Life
รวมเอฟเฟกต์จากกัญชาที่วิทยาศาสตร์บอกเรา อัพเดทล่าสุดปี 2022
By: GEESUCH July 22, 2022 216970
จากบุหรี่กัญชายัดไส้และบ้องไม้ไผ่ในคอนเสิร์ต Wood Stock ของหนุ่มสาวชาวบุปผาชน จนถึงปี 2022 ที่กฎหมายกัญชาในประเทศไทยถูกกฎหมาย คุณเคยได้อ่านงานวิจัยผสมปนเปกับเสียงลือเสียงเล่าอ้าง ถึงความดี ความเลว และความอันตราย ของพืชชนิดนี้กันกี่ครั้งแล้ว
และปฎิเสธไม่ได้เลย สิ่งที่บอกว่าผลของพืชชนิดนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยเคมีทางร่างกาย และองค์ประกอบยิบย่อยของแต่ละบุคคลดูจะน่าเชื่อถือกว่าหลาย ๆ เรื่องที่ได้ยินมา ถ้าอย่างนั้นเรามาดูกันดีกว่า ว่าในปี 2022 นี้ วิทยาศาสตร์บอกอะไรเกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นจาการใช้กัญชาบ้าง
งานวิจัยล่าสุดปี 2022 จากมหาวิทยาลัย University of New Mexico ที่ทีมวิจัยใช้วิธีวัดผลแบบละเอียดที่สุด ถึงขั้นตรวจปัสสาวะเพื่อนำสาร THC อันเป็นสารที่ออกฤทธื์ทางจิตโดยตรงมากที่สุดกับผู้ใช้ไปวิเคราะห์ และผู้ทดลองคือวัยรุ่นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ได้ผลตามบรรทัดข้างล่างนี้
พวกเขาพบว่าหลังจากเสพกัญชาเข้าไปไม่นาน ผู้ทดลองมีพฤติกรรมในการเข้าสังคมที่ดีขึ้น รวมถึงมีความเห็นอกเห็นใจคนอื่นมากขึ้นด้วย ซึ่งผู้วิจัยบอกว่ามีผลต่อรากฐานทางศีลธรรมในผลลัพธ์ตัวต่อไป
อีกสิ่งสำคัญของงานวิจัยนี้คือการพบว่าสมองของผู้ทดลองใช้กัญชา ตื่นเต้นน้อยลงเมื่อเห็นเงิน เมื่อเทียบกับคนที่สภาวะปกติที่ปลอดกัญชา และยืนยันชัดเจนว่าไม่ใช่เพราะคนเสพกัญชาเข้าไปแล้วเรื่อยเปื่อย ไม่สนใจอะไร แต่พวกเขาไม่ได้สนใจอำนาจที่เงินมีต่อตัวเองต่างหาก
งานวิจัยชิ้นนี้มาจากปี 2017 แต่น่าสนใจมากจนต้องขอใส่เข้ามาด้วย เพราะมันคือหนึ่งในเอฟเฟคที่ทำให้คนสนใจเสพกัญชามากที่สุด คงหนีไม่พ้นหัวข้อ “กัญชาช่วยให้เราฟังเพลงเพราะขึ้นจริงมั้ย” และผู้เขียนเองก็มีเสียงยืนยันจากเพื่อนผู้ใช้จริงมากมายคอนเฟิร์มในสิ่งนี้ แล้ววิทยาศาสตร์ล่ะ คอนเฟิร์มเรื่องนี้ด้วยรึเปล่า?
