เพราะทุกสิ่งรอบตัวมีเรื่องเล่า ทันทีที่ผู้ชายอย่างเราก้าวออกจากบ้าน เราเลือกได้ว่าจะมองทุกสิ่งรอบตัวเพียงเพื่อให้มันผ่านเลยไปในแต่ละวัน หรือจะเลือกปลดล็อกตัวเองด้วย “ความคิดสร้างสรรค์” หรือ “Creativity” ที่จะทำให้เรามองทุกสิ่งในนิยามใหม่ บันทึกเรื่องเล่าจากสิ่งรอบตัวในมุมต่างออกไปอย่างที่ไม่เคยพบมาก่อน หากจะพูดถึงการใช้ “ความคิดสร้างสรรค์” หรือ “Creativity” มองหาเรื่องเล่าจากสิ่งรอบตัวเพื่อบันทึกและถ่ายทอดจากมุมของเรา คงหนีไม่พ้นการถ่ายภาพแนวสตรีตอย่างแน่นอน เพราะแต่ละภาพแฝงไปด้วยการพลิกมุมมอง การฟังเสียงของสรรพสิ่ง การเห็นในสิ่งที่คนอื่นอาจเผลอละเลย เราจึงพามาหาคำตอบของคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์” หรือ “Creativity” กับ คุณพงษ์-ทวีพงษ์ ประทุมวงษ์ ช่างภาพสตรีตผู้ได้รับการยอมรับทั้งระดับประเทศและระดับโลก หลายคนอาจสงสัยว่าภาพสุดครีเอทีฟฝีมือคุณพงษ์ที่เราเห็นอยู่นี้มีเรื่องเล่าแบบไหนซ่อนอยู่? ช่างภาพต้องการสื่อสารอะไรกับเรา? และภาพนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? “ผลลัพธ์ของรูปภาพเรา คือ การตั้งคำถามกับคนดู นี่มันเกิดอะไรขึ้นเนี่ยกับโมเมนต์นี้ ทำไมเด็กคนนี้ถึงบินได้ ทำไมลุงคนนี้ถึงกำลังล้ม มันคือความลึกลับ ความตลก นี่แหละมันคือความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้น” การจับโมเมนต์ที่เกิดขึ้นให้ทันนี่เองเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เกิดภาพอันสร้างสรรค์และสามารถถ่ายทอดเรื่องเล่าผ่านภาพได้ แม้นิยามของความคิดสร้างสรรค์จากแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน แต่ในสายตาช่างภาพสตรีตอย่างคุณพงษ์ก็มีความหมายที่น่าสนใจ “สำหรับเราความคิดสร้างสรรค์คือกระบวนการในการออกไปทำอะไรบางอย่างที่มันใหม่ ๆ” อาจพูดได้ว่านิยาม “Creativity” ของคุณพงษ์ช่างภาพสตรีตมากฝีมือคือการหาไอเดียที่ดีควบคู่กับการออกไปเจออะไรใหม่ ๆ ไม่ให้ตัวเองรู้สึกเบื่อหรือวนอยู่กับอะไรซ้ำ ๆ เพราะการออกไปเจอสิ่งที่ต่างออกไป การออกไปทำอะไรใหม่ ๆ จะช่วยจุดประกายความคิดของเราได้ แต่เราก็ยังอดสงสัยไม่ได้ว่าโมเมนต์ที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพสตรีตที่ทำให้ได้ภาพสุดครีเอทีฟในสายตาคุณพงษ์คืออะไร? “บางเหตุการณ์มันมีแค่ครั้งเดียวในชีวิต มันมักจะเป็นโมเมนต์ที่พิเศษ
หลายครั้งที่ชีวิตเราต้องเจอกับเรื่องกะทันหัน ไม่คาดคิด ต้องการความเร่งด่วนแบบฟ้าแลบ บางครั้งเราอยากจดอะไรสักอย่างที่มันเร่งด่วนมาก ๆ จนไม่มีเวลาปลดล็อกโทรศัพท์ เข้าแอปฯจดบันทึก หยิบปากกา ควานหากระดาษให้วุ่น สุดท้ายก็ลงเอยที่จดใส่มือตัวเอง ดูวุ่นวายและไม่เท่เอาซะเลย หนุ่มคนไหนที่เจอปัญหานี้อยู่บ่อย ๆ UNLOCKMEN อยากให้ทำความรู้จักกับ Wemo นวัตกรรมเจ๋ง ๆ ที่จะเปลี่ยนเคสโทรศัพท์ให้เป็นกระดาษโน้ตแบบไม่ต้องควานหาให้วุ่นวาย ผู้ออกแบบอย่าง Yuhei Imai ได้เคยทำกระดาษโน้ตที่เอาไปแปะได้ทุกที่ ทุกผิววัสดุขึ้นมาแล้ว