FASHION
BEST INVESTMENT IN YOURSELF
  • FASHION

    EDITOR’S PICK : ซานโตส เดอ คาร์เทียร์ ตำนานคลาสสิกสู่บุคลิกใหม่ล้ำสมัยข้ามกาลเวลา

    By: Lady P. March 26, 2018

    “ผมออกบินเพื่อปลีกตัวออกจากสังคม และเพื่อคิด” คำกล่าวของ อัลแบร์โต ซานโตส-ดูมงต์ บุคคลที่ทั่วโลกต่างแสดงความรำลึกถึง และถือเป็นบุคคลสำคัญของโลกในด้านวิศวกรรมการบินสมัยใหม่ ซานโตส-ดูมงต์สนิทสนมกับกุสตาฟ ไอเฟลและบุคคลชั้นนำท่านอื่น ๆ อีกมากมายในแวดวงอุตสาหกรรม ศิลปะ และวิทยาศาสตร์ หลังจากที่เขาได้พบกับ หลุยส์ คาร์เทียร์ ในปี 1900 มิตรภาพที่งอกเงยตามมาของทั้งสองได้ผสานเป็นพลังแห่งความก้าวหน้า ในปี 1901 ซานโตส-ดูมงต์ ได้เอ่ยถึงความยุ่งยากของเขาในการดูเวลาจากนาฬิกาพกขณะที่กำลังบิน สามปีต่อมา หลุยส์ คาร์เทียร์ ได้ปฏิวัติวงการนาฬิกาด้วยการคิดค้นนาฬิกาข้อมือสมัยใหม่ที่ออกแบบขึ้นเพื่อซานโตส-ดูมงต์โดยเฉพาะ นาฬิกาข้อมือเรือนดังกล่าวได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นในปี 1904 โดย ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ไดนามิกและการเคลื่อนไหว ทั้งหลุยส์ คาร์เทียร์และอัลแบร์โต ซานโตส-ดูมงต์ได้ทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดเทรนด์ใหม่ๆ และ ความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับกาลเวลา อันนำมาซึ่งการเริ่มต้นของยุคใหม่ อัลแบร์โต ซานโตส-ดูมงต์ เป็นยิ่งกว่านักบิน เนื่องจากทั้งสไตล์และบุคลิกภาพของเขา ตลอดจนอัจฉริยภาพในการสร้างนวัตกรรม ทำให้เขาเป็นสุภาพบุรุษยุคโมเดิร์นอย่างแท้จริง   นาฬิกาซานโตสโฉมใหม่ ตลอดหลายทศวรรษนับจากที่เรือนเวลารุ่นนี้ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นเมื่อปี 1904 นาฬิกาซานโตส เดอ คาร์เทียร์ (Santos de Cartier) ได้ผสมผสานกลิ่นอายของความมุ่งมั่น อิสรภาพ

    อ่านต่อ
  • FASHION

    ใส่กันจัง มันฮิตได้ยังไง ทำความรู้จักที่มาของเสื้อฮาวาย พร้อมการก้าวขึ้นสู่ Pop Culture ในแต่ละยุคสมัย

    By: unlockmen March 26, 2018

    ในยุคที่ทุกคนในประเทศไทยให้ความนิยมการสวมใส่เสื้อฮาวาย ( Hawaiian Shirt ) ถึงขนาดสามารถพบเห็นได้ทุกครั้งตอนออกจากบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ตลาดสด ห้างสรรพสินค้า ไปจนถึงงานเทศกาลดนตรี แต่เราเคยรู้กันหรือเปล่าว่าก่อน Hawaiian Shirt จะกลายเป็น Pop-Culture สำหรับหมวดเครื่องแต่งกายอย่างเช่นในปัจจุบัน สิ่งนี้มีจุดกำเนิดมาจากที่ไหนและเคยได้รับความนิยมในยุคสมัยใดมาแล้วบ้าง วันนี้ UNLOCKMEN ได้รวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับ Hawaiian Shirt เอาไว้ให้แล้ว จุดเริ่มต้นการรวมกันของวัฒนธรรมเสื้อผ้า ย้อนกลับไปเมื่อปี 1880 ในสมัยรัฐฮาวายยังคงเป็นนิคมปกครองตนเองและมีการขยายตัวของธุรกิจต่าง ๆ บนเกาะเกิดขึ้น แน่นอนว่าเจ้าของกิจการทั้งหลายอยากได้แรงงานราคาถูก จึงมีผู้อพยพจากต่างถิ่นเข้ามามากมายไม่ว่าจะเป็นชาวจีน,โปรตุเกส เกาหลี แต่เห็นจะมีเปอร์เซ็นต์มากกว่าใครเพื่อนคือ ชาวญี่ปุ่น แถมคนกลุ่มนี้ยังติดเอาผ้าพื้นเมืองของตัวเองข้ามน้ำข้ามทะเลมาอีกด้วย แรงงานส่วนใหญ่ถูกจ้างมาทำงานเกี่ยวกับเกษตรกรรม ทำให้ต้องการชุดสวมใส่สบาย ราคาไม่แพง จึงได้ผนวกรวมผ้าต่างถิ่นเข้ากับลายผ้าท้องถิ่นของฮาวายเรียกว่า Tapa แต่เสื้อที่ทำออกส่วนใหญ่มักเป็นแขนยาวและใช้กันเพียงในวงแคบ เท่านั้น นักประวัติศาสตร์หลายคนเห็นพ้องกันว่า Hawaiian Shirt ต้นแบบตัวแรก เกิดขึ้นในช่วงปี 1920 แต่ก็ยังมีข้อโต้แย้งเรื่องที่ว่าใครเป็นบิดาแห่งเสื้อฮาวายกันแน่ระหว่างสองคนนี้ คนแรกคือ Gordon Young จากมหาวิทยาลัยฮาวาย ว่ากันว่าเข้าได้ร่วมมือกับคุณแม่ของเรา ออกแบบและตัด

    อ่านต่อ