สําหรับชาว UNLOCKMEN ทั้งหลายที่กําลังมองหารถยนต์คันใหม่ที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานและไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย บอกเลยว่า New Honda City e:HEV ยนตรกรรมสปอร์ตพรีเมียมซีดานคันนี้ นี่แหละคือคําตอบที่หลายคนมองหา ด้วยดีไซน์ใหม่สปอร์ตโดดเด่นรอบคัน หล่อสะกดใจตั้งแต่ภายนอกยันภายใน กับระบบขับเคลื่อนฟูลไฮบริด e:HEV แรงจัด ประหยัดสุด จัดเต็มกับเทคโนโลยีความปลอดภัยสุดล้ำอย่าง Honda SENSING ในทุกรุ่นย่อย และอุปกรณ์อํานวยความสะดวกครบครัน งานนี้ New Honda City e:HEV จะเป็น City Car ที่ “แรง ล้ำ ประหยัด ครบ” ทำให้ชีวิตชาว UNLOCKMEN สมบูรณ์แบบขึ้นได้ชัดเจนแค่ไหน เราจะพาทุกคนไปสัมผัสพร้อมกัน ความแรง และความประหยัด คือสิ่งแรกที่เราได้สัมผัสจากการทดลองขับ New Honda City e:HEV คันนี้ ด้วยขุมพลังของระบบขับเคลื่อนฟูลไฮบริด e:HEV ผสานพลังขับเคลื่อนหลักจากมอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัว พร้อมเกียร์อัตโนมัติอัตราทดแปรผันต่อเนื่องไฟฟ้า และแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน ประสิทธิภาพสูง
การได้อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ก็มีข้อดีมากมาย ทั้งโอกาสในหน้าที่การงาน การเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ ที่สะดวกรวดเร็วทันใจ แต่การอยู่ในเมืองใหญ่ก็มีราคาที่เราต้องจ่าย ทั้งเสียงการจราจรจอแจ สภาพอากาศที่ไม่บริสุทธิ์มากพอ นอกจากจะสร้างความรำคาญ ยังส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวอย่างที่เราคาดไม่ถึงอีกด้วย นักวิจัยทำการศึกษาจากผู้ใหญ่จำนวน 144,000 คน จนออกมาเป็นงานวิจัยชิ้นนี้ที่เพิ่งถูกเผยแพร่เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยงานวิจัยครั้งนี้โฟกัสไปที่ชีวเคมีในเลือด (blood biochemistry) สมมติฐานของงานวิจัยครั้งนี้ก็คือการที่มนุษย์อย่างเรา ๆ ต้องอาศัยอยู่ใกล้ถนนที่รถราวิ่งกันขวักไขว่นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพเรา เนื่องจากมลพิษทางอากาศและเสียงการจราจรส่งผลต่อการเป็นโรคหัวใจ เพราะมันรบกวนการนอนหลับ เพิ่มความดันโลหิต แถมเพิ่มความเครียดให้กับเราอีกด้วย ไม่เพียงเท่านั้นมลพิษทางอากาศยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด การตรวจสอบสารชีวเคมีในเลือดครั้งนี้ พวกเขาตรวจสอบทั้งไขมันในเลือดและไตรกลีเซอไรด์ซึ่งถ้ามีปริมาณมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะหัวใจวายได้มาก รวมถึงตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งสัมพันธ์กับโรคหัวใจ เบาหวาน และโรคหลอดเลือดในสมอง สุดท้ายพวกเขาโฟกัสไปที่ปริมาณโปรตีน C-reactive ซึ่งเป็นสัญญานของโรคหัวใจ ผลการทดสอบออกมาว่าหลังจากที่ควบคุมตัวแปรต่าง ๆ เช่น อายุ เพศ การศึกษา การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสถานะการสูบบุหรี่ออกไปแล้วพบว่าทุก ๆ การรับมลพิษทางเสียงที่เพิ่มขึ้น 5 เดซิเบลจากบริเวณที่พักอาศัย มีส่วนเกี่ยวข้องกับปริมาณน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มขึ้น 0.3 เปอร์เซนต์ เมื่อเทียบกับคนที่พักอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีเสียงรบกวนน้อยกว่า ในขณะที่ปริมาณมลภาวะทางอากาศ ก็มีผลต่อปริมาณน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มขึ้น 2.3% มีผลต่อปริมาณไตรกลีเซอไรด์ที่เพิ่มขึ้น 10% ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณมลภาวะทางเสียงและอากาศในที่ที่แต่ละคนอาศัยอยู่ ถ้าให้สรุปอย่างง่ายก็คือสารชีวเคมีในเลือดเหล่านี้กำลังบอกเราว่า