DESIGN

Dutch ใช้ Graffiti บนกระเบื้อง 80,000 แผ่น เล่าประวัติศาสตร์ผ่านอุโมงค์คนเดิน

By: Chaipohn April 23, 2016

ในขณะที่หน่วยงานรัฐบ้านเรา ดูจะยังไม่ค่อยชอบการใช้ Graffiti ให้เกิดประโยชน์สูงสุดมากนัก จะมีก็หน่วงงาน TCDC ที่รู้จักใช้ Graffiti ทำให้เจริญกรุงดูมีแรงดึงดูดมากขึ้นได้ หรืออาจจะเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ไทยนึกไม่ออกว่าจะนำ Graffiti มาปรับใช้อย่างไร ซึ่งถ้าพวกท่านได้เดินทางไปดูงานต่างประเทศจริง น่าจะได้ไอเดียดีๆ อย่างที่ประเทศ Netherlands เค้าทำกันติดตัวกลับมาบ้าง

160423-dutchtunnel-1

ชาว Dutch ขึ้นชื่อเรื่องการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่เว้นแม้แต่อุโมงค์ลอดใต้สะพาน ซึ่งปกติมักจะเป็นที่ๆ ไม่มีการดูแล และเป็นที่รวมตัวของ Gangster, Homeless ให้ความรู้สึกอันตรายจนไม่มีใครอยากเดินผ่าน แต่สำหรับที่ Netherlands มีการจับมือกันระหว่าง Amsterdam Central Station กับ Benthem Crouwel Architects จัดการเปลี่ยนอุโมงค์ Cuyperspassage ให้เหมาะสำหรับการใช้งานของทั้งคนเดินและจักรยาน รวมถึงทำให้พื้นที่ว่างทั้งหมดเกิดประโยชน์สูงสุด

160423-dutchtunnel-3

Benthem Crouwel Architects จัดการปรับอุโมงค์ความยาว 100 เมตร กว้าง 10 เมตร ด้วยการแบ่งพื้นที่สำหรับเลนจักรยานและคนเดิน ด้วยการยกพื้นให้มีระดับต่างกัน ส่วนเลนจักรยานใช้พื้นราดยางมะตอยดูดซับเสียง และมีไฟ LED ด้านบนเพื่อเพิ่มอารมณ์ในการปั่นจักรยาน ส่วนกำแพงด้านเลนจักรยานและเพดานใช้ตะแกรงเหล็ก เพื่อทำให้ยากต่อการติด Poster โฆษณา หรือพ่น Graffiti โดยไม่ได้รับอนุญาติ

160423-dutchtunnel-2

แต่ที่เจ๋งสุดของ Cuyperpassage ต้องยกให้ฝีมือของ Irma Boom นักออกแบบผู้วาดและลงสีกระเบื้อง ที่มีทั้งหมดกว่า 80,000 แผ่น สำหรับเล่าประวัติศาสตร์ต้นกำเนิดประเทศ Netherlands ด้วยวิธี Handmade โดยจำลองรูปแบบจากงานผลงานศิลปะ “Warship Rotterdam and the Herring Fleet” ที่ปัจจุบันถูกเก็บอยู่ใน Rijksmuseum ซึ่งเฉพาะการผลิตกระเบื้อง ก็ต้องใช้เวลานานถึง 5 ปี ไม่รวมลงสี และผลงานที่ได้ออกมา ต้องเรียกว่าคุ้มค่า เป็นการใช้พื้นที่ได้ยอดเยี่ยมมากจริงๆ

160423-dutchtunnel-5

160423-dutchtunnel-4

Chaipohn
WRITER: Chaipohn
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line