Jorg Fachner เป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชาดนตรี สุขภาพ และสมอง ที่ Anglia Ruskin University และเป็น Weed Expert ที่ศึกษากัญชาอย่างจริงจัง มีคำตอบสำหรับคำถามก่อนหน้า แต่มีสิ่งที่ต้องรู้ก่อน คือการที่จอร์จอยากให้เราเข้าใจว่ากัญชามีผลของเรื่อง ‘เวลา’ ต่อคนเสพ มันทำให้ทุกอย่างดูช้าลง เพราะตัวสาร Cannabinoids เข้าไปทำปฏิกิริยาให้นาฬิกาในตัวผู้เสพวิ่งเร็วขึ้นมาก ๆ และเมื่อทุกอย่างช้าลงการ ‘โฟกัส’ ก็เกิดขึ้น
เมื่อฟังเพลงในช่วงเวลาที่กำลังไฮกัญชาจนได้ที่ เราจึงสามารถแยกแยะรายละเอียดของมิติเครื่องดนตรีและเสียงต่าง ๆ จำแนกได้อย่างละเอียด แถมจอร์จยังบอกอีกว่ากัญชานั้นช่วยเสริมความสามารถทางการได้ยินให้ชัดเจนขึ้นด้วย และแน่นอนเมื่อพื้นฐานของเอฟเฟคกัญชาที่หลาย ๆ คนได้รับ ‘ความสามารถทางความคิดสร้างสรรค์’ เจอกับเอฟเฟคก่อนหน้าของจอร์จ ยิ่งมีผลต่อการจินตนาการภาพในการฟังเพลง จนมีมิติส่งผลให้เพลงเพราะขึ้นไปโดยปริยาย
เพราะบางครั้งการเสพกัญชาทำให้คุณอาเจียน อ้วก และโลกหมุนไม่หยุด หรือศัพท์ในวงการ (ไทย) เรียกว่า ‘อาการเหลือง’ แล้วเราเหลืองกันได้ไง นิตยสารออนไลน์ Vice นำเรื่องนี้ไปคุยกับผู้เชี่ยวชาญกับดอกเตอร์ Mikael Sodergren หัวหน้ากลุ่มวิจัยกัญชาทางการแพทย์ของ Imperial College ได้เหตุผลตามนี้
โดยแรกเริ่มเราต้องย้อนกันกลับไปที่สาร THC (มาอีกแล้ว) ซึ่งจะวิ่งผ่านกระแสเลือดและวิ่งเข้าสู่เซลล์สมองเพื่อจับตัวกับสาร Cannabinoid บางชนิด จนภายในสมองปล่อยสารเคมีบางอย่างออกมา เกิดเป็นอาการไฮ ส่วนการที่เรา ‘อ้วก’ นั้น ผลมาจากการที่สารซึ่งปล่อยออกมาไปกระตุ้นระบบ Endocannabinoid ในร่างกายมากเกินไป จนสารเคมีในส่วนที่ทำให้ความรู้เจ็บป่วยบรรเทาลงของสมอง ออกฤทธิ์ตรงกันข้ามกลายเป็นป่วยมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการเหวี่ยงในหัวจนนำไปสู่การอ้วกในที่สุด
แม้ว่ากัญชาจะไม่เคยฆ่าคน แต่อาการเจ็บป่วยจากกัญชาก็ยังมีให้พบเห็นได้ อย่างเช่นกลุ่มอาการของกัญชาในเลือดสูง (Cannabis Hyperemesis Syndrome) แต่เป็นภาวะที่เกิดขึ้นน้อยมาก อาการคือปวดท้อง คลื่นไส้ และอาเจียนซ้ำ ๆ ซึ่งอาการอาจจะเกิดได้เป็นหลายชั่วโมงหลังจากสูบกัญชาเข้าไป
อาจจะดูเป็นผลการวิจัยที่ดูเหมารวม แต่ทีมวิจัยจาก the University of Queensland ในออสเตรเลีย เขาทำการบ้านในเรื่องนี้มาอย่างดี และใช้ข้อมูลจากตัวอย่างการทดลอง เป็น แม่ 8,000 คน และ เด็ก 2,000 คน ที่ใช้กัญชาตอนอายุ 21 – 30 ปี (เก็บข้อมูลกันโหดมาก) การใช้กัญชาส่งผลต่อความสำเร็จในชีวิต 9 สิ่งเหล่านี้ การศึกษา, รายได้, การเป็นเจ้าของบ้าน, สถานะความสัมพันธ์ และความสุข
