หลายต่อหลายครั้งที่เรามักเห็นภาพยนตร์ฮอลลีวูดหยิบเรื่องราวสุดเท่ของซามูไรมาเล่าเป็นหนัง ไม่ว่าจะเป็น The Last Samurai (2003) หรือ 47 Ronin (2013) รวมถึงหนังที่มีสไตล์การต่อสู้ด้วยดาบซามูไรอย่าง Kill Bill (2003) ซึ่งเรื่องราวของตัวละครหลักส่วนมากมักดำเนินด้วยชาวตะวันตก แต่ในตอนนี้ค่ายหนังใหญ่เตรียมหยิบเรื่องราวของซามูไรผิวสีมามาสร้างความแตกต่างให้หนังซามูไรแบบเดิม Metro-Goldwyn-Mayer (MGM) ไฟเขียวให้กับภาพยนตร์แอคชันอิงประวัติศาสตร์ที่ดึงเรื่องราวสุดเท่ของขุนศึกซามูไรผิวสีชาวแอฟริกันคนแรกและคนเดียวในประวัติศาสตร์ช่วงศตวรรษที่ 16 มาสร้างเป็นหนัง ด้วยเรื่องราวที่ต้องฝ่าฝันทั้งการฝึกฝนและการตั้งคำถามของคนในสังคมช่วงเวลานั้น เพราะการเป็นซามูไรไม่ใช่แค่เดินไปจับดาบ หมั่นฝึกฝนและสามารถเป็นได้ทันที แต่คนส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นมองว่าซามูไรถือเป็นฐานันดรที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แล้วยิ่งทาสผิวสีที่เป็นชาวต่างชาตินั้นยิ่งยากเข้าไปใหญ่ และด้วยประเด็นต่าง ๆ จึงทำให้เกิดโปรเจ็กต์ภาพยนตร์ขึ้น จุดเริ่มต้นของซามูไรผิวสีคนเดียวในประวัติศาสตร์ ในปี 1579 ทาสผิวสีชาว Mozambique นามว่า Yasuke ติดตามรับใช้นักบวชเยซูอิต Alessandro Valignano เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมายังเกาะญี่ปุ่นที่ห่างไกลเพื่อเผยแผ่ศาสนา แต่เกาะญี่ปุ่นในช่วงเวลานั้นยังไม่ค่อยมีคนเชื้อชาติอื่นเดินทางเข้ามา Yasuke ผู้มีรูปร่างสูงใหญ่กว่าคนเอเชียและสีผิวที่แตกต่างทำให้ชาวบ้านไม่คุ้นชินและหวาดกลัวเขา เคยมีคนพบบันทึกบรรยายเกี่ยวกับ Yasuke ว่าเขาเป็นชายร่างกายกำยำสูงถึง 2 เมตร แต่จริง ๆ แล้วตามบันทึกของคณะบาทหลวงเขียนไว้ว่าเขาสูงราว 6 ฟุต หรือประมาณ 182 เซนติเมตร ไม่ได้สูงสองเมตรอย่างที่คนลือกัน
Tinder แอปพลิเคชันโด่งดังที่ออกแบบมาให้คนแปลกหน้าได้กลายเป็นคนรู้จักหรือรู้ใจ ตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย บางคนอาจอยากได้เพื่อนคุย บางคนใช้หาคนที่ใช่ หรือบางคนก็กำลังมองหาคนที่มีรสนิยมหรือความชอบที่คล้ายกันเพื่อแบ่งปันเรื่องราวนั้น ๆ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ Tinder พัฒนาฟีเจอร์ใหม่อย่าง Festival Mode เพื่อผู้คนทั่วโลกที่หลงใหลในเสียงเพลง หลายคนคงเคยใช้หรือรู้จักแอปพลิเคชันหาคู่ยอดฮิตอย่าง Tinder กันมาบ้างไม่มากก็น้อย ล่าสุดผู้ผลิตแอปฯ ได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดเรียกว่า Festival Mode สำหรับจับคู่ตามงานดนตรีด้วยเหตุผลที่ว่าดนตรีคือสื่อกลางดีเยี่ยมสำหรับคนสองคนที่พร้อมจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน เหตุผลที่ Tinder ตัดสินใจสร้างฟีเจอร์นี้ขึ้นเพราะผลของสถิติการดาวน์โหลดแอปฯ มักพุ่งสูงขึ้นในช่วงเทศกาลดนตรี เช่น ในงาน EDC Las Vegas มีคนปัด Tinder มากขึ้นกว่าปกติ 60% หรือระหว่างที่กำลังเพลิดเพลินไปกับเสียงเพลงในงาน Bonnaroo ก็มีคนหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาปัดขวาเพิ่มขึ้นถึง 300% จึงทำให้ทางผู้พัฒนาระบบเล็งเห็นช่องทางที่จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถพบเจอกับคนที่มีความชอบคล้ายกันได้จากทั่วทุกมุมโลก วิธีการใช้ฟีเจอร์ Festival Mode ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการนำโลโก้ของเทศกาลดนตรีที่ตัวเองชอบหรืองานที่ตั้งใจจะไปมาแปะไว้บนโปรไฟล์ของตัวเอง เพียงเท่านี้เหล่าผู้ชื่นชอบเทศกาลดนตรีเดียวกันก็แมตช์กันได้ง่ายขึ้น และสามารถติดโลโก้ได้ล่วงหน้า 3 สัปดาห์ก่อนวันงานโดยไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้กัน ถือว่าเป็นฟังก์ชันพิเศษที่เสริมเข้ามาเพราะตามปกติแล้วแอปพลิเคชันจะค้นหาคนบริเวณใกล้เคียงได้สูงสุดแค่ 160 กิโลเมตรเท่านั้น แต่สำหรับ Festival Mode เพียงแค่เราเลือกงานเทศกาลดนตรีมาหนึ่งงาน จากนั้นคนที่เลือกงานดนตรีเดียวกับเราไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลกก็สามารถแมตช์ได้โดยไม่ต้องอยู่ในละแวกใกล้กัน
หลังจากนั่งทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยมาตลอดทั้งวัน เชื่อว่าหนุ่ม ๆ คงอยากหาเวลาผ่อนคลายหรือหากิจกรรมที่ทำแล้วมีความสุขเพื่อสลัดความเหนื่อยล้าให้หายเป็นปลิดทิ้ง เมื่อไม่กี่ปีมานี้เราอาจเคยได้ยินได้ฟังปรัชญาอิคิไก (Ikigai) อันโด่งดังของดินแดนปลาดิบซึ่งเป็นปรัชญาที่ว่าด้วยเรื่องการค้นหาความหมายของชีวิตกันมาบ้าง แต่วันนี้ UNLOCKMEN จะพาหนุ่ม ๆ ข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังเดนมาร์ก ประเทศเล็ก ๆ ที่ขึ้นชื่อเรื่องความหนาวเหน็บและเปียกปอน พร้อมเรียนรู้ปรัชญาความสุขตามแบบฉบับเดนิชที่ช่วยสร้างความอบอุ่นให้กับคนที่นี่ แม้ในวันที่ถูกปกคลุมด้วยความหนาวเย็นก็ตาม เดนมาร์กไม่ได้มีดีแค่โคนมและไวกิ้ง ถ้าพูดถึงเดนมาร์กหลายคนคงนึกถึงต้นกำเนิดโคนมสายพันธุ์ดี ไม่ก็ชนเผ่าไวกิ้ง บรรพบุรุษนักรบเรือมังกร ผู้ถูกขนานนามว่าแข็งแกร่งที่สุดในประวัติศาสตร์ นอกจากนั้นเดนมาร์กยังถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลกลำดับที่ 2 จากรายงาน The World Happiness ปี 2019 ของ UN โดยนำเอาอายุขัยของประชากร อิสรภาพ การทุจริต ตลอดจนค่า GDP เป็นตัวติดสิน ซึ่งอีกหนึ่งเคล็ดลับความสุขของชาวเดนิช คือการนำหลักปรัชญา ‘Hygge’ ที่มองหาความสุขเล็ก ๆ รอบตัว มาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของพวกเขา ‘Hygge’ ปรัชญาความสุขจากการมองสิ่งเล็ก ๆ แม้ Hygge (ฮุกกะ) จะมาจากภาษานอร์เวย์ที่แปลว่า “ความเป็นอยู่ที่ดี” แต่คำนิยามของมันก็ไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัว เป็นคำที่ไม่สามารถแปลความหมายแบบเฉพาะเจาะจงได้
