ครั้งนี้ Panerai ไม่ได้แค่นำชื่อ Marina Militare มาปั๊มบนหน้าปัด แต่พาเราเหินฟ้าขึ้นไปกับ Aviazione Navale, หน่วยการบินของกองทัพเรืออิตาลี ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ Panerai ขยับจากนาฬิกาดำน้ำสู่ aviation division ตัวเรือนของ PAM01699 ขนาด 47mm ผลิตจากไทเทเนียมเกรด 5 ขัดด้าน เบเซลหมุนทางเดียวเป็นไทเทเนียมฝังเซรามิกดำด้านเพิ่มความทนทานขั้นสูงสุด เม็ดมะยมแบบ screw-down พร้อมระบบ Crown Guard ที่หนาแน่น สะท้อนความแข็งแกร่งที่ใช้งานจริง หน้าปัดสีเขียว grainy finish ของ PAM01699 ได้แรงบันดาลใจจากเรือนไมล์ของเครื่องบินรบ เข็มหลักทรงโอเวอร์ไซซ์พ่นด้วย Grey Super-LumiNova เพื่อเรืองแสงอย่างชัดเจนในที่มืด ส่วนชุดมาร์กเกอร์ชั่วโมงถูกออกแบบให้เป็นทรงกลมทั้งหมด ยกเว้นตำแหน่ง 12 นาฬิกาที่เน้นด้วยมาร์กเกอร์ทรงแท่ง (baton) ทำหน้าที่เป็นจุดนำสายตา และช่วยให้ผู้สวมใส่สามารถระบุทิศทางของหน้าปัดได้ทันทีในทุกมุมมอง แม้ในสภาพแสงต่ำหรือขณะปฏิบัติภารกิจเร่งด่วน ฝั่งขวามี pusher สำหรับจับเวลาถอยหลังระดับนาทีผ่านเข็ม central chronograph minute hand
หลายคนเคยได้ยินเรื่องเล่าว่า นาฬิกา Cartier รูปทรงที่บิดเบี้ยวเพราะไฟไหม้จากอุบัติเหตุรถยนต์ กลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้ Jean-Jacques Cartier สร้าง Crash ออกมา หรืออีกเรื่องเล่าที่ว่ามันมาจากนาฬิกาในภาพเขียนของ Salvador Dalí “The Persistence of Memory (1931)” ฟังดูเป็นเรื่องโรแมนติกดีใช่ไหม? แต่น่าเสียดายที่มันไม่ใช่เรื่องจริง ความจริงคือ Cartier Crash เกิดจาก “การออกแบบอย่างตั้งใจ” Jean-Jacques Cartier และดีไซน์เนอร์ Rupert Emmerson จงใจหยิบ Cartier Baignoire ดีไซน์ทรงรี (oval) ที่เรียบหรู เอามาบิดให้เบี้ยวอย่างตั้งใจกลายเป็น Cartier Crash ตาม request ของ Stewart Granger ดาราชื่อดังชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นช่วง Swinging sixties ที่มีการปฏิวัติทางวัฒนธรรมอย่างกว้างขวางในช่วงยุค ’60s – 70s พูดเหมือนง่าย แต่วิธีทำ Cartier