ซึ่งน่าแปลกมาก กับการที่ผู้ที่ใช้ยาก่อนอายุ 30 หรืออายุน้อยกว่านั้นมักจะมีชีวิตที่ดี ถ้าเข้ามีสติพอที่จะเลิกยาได้ก่อนจะสายเกินไป สำหรับคนอายุหลัง 30 ปี กลับมีแนวโน้มไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่กล่าวไป
แต่ผลสรุปของงานวิจัยนี้ยังไม่รู้แน่ชัดว่าสารเคมีหรือปัจจัยตรงไหนที่ทำให้เกิดเรื่องนี้ขึ้น มีแต่ข้อมูลตัวอย่างและผลลัพธ์เท่านั้น ก็เป็นที่ต้องศึกษากันต่อไป
5.สาร Cannabidiol ช่วยลดอาการปวดเมื่อยได้ด้วย
นอกจากใช้ประกอบอาหาร ผสมเครื่องดื่ม และเสพเพื่อสุขแล้ว กัญชายังสามารถใช้ทำโรลออนลดความปวดเมื่อยของร่างกายได้ด้วย
ASYSTEM Radical Relief ของแบรนด์ ASYSTEM คือโรลออนที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าใช้ส่วนผสมของ CBD จากกัญชาคุณภาพสูงที่ปลูกในอเมริกาซึ่งออกฤทธิ์และได้ผลจริง ประกอบด้วยมีส่วนผสมของเมนทอล, เมทิลซาลิไซเลต, อาร์นิกา ใช้เพื่อลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อและต้นคอ
มีผู้ทดลองใช้หลายคนบอกว่าตัวโรลออนออกฤทธิ์เร็วมาก ในช่วงเวลาที่ไม่นานหลังการใช้จะรู้สึกชาและร้อนในจุดที่ทาลงไป แต่ความรู้สึกนั้นจะคงอยู่ไม่นานแล้วจะค่อย ๆ เย็นลง หลังจากนั้นจะรู้สึกผ่นอคลาย แล้วความเจ็บความปวดเมื่อยก็จะเริ่มหายไป
ชวนเพื่อนมารวมกลุ่มล้อมวงดูดกัญชาที่บ้านเมื่อไหร่ ของกินในตู้เป็นหมดทุกที (โดยเฉพาะช็อกโกแลต Royce ในช่องแช่แข็ง) เกิดอะไรขึ้นกับคนเหล่านี้ วิทยาศาสตร์อธิบายความหิวกับกัญชาว่าอย่างไร
อาการหิวหลังสูบกัญชานี้รู้จักกันในชื่อ Munchie ซึ่งเป็นอาการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสาร Endocannabinoid ในร่างกาย ทำปฎิกิริยาเมื่อเราสูบกัญชาแล้วรับสาร THC เข้าไป พฤติกรรมการกินจะถูกกระตู้น ทั้งระงับความอิ่มและเข้าป่วนความอยากอาหารของเรา นั่นล่ะสาเหตุที่กินเท่าไหร่ก็ไม่พอ
แต่ยังไม่หมด! ในขณะเดียวกัน ตัว THC ยังช่วยให้เราหลั่งสารโดพามีนปริมาณมากขึ้น ช่วยเพิ่มความสุขในการกิน และทำให้อาหารมีรสชาติดีขึ้นเพราะความสุขอันเปี่ยมล้น ซึ่งในทางการแพทย์ยังใช้กัญชาช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการกินอาหารเลยด้วยนะ
Source :
https://bit.ly/3IY633o
https://bit.ly/3IWcHXN
https://bit.ly/3POfhkZ
https://www.vice.com/en/article/jgm394/weed-greening-out-whitey-vomit
https://futurism.com/neoscope/weed-adulthood-outcomes-scientists
https://www.vice.com/en/article/y3vebj/cbd-menthol-roll-on-review
https://girlsingreen.net/en/cannabis-and-food-explaining-the-munchies/