ความเดิมจาก Part 1 (ใครยังไม่ได้อ่านกดตรงนี้) : เราคุยกับพี่ ‘ต้อย ก็มาดิคร้าบ’ ย้อนกลับไปในวันที่เขาเป็นเพียง ‘ธงชัย คะใจ’ ผู้ชายธรรมดาคนหนึ่งที่เอาตัวเองกระโจนไปในเรื่องราวมากมายอย่างสนุกสนาน เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ และสู้กับทุกอุปสรรคในชีวิตจนสามารถเคลียร์ได้ทุกสเตจ ซึ่งเรียงไทม์ไลน์ไว ๆ ได้ตามนี้ โดนเศรษฐกิจฟองสบู่แตกปี 2540 – ขายอาหารตามสั่งติดกับตึก Workpoint – ได้เป็นคนคุมกองเชียร์ของ Workpoint – ลาออกไปอยู่ Triple Two – ตามเมียไปอยู่อเมริกา – ตัดสินใจทำรายการออนไลน์กับ ‘ตั๊ก-บริบูรณ์’ – กลายเป็นผู้กำกับรายการตลกที่ดังที่สุดรายการหนึ่งของไทยตอนนี้ ก็มาดิคร้าบ ใน Part 2 อย่างที่เคยเกริ่นเอาไว้ (คนที่ยังไม่ได้อ่านต้องกดตรงนี้แล้วนะ) เราอยากพาชาว UNLOCKMEN ไปรู้จักกับพี่ต้อยให้มากขึ้น เพราะในบทสัมภาษณ์ก่อนหน้าเป็นเพียงบทหนึ่งของชีวิตเขา ถ้าตัดชีวิตการทำงานพาร์ท ‘ผู้กำกับ’ ออกไป พี่ต้อยคือผู้ชายที่หลงใหลในมอเตอร์ไซต์ฮาร์เลย์ เพราะว่าชีวิตผูกพันธ์กับฮาร์เลย์ตั้งแต่จำความได้ และจะขอมีฮาร์เลย์อยู่ในชีวิตตลอดไป ! ลูกชายคนโตพี่เอง ชื่อ
“เพชรพายกล้อก็คือผม ทำ Youtube เกี่ยวกับสิ่งที่ผมชอบ รถอเมริกัน ฮาร์เลย์รถซิ่ง เกี่ยวกับอะไรที่เป็นล้อ” คำพูดข้างบนเป็นของผู้ชายที่ชื่อ ‘เพชร มรรคผล’ , ‘เพชรร้อยปี’ หรือที่ปัจจุบันในวงการคัสตอมช็อปเปอร์ต่างเรียกเขาด้วยชื่อ เพชรพายกล้อ ซึ่งก่อนเริ่มบทสนทนากัน เราขอให้เขาช่วยนิยามตัวเองให้ฟังหน่อย ด้วยความที่ว่าชีวิตนี้เคยทำอะไรหลายอย่างมาก ๆ แต่ทว่าเพชรกลับนิยามง่ายไปแบบนั้น ในคอลัมน์ The Real ตอนล่าสุด UNLOCKMEN พาทุกคนเข้าอู่ AMP CUSTOM สถานที่ซึ่งเก็บเรื่องราวมากมายเอาไว้ท่ามกลางกองอะไหล่ซึ่งรอวันประกอบ ซากปรักหักพังของวัสดุที่ถูกทิ้งร้างจนช่างอาจจะลืมไปแล้วว่ามีอยู่จริง เคล้ากลิ่นของน้ำมันข้นคลั่กที่ลอยคลุ้งอยู่ในอากาศ อู่ทำรถช็อปเปอร์ที่เพชรไม่ขอเรียกว่าอู่ เพื่อเข้าใจว่าทำไมผู้ชายคนนี้ถึงบอกกับเราว่าไม่มีฝันไหนจะดีได้เท่ากับการตื่นขึ้นมาอยู่ที่ AMP CUSTOM อีกแล้ว AMP LEGACY : จุดเริ่มต้นแบรนด์ของตระกูลที่ประกอบเป็นเครื่องยนต์ชีวิต ย้อนเวลากลับไปประมาณปี 2546 ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยยังไม่มีแบรนด์ Street Clothing เป็นของตัวเองมากนัก การถือกำเนิดของ A.M.P. Clothing ได้ทิ่มหมุดหมายสำคัญของแฟชั่นสตรีทแวร์ให้กับเหล่าวัยรุ่นบ้านเรา ทำไมเราถึงต้องพูดถึงในวันที่แบรนด์นี้กลายเป็นตำนานและติดตลาดไปแล้ว ก็เพราะว่าผู้ก่อตั้ง A.M.P. Clothing คือพี่น้อง ‘ไผ่-Alongkorn Makphop’