โลกของ Patek Philippe เคยสงบ เรียบหรู และอยู่สูงเกินเอื้อม เป็นโลกของทองคำ ความบางเฉียบ และความซับซ้อนในเชิงช่างที่ไร้ที่ติ จนกระทั่งปี 1976 — พวกเขารู้ตัวว่าถ้าไม่เปลี่ยนอะไรซักอย่าง อาจจะโดนแบรนด์ที่เคลื่อนไหวไวกว่าอย่าง Audemars Piguet ทิ้งห่างไปแบบถาวร Nautilus จึงถือกำเนิดขึ้นในปี 1976 ด้วยรหัส Ref. 3700/1 โดย Genta คนเดิม ชายผู้เปลี่ยนทั้งโลกของนาฬิกาหรูด้วยปลายปากกาชั่วข้ามคืน และครั้งนี้ ภายใน 5 นาที Nautilus จึงถือกำเนิดขึ้นในปี 1976 ด้วยรหัส Ref. 3700/1 ชายผู้เปลี่ยนทั้งสองแบรนด์ด้วยปลายปากกาภายในเวลาไม่กี่ปี Genta ให้สัมภาษณ์ในภายหลังว่า ดีไซน์ไอเดียของ Nautilus เกิดขึ้นระหว่างที่เขานั่งอยู่ในร้านอาหารของโรงแรมแห่งหนึ่ง เขาหันไปเห็นผู้บริหาร Patek Philippe กำลังทานข้าวอยู่ในอีกมุม ว่าแล้วก็เกิดไอเดีย บรรเลงแบบร่างลงในกระดาษเช็ดปากตรงนั้นจนเสร็จภายใน 5 นาที ไอเดียของ Nautilus คือการผสมความ sport
AUDEMARS PIGUET Royal Oak Jumbo A-Series เรือนเวลาที่กล้าท้าทายบรรทัดฐาน กล้าเปลี่ยนภาพจำของคำว่า “Luxury” ผลงานที่รังสรรค์โดย Gerald Genta ภายในเวลาเพียงข้ามคืน ย้อนกลับไปในปี 1972 โลกแห่ง Haute Horlogerie ยังตกอยู่ในความสงบนิ่ง นาฬิกาหรูหมายถึงตัวเรือนทองคำ หน้าปัดบางเรียบ สายหนังคลาสสิก เป็นสุนทรียะแบบเก่าแก่ที่ใครก็ไม่กล้าทำลาย จนกระทั่ง Audemars Piguet แบรนด์อิสระจาก Le Brassus ที่กำลังถูกคลื่นควอตซ์จากญี่ปุ่นไล่ล่า โทรหา Gerald Genta ด้วยคำสั่งด่วนที่สุดในชีวิต “ออกแบบนาฬิกาสปอร์ตที่ไม่เหมือนใคร ภายในเช้าวันรุ่งขึ้น” Genta ไม่เพียงแต่ทำทัน แต่สิ่งที่เขาส่งมาคือการปฏิวัติวงการครั้งใหญ่ เขาวาดนาฬิกาเหล็กที่กล้าตีราคาสูงกว่านาฬิกาทอง วางโครงสร้างของ bezel ทรง octagon พร้อมสกรูโชว์หัว สาย integrated steel ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และหน้าปัดที่แต่งแต้มด้วยลวดลาย petite tapisserie จากโรงงานที่ใช้วิธีฝังลายด้วยเครื่องจักร guilloche แบบโบราณ
ในโลกที่ Submariner กลายเป็นนาฬิกาหรูสำหรับนักสะสม ใครจะรู้ว่ายุคหนึ่ง Rolex Submariner ถูกสร้างขึ้นเพื่อใส่ใน ‘สงคราม’ สำหรับปฏิบัติการใต้น้ำของทหารอังกฤษจริง ๆ นั่นคือ Rolex Submariner 5513 “MilSub” อีกหนึ่งสุดยอดแห่งความแรร์สำหรับนักสะสมตัวจริง ในช่วงปี 1957 ถึงปลายยุค ‘70s รัฐบาลอังกฤษ โดย Ministry of Defence (MOD) ต้องการนาฬิกาดำน้ำคุณภาพสูงสำหรับหน่วยรบพิเศษ Royal Navy จึงสั่งให้ Rolex ผลิต Submariner ที่ผ่านการดัดแปลงเฉพาะกิจขึ้นมา นาฬิกาเหล่านี้ไม่ได้มีไว้ขาย ไม่เคยอยู่ในแค็ตตาล็อกทั่วไป มันถูกส่งตรงจาก Rolex ไปยัง MOD เท่านั้น โดยมีทั้งหมด 4 รุ่น แต่ที่โด่งดังที่สุดก็คือ Ref. 5513 เรือนนี้ และตามเอกสารยังระบุว่าเป็น standard equipment สำหรับทหารเรืออีกด้วย FUNCTION BEFORE FORM
