไมมาอินกับโฆษณา? จุดเริ่มต้นต้องย้อนกลับไปสมัยมหาวิทยาลัย เราเรียนอยู่คณะการตลาด มันจะมีกิจกรรมนึงที่อาจารย์ให้จับกลุ่มกับเพื่อนเพื่อไปแข่งประชันแผนการตลาด ช่วงนั้นเราชอบแข่งแผนพวกนี้ เราจึงได้รู้จักเอเจนซี่โฆษณา แล้วได้ไปฝึกงานที่หนึ่งจนเหมือนกับได้เปิดโลก” “เรารู้สึกว่าโฆษณามันเป็นพลังอันหนึ่งที่สุดยอดมากนะ มันเปลี่ยนแปลงการกระทำของคน เปลี่ยนแปลงความคิด ความเชื่อ ความรู้สึก หลาย ๆ
เมื่อเราพูดถึงสมุนไพรสายเขียวในปี 2023 ซึ่งเปิดกว้างมากในประเทศไทย เป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะไม่พูดกันถึงนักเพาะปลูกหรือที่ทั่วโลกต่างเรียกพวกเขาว่า Grower อาชีพอันทรงเกียรติ เป็นที่ต้องการของตลาด และมีรายได้สูงมาก (ในต่างประเทศ) แต่ประเทศไทยยังไม่ถูกพูดถึงมากนัก ด้วยความหลงไหลในพืชใบแฉกปนกับความสงสัยซึ่งมาพร้อมกับคำถามสำคัญว่า “เราจะปลูกพืชชนิดนี้ด้วยตัวเองกันไปทำไมในวันที่สามารถหาซื้อได้ง่ายดาย” คอลัมน์ Man Up ประจำเดือนเมษายน UNLOCKMEN จึงชวน ‘เตอร์’ หรือที่ในวงการรู้จักเด็กหนุ่มวัย 26 คนนี้ดีในชื่อ ‘พี่หมีแห่ง GrowStuff’ เปิด Private Workshop ที่ให้ Exclusive Group ของเราเข้าคลาสเรียนวิชา Grower 101 กันแบบใกล้ชิด รู้ทุกสิ่งที่ควรรู้เบื้องต้น ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวผลิตผล พร้อมเปิดมุมมองว่าจริง ๆ แล้วพืชชนิดนี้คือศิลปะที่ล้ำลึกมากกว่าแค่เพื่อเก็ทไฮน์ ทำความรู้จัก GrowStuff กันก่อน (ฉบับย่อ) GrowStuff Shop คือร้านขายอุปกรณ์การเกษตรโดยเน้นที่สมุนไพรใบแฉกเป็นหลัก (ภายใต้ชื่อบริษัท GrowStuff Supply and Service) ซึ่งอย่างที่รู้กันว่ามี ‘เตอร์-ฉัตรทอง ริมทอง’ เป็น
นักลงทุน Crypto และนักสร้าง NFT อาจจะไม่ชอบมุมมองของ Bill Gates ที่มีต่อทรัพย์สิน Digital ทั้งสองประเภทนี้แน่ ๆ เพราะในการสัมภาษณ์ล่าสุด Bill Gates โจมตีอย่างเจ็บแสบว่า NFT เป็นการลงทุนบนหลักการณ์หลอกขายคนโง่กว่า เพราะเป็นโลกของสินทรัพย์ไร้มูลค่าและสาระที่ไม่สนใจว่าราคาจะ Overpriced ไปแค่ไหน ก็ยังจะมีคนยินดีจ่ายเงินจำนวนที่มากกว่าโดยหวังว่าจะขายทำกำไรได้อย่างไม่รู้จบ Bill Gates ให้สัมภาษณ์ไว้ในงาน TechCrunch โดยมีมุมมองต่อการลงทุนเหมือนกับ Warren Buffett เพื่อนซี้มหาเศรษฐีว่า Gates สนใจการลงทุนในทรัพย์สินที่มีผลผลิตจับต้องได้ และมีผลต่อชีวิตประจำวันของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นฟาร์มหรือการผลิตอะไรออกมาสักอย่าง ซึ่งเจ้าตัวไม่เคยเกี่ยวข้องหรือลงทุนในทั้ง Crypto และ NFT แม้แต่ครั้งเดียว เพราะมันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาเพื่อให้คนรวยใช้เลี่ยงภาษีรวมถึงข้อบังคับต่าง ๆ ของรัฐบาล โดยใช้คนทั่วไปเป็นเครื่องมือผ่านการลงทุน “คุณคิดว่ารูปลิง Bored Ape Yacht Club ในออนไลน์ที่มีมูลค่ามหาศาล มันแพงเพราะอะไร มันทำอะไรได้ มันคำนวณมูลค่ายังไง และมันช่วยทำให้โลกใบนี้ดีขึ้นได้ยังไง?” นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Bill Gates
หากเอ่ยชื่อ “เชฟต้น-ธิติฏฐ์ ทัศนาขจร” หลายคนน่าจะคุ้นเคยเป็นอย่างดีในฐานะเจ้าของร้าน Le Du (ฤดู) ร้านอาหารสไตล์ Fine dining ที่โดดเด่นด้วยแนวอาหารแบบไทยฟิวชั่นที่ถูกปากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมากว่า 10 ปี นอกจาก Le Du แล้ว เชฟหนุ่มคนนี้ยังดูแลธุรกิจร้านอาหารอีกถึง 7 ร้านซึ่งมีแนวทางการสร้างสรรค์อาหารที่แตกต่างกัน หากนับชั่วโมงบินในวงการนี้แล้ว เชฟต้นถือเป็นเชฟมืออาชีพทั้งจากประสบการณ์ที่สั่งสมมาและรางวัลการันตีความสามารถมากมาย และแม้จะต้องเผชิญกับวิกฤติโควิด-19 อุปสรรคครั้งใหญ่ที่ทำให้ร้านอาหารหลายร้านต้องยอมถอย แต่ธุรกิจที่อยู่ภายใต้การบริหารของเขายังคงอยู่รอดมาได้ อะไรคือเคล็ดลับสำคัญที่ทำให้เชฟหนุ่มคนนี้ประสบความสำเร็จ วันนี้เราจะมาหาคำตอบจากเชฟหนุ่มคนนี้กัน ปรุงรสเสน่ห์อาหารไทยด้วยความโดดเด่น แตกต่าง และวัตถุดิบจากท้องถิ่น ย้อนกลับไปช่วงที่เชฟต้นเริ่มเปิดร้านอาหารเป็นครั้งแรก อาหารไทยสไตล์ฟิวชั่นยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่ด้วยความชอบในอาหารไทยเป็นทุนเดิม จึงเป็นเหมือนแรงผลักดันให้เชฟหนุ่มคนนี้ทำตามความฝันที่จะเปิดร้านอาหารไทยฟิวชั่นในรูปแบบ Fine dining จนกลายเป็น Signature ประจำตัว “ผมมองว่าอาหารไทยคือสิ่งที่คนไทยเราคุ้นเคยกันอยู่แล้ว เราเติบโตมากับอาหารไทยตั้งแต่เด็กๆ ไม่ว่าจะไปลองกินอาหารชาติไหน สุดท้ายเราก็อยากกลับมากินอาหารไทยอยู่ดี เพราะเป็นรสชาติที่คุ้นเคยและถูกปาก แม้แต่ชาวต่างชาติก็ยังชื่นชอบอาหารไทย แต่การยกระดับอาหารไทยขึ้นมาเสิร์ฟในรูปแบบ Fine dining นั้นเป็นโจทย์ที่ท้าทาย เพราะมุมมองของคนทั่วไปในเวลานั้น อาหารไทยหาทานที่ไหนก็ได้ ผมจึงให้ความสำคัญในการเลือกสรรวัตถุดิบและกรรมวิธีการปรุงรสเพื่อชูวัตถุดิบหลักให้ได้มากที่สุด ลองคิดนอกกรอบสร้างสรรค์เมนูใหม่ๆ ด้วยวัตถุดิบท้องถิ่น ทำให้เราได้เมนูที่แปลกใหม่แต่ยังคงมีกลิ่นอายความเป็นไทย
