

MUSIC
พระมหากษัตริย์นักดนตรี เพลย์ลิสต์เพลงพระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9
By: unlockmen October 25, 2017 80156
ดนตรีถือเป็นอีกหนึ่งพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดลุยเดช จนได้รับพระราชสมัญญาว่า “อัครศิลปิน” โดยพระองค์ทรงมีความสนพระราชหฤทัยในเรื่องดนตรีตั้งแต่ทรงพระเยาว์วัย และเริ่มเรียนดนตรีเมื่อมีพระชนมายุ 13 พรรษา ขณะประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
พระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดลุยเดชทรงเลือกเรียนการเป่าแซกโซโฟน วิชาการดนตรี การเขียนโน้ต และการบรรเลงดนตรีสากลต่าง ๆ ในแนวดนตรีคลาสสิค ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะสามารถทรงเครื่องดนตรีได้ดีหลากหลายชนิด
นอกจากนั้น พระองค์ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เพลงด้วยตนเองเมื่อมีพระชนมพรรษาได้ 18 พรรษา ซึ่งคือทำนองเพลง “แสงเทียน” เป็นเพลงพระราชนิพนธ์แรก จนกระทั่งถึงปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดลุยเดชทรงมีเพลงพระราชนิพนธ์รวมทั้งสิ้น 48 เพลง
เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระอัฉริยะภาพของพระองค์ท่าน วันนี้ทีมงาน UNLOCKMEN ขอนำเพลย์ลิสต์เพลงพระราชนิพนธ์มาให้สถิตอยู่ในดวงใจของชาวไทยทุกคน
“แสงเทียน” เพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2498 ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระอนุชาธิราชได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย แต่เนื่องจากมีพระราชประสงค์ที่จะทรงแก้ไขทำนองและคอร์ดบางตอน จึงยังไม่โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้นำออกมาบรรเลงในเวลานั้น ต่อมา ได้พระราชทานให้นำออกบรรเลงครั้งแรก พ.ศ.2490 และใน พ.ศ.2496 นางสาวสดใส วานิชวัฒนา ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษ
“ลมหนาว” เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 19 ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2497 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษ และได้พระราชทานเพลงนี้ออกบรรเลงครั้งแรกในงานประจำปีของสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศสวนลุมพินี เมื่อวันเสาร์ที่ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 ต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา แต่งคำร้องภาษาไทยถวาย
“สายฝน” เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 3 ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2489 ขณะทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย ส่วนภาษาอังกฤษ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงแต่งร่วมกับท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา เพลงพระราชนิพนธ์สายฝนนี้ มีลีลานุ่มนวลอ่อนหวาน บรรเลงครั้งแรกในงานรื่นเริงของสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2489 จึงเป็นเพลงยอดนิยมของพสกนิกรไทยอีกเพลงหนึ่งจนถึงปัจจุบัน
“ชะตาชีวิต” เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 5 ทรงพระราชนิพนธ์หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ และเสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกวาระหนึ่ง ที่แต่เดิมมีชื่อเพลงพระราชนิพนธ์ว่า H.M. Blues ก่อนที่จะมีการทำคำร้องภาษาไทย โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร เป็นผู้ประพันธ์ แต่เนื่องจากในเวลานั้นคำร้องภาษาอังกฤษไม่ได้พระราชทานลงมาต้นฉบับอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ ดร. ประเสริฐจึงใส่คำร้องภาษาไทยที่มีความหมายออกมาคนละแบบ
ความฝันอันสูงสุด เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 43 ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2514 เมื่อ พ.ศ. 2512 ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาคได้รับพระราชเสาวนีย์จากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ให้เขียนบทกลอนแสดงความนิยมส่งเสริมคนดีให้มีกำลังใจทำงานเพื่ออุดมคติเพื่อประเทศชาติ ออกมาเป็นกลอน 5 บท สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถโปรดให้พิมพ์บทกลอนนี้ลงในกระดาษการ์ดแผ่นเล็ก ๆ พระราชทานแก่ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน และผู้ทำงานเพื่อประเทศชาติ เตือนสติมิให้ท้อถอยในการทำความดี ต่อมา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใส่ทำนองเพลงในคำกลอน “ความฝันอันสูงสุด”
เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์ ใน พ.ศ. 2489 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย และท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา แต่งคำร้องภาษาอังกฤษ แล้วพระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีคำร้องสมบูรณ์ทั้งสองภาษาให้นาย เอื้อ สุนทรสนาน นำไปให้นาย คีติ คีตากร นักดนตรีในวงดนตรีสุนทราภรณ์เรียบเรียงเสียงประสานจนสมบูรณ์จึงได้นำออกบรรเลงในงานของสมาคมปราบวัณโรค ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร นับว่าเป็นพระราชนิพนธ์เพลงแรกที่นำออกบรรเลงสู่ประชาชน
นอกจากบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่เราได้นำมานี้ พระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ยังทรงมีเพลงพระราชนิพนธ์อีกมากมาย ซึ่งพระองค์ท่านได้เคยมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับดนตรี เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พุทธศักราช 2524 ใจความตอนหนึ่งว่า
ดังนั้นพวกเราประชาชนชาวไทยควรที่จะเรียนรู้ผ่านบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่พระองค์ทรงสอดแทรกข้อคิดต่าง ๆ เอาไว้ และประพฤติตนเป็นคนดีทำประโยชน์สุขเพื่อประเทศชาติต่อไป