ในปี 1967 โลกของการดำน้ำลึกไม่ได้อยู่ในการท่องเที่ยวหรือ content creation แต่มันคือโลกของนักสำรวจ นักปฏิบัติการ และวิศวกรใต้น้ำที่ต้องทำงานใต้แรงดันมากกว่า 600 ฟุต และนาฬิกาที่เกิดมาเพื่อเป็นเครื่องมือให้กับคนเหล่านั้นก็คือ Rolex Sea-Dweller และถ้าจะพูดถึงเวอร์ชันที่ทั้งนักสะสมและนักดำน้ำตัวจริงยกย่องมากที่สุด มันก็คือ “Double Red Sea-Dweller” หรือที่รู้จักกันในนาม DRSD ย้อนกลับไปในยุคที่ Rolex กำลังพัฒนา Submariner สำหรับดำน้ำลึก พวกเขาเจออุปสรรคเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมแรงดันสูง และเปลี่ยนระดับความดันอย่างรวดเร็ว กระจกหน้าปัดจะถูก “ดันหลุด” เพราะก๊าซ helium สะสมในตัวเรือนนาฬิกา วิศวกรของ Rolex จึงพัฒนา Helium Escape Valve (HEV) — ช่องระบายแรงดันที่ฝังอยู่ด้านข้างของตัวเรือน และ Sea-Dweller คือนาฬิกาเรือนแรกที่ใส่ระบบนี้เข้าไป “Double Red” คือชื่อเล่นของนาฬิกาเรือนนี้ มีที่มาจากตัวอักษรสีแดงสองบรรทัด SEA-DWELLER และ SUBMARINER 2000 พิมพ์ไว้บนหน้าปัด มันบ่งบอกถึงยุคเปลี่ยนผ่านที่ Rolex
บนหน้าปัดดำสนิทของนาฬิกาดำน้ำที่กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความเท่เหนือยุคสมัย มีตัวอักษรสีแดงเพียงหนึ่งบรรทัด ที่บอกชัดเจนว่าเรือนเวลานี้ไม่เหมือนใครในโลก มันเขียนว่า “SUBMARINER” และเพียงแค่โลโก้สีแดงหนึ่งบรรทัด… ก็สามารถสร้างตำนานให้เรือนเวลาได้ Rolex เปิดตัว Submariner Ref. 1680 ในปี 1967 Submariner รุ่นแรกที่เพิ่ม ฟังก์ชันวันที่ พร้อมเลนส์ Cyclops และที่สำคัญที่สุดคือ รุ่นพิเศษที่โลกจดจำในชื่อว่า “Red Sub” มันไม่ใช่แค่ Submariner ธรรมดาที่ใส่ตัวหนังสือแดง แต่มันคือสัญลักษณ์ของ ช่วงเปลี่ยนผ่านทางเทคนิคและดีไซน์ ของ Rolex ที่สำคัญมาก เป็น Submariner รุ่นเดียวที่เคยใช้ตัวอักษรแดง เป็น Submariner รุ่นแรกที่มีวันที่พร้อมเลนส์ Cyclops (Sea-Dweller เป็น Dive watch รุ่นแรกที่มี date window แต่ไม่มี Cyclops) เป็น Submariner Date รุ่นเดียวที่ใช้กระจก Acrylic box-shaped พร้อม Cyclops