ยุคสมัยเฮเซที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี 1989 เพิ่งผ่านพ้นไป การก้าวเข้าสู่ยุคสมัยเรวะของญี่ปุ่นครั้งนี้มีหลายสิ่งที่สื่อทั่วโลกต่างพูดถึงโดยหนึ่งในนั้นคือเรื่องราวแสนโรแมนติกของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะกับสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ UNLOCKMEN ก็เองก็สนใจในเรื่องราวหอมหวานนี้เช่นกัน ดังนั้นเพื่อทิ้งท้ายกับยุคสมัยเก่าเราจึงอยากเล่าเรื่องรักแรกและรักเดียวที่ต้องก้าวข้ามผ่านอุปสรรคของทั้งสองพระองค์ที่กินใจคนทั่วทั้งโลก ช่วงสมัยที่จักรพรรดิโชวะผู้เป็นบิดากำลังครองราชย์ ตามลำดับการสืบสันตติวงศ์ของญี่ปุ่นเจ้าชายอากิฮิโตะทรงเป็นทายาทอันดับหนึ่งของราชบัลลังก์เบญจมาศตั้งแต่ประสูติ และทรงเข้ารับพระราชพิธีสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมารเมื่อปี 1951 แต่จุดเริ่มต้นของเรื่องราวความรักที่จับใจคนทั้งโลกเริ่มต้นขึ้นที่สนามเทนนิสเมื่อปี 1957 เจ้าชายอากิฮิโตะทรงโปรดการเล่นกีฬาเทนนิสเป็นอย่างมาก และกีฬานี้ก็ทำให้พระองค์พบกับรักแรกกับหญิงสาวคนหนึ่งบนคอร์ดเทนนิสในเมืองคารุอิซาวะ เธอคนนั้นมีชื่อว่าโชดะ มิชิโกะ บุตรสาวของตระกูลนักธุรกิจที่อยู่ในเครือ Nisshin Seifun Group หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชื่อดังที่คนไทยเห็นผ่านตาอยู่บ่อย ๆ หลังจากที่ทั้งสองได้พบเจอกันที่สนามเทนนิสก็เริ่มคบหาดูใจกัน สื่อต่างสนใจเรื่องความสัมพันธ์ของทั้งสองและเรียกว่า ‘Romance of thr tenis court’ เจ้าชายอากิฮิโตะทรงต้องการสานสัมพันธ์จริงจังกับมิชิโกะ และมีครั้งหนึ่งที่พ่อของมิชิโกะได้รับสารจากมกุฏราชกุมารเพื่อขอลูกสาวแต่เขาตอบกลับไปแค่ว่า “ลูกสาวของหม่อมฉันไม่คู่ควรกับพระองค์” เจ้าชายอากิฮิโตะทรงทราบว่าพ่อของมิชิโกะไม่อยากให้เธอเข้าสู่รั้ววังเพราะกังวลเรื่องฐานันดรและความกดดันที่เธอจะได้รับ เพราะถึงแม้ว่าโชดะ มิชิโกะมาจากตระกูลนักธุรกิจที่รำ่รวย จบปริญญาตรีสาขาวรรณคดีอังกฤษด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 และศึกษาต่อในหลักสูตระยะสั้นที่ฮาร์วาร์ดและออกซฟอร์ด แต่ถึงจะฉลาดและมีความสามารถมากแค่ไหนเธอก็คือสามัญชนคนธรรมดาคนหนึ่ง ตามธรรมเนียมปฏิบัติยาวนานหลายร้อยปีของราชวงศ์ญี่ปุ่น สมาชิกราชวงศ์มักจะอภิเษกสมรสกับเครือญาติเพื่อรักษาเชื้อสายราชวงศ์ ก่อนที่เจ้าชายอากิฮิโตะจะพบกับมิชิโกะ พ่อของมิชิโกะคงไม่คิดว่าอยู่มาวันหนึ่งเจ้าฟ้าชายจะมาตกหลุมรักลูกสาวเขา ในช่วงปี 1950 จึงได้หาคู่ดูตัวให้กับลูกสาว หมายมั่นปั้นมือให้ลูกสาวของเขาแต่งงานกับมิชิมะ ยูกิโอะ นักเขียนชื่อดังที่เรียกตัวเองว่าเป็นซามูไรคนสุดท้าย ถึงแม้ว่าครอบครัวทางฝ่ายโชดะยังกังวลหลายเรื่องที่เจ้าชายอากิฮิโตะและมิชิโกะคบหากัน แต่พระองค์ก็ไม่ย่อท้อกับความรักครั้งนี้ ทั้งสองติดต่อหากันอยู่บ่อยครั้งด้วยการเขียนจดหมายพร้อมกับคำหวานจับใจความได้ว่า “หากไม่ได้อยู่กับมิชิโกะ ชาตินี้คงนอนตายตาไม่หลับ” ความรักครั้งนี้ทำให้ผู้คนในเวลานั้นต่างคาดเดากันไปต่าง ๆ
คอลเลกชันภาพถ่ายชุดนี้เป็นฝีมือของ Jeff Luker ช่างภาพชาวอเมริกันที่เติบโตมาจากฟาร์มเล็ก ๆ ทางตอนใต้ของรัฐ Massachusetts โดยได้แรงบันดาลใจมาจากชีวิตวัยเด็กของเขาที่เงียบสงบ โลดแล่นอยู่ในอ้อมกอดแห่งธรรมชาติ แตกต่างจากชีวิตปัจจุบันที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่อย่าง Boston New York และ Portland เขาอยากกลับไปสัมผัสสิ่งเหล่านั้นอีกครั้ง จึงตัดสินใจสะพายกล้องออกเดินทางไปทั่วแผ่นดินอเมริกา พร้อมความตั้งใจที่อยากจะบันทึกทุกอย่างที่เขาเห็นออกมาเป็นรูปถ่าย “ผมชอบความรู้สึกที่ตัวเองอยู่ที่ไหนสักแห่งที่ผมไม่รู้จัก…มีคาวบอยออกมาร่ายเวทมนตร์ในถนนที่โดดเดี่ยว” – Jeff Luker นี่คือการเดินทางของ Jeff ที่เขาบันทึกมันมาในรูปแบบภาพถ่าย เชื่อว่าใครหลายคนรวมถึงเราด้วยหลังจากได้ดูรูปพวกนี้แล้วคงรู้สึกว่าห้องที่อยู่มันเล็กเกินไป อยากสะพายกล้องออกท่องโลกแบบนี้บ้าง เป็นคอลเลกชันภาพถ่ายที่สร้างแรงบันดาลใจได้มหาศาล แล้วเจอกันเมื่อพร้อมนะ…โลกที่เรายังไม่รู้จักดี SOURCE1
วงการถ่ายภาพต้องพบกับความสูญเสียอีกครั้ง เพราะเมื่อเร็ว ๆ นี้ ช่างภาพชื่อดังอย่าง Michael Wolf เสียชีวิตลงด้วยวัย 64 ปี ถึงแม้จะจากไปแต่เขาก็ได้ทิ้งสุดยอดผลงานภาพถ่ายที่ให้แง่คิดมุมมองไว้บนโลกใบนี้ UNLOCKMEN ขอร่วมรำลึกถึงเขาด้วยผลงานเขาที่สร้างชื่อไปทั่วโลก Michael Wolf ช่างภาพชาวเยอรมันที่เดินทางไปทั่วทั้งเอเชียเพื่อเก็บภาพทุกมุมเมืองไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น ฮ่องกง ผลงานของเขาขึ้นชื่อเรื่องการภ่ายภาพของตึกรามบ้านช่องและวิถีชีวิตในชุมชนที่สะท้อนสภาพสังคมปัจจุบันได้เด่นชัด Architecture of Density Architecture of Density ถ่ายทอดความแออัดของชุมชนเมืองในเกาะฮ่องกงผ่านภาพถ่ายที่มีเส้นสายมากมายนับไม่ถ้วน กราฟิกของแต่ละภาพคุมโทนสีสันให้ไปในทิศทางเดียวกัน รูปทรงเรขาคณิตที่แม่นยำ แต่ภาพของเขากลับให้ความรู้สึกสงบนิ่งทั้งที่เห็นเพียงแค่ตึกเท่านั้น เขาตัดทอนทั้งส่วนท้องฟ้าส่วนบนและพื้นส่วนล่างออกไปเพื่อให้คนดูจดจ่ออยู่กับตึกที่มีห้องมากมาย