Business

แกะรอย “WEALTH PERSONAL BANKER” อาชีพแห่งอนาคต

By: anonymK August 3, 2018

ปัจจุบันกระแสการลงทุนการบริหารความมั่งคั่ง เป็นเรื่องที่คนรุ่นใหม่ต่างให้ความสนใจ ทว่าด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อน  ความรู้ความเข้าใจในการลงทุนที่เรายังมีไม่เพียงพอ และคำว่า “ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน” จึงมาแตะเบรก ทำให้แม้เราจะอยากลงทุน แต่ก็ไม่กล้าที่จะเสี่ยง เพื่อตอบโจทย์กระแสการลงทุนนี้ จึงเกิดเป็นเทรนช่องทางการบริการทางการเงินแบบใหม่ที่เรียกว่า Wealth Management หรือการบริหารความมั่งคั่งขึ้น โดยมี Wealth Personal Banker” หรือผู้แนะนำการลงทุนที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการบริหารเงิน รับหน้าที่ดูแล ปกป้อง และเพิ่มพูนของมั่งคั่งให้กับเรา

เพื่อเจาะลึกเบื้องหลังของอาชีพสุดท้าทายนี้ ทีมงาน UNLOCKMEN จึงมุ่งหน้าไปเสาะหาข้อมูลจากคนที่ทำอาชีพนี้และอยู่ในวงการนี้จริงโดยแวะเวียนมาที่ SCB Investment Center โดยได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ ทั้ง 3 ท่าน ได้แก่ คุณก้อย – กาญจนา คล่องอนันต์  ผู้อำนวยการอาวุโส SCB FIRST: SA, Executive and Professional Segment  และผู้บริหารศูนย์ SCB Investment Center กรุงเทพฯ  คุณปอย -สุดคนึง หงส์ลดา Personal Banker ศูนย์ Investment Center สาขา Central พระราม 3 และคุณธง – คุณธงชัย ศิริพิน  Personal Banker จากศูนย์ Investment Center สาขา Central World

 

คุณปอย -สุดคนึง หงส์ลดา (ด้านซ้าย) คุณก้อย – กาญจนา คล่องอนันต์  (กลาง) และคุณธง – คุณธงชัย ศิริพิน (ด้านขวา)

“Wealth Personal Banker ถ้าให้พูดเข้าใจอย่างง่าย ๆ คือเป็นที่ปรึกษาส่วนตัว หรือเพื่อนคู่คิดในเรื่องการวางแผนทางการเงินในทุกด้าน  สำหรับลูกค้ากลุ่ม Wealth (กลุ่มลูกค้า FIRST ที่มีสินทรัพย์กับธนาคารมากกว่า 10 ล้านบาทขึ้นไป หรือ PRIME ที่มีสินทรัพย์กับธนาคารมากกว่า 2 ล้านบาทขึ้นไป) เช่น เรื่องการลงทุน การขยายธุรกิจ การวางแผนภาษี วางแผนเกษียณ แม้กระทั่งเรื่องของการทำธุรกรรมต่าง ๆ กับธนาคาร

The New Generation of Wealth People

นิยามของการเป็นทุกอย่างทางการเงินนี้ ค่อนข้างน่าสนใจ แต่นอกจากผู้เชี่ยวชาญวัยภูมิฐานที่คุ้นเคย เรายังพบภาพแปลกตาเป็น Personal Banker หน้าตาอ่อนวัยที่พูดจาฉะฉานมั่นใจหลายท่านในศูนย์ Investment Center แห่งนี้ เมื่อธนาคารคือสถาบันการเงินที่เข้าใจเรื่องความเสี่ยงเป็นอย่างดี จึงเป็นเรื่องน่าสนใจว่าทำไมจึงคัดเลือกคนรุ่นใหม่ที่ยังมีประสบการณ์ไม่มากนักมารับหน้าที่อันสำคัญนี้