ย้อนกลับไป 25 ปีก่อน CHANEL สร้างคลื่นลูกใหม่ในวงการเรือนเวลาด้วย J12 สีดำเซรามิก ความสปอร์ตที่พกดีเอ็นเอแฟชั่นเต็มขั้น วัสดุไฮเทคอย่างเซรามิกที่เคยถูกมองเป็นแค่ของทนทาน กลายเป็นวัสดุล้ำค่าขึ้นมาได้อย่างมีคลาสในมือของ CHANEL และในปี 2025 นี้ J12 ยังคงกลายพันธุ์ได้อย่างสง่างาม กับการเปิดตัว J12 BLEU รุ่นลิมิเต็ดที่มาพร้อมกับเฉดสีใหม่ที่ CHANEL ใช้เวลากว่า 5 ปีพัฒนา — “น้ำเงินจนเกือบดำ ดำจนเกือบน้ำเงิน” เฉดสีที่พูดน้อยแต่ทรงพลัง เป็นสีของคนที่ไม่ต้องการเสียงดังเพื่อให้ใครมองเห็น ตัวเรือนขนาด 38 มม. รังสรรค์จากเซรามิกแมตต์สีน้ำเงินผสมเหล็กเคลือบดำด้าน จับคู่กับสายเซรามิกโทนเดียวกัน ให้สัมผัสเบา นุ่ม เย็น ลื่นอย่างประณีต เป็นวัสดุที่ไม่ได้แค่หรู แต่ให้ประสบการณ์สัมผัสที่เหนือชั้นทุกครั้งที่สวมใส่ ขอบตัวเรือน (bezel) ลาย baguette-cut ถูกฝังลงบนเซรามิกแมตต์ได้อย่างกลมกลืน เม็ดมะยม screw-down ฝังหัวด้วยเซรามิกสีน้ำเงิน พร้อม crown guard กันกระแทกเนียนตา รองรับการกันน้ำลึกถึง 200 เมตร
ในโลกของ Panerai ทุกครั้งที่แบรนด์นี้ขยับ มักไม่ใช่แค่เรื่อง “เวลา” แต่มันคือการเล่าเรื่องของตัวตนที่ไม่เหมือนใคร — และที่ Watches & Wonders ปีนี้ PAM01575 ก็เดินเข้ามาอย่างเงียบ ๆ แต่เปล่งรัศมีบางอย่างที่ทำให้คนรักกลไกหยุดมอง นี่คือ Panerai Luminor Perpetual Calendar GMT Platinumtech PAM01575 ภาคต่อของ PAM01269 รุ่น Goldtech สุดเอ็กซ์คลูซีฟเมื่อปี 2022 ที่ออกมาเพียง 33 เรือนทั่วโลก — ครั้งนั้นมันเปิดเกมด้วยหน้าปัด smoked sapphire ที่โปร่งใสจนเผยให้เห็นจักรกลใต้ผิวเรือนเวลาได้อย่างเร้าใจ ขณะเดียวกันก็ยังคง DNA ของ Panerai ไว้อย่างครบถ้วน PAM01575 หยิบแนวคิดเดียวกันกลับมาอีกครั้ง แต่แทนที่จะแต่งทอง ก็เปลี่ยนวัสดุหลักมาเป็น Platinumtech — โลหะผสมเฉพาะของ Panerai ที่ถูกพัฒนาให้แข็งแกร่งกว่าแพลตตินั่มปกติถึง 40% ด้วยกระบวนการบ่มพิเศษภายในแบรนด์เอง ส่งผลให้ตัวเรือนขนาด
หากโลกนี้ความบางคือความสง่างาม ความแม่นยำคือบทกวี และ Tourbillon คือบทสุดท้ายของตำนาน… Bulgari ได้เขียนบทนี้ใหม่อีกครั้ง ด้วย Bulgari Octo Finissimo Ultra Tourbillon – ผู้สร้างสถิตินาฬิกาบางที่สุดในโลกถึง 10 ครั้งในทศวรรษเดียว ย้ำสถานะราชาแห่งความบางของวงการ haute horlogerie อย่างแท้จริง Octo Finissimo Ultra Tourbillon มาพร้อมตัวเรือนไทเทเนียมขนาด 40mm x 1.85mm ที่หล่อขึ้นพร้อมกับฐานกลไกเป็นเนื้อเดียวกับฝาหลัง ด้วยวัสดุ ultra-hard tungsten carbide mainplate/caseback แข็งแรงและบางในเวลาเดียวกัน กลไก BVF 900 ที่จาก BVL 180 ของ Octo Finissimo Ultra COSC 2024 พัฒนาร่วมกับ movement specialist Concepto ทำลายขีดจำกัดของคำว่า ultra-thin ทุกฟังก์ชันต้องอยู่บนระนาบเดียวกัน