ถือว่าเจ๋งและตอบโจทย์ยุคสมัยนี้เอามาก ๆ และตอนนี้เขาได้หยิบเอาไอเดียนี้มาต่อยอด นำกระดาษโน้ตนั่นมาทำเป็นเคสโทรศัพท์ นั่นหมายความว่า หากเราพลิกโทรศัพท์ขึ้นมา เราก็มีพื้นที่มากพอให้จดบันทึกข้อความหรืออะไรก็ตามได้แล้ว ด้วยวัสดุที่ทำมาจากซิลิโคนที่เคลือบสารชนิดพิเศษที่เป็นเคล็ดลับของผู้ผลิต ทำให้เราใช้ได้แม้กับปากกาลูกลื่น และลบมันได้ด้วยนิ้วของเราเองนี่แหละ ด้วยดีไซน์ที่เรียบง่าย และสีสันที่ใช้ได้แบบ Unisex ทำให้เราไม่ต้องเขินอายเมื่อหยิบมันขึ้นมาใช้ เพราะมันก็ใกล้เคียงกับเคสที่เราใช้ในทุกวันนี้นี่แหละ แถมยังดีไซน์ไม่รกหูรกตา ไม่มีลายอะไรมากวนใจอีกด้วย ไม่ต้องความหาใบเสร็จในกระเป๋า ไม่ต้องหาทิชชู่เปื่อย ๆ ที่พร้อมจะขาดทุกเมื่อที่จรดปากกาลงไป เพราะเราเข้าใจว่าบางครั้งชีวิตก็ต้องเจอกับเรื่องราวเร่งรีบ ที่จะไม่มีโอกาสให้เราได้หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาปลดล็อกจออย่างใจเย็น เปิดหาแอปฯจดบันทึกที่อาจจะไม่ค่อยได้ใช้ จนต้องหากันอีกหลายวินาทีว่ามันอยู่ไหนกันแน่ ถ้าหากเรามีเคสอันนี้แล้ว ปัญหาทุกอย่างก็จบไปง่าย ๆ เลยล่ะ ใครสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ อย่าลืมใส่ใจรายละเอียดใกล้ตัว
ทุกวันนี้เราพึ่งพาสิ่งที่เรียกว่าพลังงานกันมากจนเกินไปหรือเปล่า ? เช่นเวลาไปเที่ยว เราก็ต้องพกพาแบตฯ สำรอง (Power Bank) อยู่ทุกครั้ง จนกลายเป็นของคู่กับสมาร์ทโฟนแบบที่ขาดไม่ได้ แต่ไม่ว่าเราจะมีโทรศัพท์มือถือที่มีแบตเตอรี่จุได้เยอะมากมายขนาดไหนหรือมีแบตฯ สำรองขนาดความจุ 30,000 mAh ก็ตาม อย่าลืมว่ามันก็ย่อมมีวันหมด ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินต้องการโทรหาใครสักคนล่ะ เคยคิดเผื่อใจ เผื่อเหลือใช้เวลานั้นกันบ้างหรือเปล่า ปัญหาที่กล่าวมาเหมือนเป็นความท้าทายเหล่าคนใช้ที่ไม่รู้จักประมาณตัวเองในการใช้งานที่คิดว่าการมีแบตฯ สำรองจะช่วยได้ทุกอย่าง ตอนนี้มีทางออกสำหรับปัญหานี้และผู้ที่ต้องการมือถือที่อยู่ได้นาน ๆ แล้ว โดยเหล่านักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ได้คิดค้นโทรศัพท์มือถือที่ไม่จำเป็นต้องใช้แบตฯ ออกมาแล้ว บอกไว้ก่อนเลยว่ามันคือโทรศัพท์มือถือ ไม่ใช่สมาร์ทโฟนแบบจัดเต็มฟังก์ชั่นเหมือนที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ โดยการทำงานของมันทำได้เพียงแค่การใช้รับโทรศัพท์และโทรออกอย่างง่าย ๆ เท่านั้น โดยหลักการทำงานของเจ้ามือถือเครื่องนี้เป็นการใช้กำลังไฟเพียง 3.5 วัตต์เท่านั้นในการทำงาน ซึ่งมือถือเครื่องนี้จะใช้พลังงานจากโซลาร์เซลขนาดเล็ก ๆ และแปลงคลื่นวิทยุโดยรอบตัวให้เป็นพลังงานไฟฟ้า Battery-free Cellphone ออกแบบขึ้นมาอย่างง่าย ๆ ตัวปุ่มกดเป็นคาปาซิทีฟเซ็นเซอร์เพียงไม่กี่ปุ่ม เช่น ปุ่มตัวเลข 0-9 รวมทั้งปุ่ม * และ # และปุ่มแอ็กชั่น 2 ปุ่มสำหรับวางสาย อยู่บนแผงวงจรและมัดรวมผสมกับชิ้นส่วนอื่น ๆ โดยในบอร์ดนั้นทางทีมผู้ผลิตได้กล่าวว่าเป็นชิ้นส่วนที่สามารถหาชื้อได้ทั่วไป