คุณก้อย : ยุคปัจจุบันคนไทยยังลงทุนน้อย เราต้องการคนรุ่นใหม่ที่เรียนรู้และรับสิ่งใหม่ได้เร็ว สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้หาข้อมูล เพื่อช่วยให้ลูกค้าของเราบริหารเงินได้ถูกต้องมากขึ้น โดยเราได้สร้างหลักสูตรแนวทางการบริหารความมั่งคั่งที่เข้มข้น เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางด้านการเงินการลงทุน และเปิดโลกทัศน์ใหม่ให้กับพนักงานให้แนะนำลูกค้าอย่างเพื่อนคู่คิด  เป็นที่ปรึกษาเพื่อตอบโจทย์ทางด้านการเงินให้กับลูกค้า

Trust is a must. เจียระไน Personal Banker ทุกเม็ดให้ส่องประกาย

ไม่เพียงแค่สู้กับเศรษฐกิจโลก แต่คนที่ทำอาชีพนี้ต้องสู้กับความเชื่อมั่นระหว่างคนด้วยกัน นักลงทุนบางคนอาจขาดความมั่นใจเมื่อพบว่าคนที่ต้องนำเงินในบัญชีมาให้บริหารอายุน้อยกว่า PB ทุกคนจึงต้องผ่านการฝึกอบรมด้วยคอร์สที่เข้มข้นจากเทรนเนอร์ที่เป็นกูรูมืออาชีพฝึกฝนจนมั่นใจว่ามีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง มีการรับรอง License ถึงจะได้ลงสนามจริงเจอลูกค้า

นอกจากการฝึกอบรมเรื่องความรู้ทางด้านการเงินการลงทุนแล้ว  การฝึกด้านบุคลิกภาพ การสนทนากับลูกค้า การนำเสนอก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน

คุณก้อย : น้อง ๆ Personal Banker หรือ PB ทุกคนที่เข้ามาทำงานต้องผ่านการเทรนความรู้เจาะลึกด้านการลงทุนและการวางแผนด้านการเงินที่เข้มข้น โดยเราเน้นสร้างความเข้าใจควบคู่กันทั้งในตำราและนอกตำรา ความเข้าใจตลาด เข้าใจผลิตภัณฑ์ที่ต้องแนะนำ  และที่สำคัญที่สุดคือเข้าใจความต้องการทางการเงินของลูกค้าเพื่อให้คำปรึกษาและนำเสนอการลงทุนอย่างเหมาะสมตามเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งทั้งหมดต้องเป็นไปด้วยความละเอียดอ่อน จริงใจ ซื่อสัตย์ และมีจรรยาบรรณมุ่งหวังว่าลูกค้าที่ดูแลจะต้องได้รับผลตอบแทนเป็นความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้น ถัดมาเป็นการพัฒนาปรับภาพลักษณ์หรือ Soft skill ให้น่าเชื่อถือ จัดเป็นคอร์สทีละขั้นตอนให้เรียนรู้ตามลำดับ ทุกคนต้องฝึกฝนสม่ำเสมอก่อนจะทดสอบด้วย Roleplay

แต่การเรียนรู้จะไม่จบภายในคลาสเท่านั้น เพราะ PB จะได้รับการจัดกลุ่มเป็นทีม มี SAM (Sub Area Manager) ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงใกล้ชิดคอยติดตามสิ่งที่เรียน และประเมินอย่างสม่ำเสมอว่าเรื่องที่เรียนมาได้นำมาใช้อย่างถูกต้องจริง

 

Wealth to know – รู้หรือยังการดูแลลูกค้า Wealth มีเบื้องหลังมากกว่าที่คิด

  1. เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องเข้าอบรมทักษะด้านความรู้ด้านการเงิน (Hard Skill) และทักษะความสามารถทางสังคม (Soft Skill) ตั้งแต่การแต่งกายจนถึงการรับประทานอาหารเพื่อเตรียมพร้อมต่อการปฏิบัติงานนอกสถานที่ โดยทุกคนต้องฝึกฝนสม่ำเสมอ เมื่อฝึกเสร็จทุกขั้นตอนมีการติดตามตรวจสอบและประเมินผลในรูปแบบการแสดงบทบาทสมมติ (role play)
  2. เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องเข้าอบรมทักษะการด้านใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดในการทำงาน
  3. กระบวนการพัฒนานำเทคนิคด้านจิตวิทยามาใช้เป็นปัจจัยกระตุ้น โดยนำเจ้าหน้าที่ใหม่ที่ผ่านการทดสอบเข้าทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญเพื่อสร้างแรงผลักดัน
  4. เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องได้รับใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนก่อนปฏิบัติงาน คือ IC License (ใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน) LIB (ใบอนุญาตนายหน้าประกันชีวิต) NIB (ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย) เป็นใบอนุญาตขั้นพื้นฐาน และทาง Wealth Academy มุ่งหวังพัฒนาเจ้าหน้าที่ทุกคนให้ได้รับ IP License (ใบอนุญาตผู้วางแผนการลงทุน) เป็นลำดับถัดไป
  5. รูปแบบการทำงานของ Wealth Management เป็นระบบทีมที่มี SAM (Sub Area Manager) ทำหน้าที่หัวหน้าคอยติดตามดูแล PB (Personal Banker) อย่างใกล้ชิดโดยให้ความรู้ ข้อแนะนำ พร้อมทั้งให้การช่วยเหลือเมื่อพบปัญหา ตลอดจนเป็นผู้ตรวจสอบการปฏิบัติงานของ PB ภายในทีมให้มีประสิทธิภาพ

 

Professional Advisory : จัดพอร์ตให้ลูกค้า ด้วยความเข้าใจอย่างมืออาชีพ

ไม่เพียงทักษะทางความรู้และความสามารถทางสังคมที่ต้องฝึกฝนอย่างเข้มข้น ส่วนสำคัญของวางแผนการลงทุนคือการสัมผัสความเสี่ยงด้วยตนเอง Wealth Academy จึงสนับสนุนให้ PB ทุกคน รู้จักลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับความเสี่ยงของตนเอง และลงทุนในผลิตภัณฑ์เดียวกันกับลูกค้าเพื่อเป็นกุศโลบายปลูกฝังความใส่ใจให้กับ PB ทุกคน เมื่อเกิดความผันผวนขึ้นทุกคนจะทราบที่มาเพื่ออธิบายลูกค้าได้อย่างครบถ้วน รวมทั้งเป็นหนทางสร้างความรู้สึกเข้าอกเข้าใจลูกค้าได้เป็นอย่างดีทั้งยามขาดทุนและยามกำไร

ด้วยความสงสัยเราถามได้ถึงแนวทางการจัดการเมื่อ PB ต้องพบกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันทางเศรษฐกิจว่าทางทีมมีมาตรการในการจัดการอย่างไร คำตอบที่ได้รับกลับมาฟังแล้วน่าชื่นใจในแนวทางการบริหารทีม เมื่อพบว่า PB คนไหนเริ่มมีความเครียด  หัวหน้าทีมจะรีบซัพพอร์ตดูแลด้วยการให้กำลังใจ กล่าวชมเชยในสิ่งดีที่เคยทำ หรือให้หยุดพักตามความเหมาะสม เราคิดว่าส่วนนี้คล้ายการช้อนหุ้นในวันที่หน่วยการลงทุนตกเพื่อรอวันที่พอร์ตกลับมาเขียวสดใสอีกครั้ง ฟ้าหลังฝน เขียวหลังแดง ย่อมเกิดขึ้นเสมอ

 