สำหรับใครที่อยู่ในแวดวงอสังหาฯ น่าจะพอรับรู้ได้ถึงสัญญาณของตลาดที่กำลังกลับมาคึกคักอีกครั้ง ด้วยความเคลื่อนไหวของ Developer ทั้งค่ายเล็ก ค่ายใหญ่ ที่ต่างก็เดินหน้าเปิดกลยุทธ์พร้อมลุยศึกแย่งชิงตลาดกันอย่างดุเดือด ซึ่งผู้นำวงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับลักซ์ชัวรี่ และซูเปอร์ลักซ์ชัวรี่อย่าง RAIMON LAND (ไรมอน แลนด์) ก็เป็นอีกรายที่พร้อมลุยศึกใหญ่ครั้งนี้ โดยความเคลื่อนไหวของไรมอน แลนด์ ครั้งล่าสุดนั้นไม่ใช่แค่การเปิดเกมรุกเพื่อยึดพื้นที่ตลาดลักซ์ชัวรี่ในไทยเท่านั้น แต่ยังถือเป็นการยกระดับวงการอสังหาริมทรัพย์ ด้วยเป้าหมายในการเป็น Developer เจ้าแรกในไทย ที่พร้อมมอบความพิเศษเฉพาะตัวให้กับลูกค้าในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน ภายใต้คอนเซ็ปท์ “Luxury Reimagined” โดย คุณ ‘กรณ์ ณรงค์เดช’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ RML ผู้นำการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับลักซ์ชัวรี่ของประเทศไทย เปิดเผยว่า “สำหรับการดำเนินธุรกิจ บริษัทเดินหน้าตามแผนการรีแบรนด์ ยกระดับภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้เข้าถึงง่าย ทันสมัยมีสไตล์มากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับการปรับวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ใหม่ของไรมอน แลนด์ ภายใต้คอนเซ็ปท์ Luxury Reimagined เพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายให้เข้าถึงคนเจเนอเรชั่นใหม่ ตอกย้ำความเป็นผู้นำการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับลักซ์ชัวรี่ ด้วยการออกแบบระดับเวิลด์คลาสที่ผสมผสานเทคโนโลยีรวมถึงนวัตกรรมที่ทันสมัยในทุกโครงการ” “นอกจากนี้ทางไรมอน แลนด์ จะยังคงไว้ซึ่งมาตรฐานความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ทั้งงานออกแบบตกแต่งภายใน ภายนอก งานภูมิสถาปนิก
Nov 25, 2021 มี Tweet ระบุช่องโหว่และบอกวิธีที่สามารถโจมตี TerraUSD alogrithm ระบบของ LUNA และ USDT ด้วยวิธีของ George Soros และเงินทุนราว $1 Billion USD แต่แทนที่ Do Kwon จะรับฟังและตรวจสอบไอเดียว่าทำได้จริงหรือไม่ เขากลับตอบด้วยประโยคที่เจ้าตัวใช้เป็นประจำว่า “ถ้าไม่ฉลาด ก็เงียบปากไปซะ ไหนใครเป็น Billionaires ลองทำแบบที่มันบอกหน่อย แล้วดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น” และยังมีอีกหลายต่อหลายครั้งที่ Do Kwon โต้ตอบกับผู้คนด้วย tweet ที่ดุเดือดและจองหอง ไม่ว่าจะเป็นการเหยียดหยามคนอื่นว่าจน โง่ หรือเรียกคนที่วิจารณ์ระบบ Terra ว่าเป็นพวกแมลงสาบ ระยะเวลาแค่ 5 เดือนผ่านไป ดูเหมือนสิ่งที่ Do Kwon เคยท้าทายเอาไว้ด้วยความมั่นใจในระบบของตัวเองมากเกินไปจนมองข้ามปัญหา ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า TerraUSD algorithm ถูกโจมตีจนทุกอย่างที่ Do Kwon สร้างขึ้นมาพังพินาศยับเยิน