สะท้อนรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ไม่มีวันจบสิ้น แม้ภาพของเขาถูกเปรียบเทียบกับภาพของ Andreas Gursky และ Candida Höfer แต่ผลงานของเขาสื่อให้เห็นถึงมุมมองหลายอย่าง รวมถึงองค์ประกอบศิลป์ที่เป๊ะกินขาดทำให้คอลเลกชันภาพถ่าย Architecture of Density ของเขาสามารถคว้าแชมป์จากเวที World Press Photo 2014 ได้สำเร็จ 100×100 คอลเลกชัน 100×100 เริ่มต้นขึ้นในปี 2006 Michael Wolf ตระเวนเคาะห้องของผู้อยู่อาศัยในตึก Shek
ใกล้เข้ามาทุกขณะแล้วกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของญี่ปุ่นนับตั้งแต่ปี 1989 อย่างการเปลี่ยนยุคสมัยจากเฮเซย์มาเป็นเรวะที่จะเริ่มต้นขึ้นในเดือนพฤษภาคมของปีนี้ ส่งผลให้สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะพร้อมด้วยพระจักรพรรดินีมิชิโกะเสด็จพระราชดำเนินไปยังศาลเจ้าชินโตเพื่อทำพิธีบอกกล่าวบรรพบุรุษว่าจะสละราชสมบัติ แต่สิ่งที่ดึงความสนใจของใครหลายคนคือดาบในตำนานที่จะถูกนำออกมาให้เห็นอีกครั้ง องค์จักรพรรดิอากิฮิโตะทรงเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์สามอย่างที่ประกอบด้วยดาบคุซานางิ อัญมณียาซากะนิ และกระจกยาตะที่ถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์โบราณ โดยเฉพาะกับตำนานมากมายของดาบคุซานางิที่เป็นตัวแทนของความกล้าหาญและภาคภูมิของคนญี่ปุ่น ตำนานนานงูยักษ์แปดหัว เทพวายุ ซู ซาโนโอะถูกเนรเทศให้ลงมายังโลก เขายื่นมือเข้าช่วยเหลือหญิงชาวบ้านที่กำลังถูกงูยักษ์แปดหัว ยามาตะ โน โอโรจิพาตัวไปจากหมู่บ้าน เทพวายุซูซาโนโอะใช้ค่ายกลประตูแปดบาน วางไหเหล้าสาเกไว้ทุกประตูบ้านและนำหญิงสาวคนอื่นในหมู่บ้านซ่อนไว้ด้านในสุด เมื่อยามาตะ โน โอโรจิเห็นไหสาเกก็ไม่รอช้าที่จะพุ่งหัวทั้งแปดเข้าไปในประตูทุกบานและงับไหเหล้า ส่งผลให้ ซู ซาโนโอะสามารถตัดหัวงูยักษ์ทั้งหมดได้ เมื่อปราบงูยักษ์สำเร็จ เขาพบกับดาบวิเศษที่ฝังอยู่ในหางของงู เขาจึงนำดาบที่ว่าเก็บกลับไปให้เทพีอามาเทราสุแห่งพระอาทิตย์ซึ่งเป็นน้องสาวให้เป็นผู้เก็บไว้ ซึ่งเทพีอามาเทราสุเป็นต้นตระกูลของจักรพรรดิญี่ปุ่น และดาบวิเศษที่ชื่อว่าคุซานางิก็เป็นดาบประจำตระกูลที่อยู่คู่บัลลังก์และส่งต่อมายังรุ่นสุ่รุ่นจนถึงยุคปัจจุบัน ตำนานดาบคุซานางิที่ตัดไฟราบเป็นหน้ากอง สมัยสมเด็จพระจักรพรรดิเคโกะ จักรพรรดิองค์ที่ 12 ของญี่ปุ่นมีลูกชายฝาแฝดชื่อทาเครุทั้งสองคน เมื่อทั้งคู่อายุได้ 15 ปี พี่น้องเกิดฆ่ากันเองโดยไม่มีใครทราบสาเหตุ ทำให้พระบิดาไม่พอใจเป็นอย่างมากแต่ไม่กล้าทำอะไรเพราะกลัวไม่มีผู้สืบทอดบัลลังก์ จึงตัดสินใจส่งโอรสองค์เดียวที่เหลือไปปราบกบฎทางตอนใต้สุดของอาณาจักร ก่อนที่ทาเครุจะออกเดินทางเขาได้แวะขอพรกับเจ้าป้าที่เมืองอิเซะพร้อมได้ดาบ เสื้อคลุม