Personal Banker’s Insight

ล้วงลึกระดับนโยบายกันไปแล้ว ถึงเวลาพูดคุยกับ Personal Banker หน้าใหม่ ทั้ง 2 ท่านนี้บ้าง บอกเลยว่าแม้พวกเขาทั้งคู่จะมีประสบการณ์ด้านการเงินมาก่อน แต่สำหรับการเป็น Personal Banker นี่คือเรื่องใหม่ของพวกเขา

ก่อนหน้านี้ทำงานอะไรอยู่ ทำไมถึงมาเป็น Personal Banker

คุณปอย : เดิมปอยเคยเป็นผู้จัดการสาขามาก่อนค่ะ ลักษณะงานคล้ายกันคือดูแลูกค้ารายใหญ่ แต่เหตุผลที่คิดจะเปลี่ยนแนวมาทำงานนี้ เพราะคิดว่าเทรนด์ของ Personal Banker กำลังมาเป็นงานหลักในสายการเงินการธนาคาร จะทำให้เรามีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเงินการลงทุนอย่างเจาะลึกกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญ  และคิดจะอยู่ไปอีกนานในสายงานนี้ค่ะ

คุณธง : ก่อนหน้านี้ผมทำงานเป็น Wealth Officer ที่ดูแลลูกค้าทุกคนในสาขา แต่พอมาเป็น Personal Banker เราจะได้ดูแลลูกค้าระดับ High Net Worth ทำให้มีโอกาสทำงานที่ท้าทายมากขึ้น เราต้องเตรียมตัวดีมาก ๆ เพื่อนำข้อมูลไปนำเสนอลูกค้ากลุ่มนี้ซึ่งเป็นกลุ่มที่ส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องการลงทุนดีอยู่แล้ว  มันทำให้เรามีโอกาสพัฒนาตัวเองมากขึ้น  เพื่อเติบโตต่อไปในวิชาชีพนี้  ซึ่งอาชีพนี้ในประเทศไทยถือว่ามีค่อนข้างน้อยถ้าเปรียบเทียบกับสิงคโปร์หรือประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ

การเป็น Personal Banker ต้องผ่านการเรียนรู้และประเมินอะไรบ้าง

คุณปอยและคุณธง : นอกจากเรื่องการฝึกฝนความรู้ด้านการเงินการลงทุน  และการดูแลภาพลักษณ์ตนเองแล้ว เราต้องเรียนรู้พื้นฐานการเป็น PB ให้คำแนะนำให้ตรงจุด ตรงความต้องการของลูกค้า เน้น Benefit ของลูกค้าเป็นหลัก คำนึงถึงช่วงเวลาที่เหมาะกับการลงทุนในแบบต่างๆ และเข้ามาดูแลพอร์ตของลูกค้าให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น นอกจากนี้สำหรับ PB ก่อนที่จะมาลงสนามจริง เราต้องมี License ให้ครบทั้งหมด 3 Licenses ก่อนคือ LIB NIB และ IC ค่ะ

นอกจากเงิน อะไรคือผลตอบแทนอื่นจากการประกอบอาชีพนี้ และต่างจากอาชีพอื่นอย่างไร

คุณธง : อาชีพนี้ทำให้เราได้รับความรู้ความเข้าใจด้านการเงินการลงทุนมากขึ้น สามารถนำมาใช้วางแผนการเงินให้กับตนเอง ครอบครัว และคนรอบข้างได้อย่างเหมาะสมครับ ระหว่างที่เราลงทุนด้วยตัวเอง เห็นผลลัพธ์ด้วยตัวเอง รู้ว่าอะไรดีหรือไม่ดีอย่างไร เรานำข้อมูลนั้นกลับมาแนะนำลูกค้าได้ ซึ่งถ้ามองในแง่ของการบริหารจัดการการเป็น PB ทำให้เราได้บริหารพร้อมกันถึง 3 ส่วน

