DESIGN

หนุ่มสายดีไซน์ไม่ควรพลาด สิ่งที่ต้องคำนึงถึง เมื่อหยิบจับโลโก้เป็นงาน TYPO

By: unlockmen June 13, 2018

การออกแบบโลโก้ที่เป็นเหมือนตัวแทนของแบรนด์ สามารถฉีกไปได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างอิสระ สัญลักษณ์ หรือแม้แต่ตัวหนังสือ มันทำได้หมด แค่เป็นที่จดจำของลูกค้าแค่นั้นก็ถือว่าตอบโจทย์ของการเป็นโลโก้ในตัวมันเองแล้ว สำหรับใครที่ทำงานสายนี้ หรือกำลังปั้นแบรนด์ของตัวเอง UNLOCKMEN มาแนะนำทริกดี ๆ สำหรับการนำ TYPO มาทำเป็นโลโก้สำหรับแบรนด์มาฝากกัน หนุ่ม ๆ สายดีไซน์จะได้ไม่ตกม้าตายกับเรื่องง่าย ๆ อย่างโลโก้

HandWritten Typeface กับ HandWriting จริง ๆ

HandWriting ยังคงเป็นอะไรที่ไม่เคยตาย แม้ในจะผ่านในยุคตัวหนา ตัวบาง โมเดิร์น วินเทจ อะไรจะขับเคลื่อนไปยังไงก็ช่าง แต่ HandWriting ก็ไม่เคยตกยุคไม่ว่าจะเป็นภาษาใดก็ตาม คงเป็นเพราะความมีชีวิตชีวาในลายเส้นของมัน ที่ทำให้มีเสน่ห์อยู่ในตัวเสมอ เวลาใช้ในงาน Art Work สักชิ้น เราคงคุ้นชินกับการโหลดฟอนต์ HandWriting มาใช้แล้วจบไป เพราะฟอนต์เองก็ปรับระยะได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะระยะห่างระหว่างบรรทัด ช่องไฟ ตัวหนา เอียง ได้ดั่งใจเราหมด แบบที่เป็นมาตรฐานเท่ากันทุกตัวด้วย ซึ่งต่างจาก HandWriting ที่ใช้มือเขียนจริง ๆ ที่แต่ละชิ้นมันเป็นงานชิ้นเดียวในโลก วาดใหม่แต่ละทีก็ไม่เหมือนกันแล้ว ขนาดความหนา องศา ของแต่ละตัวอักษรอาจจะยังไม่เท่ากันเลยด้วยซ้ำ แต่เสน่ห์ของมันคือความไม่เพอร์เฟ็กต์ที่มาจากมือคนจริง ๆ นี่แหละ ทำให้รู้สึกว่ามันมีชีวิตมากกว่าการโหลด Typeface มาใช้ เราดัดให้มันเป็น Curve แบบตามใจของเรา เพื่อให้เข้ากับ Elements อื่น ๆ ก็ยังได้ อยากเน้นตรงไหนเป็นพิเศษก็ทำได้ 

ก็เป็นเรื่องที่เราต้องตัดสินใจเอาว่าแบบไหนที่จะเหมาะกับงานของเรามากกว่ากัน ข้อดีของ Typeface ก็คงเป็นความมาตรฐานในเรื่องของ ระยะห่าง องศา ของแต่ละตัว ที่เราจะไม่ต้องมาปวดหัวทีหลัง ส่วนข้อดีของ HandWriting จริง ๆ ก็คงเป็นความมีชีวิตชีวาจริง ๆ และความฟรีสไตล์ ที่เราจะดัดแปลงมันได้ตามใจนึก แถมยังไม่ต้องห่วงว่าจะไปซ้ำกับใครในโลกนี้ด้วย

ระวังเรื่องสี

จริง ๆ ไม่ใช่แค่โลโก้ TYPO เท่านั้น พูดรวมถึงโลโก้รวม ๆ แบบอื่นด้วย ทางที่ดีไม่ควรมีเกินสองสี ลองนึกภาพหากต้องเอาโลโก้ไปวางในภาพสักภาพ หรืออาร์ตเวิร์คสักชิ้น แล้วภาพนั้นเองก็มีลวดลายอยู่แล้ว เกิดโลโก้ของเรามาโซนแฟนตาซีบวกทับเข้าไปอีก ยิ่งลายตาเข้าไปใหญ่ ทีนี้ความไม่แพงก็จะมาเยือนทั้งภาพและโลโก้ของเรา หรือไม่อย่างนั้นลองทำโลโก้ที่เป็นสีพื้นเผื่อเอาไว้ สำหรับ CI ของแบรนด์ด้วย โดยเฉพาะโลโก้ที่เป็นงาน TYPO หากเป็นสีเดียวจะสวยกว่าอยู่แล้ว

ระยะห่างของตัวอักษร

พอมันเป็น HandWriting ที่เขียนขึ้นมาเอง อันนี้ยิ่งต้องระวังให้มันมาก ระยะห่างที่ไม่เท่ากันเพียงเล็กน้อยก็ยังคงพอเป็นเสน่ห์ได้อยู่หรอก แต่หากมันไม่เท่ากันที่เกิดจากความไม่ละเอียด ไม่รอบคอบ อันนี้เป็นเรื่องที่ต้องแก้กันแบบหยุมหยิมมาก เพราะมันไม่ได้มีอะไรเป็นมาตรฐานและตายตัวแบบ Typeface

พอเป็น Typeface ก็ต้องระวังเรื่องระยะห่างเช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อเราบิดมันให้เข้าตาม Shape หรือดัดให้เป็น Curve มันจะเกิดช่องว่างที่เยอะกว่าช่องปกติ จนรู้สึกว่ามันเหลือที่แหว่ง ๆ ว่าง ๆ เต็มไปหมด หรือหากมันแคบกว่าปกติ จะทำให้ TEXT มันอ่านยาก อาจจะยากมากซะจนอ่านไม่ออกหรืออ่านเป็นคำอื่นไปเลยก็ได้

แม้จะดูเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่มันอาจจะเป็นรายละเอียดที่ใครหลายคนมองข้าม เลยอยากเอามาเน้นย้ำให้ชาวดีไซน์ทุกคนตระหนักถึงรายละเอียดพวกนี้อยู่เสมอ เพราะเวลาเราทำอะไรด้วยความชำนาญมาก ๆ มันอาจจะเกิดความเคยชินจนละเลยจุดเล็กน้อยนี้ไป วันนี้ก็ไม่ได้มาแนะนำเปล่า ๆ เรามี 5 Typeface เจ๋ง ๆ มาแนะนำสำหรับงาน TYPO ไม่ว่าจะเอาไปเป็น Font บนอาร์ตเวิร์คหรือเอาไปใช้เป็นโลโก้ บิดนิดหน่อยเป็นใช้ได้

Matsury Vendetta

Caslon


Gill Sans

 

Futura

ลองนำฟอนต์ไปดัดแปลงตามความชอบและการใช้งานกันดู หรือจะเอาไปเป็นต้นแบบของลายมือเพื่อเอาไปใช้อีกทีก็ยังได้ ผู้ชายสายดีไซน์เช่นคุณจะได้มีอาวุธสำหรับสร้างสรรค์งานออกแบบเพิ่มขึ้นอีก สร้างศิลป์เท่ ๆ กันได้อีกยาว ๆ

SOURCE

unlockmen
WRITER: unlockmen
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line