และผ้านุ่งสำหรับออกศึก หลังจากที่ทาเครุสามารถปราบกบฎสำเร็จเขากลับมายังพระราชวังและหวังว่าบิดาจะหายโกรธเขา แต่จักรพรรดิเคโกะออกคำสั่งให้เขาออกไปปราบกบฎทางฝั่งตะวันออกต่อทันที ทาเครุอ่อนล้าจากการทำศึกอย่างต่อเนื่องและก่อนออกศึกเขากลับไปหาเจ้าป้าอีกครั้งพร้อมระบายความอัดอั้นตันใจ เจ้าป้าจึงมอบดาบคุซานางิซึ่งเป็นศาสตราวุธศักดิ์สิทธิ์ให้ ฝ่ายกบฎต้อนรับการมาถึงของทาเครุโดยการวางอุบายหลอกว่าบริเวณทุ่งหญ้ารอบหมู่บ้านมีปีศาจร้ายซ่อนตัวอยู่และขอร้องให้ทาเครุช่วยกำจัดปีศาจร้าย ทาเครุได้ยินดังนั้นจึงรีบมุ่งหน้าไปยังทุ่งหญ้าที่ว่าเพียงลำพังทันที เมื่อเขาหลงกลฝ่ายกบฎจัดการจุดไฟรอบทุ่งหญ้าเพื่อหวังจะเผาทาเครุทั้งเป็น และเมื่อทาเครุชักดาบคุซานางิออกมาจากฝัก พลังของดาบสามารถตัดต้นหญ้าติดไฟทุกต้นให้ราบเป็นหน้ากอง รวมถึงปราบกบฎจนสิ้นซาก ด้วยเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องกับหญ้าจึงทำให้ตำนานของดาบคุซานางิเรื่องนี้มีคนญี่ปุ่นเชื่อถือมากพอสมควร
ไม่ว่าจะเป็นหนัง Battle Royale จากญี่ปุ่น หนังฮอลลีวูดบล็อกบัสเตอร์ The Hunger Game การ์ตูนเรื่อง Btooom! หรือแม้กระทั่งเกมที่กำลังฮิตกันอยู่ในตอนนี้อย่าง PUBG และ Free Fire ล้วนมีกฎใหญ่ง่าย ๆ คือต้องทำทุกทางให้อยู่รอดได้นานที่สุด การดูภาพยนตร์และเล่นเกมสไตล์เอาชีวิตรอดแบบนี้บ่อยเข้า อาจทำให้เราเผลอจินตนาการว่าถ้าตัวเองต้องเขาสู่โหมด survival จริง ๆ เราจะอยู่รอดได้นานแค่ไหน ? เรื่องราวของ survival ที่ท้าทายเหล่าคนกล้าและกระตุ้นอะดรีนาลีนได้เป็นอย่างดี จึงทำให้เศรษฐีผู้ไม่ประสงค์ออกนามรายหนึ่งต้องการให้เกมเอาชีวิตรอดนี้เกิดขึ้นจริง โดยเขาวางแผนจะจัดการแข่งขันแบบเกม PUBG บนเกาะร้างแห่งหนึ่งพร้อมกับใช้คนจริง ๆ จำนวน 100 คน มาแข่งขันกันว่าใครจะเหลือรอดเป็นคนสุดท้าย แน่นอนว่าการวางแผนจัดการแข่งขัน survival ครั้งนี้ เราไม่ได้นั่งเทียนเขียนขึ้นมาเองแน่ ๆ แต่มีการบอกรายละเอียดบางส่วนเกี่ยวกับโปรเจกต์ดังกล่าวบนเว็บไซต์ Hush Hush เว็บฯ ขายของออนไลน์และจัดอีเวนต์ลงประกาศรับสมัครงานในตำแหน่งผู้ช่วยและครีเอทีฟให้กับเศรษฐีรายหนึ่ง งานที่จะต้องทำคือช่วยวางแผนจัดการแข่งขันแบบภาพยนตร์เรื่อง Battle Royale ผสมกับเกมแบบ PUBG ด้วยค่าจ้าง 45,000 ปอนด์
กว่าศตวรรษที่มนุษย์โลกเริ่มมีความคิดเกี่ยวกับการหาแหล่งที่อยู่ใหม่เพื่อหลบหนีออกจากดาวเคราะห์ดวงนี้ที่ดูใกล้ล่มสลายลงไปทุกวัน สถานที่ที่เป็นไปได้มากที่สุดก็หนีไม่พ้นดาวเคราะห์สีส้มบ้านใกล้เรือนเคียงของเราอย่าง ‘ดาวอังคาร’ หลังจากนั้นทุกฝ่ายต่างก็ทุ่มเทเต็มที่เพื่อให้ความฝันของมนุษยชาติเป็นจริงโดยเร็ว เมื่อเวลาเคลื่อนผ่านไป จากความฝันที่ไกลสุดเอื้อมก็เริ่มขยับเข้าใกล้ความจริงขึ้นทุกที