ส่วนแรกคือ การบริหารการเงินให้ตัวเอง ส่วนที่สองคือการบริหารการเงินให้ลูกค้า และสิ่งสุดท้ายคือการได้บริหารเวลาการใช้ชีวิตด้วยตัวเอง เพราะเราได้รับอิสระในการจัดตารางการทำงานของตัวเองเพื่อนัดหมายให้คำแนะนำลูกค้า ไม่จำเป็นต้องเข้าศูนย์ฯ เสมอครับ ที่สำคัญนอกเหนือรายได้ที่ได้รับแล้ว การพูดคุยกับลูกค้าช่วยให้ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ได้แนวคิด ได้ความรู้ และ Connection สำหรับต่อยอดให้ตัวเองได้ด้วย

คุณปอย : มันทำให้เราได้ก้าวออกมาจาก Comfort Zone ค่ะ จากเดิมงานสาขาเราอาจจะมีประสบการณ์เยอะมากแต่พอเปลี่ยนเราได้ Challenge กับหน้าที่ใหม่ และได้ความรู้ด้านการเงินการลงทุนแบบ 1 step forward เสมอเพราะทุกเช้าเราจะมีการแชร์ข่าวกันภายในทีม รวมทั้งท้าทายกับการเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนตามสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะเมื่อข่าวเปลี่ยนเราเองก็ต้องปรับแนวทางการลงทุนตาม อาจจะเรียกได้ว่ามีความท้าทายใหม่ ๆ ให้เราฝึกฝีมืออยู่เสมอ

ที่สำคัญยังมีเครื่องมือเทคโนโลยีต่าง ๆ สนับสนุนการทำงานให้ง่ายขึ้น ทั้งสมาร์ททีวีที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลจากอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อแนะนำการลงทุนได้แบบ Real time เป็นส่วนตัว ห้องแนะนำการลงทุนแบบ multiple-screen ช่วยเปิดดูพอร์ตและข้อมูลพร้อมกันได้อย่างทั่วถึง รวมถึงห้องนิรภัยสำหรับเก็บทรัพย์สินมีค่าของลูกค้า แล้วการเป็น Personal Banker ทำให้เรามีโอกาสดูแล รู้จักลูกค้ามากกว่าที่ AI หรือหุ่นยนต์ทำได้ เพราะการบริการลูกค้าด้วยความผูกพัน มุ่งมั่น เข้าใจความต้องการของแต่ละคน ตามไลฟ์สไตล์ สามารถสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าได้มากกว่า

อาชีพ Personal Banker นับเป็นหนึ่งสัญลักษณ์แสดงภาพความเอาใจใส่ของธนาคารที่ต้องการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้มากยิ่งขึ้นไปอีก  เพื่อให้ลูกค้าธนาคารเกิดความพึงพอใจ  ความเชื่อมั่นและไว้วางใจเสมือนเพื่อนคู่คิดที่ขาดกันไม่ได้  นอกจากนี้ Personal banker ยังเป็นตัวแทนของงานรูปแบบใหม่ที่ปลดล็อกความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับงานธนาคารว่าเป็นงานที่ทำอะไรเดิม ๆ เป็นกิจวัตร อยู่ในกรอบของเวลา โอกาสการเติบโตมีเพดานมาจำกัด  พลิกมาเป็นงานที่มีความท้าทาย ให้ความรู้พัฒนาตนเอง พร้อมโอกาสความก้าวหน้าทางอาชีพ และความอิสระในการบริหารเวลาของตนเอง

ปลดล็อกเรื่องราวคลายความสงสัยในอาชีพนี้แล้ว วันนี้ถ้าใครอยากปลดล็อกศักยภาพทั้งชีวิตเพื่อไปค้นพบกับเส้นทางความมั่งคั่งแบบ Personal Banker ตอนนี้ทาง SCB ก็เปิดรับอยู่ สามารถคลิกดูรายละเอียดได้ทาง https://careers.scb.co.th/  เพราะ “งาน” คืออนาคตที่เราลงทุนได้อีกทางเช่นเดียวกัน

anonymK
WRITER: anonymK
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line