ปัญหาที่ Netflix กำลังเจออยู่ตอนนี้ เรียกได้ว่ามาจากความสำเร็จอย่างสูงที่ตัวเองสร้างขึ้นมา การทำให้วัฒนธรรมดูหนัง Streaming กลายเป็นวัฒนธรรมหลักไปทั่วโลก เพียงแต่จากที่ Netflix เคยเป็น Streaming platform เจ้าใหญ่ที่เกือบจะกินรวบตลาด วันนี้กลับมีคู่แข่งที่น่ากลัวเกิดขึ้นมากมาย มีจุดเด่นด้าน Content ไม่แพ้ Netflix ในราคาที่ถูกกว่า หลายคนน่าจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับช่วงเวลาที่แสนท้าทายของ Netflix ในรอบ 10 ปี หุ้นก็ร่วง รายได้ก็ลด ลูกค้าก็ค่อย ๆ หายไป จนต้องเตรียมแผนจะจัดการกับระบบ password sharing ซึ่งตัว Netflix เคยเป็นคนบอกเองว่าดี แต่เรากลับมองว่าวิธีแก้ปัญหารายได้ด้วยการห้ามแชร์ password จะทำให้ผู้คนอยากจ่ายเงิน subscribe ให้ Netflix จริงหรือ? น่ากลัวว่าจะยิ่งยกเลิกแล้วไปสมัครเจ้าอื่นที่มี Original Content ดี ๆ ระดับคุณภาพ 4K อย่าง HBO Go, Disney+ ค่ายเจ้าของลิขสิทธิ์อย่าง Paramount,
เรียบร้อยโรงเรียน Elon Musk ในที่สุด Twitter ก็ยอมรับข้อเสนอการเข้า take over รวมถึงอำนาจการควบคุมทั้งหมดด้วยอภิมหาดีลมูลค่า $44 billion USD คิดเป็นเงินไทยราว 1.5 ล้านล้านบาท (1,502,446,000,000) ซึ่งเป็นราคาหุ้นละ $54.20 ตามที่ Elon เคยเสนอเอาไว้ตั้งแต่วันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมา แบ่งเป็นเงินกู้จำนวน $25.2 billion และเงินส่วนตัวราว $21 billion นับเป็นราคาต่อหุ้นที่มี premium กว่าราคาตลาดถึง 38% การเข้าซื้อ Twitter ของ Elon Musk เป็นความต้องการ unlock ศักยภาพของ Social Media ให้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฟีเจอร์ใหม่ ๆ การปรับ algorithms แบบ open source ให้นักพัฒนาเข้าถึงได้ การกำจัด spam bots
“ต้องทำงานให้หนัก ไม่มีหยุดพัก ไม่ต้องคบใคร แล้วคุณจะประสบความสำเร็จ” หากใครฟังไลฟ์โค้ชบ่อย ๆ น่าจะคุ้นกับประโยคปลุกใจทำนองนี้ ซึ่งอาจจะมีส่วนถูกอยู่บ้างบางส่วน เช่นการทำงานที่ช่วยพัฒนาตัวเองมากกว่าคนอื่น ย่อมสร้างโอกาสให้เราได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน หรือในภาวะเศรษฐกิจทรุด ค่าเงินเฟ้อ หลายคนต้องทำงานอย่างหนักหลายช่องทางเพื่อหารายได้เสริม หรือบางคนอาจจะมีค่านิยมว่าต้องทำงานให้หนักอยู่เสมอ ตัวเองถึงจะมีคุณค่า ไม่ว่าคุณจะทำงานหนักด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม หากรู้สึกว่ามันหนักเกินไปจนชีวิตของคุณกำลังพัง แปลว่าคุณกำลังเจอกับอาการ “Toxic Productivity” Toxic Productivity คือความพยายามเป็นคน Productive ตลอดเวลา ไม่คิดจะหยุดพัก แม้ว่างานของวันนี้จะถูกเคลียร์ไปหมดแล้วก็ตาม เป็นสิ่งที่พบเห็นได้มากในกลุ่ม Manager level ขึ้นไป ซึ่งอยู่ในช่วงสำคัญที่ต้องการสร้างผลงานเพื่อเลื่อนขั้นต่อไป หรือ Freelance ที่รับงานมากเกินไป เพราะการมีลูกค้าเข้ามาว่าจ้าง หมายถึงความสามารถที่เหนือกว่าคู่แข่ง และเป็นช่วงกอบโกยรายได้ จะเห็นว่าการนำคุณค่าของตัวเองไปวัดกับประสิทธิภาพการทำงาน จะยิ่งก่อให้เกิดความเครียดจากวงจรการทำงานที่ไม่มีวันหยุดพัก ยิ่งทำงานได้มาก ยิ่งงานออกมาได้ดี ยิ่งแสดงถึงคุณค่าของตัวเองมากขึ้น เพื่อให้หัวหน้าและลูกน้องมองเห็นความสำคัญในการมีอยู่ซึ่งตัวตนแบบอย่าง หากไม่มีงาน เราจะรู้สึกว่าไม่เหลืออะไรในชีวิตให้ทำอีกเลย และเมื่อไหร่ที่นั่งว่างงานเฉย ๆ ระหว่างวัน กลับทำให้รู้สึกว่าเป็นคนขี้เกียจ ด้อยคุณค่าในตัวเองลงไป นอกจากนี้การ Work from home
พวกเราต้องเจอกับ Presentation มาตั้งแต่เด็กจนโต ไม่ว่าจะเป็น PowerPoint หรือ Keynote ก็ตาม หลายครั้งที่เราพยายามตั้งใจดูสไลด์พร้อมกับฟังคำอธิบายในการประชุมอย่างจดจ่อ กลายเป็นว่าสมองยิ่งสับสน ไม่สามารถจดจำเนื้อหาอะไรได้เลยแม้แต่ท่อนเดียว ถ้าคุณเป็นแบบนี้บ่อย ๆ อย่าพึ่งโทษตัวเอง หรือโทษลูกน้องของคุณ เพราะวิทยาศาสตร์ได้อธิบายเหตุการณ์นี้เอาไว้ว่า สาเหตุนั้นมาจากวิธีทำ Presentation เอง การทำสไลด์ที่น่าเบื่อ มีตัวหนังสือพรืดเต็มหน้าจอ พร้อมกับการพูดอธิบายข้อมูลที่ซับซ้อน ทำให้สมองของคนฟังต้องทำงานตีความหมายจากสอง inputs ไปพร้อม ๆ กันแบบ multitasking มากเกินไปโดยไม่รู้ตัว Presentation ที่ดี ไม่ควรมีความซับซ้อน หากใครเคยเห็น Presentation ที่เต็มไปด้วยข้อความหรือ bullet ยิบย่อยมากมาย และคน present ก็พูดอธิบายข้อความเนื้อหาจำนวนมากไปพร้อม ๆ กัน แทนที่จะช่วยย้ำหรืออธิบายข้อมูลให้เข้าใจง่าย กลับกลายเป็นการเพิ่มโหลดให้สมองส่วนจดจำข้อมูล เพราะในขณะที่ตาเราจ้องอ่านข้อความบนสไลด์เพื่อตีความหมาย หูของเราก็ฟังคำอธิบายที่แตกต่างจากบนสไลด์เพื่อตีความหมายไปพร้อม ๆ กัน เมื่อหูและตาเจอกับข้อความที่แตกต่างกัน รวมถึงการเสียสมาธิเพราะต้องสลับโฟกัสระหว่างคำพูดและข้อความบนสไลด์ ทำให้เกิดการส่งข้อมูลที่ซับซ้อนไปสู่สมองจากคนละประสาทสัมผัส ผลคือสมองของเราจะเหนื่อยล้า สมาธิหลุด ส่งผลให้เรารู้สึกเบื่อการประชุม และลืมข้อมูลไปจากความทรงจำอย่างรวดเร็ว