จากคำถามว่าจะทำยังไงให้สามารถมีชีวิตรอดบนดาวอังคาร การถกเถียงต่าง ๆ ก็เริ่มเจาะประเด็นลึกขึ้นเรื่อย ๆ จนมาถึงคำถามหนึ่งที่น่าสนใจ จะเป็นยังไงถ้าเราเสพกัญชาบนดาวอังคาร? ฟังดูเป็นคำถามที่ไร้สาระ ถึงแม้การสร้างอาณานิคมบนดาวอังคารดูจะมีความเป็นไปได้กว่าเมื่อก่อนมาก แต่มันก็ยังห่างไกลความเป็นจริง ยากที่จะเกิดขึ้นในช่วงอายุเรา อย่างไรก็ตาม Elon Musk ผู้ก่อตั้ง SpaceX ดูจะชื่นชอบคำถามนี้ เพราะอย่างที่เรารู้กันดีว่าเขาคือสายเขียวตัวยง Shelhamer อดีตหัวหน้านักวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยของมนุษย์ที่ศูนย์อวกาศจอห์นสันในเมืองฮุสตัน รัฐเท็กซัส กล่าวว่า “การสร้างอาณานิคมเป็นเรื่องยิ่งใหญ่และสำคัญ ผมไม่เห็นประโยชน์ของการทำให้ร่างกายตอบสนองผิดเพี้ยน ซึ่งอาจส่งผลเสียมหาศาลในสถานการณ์ฉุกเฉิน” Neil deGrasse นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ชื่อดังก็คิดเห็นไปในทางเดียวกัน มันไม่ใช่เรื่องเข้าท่าเลยที่จะสูบกัญชาบนดาวอังคาร ถึงแม้ในมุมของนักวิชาการจะมองว่ามีข้อเสียมากกว่าข้อดี แต่ในมุมของผู้ที่ตั้งใจจะตั้งถิ่นฐานจริง ๆ พวกเขาอาจผลักดันให้มีการขนส่งกัญชาไปยังดาวอังคารเพื่อประโยชน์ในแง่การสันทนาการหรืออาจมีการแอบลักลอบนำเมล็ดไปปลูก Karin Kloosterman ผู้ก่อตั้ง Mars Farm Odyssey อธิบายว่าการปลูกกัญชาบนดาวอังคารนั้นง่ายกว่าการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาก ดังนั้นกัญชาจึงอาจจำเป็นต่อการสันทนาการผู้ตั้งถิ่นฐานในช่วงแรก เราสามารถปลูกกัญชาบนดาวอังคารได้หรือไม่? เมื่อคุณตั้งถิ่นฐานบนดาวอังคารแล้ว ตัดเรื่องการขนส่งสินค้าจากโลกไปได้เลย เพราะราคาค่าขนส่งคงแพงขึ้นอย่างบ้าคลั่ง ดังนั้นถ้าต้องการอะไรคุณต้องสร้างมันขึ้นมาเอง แม้กระทั่งกัญชา แต่ถ้าใครเคยดูภาพยนตร์หรือสารคดีมาบ้างคงทราบดีว่าสภาพภูมิศาสตร์บนดาวอังคารนั้นเป็นอุปสรรคต่อการทำเกษตรกรรมทุกรูปแบบ ดังนั้นถ้าจะเพาะปลูกกัญชาที่นี่ จำเป็นที่ต้องทำในเรือนกระจกแบบปิดที่สร้างบรรยากาศเลียนแบบโลก นอกจากนั้นต้องมีระบบรีไซเคิลน้ำและดินที่สมบูรณ์ เนื่องจากในตอนนี้เรายังไม่รู้ว่าทรัพยากรเหล่านี้บนดาวอังคารปลอดภัยต่อร่างกายมนุษย์หรือไม่ อย่างไรก็ตามแม้จะมีเรือนกระจกที่จำลองบรรยากาศบนโลกได้อย่างสมบูรณ์ แต่เรื่องแรงโน้มถ่วงจำลองเป็นสิ่งที่เรายังสร้างไม่ได้
หายใจได้แต่ทำได้แค่หายใจ รู้สึกแต่ทำได้แค่รู้สึก ไม่สามารถสื่อสารหรือขยับตัวได้ เคยคิดไหมว่าถ้าวันหนึ่ง เราบังเอิญไปเจออุบัติเหตุหรือเจอโรคจู่โจมร่างกายจนระบบประสาทโดนทำลายจะเป็นอย่างไร? ใครที่เคยอ่านหนังสือเรื่องนักประดาน้ำและผีเสื้อ เรื่องจริงของอดีตบรรณาธิการบริหารนิตยสาร ELLE แห่งฝรั่งเศสที่เกิดอาการเส้นโลหิตในสมองแตกกลายเป็นอัมพาตทั้งตัว อวัยวะทุกส่วนไม่สามารถเคลื่อนไหว นอกจากตาข้างซ้ายและสมองที่เป็นปกติ เขาจึงใช้วิธีกระพริบตาส่งเป็นสัญญาณสะกดตัวอักษรทีละตัวเพื่อสื่อสารและเขียนหนังสือ หรือรู้จักนักฟิสิกส์ระดับตำนานอย่างสตีเฟน ฮอว์กิ้ง ที่ป่วยเป็นโรคเซลล์ประสาทนำคำสั่งเสื่อม คงพอเข้าใจว่าเวลาที่จิตและสมองไม่สามารถสั่งกายได้อีกต่อไปเพราะอาการอัมพาตนั้น ไม่ได้หมายความว่าความรู้สึกในฐานะความเป็นมนุษย์จะเสื่อมไปด้วย ต้องต่อสู้กับสภาพที่น่าอึดอัดนี้มากแค่ไหน เมื่อการสื่อสารที่เคยดีกลายเป็นอุปสรรคและผู้คนที่อยู่ในสภาพนั้นต่างโดนเรียกว่า “ผัก” นักวิจัยด้านระบบประสาทจากรุ่นสู่รุ่นเลยพยายามแก้ไขปัญหานี้เพื่อหาวิธีการสื่อสารให้ดีกว่ารูปแบบเดิม ๆ และชัดเจนยิ่งขึ้น จนล่าสุดข่าวที่น่ายินดีก็มาถึง เพราะนักวิจัยจาก University of California, San Francisco (UCSF) สามารถพัฒนารูปแบบการสื่อสารจากสมอง แปรให้ออกมาเป็นเสียงสังเคราะห์โดยไม่ต้องต้องขยับปากพูดเพื่อสื่อสารให้สำเร็จ เสียงที่มาจากสมอง วิธีที่นักวิจัย UCSF พัฒนาสร้างนวัตกรรมทำให้สมองเปล่งเสียงออกมา เริ่มต้นจากสร้างอัลกอริทึมผ่านการทดลอง โดยรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในสมองของอาสาสมัครที่เป็นลมชัก 5 คนเป็นระยะเวลาต่อเนื่องหลายปีผ่านการฝังแผงขั้วไฟฟ้าเชื่อมตรงกับสมองและติดตามรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการทดสอบพูดประโยคต่าง ๆ หลายร้อยประโยค เมื่อสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากสมองที่พยายามสื่อสารผ่านการควบคุมประสาทส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพูดแล้ว (ริมฝีปาก ลิ้น กราม และกล่องเสียง) พวกเขาบันทึกมันไว้เป็นข้อมูลสำหรับใช้ในการถอดรหัสขั้นต้น จากนั้นจึงพัฒนาเครื่องสังเคราะห์เสียงเพื่อสร้างภาษาขึ้นเพื่อแปลงข้อมูลดังกล่าวออกมาเป็นข้อความอีกครั้ง การพัฒนาสองขั้นจากสมองโดยตรงมาสู่การสั่งการที่เชื่อมต่อกับระบบประสาทอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเปล่งเสียง ถือเป็นความพิเศษที่แตกต่างจากรูปแบบการพัฒนาด้านการถอดรหัสเดิม เพราะส่วนใหญ่คนศึกษามักมุ่งเน้นที่ระบบประสาทสั่งการจากสมองโดยตรงเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้สนใจระบบอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพูดมากนัก แต่การเปลี่ยนสัญญาณสมองที่ให้ความสำคัญลงลึกไปถึงการเคลื่อนไหวของการสร้างเสียงจากส่วนต่าง ๆ ทำให้การถอดรหัสคำเหล่านั้นชัดเจนขึ้น “เราพยายามถอดรหัสผ่านการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างเสียงอย่างชัดเจนแทนที่จะโฟกัสกับเรื่องการถอดรหัสเสียงโดยตรง” –